ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ยาแก้ปวดไมเกรน ใช้ให้ถูกกับโรค หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงได้มาก

ยาไมเกรนตัวไหนดี

อาการปวดหัวย่อมเคยเกิดขึ้นกับคนทุกคน แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่า อาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการปวดหัวทั่วไปหรือเป็นอาการปวดหัวไมเกรนกันแน่ แล้วการปวดหัวระดับใด จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดไมเกรนบ้าง หากเป็นไมเกรนจะรับประทานยาไมเกรนตัวไหนดี ยาไมเกรนมีอะไรบ้าง จะมีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจเป็นเราหรือคนรอบข้างกำลังเจอกับการปวดหัวไมเกรนอยู่ ดังนั้นอาการเหล่านี้เป็นเรื่องไม่ไกลตัว และถ้าเป็นแล้วต้องกระทบชีวิตประจำวันอย่างแน่นอน จึงไม่เสียหายเลยที่จะศึกษาหาความรู้เรื่องเหล่านี้

ไมเกรนคืออะไร มีอาการอย่างไร มีความแตกต่างจากอาการปวดหัวทั่วไปอย่างไรบ้าง

รักษาอาการปวดหัวด้วยยาไมเกรน

ไมเกรน (Migraine) เป็นโรคทางระบบประสาท (Neurological disease) ที่มีอาการปวดหัวรุนแรงมากกว่าการปวดหัวแบบปกติ ซึ่งสามารถพบได้บ่อยและมีลักษณะอาการหลายอย่าง แต่อาการที่พบมากและเป็นจุดเด่นเฉพาะไมเกรน คืออาการปวดศีรษะแบบปวดตุบ ๆ ตรงหน้าผากด้านข้างหรือรอบดวงตา มักเป็นด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ เมื่อเริ่มปวดหัวแล้ว อาการจะแย่ลง หากมีการเคลื่อนไหวร่างกาย เจอแสงจ้า ได้ยินเสียงดัง จะยิ่งทำให้ปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นที่มาของอาการกลัวแสง (Photophobia) กลัวเสียง (Phonophobia) คลื่นไส้ (Nausea) อาเจียน (Vomit) อาการของโรคอาจมีระยะเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมงไปจนถึงหลายวันทำให้หลาย ๆ คนจึงต้องหายาไมเกรนเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวให้ดีขึ้น หากดูจากสถิติการเกิดแล้วไมเกรนมักเกิดกับเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยจะเกิดในวัยรุ่นและวัยหมดประจำเดือน

ปัจจัยกระตุ้นไมเกรน
ปัจจัยกระตุ้นไมเกรนที่ทำให้ผู้ป่วยต้องกินยาไมเกรน ได้แก่
  • ฮอร์โมน
  • ความเครียด
  • การนอนหลับน้อยเกินไป/มากเกินไป
  • อากาศเปลี่ยน
  • แพ้อาหาร
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  • ผงชูรส
  • สารถนอมอาหาร
  • อากาศร้อน
  • อากาศเย็น
  • กลิ่นรุนแรง
  • กลิ่นน้ำหอม
  • ควันบุหรี่
  • แสงจ้า
  • เสียงดัง
  • มีประจำเดือน
  • ตั้งครรภ์
  • การคุมกำเนิด
  • คาเฟอีน
  • ยาขยายหลอดเลือด
  • การออกกำลังกายที่รุนแรง
  • ยาสูบ
  • บุหรี่
  • การขาดน้ำ

อาการไมเกรนมีอะไรบ้าง
อาการปวดหัวเป็นไปตามหลักเกณฑ์วินิจฉัยจาก American Headache Society (AHS) ว่าเข้าข่ายเป็นไมเกรนและควรรับประทานยาไมเกรน มีดังนี้
1. มีอาการปวดหัวอย่างน้อย 5 ครั้งขึ้นไป
2. ระยะเวลาการปวด 4-72 ชั่วโมง
3. มีลักษณะอย่างน้อย 2 ใน 4 ประการ จากอาการ ได้แก่ ปวดหัวข้างเดียว, ปวดหัวแบบตุบ ๆ เป็นจังหวะ, ระดับความปวดปานกลางถึงรุนแรง, มีความรุนแรงขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวร่างกายหรือทำกิจกรรม
4. มีลักษณะอย่างน้อย 1 อย่างจากอาการเหล่านี้ อันได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน แพ้แสง แพ้เสียง

