CT Scan คืออะไร ทำความรู้จักกับวิธีการตรวจหาความผิดปกติในร่างกายปัจจุบันวงการแพทย์ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทันสมัยออกมาเสมอเพื่อเป็นตัวช่วยในการรักษาโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ และเครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรคได้ตรงจุดที่สุดที่ไม่ควรพลาดก็คือ เครื่อง CT Scan เพราะ
CT Scan คือผู้ช่วยมือหนึ่งของแพทย์ที่ใช้ตรวจหารอยโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะหากได้พบในระยะเริ่มต้น ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้คนไข้ที่จะได้รักษาให้หายขาด
CT Scan คือ เครื่องตรวจโรคที่ให้ภาพ 3 มิติละเอียดสูงComputerized Tomography Scan - CT Scan คือ หนึ่งในวิธีที่แพทย์ปัจจุบันเลือกใช้เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการโรคที่เกิดขึ้นด้วยการใช้เครื่องเอกซเรย์ในการฉายรังสีบนบริเวณร่างกายที่ต้องการตรวจ เพื่อให้เกิดเงาบนฉากที่เตรียมไว้อีกด้านของร่างกาย จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะทำการสร้างภาพ 3 มิติที่มีความละเอียดสูงกว่าภาพเอกซเรย์แบบธรรมดา วิธีนี้สามารถตรวจเห็นอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน
กล่าวได้ว่า CT Scan คือเครื่องมือที่แพทย์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยอาการผิดปกติที่เกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย แต่ก็ไม่ควรใช้ในการคัดกรองรอยโรคเบื้องต้น เพราะเป็นเครื่องมือที่ต้องใช้ลำแสง X-Rays ปล่อยผ่านร่างกายเพื่อสร้างภาพซึ่งจะเป็นการเพิ่มความวิตกกังวลเกินความจำเป็นให้กับคนไข้ แต่ก็เหมาะกับคนไข้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคร้าย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ ก่อนอื่นเราควรจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับประเภทของ CT Scan ที่มีใช้ในวงการแพทย์ปัจจุบันดังต่อไปนี้
Conventional CT Scan - ประเภทภาพตัดขวางพื้นฐานรูปแบบการทำงานของเครื่อง CT Scan จะหมุนเป็นวงรอบตัวคนไข้โดย 1 รอบจะได้ 1 ภาพ โดยที่เตียงจะเลื่อนไปทีละตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะสร้างภาพตัดขวางของอวัยวะทีละภาพ
Spiral/Helical CT Scan - ประเภทภาพแบบเกลียวเครื่อง CT Scan จะหมุนเป็นวงอย่างต่อเนื่องรอบตัวคนไข้ ดังนั้นเมื่อลำแสง X-Rays ผ่านตัวคนไข้ก็จะได้หลายภาพ เวลาที่ใช้จะน้อยกว่าแบบพื้นฐาน ภาพก็จะมีคุณภาพสูง แม่นยำกว่า
ความแตกต่างระหว่างการตรวจ CT Scan VS การตรวจ MRI เป็นที่รู้กันว่าทั้ง MRI และ CT Scan คือเทคโนโลยีแบบใหม่ของวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคที่แพทย์จะเลือกใช้เพื่อประเมินหาสาเหตุของอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับคนไข้ เช่น ในกรณีที่หมดสติจากอุบัติเหตุรถยนต์, ตกจากที่สูงมากกว่า 3 ฟุต, มีอาการชัก, ปวดหัวรุนแรง, อาเจียนบ่อยครั้ง, มีของเหลวหรือเลือดออกจากหู จมูก, กล้ามเนื้อบนใบหน้าหรือร่างกายอ่อนแรง ฯลฯ
