ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


เทียบชัด! การเชื่อมต่อระหว่างตัวนำกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ 2 รูปแบบ



การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างอย่างถูกวิธีสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าแรงต่ำ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อตัวนำเข้ากับอุปกรณ์ป้องกัน เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ เพราะหากเชื่อมต่อผิดวิธี อาจส่งผลให้จุดเชื่อมต่อเกิดความร้อนสะสม และเกิดเปลวไฟได้ KJL จึงเปรียบเทียบการเชื่อมต่อระหว่างตัวนำกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ 2 รูปแบบให้คุณเห็นชัดเจนในบทความนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการติดตั้ง

การเข้าสายหรือเชื่อมต่อตัวนำกับเซอร์กิตเบรกเกอร์
การเชื่อมต่อสายไฟฟ้าเข้ากับเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของชนิดขั้วต่อสายของเซอร์กิตเบรกเกอร์ตามที่ผู้ผลิตกำหนดและให้ช่างไฟฟ้าเลือกใช้งาน โดยสามารถสรุปได้คร่าว ๆ 2 รูปแบบ ดังนี้

1. การเชื่อมต่อโดยตรงกับขั้วต่อสายของเซอร์กิตเบรกเกอร์
โดยทั่วไปช่างไฟฟ้าสามารถติดตั้งสายไฟฟ้าระดับที่ 1 และ 2 เข้าไปได้โดยตรงที่ลักซ์ (Lugs) หรือขั้วต่อสายของเซอร์กิตเบรกเกอร์ได้โดยตรงโดยระยะการเข้าสายรวมทั้งขนาดแรงการขันน็อต (Torque) ต้องเป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพื่อให้การเข้าสายแน่นเพียงพอและเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้ง การติดตั้งดังกล่าวสามารถกล่าวได้ว่าถูกต้องสะดวก และเพียงพอที่ทำให้เกิดความปลอดภัย ถ้าขนาดของลักซ์และขนาดสายไฟฟ้ามีความสอดคล้องกัน

2. การเชื่อมต่อโดยติดตั้งสายไฟเข้ากับหางปลาก่อน
หากขนาดของสายไฟฟ้าใหญ่กว่าขนาดของลักซ์จากเงื่อนไขการออกแบบและติดตั้ง ช่างไฟฟ้าสามารถเลือกใช้ประเภทขั้วต่อสายเป็นแบบชนิดบัสบาร์ โดยสายไฟฟ้าต้องมีการเข้าหางปลา เพื่อใช้เชื่อมต่อกับบัสบาร์ การเชื่อมต่อวิธีนี้ช่างไฟฟ้าต้องมีความชำนาญและต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการทำงานมากขึ้น ตั้งแต่ระยะการปอกฉนวนสายไฟที่ต้องสัมพันธ์กับระยะเข้าสายของหางปลา (Copper compression lugs) เทคนิคการใช้คีมย้ำเพื่อให้สายไฟฟ้าและหางปลามีการยึดติดกันแบบแน่นตามมาตรฐาน การขันยึดน็อตเพื่อยึดติดระหว่างหางปลากับบัสบาร์ที่เชื่อมต่อ รวมทั้งจุดเชื่อมต่อระหว่างบัสบาร์กับขั้วของเซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นต้น

หากวิศวกรไฟฟ้าหรือช่างไฟท่านใด ต้องการรางไฟคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า ขอแนะนำรางเคเบิลและรางเคเบิลแบบบันไดที่ผลิตและจำหน่ายโดย KJL

- ตัวรางผลิตจากเหล็กแผ่นดำคุณภาพสูง ความหนา 2.0 มิลลิเมตร
- ออกแบบและควบคุมการผลิตด้วยระบบ Computer Numerical control (CNC)
- โครงสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน NEMA VE 1-2017
- การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อนเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM A123 / A123M ที่ความหนาเฉลี่ยของการเคลือบผิว 45-60 ไมครอน
- มีรางเคเบิลที่ทำจากสเตนเลส เหมาะสำหรับงานติดตั้งที่ต้องการวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อนมากเป็นพิเศษ

สอบถามข้อมูลสินค้าได้ที่ KJL LINE Official Account: @KJL.connect