ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ปัสสาวะเล็ด ปัญหากวนใจที่สามารถรักษาหายได้

ปัสสาวะเล็ด ปัญหากวนใจที่สามารถรักษาหายได้

คนที่ประสบปัญหาปัสสาวะเล็ดแล้วไม่ได้รับการรักษา จะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางสังคมและจิตใจ เพราะร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอจากการต้องตื่นบ่อยครั้งเพื่อเข้าห้องน้ำกลางดึก ทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน และมีความกังวลหากต้องเดินทางไกลไปทำงาน จนในที่สุดมีอาการซึมเศร้ากระทั่งหมดความมั่นใจที่จะเข้าสังคม
 
แต่ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไปแล้วเพราะสามารถรักษาหายได้ ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยค่อย ๆ ดีขึ้น เราจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัสสาวะเล็ด อาการ สาเหตุที่ทำให้มีอาการฉี่เล็ด แล้วหาวิธีป้องกันและรักษาเพื่อที่จะได้รักษาคุณภาพชีวิตที่ดี การละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้มีแต่ผลเสียเพราะปัสสาวะมีฤทธิ์กรดอ่อน ๆ ที่จะทำให้เนื้อเยื่อเป็นแผลและเป็นแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้

ปัสสาวะเล็ด คือ

ปัสสาวะเล็ด คือ อาการที่ปัสสาวะไหลออกมาจากท่อปัสสาวะโดยที่ควบคุมไม่ได้ มักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็นผู้ใหญ่แล้วประมาณเกือบ 50% และยังมักพบในผู้สูงอายุที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ
 
เราสามารถแบ่งภาวะปัสสาวะเล็ดออกได้เป็น 4 ชนิดคือ

1. ปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง (stress incontinence) ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นแต่กระเพาะปัสสาวะไม่หดตัวร่วมด้วย เช่น จาม หัวเราะ กระโดด ออกกำลังกาย ยกน้ำหนัก ไอจนฉี่เล็ด

2. ปัสสาวะเล็ดทันทีที่ปวดปัสสาวะ (urgency incontinence) ทั้งที่ปัสสาวะยังไม่มากพอ แต่เพราะระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการขับถ่ายบกพร่อง หรือ เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

3. ปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง และทันทีที่ปวดปัสสาวะ (mixed incontinence)

4. ปัสสาวะเล็ดตลอดเวลาเพราะมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ (overflow incontinence) จากการที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถบีบตัวเนื่องจากมีความบกพร่องเกิดที่ประสาทสั่งงาน ทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาเรื่อย ๆ ในปริมาณน้อย ๆ แม้จะไม่รู้สึกปวดเลย

ปัสสาวะเล็ด คือ

อาการปัสสาวะเล็ด

ปัสสาวะเล็ดเป็นอาการที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และเนื้อเยื่อช่องคลอดที่อยู่รอบ ๆ ท่อปัสสาวะ และคอของกระเพาะปัสสาวะมีแรงพยุงไม่มากพอ ทำให้ไม่สามารถปิดได้สนิท และเมื่อมีแรงดันในช่องท้องเกิดขึ้นจากการออกแรงทำกิจกรรม ก็จะส่งผลให้ปัสสาวะเล็ด  นอกจากนี้อาการ “ฉี่เล็ด” อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายในการควบคุมปัสสาวะ
 
โดยมากอาการปัสสาวะเล็ดจะสังเกตได้จาก

  • มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย ๆ ปวดวันละหลาย ๆ รอบ ปกติควรปัสสาวะทุก 3-4 ชม. หรือวันละ 4-8 ครั้ง
  • ปัสสาวะเล็ดเมื่อมีปัสสาวะล้น
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • มีปัสสาวะไหลซึม โดยไม่รู้ตัว

สรุปอาการปัสสาวะเล็ดจะมีน้ำปัสสาวะเล็ดลอดออกมานอกระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างโดยไม่รู้ตัว และควบคุมไม่ได้ ซึ่งอาจเกิดจาก

  • ความดันในกระเพาะปัสสาวะสูงกว่าความดันภายในท่อปัสสาวะที่ปิดอยู่ ทำให้น้ำปัสสาวะเล็ดรอดออกมา
  • กระเพาะปัสสาวะมีรูรั่ว ทำให้เก็บกักน้ำปัสสาวะไม่ได้