ระยะของการปวดหัวไมเกรนเป็นออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
1. ก่อนอาการกำเริบ (Prodrome) : 24-48 ชั่วโมงก่อนการปวดหัว อาจมีอาการหาว อารมณ์แปรปรวน มีความอยากอาหารมากขึ้น
2. อาการนำ (Aura) : ระยะนี้อาจเกิดขึ้น 5-60 นาที คนส่วนใหญ่มักจะไม่เจอกับระยะนี้ บางคนอาจมีอาการนำพร้อมกับปวดหัวไปด้วยกัน
3. กลับเข้าสู่ภาวะปกติ (Postdrome) : เป็นอาการหลังจากปวดหัว จะรู้สึกเหนื่อยล้าหรือหมดแรง อาจดำเนินต่อไป 1-2 วัน เรียกว่า อาการเมาค้างและผู้ที่เป็นไมเกรนจะมีอาการนี้ถึงร้อยละ 80

ปรึกษาการใช้ยาไมเกรนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

ปรึกษาแพทย์เรื่องการใช้ยาไมเกรน

การรักษาไมเกรนส่วนมากเป็นการใช้ยาร่วมกับการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้อาการกำเริบ สามารถแบ่งกลุ่มยาไมเกรนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ยาแก้ปวดไมเกรนและยาป้องกันไมเกรน

1. ยาไมเกรนหรือยาแก้ปวดไมเกรน คือ ยาที่ใช้เมื่อมีอาการปวดหัว ซึ่งนิยมเป็นอย่างมากสำหรับยาแก้ปวดหัวไมเกรน ได้แก่ ยากลุ่มทริปแทน (Triptan) และเออโกทามีน (Ergotamine) มีผลให้ลดการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง มักมีส่วนผสมของคาเฟอีน (Caffeine) ช่วยในการแก้ปวดหัวด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ยา cafergot หรือ ยา tofago หรือ ยา avamigran แต่เนื่องจากมีผลต่อหลอดเลือด จึงมีข้อควรระวังเป็นอย่างมาก เช่น ไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสเอชไอวี ยากลุ่มฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าเชื้อ ยาลดความดัน ยาต้านอาหารซึมเศร้า เป็นต้น อีกทั้งยากลุ่มนี้ยังมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ชาปลายมือปลายเท้า เป็นต้น

2. ยาป้องกันไมเกรน คือ ยาไมเกรนที่สามารถใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ได้แก่ กลุ่มยาต้านซึมเศร้า กลุ่มยาลดความดันและกลุ่มยากันชัก เป็นต้น สามารถรับประทานเพื่อลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดหัวได้ มักใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเป็นบ่อยมากกว่า 1 ครั้งใน 1 สัปดาห์ ยากลุ่มนี้ก็มีผลข้างเคียงมากและต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์เช่นกัน

ในผู้ป่วยไมเกรนเรื้อรังนั้นมักจะใช้ยาลดปวดไมเกรนบ่อยครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดการติดยาแก้ปวดหรือดื้อยาได้ จึงต้องรับประทานยาใช้ปริมาณที่เพิ่มขึ้นและบ่อยขึ้น เมื่อรับประทานเป็นระยะเวลานานติดต่อกันจึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากยาแก้ปวดไมเกรน โดยอาการไม่พึงประสงค์ของยาแก้ปวด ได้แก่ ทำให้ตับอักเสบ กระเพาะเป็นแผล กระเพาะทะลุ อาการปวดหัวรุนแรงมากขึ้น อ่อนเพลีย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ ใจสั่น หากต้องรักษาการติดยาแก้ปวดด้วยการหยุดยา อาจใช้ยากลุ่มที่ใช้ป้องกันไมเกรนในข้างต้น

ดังนั้นการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำกับดูแลการใช้ยาไมเกรนนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากแพทย์สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ในการวินิจฉัยว่า การกินยานั้นตรงกับโรคหรือไม่ หรือ ยาที่กินอยู่นั้นได้ผลหรือไม่ การซื้อยาไมเกรนมารับประทานเอง นอกจากอาจรักษาไม่หายแล้ว เมื่อติดยาแก้ปวดหัวไมเกรนก็ทำให้เกิดอาการป่วยใหม่เพิ่มขึ้นอีก

สรุป
ไมเกรนเป็นอาการปวดหัวที่รุนแรงมากกว่าอาการปวดหัวทั่วไป สามารถพบอาการนี้ได้บ่อย อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยกระตุ้นได้หลายอย่าง ผู้ป่วยต้องสังเกตปัจจัยกระตุ้นเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงอาการปวดหัวไมเกรน ทั้งนี้ไมเกรนเป็นโรคที่ไม่หายขาด ต้องมีการใช้ยาไมเกรนเพื่อรักษาและบรรเทาความเจ็บปวด และเนื่องจากยาแก้ปวดไมเกรนนั้นมีผลข้างเคียงมาก จึงควรพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างจริงจัง ใช้ยาให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการติดยาหรือดื้อยาและเพื่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด