ภาวะอุจจาระตกค้าง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษาอันตรายไหม อุจจาระตกค้างเป็นปัญหาระบบขับถ่ายที่เกิดได้กับทุกคน ยิ่งถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สะดวกเข้าห้องน้ำจนต้องกลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ก็อาจพัฒนาไปสู่อาการอุจจาระตกค้างที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากมาย เพื่อรับมือกับภาวะอุจจาระตกค้างในลำไส้และบอกลาปัญหาอุจจาระตกค้างอาการที่ชวนให้ไม่สบายท้องได้ถูกวิธี ในบทความนี้ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับภาวะ
อุจจาระตกค้าง คืออะไร หากปล่อยไว้นาน ๆ จะเป็นอย่างไร มีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง
รู้จักภาวะอุจจาระตกค้าง อาการป่วยเล็ก ๆ ที่ส่งผลต่อร่างกายอุจจาระตกค้างหรืออาการกินมากแต่ไม่ถ่ายคือภาวะที่ร่างกายขับอุจจาระไม่หมด ทำให้มีอุจจาระตกค้างอยู่ตามผนังลำไส้เป็นจำนวนมาก แม้อุจจาระตกค้างอาการคล้ายคลึงกับโรคท้องผูก แต่คนที่มีอาการอุจจาระตกค้างยังขับถ่ายได้ปกติแม้จะยังมีอุจจาระตกค้างในลำไส้อยู่ ทำให้หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังมีอาการอุจจาระตกค้าง เพราะคิดว่าอาการอึดอัดแน่นท้องที่เกิดขึ้นเป็นอาการทั่วไปที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
แม้จะบอกว่าอาการ
อุจจาระตกค้างในลำไส้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก แต่ถ้าปล่อยให้มีอุจจาระตกค้างในร่างกายเป็นเวลานานก็อาจมีปัญหาสุขภาพตามมาในภายหลัง โดยผลกระทบต่อร่างกายมีดังนี้
- รู้สึกไม่สบายท้อง มีอาการปวดท้องและแน่นท้อง
- รู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด
- มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
- มีอาการท้องผูกรุนแรงมากขึ้น
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น เพราะอุจจาระที่ตกค้างในลำไส้ขยายไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ
- มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียน
- มีอาการปวดหลังส่วนล่าง
- มีอาการเบื่ออาหาร หรือทานอาหารได้น้อยลง
- ต้องใช้แรงเบ่งอุจจาระมากกว่าปกติ
รู้ไว้ป้องกันได้ก่อน อุจจาระตกค้างในลำไส้ มีสาเหตุมาจากอะไร อาการอุจจาระตกค้างในลำไส้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ถึงเป็นคนที่มีระบบขับถ่ายดีก็มีโอกาสเป็นเช่นเดียวกัน โดยสาเหตุของอาการป่วยก็มีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. กลั้นอุจจาระบ่อยและเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นเพราะอยู่ระหว่างเดินทาง ติดประชุม หรือในสถานการณ์อื่น ๆ การกลั้นอุจจาระทำให้มีอุจจาระบางส่วนถูกดึงกลับเข้าไปตกค้างอยู่ในลำไส้
2. การเบ่งอุจจาระผิดวิธีจะทำให้อุจจาระที่ควรถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางทวารหนักกลับเข้าไปตกค้างอยู่ในลำไส้แทน ซึ่งการเบ่งอุจจาระผิดวิธี เช่น ออกแรงเบ่งขณะที่หายใจเข้าแล้วกำลังแขม่วท้อง ไม่มีแรงเบ่ง หรือหูรูดทวารหนักหดเกร็งขณะเบ่ง
3. การทานอาหารที่มีไขมันสูงก็สร้างผลกระทบต่อระบบขับถ่ายได้เช่นเดียวกัน เพราะไขมันจะเข้าไปขัดขวางการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และยังส่งผลให้กระบวนการย่อยอาหารทำงานได้ช้าลงจนทำให้มีอุจจาระตกค้างในลำไส้
4. อาหารที่มีกากใยน้อยหรือไฟเบอร์ต่ำก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้มีอุจจาระตกค้าง เพราะกากใยอาหารจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและกระตุ้นการทำงานของลำไส้ทำให้ขับถ่ายได้คล่อง ฉะนั้นการทานอาหารที่มีไฟเบอร์ต่ำส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลงทำให้เกิดภาวะอุจจาระตกค้างตามมา
5. ไม่ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะอุจจาระตกค้าง เพราะการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และไปเร่งการทำงานของกระบวนย่อยอาหารให้เกิดเร็วขึ้น ดังนั้นในแต่ละวันควรขยับร่างกายหรือออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการวิ่งเหยาะ ๆ หรือเดินบนลู่วิ่งประมาณ 10-30 นาที/วัน เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ขยับและขับถ่ายได้ง่ายขึ้น