แต่ถึงแม้ CT Scan และ MRI คือเครื่องมือที่ใช้ตรวจหาสาเหตุความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายเหมือนกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันที่แพทย์จะต้องพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละเคสของคนไข้ ดังนั้นเราจะมาลิสต์ดูว่า MRI กับ CT Scan ต่างกันอย่างไร
1. กรณีที่พบว่ามีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ผล CT Scan นับเป็นทางเลือกที่ดี แต่หากว่ามีอาการผิดปกติอย่างต่อเนื่องนานกว่า 48 ชม.หลังได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการแย่ลง ตรวจ MRI จะให้ผลแม่นยำกว่า
2. เครื่องที่ใช้ตรวจ MRI vs CT Scan จะต่างกันคือ
- เครื่อง CT Scan ใช้ลำแสง X-Rays ฉายผ่านลำตัวของผู้รับการตรวจ เพื่อให้เกิดเงาบนฉากรองรับอีกด้านของลำตัว ส่วน
- เครื่อง MRI ใช้การปล่อยคลื่นวิทยุเข้มข้นในอุโมงค์สนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบตัวผู้รับการตรวจ เพื่อตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของพลังงานแล้วนำไปสร้างภาพในคอมพิวเตอร์
3. MRI เหมาะกว่ามากที่จะใช้ตรวจเนื้อเยื่ออ่อน อย่างนั้น CT Scan ตรวจอะไรได้บ้าง เราจะมาดูกัน
- MRI ตรวจจับการเคลื่อนที่ของโปรตอนน้ำในระหว่างที่ผู้รับการตรวจอยู่กลางสนามแม่เหล็ก เพื่อสร้างสัญญาณภาพ เพราะเป็นอวัยวะที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ เช่น เนื้อเยื่ออ่อน กล้ามเนื้อ หลอดเลือด เนื้อสมอง ฯลฯ
- ขณะที่ CT Scan คือการตรวจที่เหมาะกับการวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคกระดูก เพราะกระดูกไม่มีน้ำเป็นส่วนประกอบจึงจับสัญญาณไม่ได้กับเครื่อง MRI นั่นเอง
4. เวลาที่ใช้ในการตรวจจะแตกต่างกันมาก เช่น
- MRI จำเป็นต้องใช้เวลาในการตรวจประมาณ 30-90 นาทีขึ้นกับแต่ละคนและอวัยวะที่ต้องการตรวจ
- แต่ทำ CT Scan นานไหม ตอบได้เลยว่าใช้เวลาแค่ 10-15 นาทีเท่านั้นเพราะลำแสง X-Rays จะผ่านร่างกายพร้อมกับการหมุนรอบตัวซึ่งกินเวลาไม่กี่วินาทีต่อรอบก็จะได้ภาพรอบด้านแล้ว
5. สารที่ใช้ในการตรวจแตกต่างกัน
- CT Scan อาจต้องใช้สารทึบแสงเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน ซึ่งสารทึบแสงมีส่วนประกอบของไอโอดีน ที่อาจก่อให้เกิดพิษกับไตได้
- แต่ MRI ใช้สาร Gadolinium ที่ไม่มีไอโอดีนจึงไม่มีผลร้ายกับไต
6. สภาพร่างกายของผู้รับการตรวจที่แตกต่างกัน
- เนื่องจากเครื่องตรวจ MRI จะเป็นอุโมงค์สนามแม่เหล็กไฟฟ้า จึงไม่เหมาะกับผู้รับการตรวจที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ในร่างกายที่เป็นโลหะ
- แต่สำหรับ CT Scan นั้นสามารถตรวจผู้รับการตรวจที่มีโลหะภายในร่างกายได้
ก่อนทำ CT Scan ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อมเช่นไรเมื่อแพทย์ได้ทำการนัดวันทำ CT Scan กับคนไข้แล้ว สิ่งแรกที่คนไข้ควรทำความเข้าใจและปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับ CT Scan คืออะไร, ทำ CT Scan ข้อเสียมีอะไรบ้าง, CT Scan ราคาแพงมั้ย ฯลฯ เพื่อที่คนไข้จะได้เตรียมตัวเบื้องต้นให้พร้อม นอกจากนี้ในวันตรวจ สิ่งที่คนไข้ควรเตรียมตัวก่อนทำ CT Scan มีดังนี้
- แจ้งให้แพทย์รู้เกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ การแพ้ยา ปัญหาสุขภาพ (ถ้ามี) เช่น ตั้งครรภ์, เป็นหอบหืด, เป็นโรคเบาหวาน, มีปัญหาไต, เป็นโรคหัวใจ ฯลฯ
