ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


เทคนิคของการเลือกซื้อประกันชีวิตลดหย่อนภาษีให้ได้ลดหย่อนสูงสุด

   การทำประกันชีวิตเป็นการลดความเสี่ยงทางด้านการเงิน เมื่อเราเกิดเจ็บป่วย ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ก็จะได้รับเงินจากการทำประกันชีวิต แต่ผลประโยชน์อีกด้านคือ ประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งวันนี้เราจะพาไปหาคำตอบว่า ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ และมีเทคนิคอย่างไรที่ทำให้เราได้ลดหย่อนสูงสุด

ประกันชีวิตแต่ละแบบลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?
   สำหรับประกันชีวิตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ประกันชีวิตทั่วไป และ ประกันชีวิตบำนาญ
   1. ประกันชีวิตทั่วไป มี ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา, ประกันสะสมทรัพย์ และประกันชีวิตแบบควบการลงทุน โดยประกันชีวิต 3 แบบแรก สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายเงิน สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท (ประกันต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป) และหากมีประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ก็จะลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนประกันชีวิตควบการลงทุน เป็น ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี เฉพาะค่าใช้จ่ายส่วนค่าธรรมเนียมและส่วนความคุ้มครองชีวิต ไม่รวมส่วนที่นำไปลงทุน สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท (ต้องมีระยะเวลาความคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป) แต่ส่วนที่นำไปลงทุนจะไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้
   2. ประกันชีวิตบำนาญ เน้นความคุ้มครองในรูปแบบรายได้หลังเกษียณ ผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยไปจนถึงอายุที่กำหนด แล้วบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้เราเมื่อเราเกษียณ โดยสามารถใช้ ลดหย่อนภาษีประกันชีวิต ได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่มากสุดไม่เกิน 200,000 บาท รวมสิทธิลดหย่อนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ เช่น สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน RMF, สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน SSF ฯลฯ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

เทคนิคเลือกซื้อประกันให้ได้ลดหย่อนสูงสุด
   เทคนิคในการเลือกซื้อ ประกันลดหย่อนภาษี ให้ได้รับการลดหย่อนมากที่สุด มีดังต่อไปนี้
   1. คำนวณภาษีที่ต้องจ่าย คำนวณโดยใช้สูตร “เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ” จากนั้นนำ “เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย” หากมีรายได้หลายทาง ให้นำรายได้ทั้งหมดที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.5% = ภาษีที่ต้องจ่าย
   2. ทำเช็กลิสต์สิทธิลดหย่อนภาษีที่เรามีทั้งหมด เช่น สิทธิ ลดหย่อนภาษีประกันชีวิต, สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน RMF, สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน SSF ฯลฯ เพื่อตรวจทานว่าเรามีสิทธิลดหย่อนภาษีจากแหล่งใดและเท่าไหร่บ้าง
   3. เลือกซื้อประกันที่ตอบโจทย์ ตรงกับความต้องการ เช่น หากต้องการวางแผนเกษียณ ควรเลือกประกันแบบบำนาญ หรือสะสมทรัพย์ เป็นต้น
   
   ความสำคัญของการทำประกันชีวิตมีมากอย่างคาดไม่ถึง สำหรับใครที่กำลังมองทำประกันชีวิตแบบไหนดีที่ไว้ใจได้ เราขอแนะนำ ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ สมาร์ท เซฟเวอร์ 15/5 จากธนาคารกรุงไทย ที่นอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังให้ผลตอบแทนคุ้มค่าตลอดทั้งสัญญาสูงสุด 587.5% ของทุนประกัน จ่ายเบี้ยประกันเพียง 5 ปี ก็ได้รับความคุ้มครองถึง 15 ปี