ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ชวนรู้ สารประกอบหลักในบุหรี่ไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

การสูบบุหรี่ไฟฟ้าในแต่ละครั้งมีสารอะไรบ้างที่ประกอบอยู่ พาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับสารต่าง ๆ ที่น่ารู้

สารประกอบหลักในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มือใหม่หัดสูบควรรู้ไว้ เพราะสารเหล่านี้มักส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราโดยตรงในระยะยาว ซึ่งประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ มากมาย โดยบุหรี่ไฟฟ้านั้นจะไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป และในวันนี้เราจะพามาดูกันว่ามีสารอะไรบ้างที่มีอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้าที่เหล่านักสูบบุหรี่ไฟฟ้าควรรู้

สารประกอบหลัก ๆ ที่พบในบุหรี่ไฟฟ้า
1.นิโคติน
สารประกอบสำคัญที่จะต้องพบในการสูบบุหรี่ไม่ว่าจะทั้งการสูบบุหรี่ทั่วไป หรือ การสูบบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สามารถดูดซับและละลายในน้ำได้ และระเหยได้ง่ายในอุณหภูมิห้อง และเนื่องจากนิโคตินเป็นสารประกอบไนโตรเจน เนื่องจากนิโคตินในรูปของเบสอิสระจะสามารถถูกเผาไหม้และระเหยไปได้ที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส ดังนั้นนิโคตินที่อยู่ในบุหรี่จึงสามารถระเหยไปได้เมื่อถูกเผาไหม้
2.โพรไพลีนไกลคอล
สารชนิดนี้เป็นส่วนประกอบในสารสำหรับการทำให้เกิดไอ เป็นสารประกอบเคมีอินทรีย์ที่อยู่ในกลุ่มของโพลีไฮดรอกซีแอลกอฮอล์ โดยมีการใช้งานในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมอาหาร ในการแพทย์และร้านขายยาเป็นของเหลวสำหรับกระจายส่วนผสมออกฤทธิ์ของยา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาสูบซึ่งเป็นสารเจือจางนิโคติน
3.กลีเซอรีน
กลีเซอรีน หรือเรียกอีกอย่างว่า Glycerol คือของเหลวชนิดหนึ่งที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีรสหวาน ที่มีแอลกอฮอล์และน้ำตาลไตไฮดรอกซีเป็นส่วนประกอบ โดยกลีเซอรีนมีทั้งแบบสังเคราะห์ และแบบธรรมชาติ เป็นสารเพิ่มความชื้นที่จะผสมผสานกับสารโพรไพลีนไกลคอล โดยองค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหารและยา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันแบบ 100% ว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือสูดเข้าไปแล้วจะมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
4.สารแต่งกลิ่นและรส
สารชนิดนี้คือสารที่มีการใส่ลงไปในอาหาร หรือ เครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้สินค้าเหล่านี้เกิดกลิ่นและรสชาติตามที่ต้องการ โดยเฉพาะในบุหรี่ไฟฟ้าที่ต้องมีการแต่งสีและกลิ่นลงไปในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้สูบเกิดอรรถรส โดยปกติทั่วไปสารแต่งกลิ่นรสจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ สารกลิ่นรสตามธรรมชาติ (Natural Flavoring ) สารแต่งกลิ่นรสเลียนแบบธรรมชาติ  (Natural Identical Flavoring) และสารแต่งกลิ่นสังเคราะห์ (Artificial Flavoring)
5.ฟอร์มาลดีไฮด์
สารฟอร์มาลดีไฮด์ คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปแบบก๊าซ ไม่มีสี เป็นสารเคมีกลิ่นฉุนรุนแรง มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นส่วนประกอบหนึ่งของฟอร์มาลีน อีกทั้งฟอร์มาดีไฮด์เป็นองค์ประกอบการสังเคราะห์สารประกอบต่าง ๆ มักพบในงานผลิตประเภทเฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ ผ้า และสีทาบ้าน และสารเคมีพื้นฐานในการผลิตวัสดุทั่วไป เช่น พลาสติก วัสดุก่อสร้าง กาว โดยสารฟอร์มาลดีไฮด์มักพบปนเปื้อนอยู่ในควันของบุหรี่ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเมื่อเราทำการสูบนั่นเอง
6.อาร์เซนิค
เป็นสารที่มีคุณสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสารประกอบ ทั้งสารประกอบอินทรีย์ (Organic arsenic) และสารประกอบอนินทรีย์ (Inorganic asenic) ได้แก่ อลิฟาติค อาร์ซีน อโรเมติค อาร์ซีน และเฮดเทโรไซคริค อาร์ซีน มักจะถูกนำไปใช้ในทางด้านเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ รวมไปถึงมักพบในวงการอุตสาหกรรม การผลิตวัสดุต่าง ๆ และการแพทย์ เช่น การย้อมผ้า และทำสี เมื่อเวลาเราเริ่มสูบจนกลายเป็นควันไอออกมาก็มักจะพบสารเหล่านี้ประกอบอยู่ด้วย โดยสารชนิดนี้เมื่อได้รับในปริมาณที่มากเกินไป หรือหากสัมผัสโดนผิวหนังโดยตรงจะค่อนข้างมีอันตรายอย่างมาก

จบไปแล้วกับสารประกอบต่าง ๆ ที่มักพบในบุหรี่ไฟฟ้า นอกจากสารเหล่านี้แล้วนั้นยังมีสารอื่น ๆ อีกมากที่ปะปนอยู่หลังจากเราเริ่มทำการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นสารที่เกิดจากควัน หรือเกิดจากกลิ่นและรสชาติของน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า มีทั้งสารที่เป็นอันตรายและปลอดภัยในส่วนผสม แต่ถึงอย่างไรหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นขอแนะนำให้เพื่อน ๆ ใช้งานในปริมาณที่พอดี เหมาะสมต่อร่างกายในแต่ละวัน

หากเพื่อนสนใจการสูบบุหรี่ไฟฟ้าสามารถแวะไปดูเพิ่มเติมได้ที่ https://c9shop.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2023, 03:52:51 AM โดย มิส ปลาดาว »