ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ก่อนรักษาไมเกรนให้หายขาด เราต้องมารู้จักโรคนี้กันก่อน

รักษาไมเกรน

โรคไมเกรนเป็นอาการปวดหัวที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หลายคนมักจะมีคำถามว่า ไมเกรนรักษาหายไหม ทำอย่างไรจึงจะแก้ไมเกรนได้บ้าง วันนี้ เราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไมเกรนมาฝากกัน เพื่อให้เราสามารถตรวจเช็กตัวเองและเริ่มรักษาไมเกรนได้อย่างทันท่วงที

เราจะป้องกันเพื่อรักษาไมเกรนได้อย่างไร

เราจะป้องกันเพื่อรักษาไมเกรน

เราสามารถป้องกันอาการปวดศีรษะและรักษาไมเกรนได้ด้วยตนเองได้ ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ดังนี้

1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่านอนดึก และนอนพักในที่มืดและเงียบสงบ
2. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
3. ลดอาการเครียด ด้วยการทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายสมอง เช่น ฟังเพลงและ ทำกิจกรรมที่ชอบ
4. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างจ้าจนแสบตาเป็นเวลานานๆ
5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีเสียงอึกทึกครึกโครม
6. ลดทานอาหารประเภทที่อาจทำให้อาการปวดศีรษะจากไมเกรนกำเริบ เช่น เนย ช็อกโกแลต ถั่ว อาหารหมักดอง เป็นต้น เพราะถือเป็นอาหารที่กระตุ้นไมเกรน
7. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์ เหล้า แชมเปญ
8. อย่าปล่อยให้ตัวเองหิวจัด หรืออดอาหารมากจนเกินไป
9. ประคบเย็นบริเวณศีรษะช่วงมีอาการปวดไมเกรน
10. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถช่วยรักษาไมเกรนได้

สามารถรักษาไมเกรนเบื้องต้นอย่างไรได้บ้าง

รักษาไมเกรนเบื้องต้น

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการโรคไมเกรน ว่ามีอาการอย่างไรบ้างที่บ่งบอกได้ว่าเรากำลังจะเป็นหรือเราเป็นโรคไมเกรนแล้วหรือยัง แล้วจะสามารถรักษาไมเกรนได้อย่างไรบ้าง

1. อาการไมเกรนเป็นอย่างไร

โรคไมเกรน (Migraine headache)  เป็นโรคที่พบได้บ่อยในวัยเรียน วัยทำงาน และคนทั่วไปที่มีภาวะความเครียด โดยมีอาการปวดศีรษะลักษณะการปวดแบบตุ๊บ ๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะหรือเป็นทั้งสองข้างได้ อาการปวดไมเกรนในช่วงแรกจะไม่รุนแรง และจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในบางรายไม่สามารถลดอาการปวดศีรษะด้วยยาแก้ปวดธรรมดาได้ จำเป็นต้องทานยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรง หรือยาที่ลดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนโดยเฉพาะ

ผู้ที่เป็นไมเกรน สังเกตลักษณะอาการปวดหัวได้ง่าย ๆ ดังนี้ คือ

  • มักปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตา (ไมเกรนขึ้นตา) หรือท้ายทอย (ปวดหัวท้ายทอย) และปวดหัวข้างเดียวหรือบางรายอาจปวดหัวทั้งสองข้าง ปวดเป็นระยะ ๆ แต่มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อ ๆ สลับข้าง
  • อาการนำจะเป็นอาการทางสายตา โดยจะมีอาการนำมาก่อนปวดศีรษะราว 10-20 นาที เช่น เห็นแสงเป็นเส้น ๆ ระยิบระยับ แสงจ้าสะท้อน หรือเห็นภาพบิดเบี้ยวนำมาก่อน
  • ส่วนมากจะปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นทีละน้อยจนกระทั่งปวดรุนแรงเต็มที่แล้วค่อย ๆ บรรเทาอาการปวดลงจนหาย
  • ขณะที่ปวดหัวมักมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย
  • มีอาการแพ้แสงและแพ้เสียง

