ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ความรู้ทางการเงิน สิ่งสำคัญในการวางแผนทางการเงินได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

 ความรู้ทางการเงิน

เงินทองถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ใช้จ่ายเป็นประจำทุกวัน หากใช้จ่ายอย่างไม่ระวังก็อาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ จนทำให้บางคนล้มละลายได้เลยทีเดียว ดังนั้น ความรู้ทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการการเงินได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งช่วยลงทุน เพิ่มผลประกอบการอย่างมั่นคง เลือกกู้ยืมสินเชื่อได้เหมาะสมกับตนเอง เข้าใจสิทธิการลดหย่อนภาษี ทำให้สามารถวางแผนการเงินส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความหมายและความสำคัญของความรู้ทางการเงิน

Financial literacy คือ

ความรู้ทางการเงินถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในปัจจุบัน ที่จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคง เพราะเรื่องการเงิน ไม่ได้สำคัญเพียงแค่การออมเงิน แต่ยังรวมถึงโครงสร้างและการบริหารจัดการต่าง ๆ อีกด้วย

ความรู้ทางการเงิน หมายถึงอะไร?
ความรู้ทางการเงินหรือ Financial literacy คือ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการบริหารจัดการทางด้านการเงิน เพื่อให้สามารถวางแผนการเงินส่วนตัวในการดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น และเตรียมความพร้อมทางการเงินในอนาคต ลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างการสร้างหนี้ เพราะหากไม่เตรียมความพร้อมให้ดี หรือมีความรู้ด้านการเงินไม่มากพอก็อาจจะทำให้มีปัญหากู้ยืมในภายหลังได้ เช่น

  • การจัดทำงบประมาณใช้จ่าย
  • การเลือกลงทุนในกองทุนหรือสินทรัพย์ต่าง ๆ
  • การตัดสินใจกู้ยืมเงิน
  • การจัดทำภาษี
  • การบริหารจัดการการเงินส่วนตัว
  • การใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทต่าง ๆ เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อ ประกันชีวิต เป็นต้น

ดังนั้น การมีความรู้ทางการเงินจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการ ตัดสินใจเกี่ยวกับทางการเงินได้อย่างละเอียด รอบคอบ ทำให้ชีวิตมีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรง มั่นคง และยั่งยืน

ความรู้ทางการเงินสำคัญอย่างไร?
เงินเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตประจำวัน ดังนั้น ความรู้ทางการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน รวมถึงความเสี่ยงทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย โดยสามารถสรุปความสำคัญของความรู้เรื่องการเงินได้ ดังนี้

  • ความรู้ทางการเงินช่วยในการวางแผนชีวิตและตั้งเป้าหมายทางการเงิน เพราะการมีแผนทางการเงินที่ดี ทำให้มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี ส่งผลให้มีโอกาสบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จมากขึ้นและเร็วขึ้น
  • ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนและการบริหารจัดการเงินที่ถูกต้องจากความรู้ทางด้านการเงินจะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันการสูญเสียเงินอย่างไม่คาดคิด
  • ความรู้เรื่องการเงินเบื้องต้นช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีการจัดการหนี้ ทำให้สามารถกำจัดหนี้ โดยใช้แผนทางการเงินที่เหมาะสม ป้องกันไม่ให้หนี้กลายเป็นภาระทางการเงิน
  • ความรู้ทางการเงินช่วยในการเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างทรัพย์สินและเพิ่มมูลค่าทางการเงินในระยะยาว
  • ความรู้การเงินช่วยให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ซึ่งถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ฉุกเฉินหรืออาการเจ็บไข้ได้ป่วย
  • การวางแผนการเงินส่วนตัวด้วยความรู้ทางการเงิน ทำสามารถจัดการกับเหตุการณ์ทางการเงินที่ไม่คาดคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ความรู้ด้านการเงินช่วยในการปรับตัวและตอบสนองต่อเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น เช่น การตกงาน, การเปลี่ยนงาน, การเปลี่ยนแปลงในสถานะครอบครัว
  • ความรู้ทางการเงินทำให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินได้ดีขึ้น สร้างนิสัยให้สามารถใช้เงินได้อย่างถูกต้อง
  • เข้าใจเกี่ยวกับหนี้สิน จึงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือไม่สร้างหนี้เสีย

เมื่อทุกคนมีความรู้ทางการเงินแล้ว ก็จะทำให้สังคมเกิดความเข้มแข็ง ด้วยทุกคนสามารถบริหารจัดการใช้เงินเป็น เลี้ยงดูตัวเองได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตและสร้างสุขภาพทางการเงินที่มั่นคง ทั้งต่อตนเองและสังคมในระยะยาว

