ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


โรคซึมเศร้าเรื้อรังสังเกตจากอะไร อาการแบบไหนเข้าข่ายซึมเศร้าเรื้อรัง

สังเกตอาการซึมเศร้าเรื้อรังของตัวเองและคนใกล้ตัว พร้อมการดูแลและป้องกัน
ซึมเศร้าเรื้อรัง" border="0

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง แม้จะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโรคซึมเศร้า แต่ก็สามารถทำให้เกิดความทุกข์และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน การทำงาน และการเข้าสังคมไม่แตกต่างจากโรคซึมเศร้าเลย โดยสิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือผู้ป่วยหรือคนรอบตัวที่มีความเสี่ยงเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง อาจไม่สามารถบอกได้ว่าอาการและพฤติกรรมต่างๆ นั้นเป็นสัญญาณของซึมเศร้าเรื้อรังหรือไม่ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาเช็กกันว่าอาการแบบไหนเข้าข่ายซึมเศร้าเรื้อรัง อะไรคือสาเหตุของโรค รวมถึงวิธีป้องกันและรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรัง สามารถทำได้อย่างไร

อาการแบบไหน เข้าข่ายซึมเศร้าเรื้อรัง

ซึมเศร้าเรื้อรัง อาการ" border="0

Dysthymia หรือโรคซึมเศร้าเรื้อรัง คือหนึ่งในความผิดปกติทางอารมณ์ ความคิด และร่างกายที่อยู่ในกลุ่มภาวะซึมเศร้า โดยความผิดปกติของอารมณ์ ได้แก่ รู้สึกเศร้า ไม่มีความสุข ความผิดปกติของความคิด ได้แก่ ขาดสมาธิ ตัดสินใจไม่ได้ ไม่มั่นใจในตัวเอง หรือความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย ได้แก่ ความผิดปกติด้านการกิน การนอน อ่อนล้าไร้เรี่ยวแรง เป็นต้น

ซึ่งถึงแม้ซึมเศร้าเรื้อรังจะมีความรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) แต่จะมีอาการเรื้อรังติดต่อกันเป็นระยะเวลานานสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ผู้ป่วย โดยอาการของโรคซึมเศร้าเรื้อรังอาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรืออาจเกิดในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งจนเข้าใจไปว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะฉะนั้นลองสำรวจกันว่าตัวคุณหรือคนใกล้ชิดมีลักษณะอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

  • รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง เหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
  • รู้สึกเบื่ออาหาร หรืออยากกินอาหารมากกว่าปกติ
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ นอนไม่หลับหรือนอนมากไป
  • หงุดหงิด โกรธง่าย หรือมีอารมณ์โกรธรุนแรงมากเกินปกติ
  • ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  • ขาดความเชื่อมั่น ตำหนิตัวเองบ่อยๆ ไม่รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง
  • หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม ไม่อยากพบเจอผู้คน

โดยสำหรับผู้ใหญ่จะพบความผิดปกติของอารมณ์ร่วมกับอาการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 2 ปี สำหรับเด็กและวัยรุ่น อาจมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งหากเกิดอาการดังกล่าว แนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยซึมเศร้าเรื้อรัง และพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

สาเหตุของภาวะซึมเศร้าเรื้อรังเกิดขึ้นจากอะไร
สาเหตุของภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง" border="0

แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคซึมเศร้าเรื้อรัง dysthymia ได้อย่างแน่ชัด แต่ก็มีการสันนิษฐานว่าอาจเกิดขึ้นจากหลากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • สาเหตุทางพันธุกรรม พ่อแม่ญาติพี่น้องหรือบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า
  • การทำงานผิดปกติหรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม และการแสดงออกทางอารมณ์
  • ลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบางอย่าง เช่น นิสัยมองโลกในแง่ร้าย มองสิ่งต่างๆ ในแง่ลบ วิตกกังวลง่าย เก็บกดอารมณ์ ไม่แสดงออก ฯลฯ
  • ประสบเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ เผชิญกับความตึงเครียดหรือตกอยู่ในสภาวะย่ำแย่กดดัน เช่น ถูกคุกคามทางเพศ ถูกทอดทิ้ง หย่าร้าง ตกงาน ปัญหาการเงิน ฯลฯ
  • ปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถกระตุ้นให้เป็นซึมเศร้าเรื้อรัง เช่น การใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ หรือภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น

จะทำอย่างไร? หากต้องการป้องกันซึมเศร้าเรื้อรัง

แม้ว่าจะยังไม่ทราบถึงกลไกการเกิดซึมเศร้าเรื้อรังที่แน่ชัด แต่ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงก็ยังสามารถป้องกันไม่ให้ตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังได้โดย

  • ฝึกตัวเองให้สามารถรับมือกับความเครียด หาวิธีที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด
  • ผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ทำแล้วมีความสุขหรือเกิดความภูมิใจ
  • หากมีเรื่องที่ทำให้เครียดหรือเป็นทุกข์ ลองพูดคุยกับคนที่ไว้ใจเพื่อระบายสิ่งที่อัดอั้นอยู่ภายในใจ อย่าเก็บกดความรู้สึกไว้
  • รักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนใกล้ตัว ออกไปพบปะพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัวบ่อยๆ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • หมั่นสังเกตอารมณ์ของตัวเอง หากรู้สึกผิดปกติ หรือไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ และความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์

การตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรัง
การวินิจฉัยและรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรัง" border="0

