ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


Market Segmentation คืออะไร? ขั้นตอนการกำหนด Segmentation ต้องมีอะไรบ้าง

ในการทำธุรกิจเครื่องมือที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คงหนีไม่พ้นการวางแผนการตลาด (marketing) ให้ดี ซึ่งเครื่องมือสำคัญในการทำการตลาด เช่นการแบ่งส่วนการตลาด เลือกกลุ่มเป้าหมาย และวางตำแหน่งสินค้า สำหรับนักธุรกิจที่อยากวางแผนการตลอดต้องรู้จักกับ Market segmentation คือตัวช่วยวางแผ่นธุรกิจที่ดีให้กับคุณได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขายสินค้าผู้ซื้อคือส่วนสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ แต่จำนวนไม่ใช่คนที่จะสนใจสินค้าของเราทั้งหมด ดังนั้นการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่สนใจในตัวสินค้าของเราจริง ๆ คือใครกันแน่รวมถึงกลุ่มลูกค้าในอนาคตด้วย หากคุณต้องการทำการตลาดต้องเข้าใจเกี่ยวกับ Market Segmentation คืออะไร หาคำตอบได้ที่นี่ค่ะ

segmentation คือ


Market Segmentation คืออะไร?

Market Segmentation คือการแบ่งส่วนตลาดเป็นส่วนย่อย ๆ ที่มีลักษณะหรือข้อมูลที่คล้ายคลึงกันของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เนื่องจากลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายจะมีลักษณะที่คล้ายกันบางประการและคือกลุ่มลูกค้าที่สนใจสินค้าและบริการของเราโดยแท้จริง

business segment คืออะไร


ทำความรู้จัก STP – Segmentation, Targeting, Positioning

การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปหากคุณเข้าใจถึง segmentation คืออะไร และทำการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างเป็นขั้นตอน รวมถึงรู้จักลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และจะขาด 3 สิ่งที่ช่วยวิเคราะห์การตลาดไม่ได้คือ segmentation targeting positioning คืออะไรมีรายละเอียดในลำดับถัดไป

ก่อนอื่นต้องรู้จักกับ Stp ก่อนที่จะเข้าใจเรื่องของ segmentation targeting positioning คืออะไร ซึ่ง stp marketing คือ คำย่อมาจาก targeting positioning  segmentation คือเครื่องมือวิเคราะห์การตลาดที่สามารถกำหนดเป้าหมาย จัดทิศทาง และวางแผนกลยุทธ์การตลาด เพื่อให้ธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เป้าหมาย

1. Segmentation

การแบ่งส่วนตลาด segmentation คือ กระบวนการแบ่งกลุ่มลูกค้าดออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อทำการวิเคราะห์แบ่งส่วนตลาดดูว่าภาพรวมทั้งหมดมีส่วนไหนของตลาดที่สร้างยอดขายหรือสร้างกำไรมากที่สุด และตลาดส่วนไหนที่ทำให้ขาดทุน รวมถึงสามารถแบ่งลูกค้าที่มีลักษณะหรือพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน เช่น อายุ, เพศ, รายได้, พฤติกรรมการซื้อสินค้า เป็นต้น

2. Targeting

Targeting หรือกลุ่มเป้าหมายเป็นอีกส่วนสำคัญถัดจาก segmentation คือการเลือกกลุ่มเป้าหมายว่าสินค้าและบริการนี้จะขายให้กับใครซึ่งสามารถดูข้อมูลจาก segmentation ที่รวบรวมไว้และการเลือกกลุ่มเป้าหมายควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับสินค้าและบริการนั้นเป็นหลัก

โดยทั่วไปสามารถแยก Targeting ที่เหมาะกับรูปแบบขนาดตลาดได้ 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่เลือกตลาดใหญ่ที่ครอบคลุมทุก Segmentation ลูกค้าทุกกลุ่ม , เลือกตลาดเฉพาะกลุ่ม , เลือกลูกค้ากลุ่มเดียวหรือบางกลุ่ม และเลือกตลาดลูกค้ากลุ่มย่อยให้เหมาะสมกับรสนิยมของบุคคล

3. Positioning

Positioning คือการกำหนดตำแหน่งของสินค้าให้ตรงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายหรือเรียกว่า การสร้างจุดขายให้กับสินค้าและบริการของเรานั่นเอง อย่างเช่นสินค้าของคุณมีจุดเด่นอย่างไรบ้างเมื่อเทียบกับคู่แข่ง หรือสินค้าและบริการของคุณมีข้อแตกต่างจากเจ้าอื่นอย่างไร ฯลฯ ถึงอย่างไรก็ตามการนำเสนอ Positioning ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลักจึงจะชนะใจของลูกค้าได้

ประเภทของ Segmentation

segmentation คือการแบ่งกลุ่มตลาดของลักษณะการซื้อของลูกค้าที่ละเอียดและเจาะลึก ซึ่งจะเป็นการหาว่าลูกค้าของสินค้านั้น ๆ หรือบริการคือใคร ยกตัวอย่าง Segmentation ที่สำคัญ 5 แบบได้แก่ Demographic ,  Geographic , Behavioral , Benefit Segmentation ,และ Psychographic มีรายละเอียดดังนี้

marketing segmentation คือ

1. demographic segmentation

demographic segmentation คือ (การแบ่งกลุ่มตามลักษณะประชากร) เป็นการแบ่งกลุ่มของลูกค้าตามลักษณะทางด้านประชากร โดยข้อมูลที่ทำการกำหมดส่วนตลาดได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา สถานะภาพ เป็นต้น

2. behavioral segmentation

behavioral segmentation คือ(การแบ่งกลุ่มตามพฤติกรรมการซื้อ) คือการรวบรวมข้อมูลหรือพฤติกรรมการซื้อสินค้าหรือบริการในตลาดของผู้ใช้งาน ซึ่ง behavioral segmentation ตัวอย่างข้อมูลที่รวบรวมได้แก่ ความถี่ อัตราการใช้ ฯลฯ

3. Geographic segmentation

Geographic segmentation คือ (การแบ่งกลุ่มตามลักษณะทางภูมิศาสตร์) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายว่าพื้นที่ไหนเหมาะแก่ทำการตลาดหรือขายสินค้าและบริการ ข้อมูลที่รวบรวมได้แก่ ประเทศ จังหวัด ภูมิภาค ฯลฯ

4. Psychographic segmentation

Psychographic segmentation คือ(การแบ่งกลุ่มตามลักษณะทางจิตวิทยา) การแบ่งกลุ่มตามจิตวิทยาของผู้ใช้ในตลาดที่เป็นข้อมูลที่จำเป็นในการตัดสินใจซื้อ โดยต้องใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้แก่ ความนิยม รูปแบบ ไลฟ์สไตล์ ความเชื่อมั่น เป็นต้น

5. Benefit Segmentation

Benefit Segmentation คือ (การแบ่งกลุ่มตามประโยชน์) การแบ่งกลุ่มลูกค้าตามประโยชน์หรือคุณสมบัติที่ลูกค้าจำเป็นต้องซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น ประโยชน์ทางสุขภาพ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ประโยชน์ต่อความสะดวกสบาย เป็นต้น

ขั้นตอนการกำหนด Segmentation

การใช้งาน Segmentation คือเป็นตัวช่วยสำคัญกับธุรกิจที่สามารถจัดทำกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของกลุ่มลูกค้าในตลาดทั้งความนิยม ไลฟ์สไตล์ หรืออื่น ๆ จึงช่วยเพิ่มโอกาสและลดความเสี่ยงไปด้วย ซึ่งขั้นตอนการกำหนด Segmentation มีดังนี้

customer segmentation ตัวอย่าง

วิเคราะห์การตลาด

ใช้เครื่องมือ segmentation targeting positioning เพื่อวิเคราะห์การตลาดเพราะทั้ง STP เป็นส่วนช่วยกำหนดเป้าหมาย จัดทิศทาง และวางแผนกลยุทธ์การตลาดได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในตลาดได้ดีที่สุด

แบ่งกลุ่มตลาดตามลักษณะเฉพาะ

segmentation คือการแบ่งกลุ่มตลาดของลักษณะการซื้อของลูกค้าที่ละเอียดและเจาะลึก จึงควรรวบรวมข้อมูลในตลาด ในส่วนของลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะของกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจมีการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ร่วมด้วยเช่น กราฟ สถิติ เป็นต้น

วิเคราะห์ข้อมูลที่น่าสนใจ

เมื่อทำการการสำรวจลูกค้า วิเคราะห์การตลาด และแบ่งกลุ่มตลาดตามลักษณะเฉพาะจะได้ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำพร้อมนำไปใช้เช่นลูกค้าสนใจสินค้าแบบไหน รูปแบบ ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น นำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลทั้งหมด

