ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


เว็บ รวมประกาศ ขายที่ดิน เจ้าของขายเอง

เว็บ  ขายที่ดิน ขายที่ดิน ขายที่ดินติดถนน ทั้งที่ดินเปล่า ที่ดินทำเลดี เช่าที่ดิน การเกษตร รายปี ในกรุงเทพและทั่วประเทศ เจ้าของขายเอง ราคาถูก รายละเอียดครบ ค้นหาง่าย ลงประกาศฟรี.


ดูประกาศทั้งหมด
https://post-property.com/internal-residence/land

วิธีซื้อที่ดิน ต้องตรวจสอบอะไรบ้าง

1. ตรวจสอบว่าโฉนดที่ดินที่จะซื้อเป็นโฉนดปลอมหรือไม่
เหตุผลมีอยู่สองข้อ คือ
การปลอมแปลงโฉนดที่ดินมักจะปลอมแปลงจากแบบพิมพ์โฉนดที่ดินของกรมที่ดินที่สูญหายไป หรือมีการปลอมแปลงจากโฉนดที่ดินที่ออกไปโดยถูกต้อง แต่มีการแก้ไขข้อความให้ผิดไปจากเดิม หากเราไม่นำไปเปรียบเทียบกับโฉนดของสำนักงานที่ดิน ก็อาจจะเกิดการเข้าใจผิดว่าเป็นของจริงได้ เพราะกระดาษและข้อความที่พิมพ์โฉนดของสำนักงานที่ดินจะเหมือนกับโฉนดที่ดินมาก

ผู้ซื้อจะไม่มีทางรู้เลยว่า ลายมือ/ลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร ข้อความที่เขียนลงตามปกตก หรือมีการขีดฆ่าเพิ่มเติมหรือไม่ ทางเดียวที่เราจะรู้ได้คือการนำไปตรวจสอบกับต้นฉบับสำนักงานที่ดินนั่นเอง

2. ตรวจดูข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเจ้าของที่ดิน
การตรวจข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเจ้าของที่ดิน เพื่อตรวจดูว่าเจ้าของที่ดินเป็นใคร อายุเท่าไหร่ บิดามารดาชื่ออะไร มีหน้าตายังไงบ้าง เพราะว่ากรมที่ดินจะมีสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และเอกสารอื่น ๆ เก็บไว้ในสารบบ เพื่อให้เราแน่ใจได้ว่า เราติดต่อกับเจ้าของที่ดินตัวจริง

3. ตรวจดูว่าโฉนดหรือรายการจดทะเบียนถูกยกเลิกเพิกถอนหรือไม่
เพราะตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้น จะมีโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินบางแปลงบางรายการถูกยกเลิกเพิกถอน เพราะมีการออกไปโดยไม่ถูกต้อง หรือจดทะเบียนไม่ถูกต้อง เช่น ออกทับที่สาธารณะ ที่ป่า หรือถูกยกเลิกเพราะมีการออกใบแทนโฉนดที่ดินไปแล้ว ซึ่งตามปกติถ้ามีการยกเลิกหรือเพิกถอนโฉนดที่ดิน เจ้าหน้าที่ที่ดินจะเรียกโฉนดที่ดินของเจ้าของที่ดินมาบันทึกการยกเลิกหรือเพิกถอนนั่นเองค่ะ

4. ตรวจดูว่าที่ดินนั้นถูกอายัดหรือไม่
เนื่องจากที่ดินแปลงหนึ่งอาจจะถูกอายัดได้ตามกฎหมาย เช่น ตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลรัษฎากร พรบ.ภาษีบำรุงท้องที่ กฎหมายล้มละลาย แต่การยึดหรืออายัดนี้จะไม่ปรากฏในโฉนดฉบับเจ้าของที่ดิน ผู้ซื้อจะทราบก็ต่อเมื่อขอตรวจหลักฐานทะเบียนที่ดิน เพราะเมื่อมีการยึดหรืออายัดที่ดินแล้ว จะมีการแจ้งมายังสำนักงานที่ดินให้ทราบค่ะ

และเจ้าพนักงานที่ดินจะบันทึกเรื่องอายัดนั้นไว้ในบัญชีอายัด และปิดคำสั่งห้ามโอนไว้โฉนดฉบับสำนักงานที่ดิน หากผู้ซื้อไม่ขอตรวจสอบหลักฐานทะเบียนที่ดิน ก็จะไม่มีทางทราบเลยว่าที่ดินนั้นถูกยึดหรือโดนอายัด แม้จะทำสัญญาจะซื้อจะขายและวางมัดจำกันไปแล้ว ก็ไม่สามารถโอนได้ค่ะ