6. การดื่มน้ำน้อยเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มีอุจจาระตกค้างในลำไส้ เพราะน้ำคือปัจจัยที่ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี หากดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากระบบย่อยอาหารต้องทำงานหนัก น้ำที่อยู่ในอุจจาระยังถูกดูดกลับทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง แน่นอนว่าอุจจาระที่แข็งและไม่มีน้ำเป็นตัวหล่อลื่นจะทำให้ขับถ่ายยากกว่าปกติ จนต้องออกแรงเบ่งมากขึ้นและนี่เองที่ทำให้มีอุจจาระตกค้างอยู่ในลำไส้
ภาวะอุจจาระตกค้างในลำไส้ สามารถป้องกันด้วยวิธีไหนบ้างสำหรับวิธีป้องกันอาการอุจจาระตกค้างสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยแนวทางป้องกันภาวะอุจจาระตกค้างที่ใครก็ทำตามได้ง่าย ๆ มีดังนี้
- ควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องกังวลเรื่องอาการอุจจาระตกค้าง ดังนั้นใครที่รู้ตัวว่าดื่มน้ำน้อยแนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่ดี
- ทานอาหารที่มีกากใยสูง อย่างผัก ผลไม้ หรือธัญพืช เพื่อให้ใยอาหารเหล่านี้เข้าไปกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญและระบบย่อยอาหารในร่างกาย ทั้งยังช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีตามไปด้วย
- ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา เช่น ฝึกขับถ่ายทุกวันหลังตื่นนอน เพื่อให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายจดจำว่าพอถึงเวลานี้ควรเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย โดยเวลาที่เหมาะกับการขับถ่ายคือระหว่าง 05.00 - 07.00 น.
- ฝึกเบ่งอุจจาระให้ถูกวิธี โดยเวลานั่งบนชักโครกให้เอนตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย และควรมีที่วางเท้าเพื่อให้ออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น
- หลังทานอาหารควรลุกขึ้นเพื่อขยับร่างกายเล็กน้อย จะช่วยให้ลำไส้บีบตัวและกระเพาะอาหารสามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้น
- ไม่ควรกลั้นอุจจาระ เพราะอาจทำให้อุจจาระแข็งขึ้นเนื่องจากน้ำถูกดูดซึมกลับไปหมด จนเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะอุจจาระตกค้าง ฉะนั้นถ้ารู้สึกปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำให้รีบไปทันที
- ถ้ายังไม่ปวดอุจจาระแต่จำเป็นต้องออกไปทำธุระนอกบ้าน ไม่แนะนำให้พยายามเบ่งอุจจาระโดยที่ไม่ปวด เพราะการเบ่งอุจจาระแรง ๆ จะเพิ่มแรงดันในลำไส้ เมื่อทำบ่อย ๆ ลำไส้โป่งพอง อาจเกิดริดสีดวงทวาร
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายไม่ได้แค่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี แต่ยังช่วยให้ลำไส้บีบตัวและกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น
อาการอุจจาระตกค้างในลำไส้ มีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้างสำหรับใครที่รู้สึกว่าภาวะอุจจาระตกค้างเริ่มส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและหาแนวทางรักษาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้อาการอุจจาระตกค้างกลายเป็นโรคร้ายในอนาคต
หากทำการตรวจแล้วพบว่าอาการไม่รุนแรงหรือเป็นเพียงอาการเบื้องต้น แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจเลือกรักษาอาการอุจจาระตกค้างด้วยวิธีสวนทวารหนัก ให้ยาระบาย เหน็บยา หรือผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระออกจากลำไส้
อย่างไรก็ดีคนที่มีอาการอุจจาระตกค้างไม่ควรซื้อยาระบายมาทานเอง เพราะอาจทำให้ลำไส้เกิดอาการดื้อยาจนต้องเพิ่มปริมาณยาเพื่อขับอุจจาระตกค้างในลำไส้ ดังนั้นถ้ามีอุจจาระตกค้างอาการอื่น ๆ ร่วมจนกระทบการใช้ชีวิต ควรไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีรักษาภาวะอุจจาระตกค้างที่เหมาะสมกับตัวเองต่อไป