การวินิจฉัยซึมเศร้าเรื้อรัง จิตแพทย์จะใช้การสัมภาษณ์ประวัติและตรวจสภาพจิต โดยในเบื้องต้นจะมีการสอบถามประวัติ ได้แก่ ประวัติโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยหรือบุคคลในครอบครัว และอาการผิดปกติต่างๆ ได้แก่ ในผู้ใหญ่มีอารมณ์ซึมเศร้าต่อเนื่องนานกว่า 2 ปี หรือกรณีเด็กและวัยรุ่นอาจมีอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี ฯลฯ

โดยในปัจจุบันเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะซึมเศร้าเรื้อรังจะใช้ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, 5th Edition, Text Revision (DSM-V-TR) ของสมาคมจิตแพทย์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) และ International Classification of Disease, 11th Edition (ICD-11) ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization)

ซึ่งหากอาการตรงตามเกณฑ์วินิจฉัย ก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยกำลังเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง ดังนั้นแพทย์จึงต้องใช้การตรวจด้วยวิธีต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อค้นหาว่าอาการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับโรคทางกายบางชนิดหรือไม่ หากไม่ใช่โรคทางกาย ก็ต้องมีการประเมินอาการทางจิตเพิ่ม เพื่อดูความรุนแรงของอาการและพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

โดยในส่วนของการรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรัง dysthymia นั้น สามารถใช้วิธีรักษาด้วยยา และการรักษาด้วยจิตบำบัด หรืออาจใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกัน

  • วิธีรักษาด้วยยา (Pharmacological Treatment)
ปัจจุบันยาต้านเศร้ามีหลากหลายชนิด เช่น ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRIs) ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (TCAs) ยาต้านเศร้ากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ (SNRIs) โดยยาต้านเศร้ากลุ่มใหม่ๆ จะมีผลข้างเคียงต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มยาในอดีต อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาเพื่อปรับเปลี่ยนหายาที่เหมาะสม หรือปรับตัวต่อผลข้างเคียงของยา ข้อแนะนำสำคัญคือควรกินยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำ และห้ามหยุดใช้ยาเอง

  • การรักษาด้วยจิตบำบัด (Psychotherapy)
การทำจิตบำบัดมีหลากหลายวิธี ได้แก่ จิตบำบัดแบบความคิดและพฤติกรรม (CBT) จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (IPT) การกระตุ้นพฤติกรรม (Behavioral Activation) การบำบัดโดยการแก้ปัญหา (Problem solving Therapy) ฯลฯ โดยการเลือกวิธีบำบัดจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

โดยการรักษาซึมเศร้าเรื้อรังนั้นเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ระยะเวลา เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือการทำความเข้าใจกับโรคซึมเศร้าเรื้อรัง คอยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผน และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ให้กำลังใจและช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยดีขึ้น

วิธีดูแลตัวเองหรือคนใกล้ชิดเมื่อเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง
ดูแลตัวเองหรือคนใกล้ชิดเมื่อเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง" border="0

โรคซึมเศร้าเรื้อรังคืออาการป่วยทางจิตใจ ความคิด และร่างกาย ซึ่งในบางครั้งมันอาจเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ยาก หรือไม่สามารถสังเกตเห็นได้จากภายนอก อีกทั้งอาการต่างๆ ของซึมเศร้าเรื้อรัง มักเกิดขึ้นเป็นระยะๆ จนอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นจึงไม่ควรวินิจฉัยอาการด้วยตนเอง

ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรหันมาใส่ใจในการสังเกตตนเองและคนใกล้ชิดให้มากยิ่งขึ้น โดยสังเกตจากพฤติกรรมซึ่งเป็นการแสดงออกที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าอารมณ์ความคิด หากพบว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดมีพฤติกรรมผิดปกติแตกต่างไปจากเดิม เช่น หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม ไม่อยากพบปะพูดคุยกับใคร พฤติกรรมการกินการนอนผิดปกติ ดูอ่อนล้าไร้เรี่ยวแรง ไม่ค่อยมีสมาธิ ฯลฯ ซึ่งหากสังเกตเห็นอาการซึมเศร้าเรื้อรังดังกล่าวหรือสัญญาณอื่นๆ ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย

นอกเหนือจากการเข้ารับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรทางแพทย์แล้ว การสนับสนุนทางสังคม ทั้งเพื่อน คนใกล้ตัว และครอบครัว ก็เป็นปัจจัยที่ช่วยบรรเทาทุกข์จากภาวะซึมเศร้าเรื้อรังได้ โดยแนวทางที่สามารถช่วยดูแลคนใกล้ชิดเมื่อเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง มีดังนี้

  • พูดคุยและรับฟังผู้ป่วยซึมเศร้าเรื้อรัง
  • ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผู้ป่วยกำลังรู้สึก
  • ยอมรับผู้ป่วยซึมเศร้าเรื้อรังโดยปราศจากการตัดสิน
  • สนับสนุนและให้กำลังใจผู้ป่วยในการรักษาภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง
  • ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเรื้อรังให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด

สรุปเกี่ยวกับซึมเศร้าเรื้อรัง
ลองสังเกตตนเองและคนใกล้ตัวว่ากำลังมีภาวะอารมณ์หรือพฤติกรรมผิดปกติตามอาการที่เข้าข่ายซึมเศร้าเรื้อรังหรือไม่ ซึ่งหากประเมินแล้วพบความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ควรเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและพิจารณาวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป โดยสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยคือการทำความเข้าใจกับโรคซึมเศร้า รวมถึงเข้าใจแนวทางในการรับมือกับภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง โดยหากท่านใดอยากได้รับคำปรึกษาหมอออนไลน์เพื่อให้การช่วยเหลือก่อนในเบื้องต้น ก็สามารถทำได้ผ่านแอป Bedee ที่ให้คุณสามารถปรึกษาหมอได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 09, 2023, 05:00:03 PM โดย พรสัก ส่องแสง »