5. ตรวจสอบว่าที่ดินนั้นมีเรื่องราวอยู่ในระหว่างดำเนินการใดบ้าง
อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญที่จะต้องตรวจสอบก็คือ ที่ดินนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาเพิกถอนโฉนดที่ดิน แก้ไขเนื้อหา แก้ไขรายการจดทะเบียนสิทธิหรือนิติกรรม หรืออยู่ในระหว่างรังวัดสอบเขตแบ่งแยก อยู่ระหว่างประกาศออกใบแทนโฉนดประกาศขอรับโอนมรดกหรือไม่ ถ้าหากมีหนึ่งในข้อที่น้อง Propso ว่ามานี้ พี่ ๆ ควรรอดูผลการพิจารณาดำเนินการให้ถึงที่สุดก่อน เพราะอาจมีผลกับเราในอนาคตได้ค่ะ

ถ้าโฉนดที่ดินถูกเพิกถอนทั้งฉบับหรือถูกเพิกถอนรายการจดทะเบียน ก็จะทำให้โฉนดไม่สามารถใช้การได้ หรือตัวเจ้าของเปลี่ยนไป ถ้าเป็นกรณีมีการรังวัดค้างอยู่ ผลการรังวัดที่มีกรณีต้องแก้ไข เนื้อที่หรือรูปแผนที่ตามผลการรังวัดใหม่ก็จะต้องเปลี่ยนใหม่ หากซื้อที่ดินไปโดยไม่รอให้ทำการรังวัดเสร็จก่อน เราอาจจะได้เนื้อที่น้อยกว่าเดิม หรือเกิดการพิพาทกับผู้คัดค้านเหมือนเจ้าของเดิม

หากมีการขอใบแทนโฉนดที่ดินโดยอ้างว่าโฉนดที่ดินสูญหาย หรือถูกทำลาย ก็จำเป็นต้องรอให้ออกใบแทนให้เรียบร้อยก่อน เพราะบางครั้งเจ้าของที่ดินเอาโฉนดไปให้เจ้าหนี้ยึดไว้เป็นหลักประกัน แล้วไปแจ้งเท็จต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อมีการประกาศออกใบแทนโฉนด เจ้าหนี้ทราบเรื่องก็มาคัดค้าน เจ้าหน้าที่ก็จะไม่ออกใบแทนโฉนดให้

6. ตรวจว่าเคยมีการขอยกเลิกการขอรังวัดแบ่งแยกสอบเขตหรือไม่
การตรวจสอบเรื่องว่าที่ดินเคยมีการขอยกเลิกการขอรังวัดแบ่งแยกสอบเขต หรือมีกรณีที่กฎหมายถือว่าผู้ขอไม่เคยมีการขอ ยกเลิกรายการ ขอรังวัดแบ่งแยกสอบเขต แม้ว่าจะทำให้การรังวัดที่ได้ทำไปแล้ว ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย แต่เราควรจะต้องรับรู้ไว้ค่ะ เพราะการยกเลิก อาจเกิดจากผู้ขอได้ทราบว่าผลการรังวัดมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ปรากฏในโฉนดที่ดิน จะได้ไม่ต้องมีการแก้ไขเนื้อที่ให้ตรงตามความเป็นจริง และเวลาขายก็ขายตามเนื้อที่ที่ปรากฏในโฉนดที่ดิน ซึ่งอาจทำให้ผู้ซื้อเสียเปรียบได้

หรืออาจเป็นเพราะมีการคัดค้านแนวเขตที่ดิน และคู่กรณีไม่อาจตกลงกันได้ คู่กรณีไปฟ้องศาลภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าไม่มีการฟ้องภายในตกลงกันได้ กฎหมายให้ถือว่าผู้ขอรังวัดไม่ประสงค์จะแบ่งแยก หรือสอบเขตที่ดินอีกต่อไป ซึ่งจะมีผลให้การรังวัดนั้นไม่สำเร็จ และข้อพิพาทก็จะยังคงอยู่ อาจทำให้เกิดปัญหาภายหลังได้ค่ะ

7. โฉนดที่ดินของผู้ขายมีรายการครบถ้วนหรือไม่
เพราะบางครั้งเจ้าหน้าที่คัดลอกข้อความหรือรายการจดทะเบียนไม่ครบถ้วน ซึ่งเกิดขึ้นได้บ่อย ๆ โดยเฉพาะกรณีที่มีการออกใบแทนโฉนดที่ดิน หรือกรณีสำนักงานที่ดินทำโฉนดที่ดินใหม่ทั้งสองฉบับ นอกจากนี้บางกรณีอาจมีการบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินใหม่ทั้งสองฉบับ นอกจากนี้บางกรณีอาจมีการบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงทะเบียนที่ดินแต่เพียงโฉนดที่ดินฉบับสำนักงานที่ดิน ไม่ได้มีการบันทึกไว้ในโฉนดฉบับเจ้าของที่ดินด้วย

ซึ่งรายการที่หายไปอาจมีการผลกระทบต่อสิทธิ หรือประโยชน์ของคนที่จะซื้อที่ดินได้หากไม่ตรวจสอบให้ดี และยังคงต้องตรวจดูว่าที่ดินมีภาระผูกพัน เช่น จำนอง เช่าบุริมสิทธิ ภาระจำยอม ขายฝาก สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ และตรวจสอบว่าโฉนดที่ดินของสำนักงานใหญ่อยู่สภาพที่จดทะเบียนได้หรือไม่นั่นเอง