2. ทำความรู้จักโรคไมเกรน

เรามาทำความรู้จักกับโรคไมเกรนกันเถอะ เริ่มจากไมเกรนเกิดจากสาเหตุ และมีวิธีการวินิจฉัยแบบไหนได้บ้าง

ไมเกรน เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดหัว หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้นได้

สาเหตุของไมเกรน

ไมเกรนเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือด และเส้นประสาทรอบ ๆ สมอง หรือเกิดจากความผิดปกติของระดับสารเคมี หรือการนำกระแสไฟฟ้าในสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดสมองทำงานผิดปกติไปชั่วขณะ โดยเฉพาะหลอดเลือดขยายตัว จนทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ของไมเกรนขึ้น โรคไมเกรนบางชนิดยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ป่วยอาจมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไมเกรนด้วยเหมือนกัน

การวินิจฉัยโรคไมเกรน

ไมเกรนเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ หากผู้ป่วยเป็นไมเกรนหรือมีประวัติของคนในครอบครัวที่เป็นไมเกรน แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาจะทำตรวจไมเกรน ด้วยการซักประวัติ อาการที่เกิดและทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด และตรวจเกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเพียงเท่านี้ แพทย์ก็สามารถวินิจฉัยโรคไมเกรนได้

แนวทางรักษาโรคไมเกรน

เราสามารถแก้ไมเกรนได้ด้วยแนวทางการรักษาที่แยกออกเป็น 2 วิธี คือ

1. การรักษาไมเกรนแบบไม่ใช้ยา ได้แก่ การประคบเย็น การนวด กดจุด การนอนพัก การนั่งสมาธิ หรือ การคลายเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ อาจช่วยให้บรรเทาอาการปวดได้ สิ่งที่สำคัญ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพจิตใจ รักษาระดับอารมณ์ให้คงที่แจ่มใส และรู้จักการผ่อนคลายความตึงเครียดก็เป็นการรักษาที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นวิธีแก้ปวดหัวไมเกรนเบื้องต้น

รวมถึงกระบวนการรักษาแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช้ยาอย่างโบท็อกไมเกรน ฝังเข็มไมเกรน การทำกายภาพบำบัดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อรอบศีรษะและคอ

2. การรักษาไมเกรนแบบใช้ยา โดยใช้ยาแก้ปวดไมเกรน เช่น

  • ยาบรรเทาอาการปวดกรณีอาการไม่รุนแรง ผู้มีอาการสามารถใช้แอสไพริน ไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล หรือยาแก้ปวดอื่นๆ ช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้
  • ยาบรรเทาอาการปวดสำหรับอาการปวดที่รุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นยาแก้ปวดสำหรับผู้มีอาการปวดไมเกรนโดยเฉพาะ ได้แก่ ยาเออร์กอต (Ergots)
  • ยาสำหรับบรรเทาอาการปวดไมเกรน และอาการอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น อาการคลื่นไส้ อาการไวต่อแสงและเสียง ยาประเภทนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) มีทั้งประเภทยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีด เช่น ยาซูมาทริปแทน ยาริซาทริปแทน ยาอีลีทริปแทน เป็นต้น

สรุป

รัสรุปรักษาไมเกรน

ทั้งนี้ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาไมเกรนให้หายขาด ควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอว่ามีอาการไวต่อสิ่งใดที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้บ้าง และควรเลี่ยงปัจจัยนั้น ๆ แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องรักษาเพื่อไม่ให้กระทบกับชีวิตประจำวัน ก็ควรเข้ารับคำปรึกษาและรับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่ศูนย์รักษาไมเกรนโดยแพทย์เฉพาะทางอย่าง BTX Migraine Center โดยติดต่อผ่านแอดไลน์ หรือเบอร์โทร 090-970-0447