องค์ประกอบของความรู้ทางการเงิน

ความรู้ด้านการเงิน

ความรู้ทางการเงินประกอบด้วยหลายองค์ประกอบหลักที่ช่วยให้บุคคลสามารถบริหารจัดการเงินส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยองค์ประกอบหลักของ Financial literacy คือ

1. การจัดทำงบประมาณ (Budgeting) เป็นความรู้ทางการเงินขั้นพื้นฐาน เพราะเป็นการตรวจสอบสถานะการเงินของตนเองอย่างละเอียด โดยทำเป็นแผนการใช้จ่ายเงินในแต่ละรายการตามรายได้ที่มี เพื่อให้การบริหารเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดทำงบประมาณนี้ แบ่งออกเป็น ส่วนหลัก คือ งบค่าใช้จ่าย งบในการลงทุน งบในการออม และงบในการให้ (บริจาค) ซึ่งมีวิธีบริหารจัดการตามความรู้การเงิน คือ ใช้เงินในการชำระหนี้เสียก่อน แล้วจึงนำเงินที่เหลือมาใช้ ก่อนจะเก็บออม และลงทุนตามลำดับ

2.การลงทุน (Investing) เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของความรู้ทางการเงิน เพราะการลงทุน คือ การสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว ดังนั้น ก่อนลงทุนจึงควรศึกษารายละเอียดให้ดี เพราะการลงทุนเองก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน หากเตรียมความพร้อมมาดี ก็ช่วยเพิ่มพูนเงินที่มีอยู่ได้ โดยข้อควรรู้เกี่ยวกับการลงทุน คือ อัตราดอกเบี้ย ระดับราคา การกระจายความเสี่ยง การกระจายการลงทุน และดัชนีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.การกู้ยืม (Loan) เป็นความรู้เรื่องการเงินเบื้องต้น ซึ่งจะต้องทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของดอกเบี้ยประเภทต่าง ๆ เช่น ดอกเบี้ยคงที่ ดอกเบี้ยลอยตัว ดอกเบี้ยทบต้น  รวมถึงข้อตกลงในการกู้ยืม และระยะเวลาการจ่ายหนี้คืน โดยสิ่งเหล่านี้ เป็นสาระสำคัญที่ต้องพิจารณาเงื่อนไขให้ดีก่อนตกลงกู้ยืม ว่า ตนเองสามารถผ่อนชำระหรือปิดหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ เมื่อเงินต้นรวมกับอัตราดอกเบี้ยแล้ว เป็นเงินก้อนที่สามารถชำระไหวหรือไม่

4.การเข้าใจเกี่ยวกับภาษี (Tax Knowledge) โดยความรู้ทางการเงินจะอธิบายเกี่ยวกับความรู้ในการจ่ายภาษี การคำนวณภาษีเงินได้จากงานประจำหรือช่องทางอื่น เช่น ค่าเช่า เงินรางวัล รายได้เสริม รวมถึงภาษีประเภทต่าง ๆ เช่น ภาษีมรดก ภาษีที่ดิน และสิทธิในการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ เช่น เงินบริจาค การทำประกัน การดูแลบิดามารดาหรือบุตร เป็นต้น เพราะความรู้การเงินเหล่านี้ จะช่วยให้ใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีเงินเหลือสำหรับเก็บออมมากขึ้น

5.การวางแผนการเงินส่วนตัว (Financial Planning) เป็นทักษะในการบริหารการเงินส่วนตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพจากความรู้ทางการเงินในด้านต่าง ๆ ทำให้สามารถใช้ชีวิตทางการเงินได้อย่างมั่นคงและเหมาะสม ครบวงจรทางการเงิน เริ่มตั้งแต่ประเมินสถานะทางการเงินของตนเอง ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ออมเงินให้มากขึ้นด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างมีความรู้ หากต้องการกู้ยืมก็จะพิจารณาและตัดสินใจเลือกสินเชื่อได้อย่างเหมาะสมกับบริบทการเงินของตนเอง พร้อมทั้งใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีอย่างคุ้มค่า

นอกเหนือจาก 5 องค์ประกอบหลักของความรู้ทางการเงินข้างต้นแล้ว ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้เรื่องการเงินเบื้องต้นอีก ได้แก่
 
