ภัยจากไซเบอร์โลก IoT เมื่อความสะดวกสบายกลับกลายเป็นความเสี่ยงภัยจากไซเบอร์ในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยทุกวันนี้หลายสิ่งหลายอย่างล้วนเชื่อมต่อถึงกัน อุปกรณ์ IoT หรือ Internet of Things ก็ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น เพราะทุกคนต่างชื่นชอบความสะดวกสบายในด้านการใช้งาน แต่รู้หรือไม่ว่า ความสะดวกสบายนี้ก็นำมาซึ่งความเสี่ยงของภัยคุกคามทางไซเบอร์เช่นกัน เพราะอุปกรณ์ IoT มักมีช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถใช้ประโยชน์ในการเข้าถึงข้อมูลของเราได้ ดังนั้นบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักว่าในโลก IoT
ภัยไซเบอร์คืออะไร เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือและหาวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์เหล่านี้ได้อย่างแข็งแกร่ง
ภัยจากไซเบอร์แห่งโลก IoT ความท้าทายที่มาพร้อมกับความสะดวกสบายอุปกรณ์ IoT หรือ Internet of Things เป็นแนวคิดและเทคโนโลยีทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันชื่อ เครื่องปรับอากาศ หลอดไฟ ประตูบ้าน หรือไม้แต่อุปกรณ์เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตและใช้งาน ควบคุมได้อัตโนมัติส่งผลให้เกิดความสะดวกสบายและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือได้เป็นอย่างดี แต่ทว่าความสะดวกสบายนี้ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงของภัยจากไซเบอร์ IoT ที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะอาจทำให้ข้อมูลเกิดการรั่วไหลและไม่ปลอดภัยได้ โดยภัยคุกคามทางไซเบอร์ IoT ที่คุณควรรู้จักและต้องรู้วิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้ดีได้แก่
- การแฮกข้อมูลส่วนบุคคล
อุปกรณ์ IoT หลายชนิด เช่น สมาร์ตวอตช์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์สมาร์ตโฮม ล้วนมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวและมีการส่งผ่านข้อมูลเหล่านั้นบนระบบเครือข่าย ดังนั้นหากอุปกรณ์ IoT ไม่มีระบบการป้องกันภัยจากไซเบอร์ที่แข็งแกร่งพอ อาจทำให้ข้อมูลเหล่านั้นถูกแฮ็กและเกิดการรั่วไหลได้ง่าย ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายโดยไม่ทันรู้ตัว
- การควบคุมจากระยะไกล
หนึ่งในภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่ากลัวของโลก IoT คือการที่อุปกรณ์ถูกเข้าถึงและควบคุมจากระยะไกล ซึ่งอุปกรณ์ IoT ส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมระยะไกลได้สะดวก เช่น การเปิดปิดแอร์หรือการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน แต่หากอุปกรณ์เหล่านี้ถูกแฮ็กเกอร์เข้าควบคุมก็อาจนำไปสู่การดักฟังข้อมูล ทำลายระบบภายใน หรือแม้กระทั่งสร้างความเสียหายให้กับองค์กรหรือโรงงานอุตสาหกรรมได้ การใช้งานอุปกรณ์ IoT จึงต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความปลอดภัยเพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
- ช่องโหว่ในการอัปเดตซอฟต์แวร์
อุปกรณ์ IoT ทุกอุปกรณ์ควรมีการอัปเดตซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากไม่อัปเดตอาจเป็นการเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ใช้ช่องโหว่เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์และระบบภายในได้ง่าย ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยของภัยจากไซเบอร์ การอัปเดตซอฟต์แวร์จึงไม่ได้เป็นเพียงการได้เรียนรู้หรือเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ให้กับอุปกรณ์ แต่ยังเป็นการเสริมเกราะป้องกันจากภัยอันตรายที่หวังเข้ามาโจมตีคุณ
- การแอบฟังและการดักจับข้อมูล
การแอบฟังและการดักจับข้อมูลเป็นหนึ่งในภัยคุกคามทางไซเบอร์ของอุปกรณ์ IoT ที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องด้วยอุปกรณ์ IoT มักจะมีการส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ ไปยังเซิร์ฟเวอร์หรือเครือข่ายไร้สาย และหากการเชื่อมต่อนั้นไม่มีการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ อาจทำให้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลขององค์กรถูกดักจับและนำไปใช้ในทางที่ผิดได้
อุปกรณ์ IoT ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นเสมือนดาบสองคมที่เพิ่มความสะดวกสบาย แต่ก็ต้องรู้จักใช้งานอย่างระมัดระวัง เพราะอาจแฝงมาด้วยภัยจากไซเบอร์ที่ไม่คาดคิดได้ เช่น การแฮ็กข้อมูล การควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล การใช้ช่องโหว่ในการอัปเดตซอฟต์แวร์ หรือการดักฟังข้อมูล ดังนั้นการรู้จักภัยคุกคามทางไซเบอร์ IoT เหล่านี้เพื่อหาวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่มาจากความอ่อนแอของ
วิธีป้องกันภัยไซเบอร์ภายในโลก IoT และสามารถใช้ประโยชน์จาก IoT ได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น