อาการปัสสาวะเล็ด

ต้นเหตุของปัสสาวะเล็ด

ปัสสาวะเล็ดเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือต่อมลูกหมากโตเรื้อรัง ทำให้มีปัสสาวะตกค้างในกระเพาะปัสสาวะจำนวนมากจนฉี่เล็ดออกมาโดยไม่รู้ตัว
  • อายุมากขึ้นทำให้ร่างกายถดถอย ระบบขับถ่ายขาดความยืดหยุ่นและเสื่อมสภาพ ทำให้ควบคุมการปัสสาวะได้ไม่ดีเหมือนตอนยังหนุ่มสาว จนอาจเกิดอาการฉี่เล็ด
  • เนื่องด้วยมีปัญหาถุงน้ำบริเวณท่อปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต ทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาเล็กน้อยหลังจากปัสสาวะเสร็จแล้ว
  • การกินยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ อาจทำให้ปัสสาวะเล็ด
  • กระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือโรคทางระบบประสาท ทำให้ไม่สามารถคุมการปัสสาวะเล็ดได้
  • มีปัญหาทางร่างกายทำให้ไปห้องน้ำลำบาก จนอาจเกิดอาการฉี่เล็ด
  • มีปัญหาทางสมอง เช่น สมองเสื่อม จนทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ด
  • กินอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ ซึ่งไปกระตุ้นให้ท่อปัสสาวะเปิด จนเกิดอาการฉี่เล็ดขึ้นมาได้
  • มีอาการท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้อาการปัสสาวะเล็ดรุนแรงขึ้น
  • น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นจนทำให้เกิดแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะ จนทำให้มีอาการปัสสาวะเล็ด
  • ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้เยื่อบุในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะเสื่อมสภาพ ก่อให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดผู้หญิง
  • กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแอที่เกิดจากหญิงตั้งครรภ์ และคลอดบุตร หรืออายุมากขึ้น

ผู้ชายเป็นปัสสาวะเล็ดได้ไหม

ผู้ชายก็เป็นปัสสาวะเล็ดได้โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องด้วยสรีระโครงสร้างของผู้ชายนั้นจะมีกระเพาะปัสสาวะอยู่ใกล้กับต่อมลูกหมาก โดยที่มีต่อมลูกหมากไว้ช่วยในเรื่องของการกลั้นปัสสาวะ
 
โดยปกติแล้วต่อมลูกหมากจะหยุดเติบโตเมื่ออายุ 20 ปี จนกระทั่งอายุ 50 ปีก็จะกลับมาเติบโตอย่างรวดเร็วอีกครั้ง ต่อมลูกหมากจะโตขึ้นจนไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะทำงานหนักเกินไปจนอ่อนแอลง บวกกับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของผู้ชายเมื่ออายุมากขึ้นก็อ่อนแอลงเช่นกัน ทำให้มีอาการฉี่เล็ดผู้ชายเกิดขึ้นได้
 
แต่ปัญหานี้แก้ไขได้หากรู้สาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ดในผู้ชาย วิธีแก้ไขมีหลากหลายทาง เช่น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หรือใช้วิธีทางการแพทย์ เช่น การใช้ยารักษา, การผ่าตัด หรือ การใช้คลื่นพลังงานอิเล็กโตรแมกเนติกเพื่อช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ เป็นต้น

ผู้ชายเป็นปัสสาวะเล็ดได้ไหม

อาการปัสสาวะเล็ด รักษาอย่างไร

อาการปัสสาวะเล็ดเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อให้เลือกใช้วิธีการรักษาให้เหมาะสม เราได้ทำการจับคู่สาเหตุของอาการปัสสาวะเล็ด ว่าวิธีการรักษาแต่ละแบบทำได้อย่างไรบ้าง ดังนี้

• เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดฝ่อตัว และแห้งจนเสี่ยงเกิดภาวะฉี่เล็ดได้