  • การจัดการหนี้ (Debt Management) เป็นความรู้ทางการเงินที่ช่วยให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างมั่นคง โดยจะต้องทราบยอดหนี้ทั้งหมด พร้อมตรวจสอบดอกเบี้ยและเงื่อนไขการชำระหนี้แต่ละรายการ กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการหนี้ให้ชัดเจน เช่น ปิดหนี้ในระยะเวลาที่กำหนด ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้เงิน หรือการปรับโครงสร้างหนี้ แล้วจึงลำดับความสำคัญและวางแผนการชำระหนี้ในแต่ละเดือน หมั่นกำกับติดตามผลการวางแผน เพื่อให้สามารถปรับแผนได้ตามสถานการณ์การเงินในแต่ละช่วงเวลา
  • การออม (Saving) เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างเสถียรภาพทางการเงินตามความรู้ด้านการเงิน เริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ของการออมที่ชัดเจน เช่น เพื่อการศึกษา การท่องเที่ยว กรณีฉุกเฉิน แล้วกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการออมในแต่ละรอบ โดยเลือกช่องทางการออมให้เหมาะสมกับบริบทของตนเอง เช่น บัญชีออมทรัพย์ การลงทุน หรือกองทุนสำรองฉุกเฉิน
  • การประกัน (Insurance) เป็นอีกหนึ่งความรู้ทางการเงินที่สำคัญ เพราะการทำประกันเป็นการปกป้องตัวเองและครอบครัวจากความเสี่ยงทางการเงินจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ทั้งอุบัติเหตุและอาการเจ็บป่วย เริ่มจากพิจารณาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วเลือกประกันที่ตรงกับความเสี่ยงและความต้องการ ไมว่าจะเป็นประกันสุขภาพ, ประกันชีวิต หรือประกันรถ โปรดตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงิน, ระยะเวลาคุ้มครอง และความคุ้มครองที่ได้รับ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
  • การเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมสำรองเงิน (Emergency Fund) เป็นส่วนสำคัญของความรู้เรื่องการเงิน เพื่อป้องกันตนเองจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เพื่อเตรียมพร้อมทางการเงินในกรณีฉุกเฉิน เช่น การตกงาน ค่ารักษาพยาบาล หรือค่าซ่อมบำรุงฉุกเฉินในบ้าน เริ่มจากกำหนดจำนวนเงินสำรอง โดยใช้สัดส่วนเป็นรายจ่ายประจำประมาณ 3 - 6 เดือน พิจารณาจากรายจ่ายประจำในแต่ละเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร แล้วสำรองเงินไว้ในบัญชีที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและไม่มีความเสี่ยง สิ่งสำคัญ คือ ใช้เงินสำรองเฉพาะในกรณีฉุกเฉินจริง ๆ ไม่นำออกมาใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  • การปรับตัวต่อเปลี่ยนแปลงทางการเงิน สำหรับความรู้ทางการเงิน คือ การทราบถึงสถานการณ์การเงินในปัจจุบัน สามารถปรับแผนการเงินได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเป็นเพราะหน้าที่การงาน ครอบครัว หรือเศรษฐกิจต่าง ๆ ทำให้สามารถการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการบริหารเงินได้อย่างมั่นคงในทุกสถานการณ์

ความรู้ทางการเงินกับการแก้ปัญหาทางการเงิน

ความรู้เรื่องการเงิน

การมีความรู้ทางการเงินช่วยแก้ปัญหาทางการเงินได้อย่างเห็นผล ทำให้สามารถใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถอธิบายประโยชน์ของความรู้ด้านการเงิน เช่น

  • ความรู้ทางการเงินช่วยวางแผนการเงินส่วนตัวและการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน ทำให้สามารถควบคุมการใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี
  • ความเข้าใจเกี่ยวกับหนี้ของความรู้เรื่องการเงิน ทำให้สามารถบริหารจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งยังช่วยลดความเครียดทางการเงินที่เกิดขึ้นจากหนี้สินได้อีกด้วย
  • ความรู้ทางด้านการเงินช่วยให้ลงทุนอย่างมีสติ โดยเลือกลงทุนในทรัพย์สินที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ทางการเงินและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • ช่วยให้เข้าใจถึงความสำคัญของการมีเงินสำรอง เพื่อป้องกันสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดต่าง ๆ
  • ความรู้ทางการเงินช่วยให้สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยในการเลือกทำประกันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นตามบริบทของแต่ละคน
  • ความรู้ทางการเงินทำให้เข้าใจถึงหลักการการลงทุนและการคำนวณความเสี่ยงช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินในการลงทุน
  • ความรู้เรื่องการเงินเบื้องต้นช่วยในการวางแผนทางภาษี เพื่อใช้สิทธิลดหย่อนภาษีที่ต้องชำระ

สรุปเกี่ยวกับความรู้ทางการเงิน
ความรู้ทางการเงินหรือ Financial literacy คือ ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการบริหารจัดการทางด้านการเงินอย่างครบวงจร ตั้งแต่จัดทำงบประมาณ การลงทุน กู้ยืม ภาษี และวางแผนการบริหารเงินส่วนตัว หากใครต้องการศึกษาความรู้เพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลด MAKE by KBank ซึ่งเป็นแอปที่ใช้ออมเงินด้วยฟีเจอร์หลากหลาย ช่วยให้ออมเงินได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีความรู้ดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ด้านการเงินอย่างไม่มีจำกัดอีกด้วย ทั้งช่วยออมเงินและเพิ่มความรู้ไปในตัว