เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหรือผู้มีรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีนั้น อยากจะทราบว่า
รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี และ ไปหา
ตัวอย่างการคํานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงมักจะต้องหา “ตัวช่วย” สำหรับลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็นเงินบริจาค การทำประกัน การใช้ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยมาเป็นตัวลดหย่อนเพิ่มเติมจากค่าใช้จ่ายในด้านการดูแลบุตรและบิดามารดา
การลงทุนใน กองทุนรวม เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่สามารถลดหย่อนภาษีได้เช่นกันเพราะมี กองทุน ประเภทที่รัฐบาลกำหนดให้สามารถนำเงินส่วนที่ลงทุนในปีนั้น ๆ ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ด้วย นั่นก็คือ กองทุน SSF และ RMF นั่นเอง ซึ่งเน้นเรื่องการลงทุนเพื่อออมในระยะยาว
รู้จักกองทุนลดหย่อนภาษี SSF และ RMFกองทุน SSF ย่อมาจาก Super Saving Fund เป็นกองทุนที่ปรับเปลี่ยนจาก LTF เมื่อปี 2563 เน้นการลงทุนระยะยาว โดยต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี กองทุนประเภทนี้สามารถนำเงินของนักลงทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นหุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนทองคำ รวมถึงกองทุนอสังหาริมทรัพย์ โดยสามารถนำเงินส่วนที่ลงทุนในกองทุน SSF ไปหักลดหย่อนภาษีในปีที่ซื้อ ได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน แต่ต้องไม่เกิน 2 แสนบาท นอกจากนี้หากนำไปรวมกับค่าลดหย่อนการออมเพื่อเกษียณในรูปแบบอื่น ๆ จะต้องไม่เกิน 5 แสนบาท การลดหย่อนภาษีด้วยการ ซื้อกองทุน ประเภทนี้ไม่มีการกำหนดวงเงินขั้นต่ำและไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีด้วย
กองทุน RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือ กองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่มุ่งส่งเสริมการออมสำหรับวัยเกษียณ โดยมีข้อกำหนดให้ถือหน่วยลงทุนประเภทนี้ไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากที่ซื้อครั้งแรก และสามารถขายได้ตอนอายุ 55 ปีไปแล้ว สำหรับกอง RMF นี้ไม่มีการกำหนดวงเงินขั้นต่ำในการซื้อแต่ต้องซื้ออย่างต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยปีเว้นปีจึงจะอยู่ในเงื่อนไขที่สามารถนำไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท และเมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 5 แสนบาทด้วย กองทุนประเภทนี้สามารถนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ได้ทุกประเภทเช่นเดียวกัน
แม้ว่ากองทุนทั้งสองประเภทดังกล่าวจะเพิ่มแต้มต่อในด้านของการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากผลตอบแทนที่กองทุนกำหนดแล้ว การที่กองทุนประเภทลดหย่อนภาษีทั้งแบบ SSF และ RMF สามารถนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ได้หลายประเภท ผู้ที่จะ ลงทุนกองทุนรวม ประเภทนี้จึงต้องศึกษารายละเอียดการลงทุนของแต่ละกองทุนให้ดีก่อน เช่น บางกองทุนเน้นการลงทุนในหุ้นก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในตราสารทางการเงิน หรือการลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็จะมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น แต่กระนั้นก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งก่อนจะเลือกกองทุนก็ต้องตรวจสอบความพร้อมในการรับความเสี่ยงของตนเองก่อนด้วย
