การเป็นหนี้เป็นสิ่งที่หลายๆ คนไม่อยากเป็นอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเรารู้สึกว่าหนี้ที่มีนั้นจ่ายไม่ไหว การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นช่องทางออกสำหรับคนยุคปัจจุบันที่มีหนี้สินเยอะจนเริ่มจัดการไม่ไหว การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร เราไปหาคำตอบด้วยกัน
“การปรับโครงสร้างหนี้” คือการขอปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการชำระหนี้ใหม่ จากที่เคยผ่อนจ่ายหนี้ในแต่ละเดือนด้วยความยากลำบาก ก็ขยายระยะเวลาออกไป ทำให้เราสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระหนี้ ช่วยบรรเทาผลกระทบความเสียหาย ไม่เกิดหนี้เสีย หรือ NPL ในกรณีที่จ่ายไม่ทันอาจส่งผลให้ถูกฟ้องร้องหรือยึดทรัพย์ ทำให้ชื่อเสียงทางการเงินไม่ดี ถูกขึ้นบัญชีดำเครดิตบูโรว่าค้างชำระไปนานถึง 3 ปี อาจกู้ไม่ผ่านในครั้งต่อไป
ยื่นขอปรับโครงสร้างหนี้ไม่ได้ทำให้หนี้ที่มีอยู่หายไป แต่เป็นการยืดเวลาการผ่อนให้นานขึ้นนั่นเอง
ข้อดีและข้อเสียของการปรับโครงสร้างหนี้
ข้อดีของการ ปรับโครงสร้างหนี้ คือเพิ่มเวลาการชำระหนี้ออกไป กรณีที่มีเหตุทำให้หาเงินมาจ่ายไม่ทันกำหนด อาจเกิดอุบัติเหตุ ตกงาน หรือมีเรื่องด่วนต้องใช้เงินฉุกเฉิน เจ้าหนี้ของเราซึ่งอาจเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินอาจเสนอให้รวมหนี้เข้ากับ
เป็นหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล กลายเป็นยอดหนี้เดียวกันเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยให้ถูกลง เท่ากับเราได้ประโยชน์ ยืดระยะเวลาปลดหนี้ได้ จ่ายแต่ละงวดน้อยลง แม้โดยรวมจะเสียดอกเบี้ยมากขึ้น แต่ก็ช่วยป้องกันปัญหาลุกลามกลายเป็นหนี้เสีย
ข้อเสียของการ ปรับโครงสร้างหนี้ คือการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยปกติจะรวมยอดหนี้เดิมทั้งหมด บวกกับดอกเบี้ย ค่าปรับ และค่าทวงถามหนี้ รวมกันเป็นยอดหนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม บวกกับดอกเบี้ยอีก 12% ต่อปี เท่ากับยอดหนี้ไม่ลดลง ทั้งยังต่อยอดเพิ่มเข้าไปอีก แต่ก็ดีกว่าเกิดหนี้เสีย เพราะไม่มีทางแก้ไขวิธีอื่นได้ เป็นทางออกของปัญหาในช่วงที่รายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น จนหาเงินมาจ่ายหนี้ไม่ไหว
ทางเลือกปรับโครงสร้างหนี้ มีหลายรูปแบบ ดังนี้
1.การขยายเวลาชำระหนี้ ยืดระยะเวลาผ่อนหนี้ออกไป จากเดิมมีกำหนดผ่อน 5 ปี ผ่อนไปแล้ว 2 ปี อาจยืดเวลาออกไปเป็น 8 ปี โดยพิจารณาอายุของผู้กู้ด้วยว่าเหมาะสมไหม ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนน้อยลงและจ่ายไหว
2.การลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ค่างวดแต่ละเดือนลดลง ภาระดอกเบี้ยโดยรวมน้อยลง ถ้ามีประวัติการผ่อนชำระสม่ำเสมอ หรือมีหลักประกัน ก็จะมีโอกาสมากขึ้น
3.การผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ โดยปกติหากผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยสูงสุด เช่น เพิ่มจาก 8% ต่อปี ไปถึง 20% ต่อปี แต่การผ่อนปรนดอกเบี้ยทำให้จ่ายดอกเบี้ยผิดนัดชำระในส่วนที่เป็นเงินต้นเท่านั้น
4.การพักชำระเงินต้น ในเดือนที่ต้องการพักชำระเงินต้นจะจ่ายค่างวดเฉพาะดอกเบี้ย แต่เงินต้นไม่ลด ทำให้ต้องผ่อนนานขึ้น จ่ายดอกเบี้ยรวมเยอะขึ้น แต่ก็ช่วยให้รอดพ้นช่วงเงินช็อตไปได้
5.การปิดหนี้ด้วยเงินก้อน กรณีที่หาเงินก้อนใหญ่มาจ่ายปลดหนี้ก่อนกำหนด แม้จะยังปิด
รวมหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดไม่ได้ แต่ก็ช่วยให้จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง และอาจเจรจาขอส่วนลดสำหรับปิดหนี้ได้ด้วย
6.การเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน คือการขอกู้เงินเพิ่มจากสถาบันการเงิน ช่วยพยุงกิจการให้อยู่รอดต่อไปได้ในช่วงวิกฤต
7.การเปลี่ยนประเภทหนี้ เปลี่ยนประเภทหนี้ดอกเบี้ยแพงให้จ่ายถูกลง เช่น ปรับโครงสร้างเป็น
ติดหนี้บัตรเครดิต กลายเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล โดยนำเงินก้อนไปปิดหนี้บัตรเครดิตดอกเบี้ยสูงก่อน วิธีนี้ทำให้แบกภาระดอกเบี้ยน้อยกว่าเดิม
8.รีไฟแนนซ์ เป็นการขอสินเชื่อเจ้าหนี้ใหม่มาใช้หนี้เก่า ซึ่งคิดดอกเบี้ยแพง ช่วยให้จ่ายค่างวดถูกลง อาจเป็นการรวมหนี้ทั้งหมดมาจ่ายเจ้าหนี้รายเดียว ช่วยลดจำนวนเงินที่จ่ายในแต่ละงวดได้มาก
ทั้ง 8 วิธี ขอปรับโครงสร้างหนี้ รวมก้อนหนี้บัตรเครดิตเป็นทางออกฉุกเฉิน ช่วยให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลง ก่อนจะเกิดหนี้เสียส่งผลให้ถูกฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ ซึ่งอาจเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นเราควรที่จะปรึกษากับสถาบันทางการเงินก่อนที่จะเกิดปัญหา