วิธีแก้ปัสสาวะเล็ด : ฝึกขมิบกล้ามเนื้อเชิงกราน (ช่องคลอด) ไว้นาน 8-12 ครั้ง ทำ 3 รอบต่อวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 15-20 สัปดาห์ หรือใช้วิธีทางการแพทย์ด้วยการสอดขั้วไฟฟ้ากำลังอ่อนเข้าไปทางช่องคลอดแล้วกระตุ้นให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานทำงานดีขึ้น จะใช้เฉพาะกับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอ่อนแรงมาก

• เกิดจากมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น จนปัสสาวะเล็ด

วิธีแก้ปัสสาวะเล็ด : ฝึกขมิบ (กลั้นไว้ 10 วินาที แล้วคลาย ทำ 30 ครั้ง/รอบ 3 เวลา/วัน) เพื่อบริหารหูรูดให้กระชับและมีแรงกลั้นปัสสาวะเล็ด

• เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท หรือปัสสาวะไวกว่าปกติ

วิธีแก้ปัสสาวะเล็ด :ปรับพฤติกรรมด้วยการลดปริมาณน้ำดื่ม ด้วยการดื่มปริมาณครั้งละน้อย ๆ พยายามปัสสาวะให้เป็นเวลา หรือกินยาแอนติโคลิเนอร์จิกลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ

• กรณีที่ใช้ยากินรักษาอาการฉี่เล็ดแล้วไม่ได้ผล หรือไม่อาจใช้ยากินได้ สามารถรักษาได้หลายวิธี

  • ใส่ยาตรงเข้ากระเพาะปัสสาวะ เพื่อยับยั้งการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  • ใช้การผ่าตัดเพื่อเสริมแรงต้านบริเวณท่อปัสสาวะ ช่วยให้การทำงานของท่อปัสสาวะดีขึ้น
  • โดยการใส่อุปกรณ์ทำจากวัสดุสังเคราะห์เพื่อแขวนท่อปัสสาวะส่วนกลาง ซึ่งนิยมมากและสำเร็จสูง
  • ใช้คลื่นความถี่รังสีส่องผ่านทางท่อปัสสาวะเพื่อทำลายคอลลาเจน เหมาะกับไอฉี่เล็ดที่เกิดจากการออกแรง
  • การฝังเข็มโดยใช้ไฟฟ้าที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วน lumbosacral region ประมาณ 1-8 ครั้งใน 72 ชม. เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์ และเมื่ออาการดีขึ้นก็ให้รักษาต่อวิธีเดิมแต่เป็น 2 ครั้งใน 72 ชม. อีก 6 สัปดาห์
  • การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ นาน 2-4 สัปดาห์

การป้องกันปัสสาวะเล็ด

อาการปัสสาวะเล็ดสามารถป้องกันได้ด้วยการปฏิบัติตนดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทมีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และน้ำอัดลม
  • ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับตัวยาที่มีผลต่อปัญหาปัสสาวะเล็ด เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงไม่กิน
  • รักษาอาการไอจามเรื้อรัง
  • รักษาอาการท้องผูกที่ไปเพิ่มความดันในช่องท้องที่ทำให้ฉี่เล็ด ด้วยการกินอาหารที่มีกากใย
  • ออกกำลังกายทุกวัน นาน 30 นาทีเป็นอย่างน้อยต่อครั้ง หมั่นบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและหูรูดทุก ๆ วัน
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ลดน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน ด้วยการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับโครงสร้างร่างกายและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เป็นการลดแรงบีบต่อกระเพาะปัสสาวะ ที่ทำให้เกิดอาการฉี่เล็ด
  • ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ

การป้องกันปัสสาวะเล็ด

สรุปเรื่องอาการปัสสาวะเล็ด

ปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะเล็ดนั้นเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ถึงแม้จะเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก แต่เมื่อไรที่เกิดขึ้นมาจะส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจอีกด้วย
 
อย่างไรก็ตามเราหวังว่าบทความนี้จะช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจว่าปัญหาปัสสาวะเล็ดนี้สามารถแก้ไขได้ ด้วยการรักษาให้อาการดีขึ้น หรือหายขาดได้ และกลับมาใช้ชีวิตในสังคมเฉกเช่นบุคคลปกติทั่ว ๆ ไปที่ไม่เคยประสบปัญหาอีกต่อไป