การกำหนดกลุ่มลูกค้า

เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่น่าสนใจเรียบร้อยแล้วจะเห็นได้ว่ากลุ่มลูกค้ากลุ่มไหนสนใจและคาดว่าจะเป็นลูกค้าของสินค้าและบริการของเรามากที่สุด เป็นเลือกประเภทของ Targeting ที่เหมาะกับรูปแบบขนาดตลาด แล้วทำการสร้างจุดขายให้กับสินค้าในลำดับถัดไป

ปรับกลยุทธ์ตลาดและประเมินผล

ขั้นตอนทั้งหมดได้แก่ วิเคราะห์การตลาด แบ่งกลุ่มตลาดตามลักษณะเฉพาะ  วิเคราะห์ข้อมูลที่น่าสนใจ และการกำหนดกลุ่มลูกค้า ล้วนเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการนำมาปรับกลยุทธ์ตลาดเพื่อวางแผนให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายรวมถึงการประเมินผลด้วย

ข้อดี ข้อจำกัดในการทำ Segmentation ต่อธุรกิจ

การกำหนด segmentation คือขั้นตอนสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ทางตลาด อีกทั้งยังช่วยให้สินค้าและบริการมีการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้นด้วย ทั้งนี้การทำ Segmentation ต่อธุรกิจมีข้อดีหลายข้อแต่ก็มีข้อจำกัดด้วยเช่นก่อน ดังนี้

ข้อดีของในการทำ Segmentation ต่อธุรกิจ

แน่นอนว่าหากผู้ประกอบการทราบข้อมูลของตลาดแล้วทำการแบ่งแยกส่วนตลาดเป็นส่วนย่อย ๆ ทำให้ได้ข้อมูลลักษณะการซื้อของลูกค้าที่ละเอียดและถูกต้อง จึงทำให้ทำ segmentation คือส่งผลดีต่อธุรกิจทั้งเรื่องปรับแต่งกลยุทธ์ตลาดให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม และยังช่วยปรับแผนการตลาดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ข้อจำกัดในการทำ Segmentation ต่อธุรกิจ

การทำ segmentation คือการเจาะลึกเพื่อการแบ่งกลุ่มตลาดของลักษณะการซื้อของลูกค้าที่ละเอียด แต่หากข้อมูลที่ได้ไม่เพียงพอที่อาจเกิดได้จากข้อมูลที่ระบุไม่ครบถ้วนหรือข้อมูลที่มีไม่ถูกต้อง อาจทำให้การทำ Segmentation ไม่ประสบความสำเร็จได้

ตัวอย่างการทำ Segmentation

การทำ segmentation คือการทำให้ให้ธุรกิจสามารถสร้างกลยุทธ์ตลาดที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม เราจึงยกตัวอย่างการทำ Segmentation ของสินค้าเวย์โปรตีนเพื่อให้เห็นภาพรวมที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยใช้ประเภทของ Segmentation มาแบ่งส่วนตลาดซึ่งข้อมูลสามารถเพิ่มได้ตามต้องการ

1. demographic segmentation คือ (การแบ่งประชากร)

  • อายุอายุระหว่าง 25-40 ปีที่มีรายได้กลางปานกลาง

2. behavioral segmentation คือ(การแบ่งพฤติกรรม)

  • สนใจอาหารสุขภาพ/ออกกำลังกาย

3. Geographic segmentation คือ (การแบ่งภูมิศาสตร์)

  • กลุ่มลูกค้าในพื้นที่ในเมืองใกล้เคียงกับฟิตเนส

4. Psychographic segmentation คือ(การแบ่งกลุ่มจิตวิทยา)

  • กลุ่มลูกค้าที่สนใจสุขภาพและการดูแลตนเอง

5. Benefit Segmentation คือ (การแบ่งกลุ่มประโยชน์)

  • ประโยชน์ทางสุขภาพ/ทานง่ายมีหลายรสชาติ

stp marketing ตัวอย่าง


ข้อสรุป

ดังนั้น Market Segmentation คือการแบ่งกลุ่มตลาดตามลักษณะเฉพาะ ที่สามารถนำข้อมูลที่ได้มาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการได้อย่างเหมาะสม และตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นสินค้าหนึ่งอย่างจะแบ่งข้อมูลลูกค้าได้คือ อายุ เพศ รายได้ ฯลฯ และ Market Segmentation คือส่วนที่รวมอยู่กับ STP ที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 อย่างได้แก่ Segmentation Targeting Positioning ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการรวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดด้วย