- ควรสวมเสื้อผ้าหลวม ๆ และไม่มีส่วนประกอบของโลหะ เช่น ซิป เข็มขัด เป็นต้น หรือเปลี่ยนเป็นสวมชุดที่ทางโรงพยาบาลจัดให้
- ให้งดน้ำและอาหาร 6 ชม.ก่อน CT Scan
- บางเคสอาจจำเป็นต้องใช้สารทึบแสงเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ได้ภาพชัดเจนเพื่อวินิจฉัยผล CT Scan ได้แม่นยำ และสารนี้เป็นได้ทั้งกิน ฉีด สอด ซึ่งขึ้นกับบริเวณที่จะตรวจ CT Scan เนื่องจากสารดังกล่าวจะมีผลกระทบที่อาจทำให้หายใจติดขัด หรือปวดท้อง ดังนั้นในกรณีที่มีการใช้สารทึบแสง คนไข้ควรให้ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดมารับกลับหลังเสร็จขั้นตอน
หลังทำ CT Scan มีวิธีในดูแลตัวเองอย่างไรให้เหมาะสมหลังผ่านการตรวจจากโรงพยาบาลแล้วคนไข้ที่ทำ CT Scan คือ คนที่ต้องใส่ใจในสุขภาพของตนเอง รับฟังคำแนะนำในการปฏิบัติตนเองหลังการตรวจ ดังนี้
- ภายใน 7 วันหลังการตรวจ คนไข้ควรสังเกตว่ามีอาการแพ้หรือมีผลข้างหลังจากเข้าอุโมงค์ ฉีดสีเพื่อทำ CT Scan หรือไม่
- ควรดื่มน้ำสะอาดเยอะ ๆ อย่างน้อย 1-2 ลิตรภายใน 24 ชม.แรกหลังการตรวจเพื่อที่จะได้ขับสารทึบแสงออกทางปัสสาวะ
ผลข้างเคียงจากการตรวจ CT Scan เป็นอันตรายไหมการตรวจ CT Scan คือ การที่ผู้รับการตรวจจะต้องสัมผัสกับรังสี X-Rays หรือ รังสีไอออนไนซ์ (Ionizing radiation) ในช่วงตรวจ รังสีนี้สามารถทำลายเซลล์ถ้าได้รับปริมาณมาก แต่ก็ใช้เวลานานหลายสิบปีกว่าที่จะเกิดมะเร็งได้
และถึงแม้ว่าโดยปกติเราทุกคนจะได้สัมผัสกับรังสีตามธรรมชาติ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ หรือสารเคมีบางอย่างในร่างกาย ทำให้รังสีจากสิ่งแวดล้อมที่เราได้รับเฉลี่ยประมาณ 3.7 mSv ต่อปี (mSv = millisieverts = หน่วยวัดรังสี) แต่รังสีจากการตรวจ CT Scan จะสูงกว่า ซึ่งทาง American college of radiology แนะนำปริมาณรังสีควรจำกัดที่ 100 mSv ตลอดชีวิตหรือเท่ากับตรวจ CT Scan ช่องอก 25 ครั้ง
และเนื่องจากการตรวจด้วยเครื่อง CT Scan นั้นคนไข้ต้องได้รับการฉีดสี CT Scan ซึ่งเป็นสารทึบแสงที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้นแพทย์อาจให้คนไข้อยู่รอดูอาการประมาณ 1 ชม. ก่อนปล่อยให้กลับบ้าน
การฉีดสี CT Scan อันตรายไหม - แน่นอนว่าอันตรายโดยเฉพาะคนที่มีอาการแพ้ก็จะเกิดผลข้างเคียงของการฉีดสี CT Scan เช่น ผดผื่นคัน, หน้า/ปากบวม, คลื่นไส้ อาเจียน, วิงเวียนศีรษะ/เป็นลม, หายใจลำบาก เป็นต้น หากมีหนึ่งในอาการเหล่านี้ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที
CT Scan แสกนโรคด้วยความสามารถของเทคโนโลยีสุขภาพดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นด้วยการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เพราะมันไม่อาจเกิดขึ้นได้เอง ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้เราได้ตระหนักรู้ว่าเรามีความเสี่ยงหรือมีความจำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เพื่อขอคำวินิจฉัยเพิ่มเติมในเชิงลึกหรือไม่ และการทำ CT Scan คือหนทางหนึ่งที่ช่วยป้องกันโรคร้ายด้วยการหาสาเหตุและทำการรักษาให้หายขาดตั้งแต่ระยะเริ่มต้น