ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ประกันไม่จ่ายค่าสินไหมรถยนต์ ประกันปฏิเสธเคลม กรณีใดได้บ้าง?

การเลือกซื้อประกันรถยนต์กับบริษัท นอกจากจะต้องดูแพคเกจประกันที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ขับขี่แล้ว ยังต้องดูถึงเงื่อนไขที่อยู่ในกรมธรรม์นั้นด้วยว่า ครอบคลุมในสิ่งที่เจ้าของรถยนต์ต้องการหรือไม่ และมีหลายกรณีที่บริษัทประกันไม่ยินยอมจ่ายค่าสินไหมรถยนต์และสามารถปฏิเสธความคุ้มครองที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งรวมไปถึงการแจ้งเคลมประกันเท็จ ที่อาจส่งผลให้บริษัทประกันปฏิเสธได้ด้วยเช่นกัน
 
ใช้รถแบบไหนที่ประกันไม่รับเคลม

1.   ใช้รถทำสิ่งผิดกฎหมาย เนื่องจากหากนำรถยนต์ไปใช้ทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่น ขนอาวุธเถื่อน ขนยาเสพติด ถ้าเกิดอุบัติเหตุชนขึ้นมา บริษัทประกันจะไม่รับเคลม
2.   ใช้รถแข่งความเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้รถยนต์แข่งความเร็วตามสนามแข่งที่ถูกกฎหมาย หรือแข่งความเร็วกันตามถนนแบบผิดกฎหมาย บริษัทประกันจะไม่รับเคลมความเสียหายทั้งสิ้น
3.   ขับรถยนต์ออกนอกเขตความคุ้มครอง การใช้รถยนต์นอกพื้นที่เขตความคุ้มครองของประกัน หากรถเกิดเหตุชนขึ้นมาจะไม่ได้รับความคุ้มครอง เช่น ทำประกันรถยนต์ไว้ในเขตประเทศไทย แต่เกิดอุบัติเหตุรถชนที่ต่างประเทศ บริษัทประกันจะไม่จ่ายค่าความเสียหาย
4.   เมาแล้วขับ ในทางกฎหมายจะถือว่าถ้าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัมจะถือว่าเมาทันที หากเกิดเหตุชนแล้วพบว่าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์เกินที่กฎหมายกำหนดจะไม่สามารถเคลมประกันภาคสมัครใจได้
5.   การใช้รถไปลากจูง โดยหากเจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปใช้ลากจูง เช่น นำรถส่วนบุคคลไปใช้ลากจูงรถอีกคันที่จอดเสียข้างทาง หากเกิดอุบัติเหตุรถชนได้รับความเสียหาย บริษัทประกันจะปฏิเสธการเคลมโดยทันที เพราะถือว่าผิดเงื่อนไขการใช้รถยนต์
6.   ใช้รถยนต์เพื่อก่อการร้าย หากรถยนต์มีร่องรอยความเสียหายเกิดขึ้น โดยตรวจสอบพบว่าได้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปใช้เพื่อก่อการร้าย หรือจอดรถยนต์อยู่บริเวณพื้นที่ประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) จะไม่สามารถเคลมประกันรถยนต์ได้เช่นกัน
7.   ผู้ขับขี่ไม่มีใบขับขี่ หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่ หากผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ไป รวมถึงการนำใบอนุญาตขับขี่รถจักจักรยานยนต์มาใช้แทนใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ หากเกิดเหตุรถชนบริษัทประกันจะไม่จ่ายค่าความเสียหายให้ เท่ากับว่าเคลมประกันภัยรถยนต์ไม่ได้ (ไม่มีใบขับขี่ บริษัทประกันจะรับเคลมหรือไม่ https://www.oic.or.th/th/consumer/question/ไม่มีใบขับขี่-บริษัทประกันจะรับเคลมหรือไม่)
8.   รถชนกับรถบุคคลในครอบครัว กรณีที่รถชนกับรถบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ สามี ภรรยา บุตร บริษัทประกันภัยจะไม่จ่ายค่าความเสียให้รถคันคู่กรณี แต่ถ้าเจ้าของรถยนต์ต้องการนำรถยนต์ของตัวเองเข้าซ่อมจะต้องจ่ายค่า Excess เงื่อนไขละ 1,000 บาท เพราะเป็นการชนแบบไม่มีคู่กรณี
9.   ทำลายทรัพย์สินตนเอง ถ้าบริษัทประกันพบว่าเจ้าของรถจัดฉากทำลายรถยนต์ของตัวเองให้ได้รับความเสียหายเพื่อหวังเงินเคลมประกันภัย นอกจากจะเคลมประกันไม่ได้แล้ว ยังผิดกฎหมายอีกด้วย
10.   สลับตัวผู้ขับขี่เมื่อเกิดเหตุชน การสลับตัวผู้ขับขี่หลังจากที่เกิดเหตุชนเกิดขึ้นนอกจากจะเคลมประกันไม่ได้แล้ว ยังถือว่าผู้ขับขี่มีเจตนาทุจริต ถ้าบริษัทประกันสืบเจออาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย

แบบไหนถึงเรียกว่า แจ้งเคลมประกันเท็จ?
ปกติแล้วเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับรถยนต์ ทางบริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าซ่อมรถยนต์ ค่ารักษาพยาบาล (ในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บ) รวมถึงความคุ้มครองกรณีรับผิด (เคลมประกันรถสินมั่นคงด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน https://www.smk.co.th/newsdetail/2869) ซึ่งการเคลมประกันภัยรถยนต์นั้น ผู้ขับขี่ควรมีจรรยาบรรณไม่แจ้งเคลมประกันเท็จ เนื่องจากหากทางบริษัทประกันได้มีการตรวจสอบแล้วพบว่า เกิดการแจ้งเคลมประกันเท็จ ซึ่งผู้เคลมประกันรถยนต์เลือกที่จะแจ้งเคลมเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบและค่าเสียหายจากการซ่อมรถยนต์ของตัวเอง หรือแจ้งเคลมประกันเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก เนื่องจากอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเรื่องของการแจ้งเคลม
 
ปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่ได้มีแค่เพียงบริษัทประกันปฏิเสธไม่ออกใบเคลม ประกันไม่อนุมัติซ่อม หรือโดนยกเลิกประกัน แต่อาจจะบานปลายจนถึงการถูกบริษัทประกันรถยนต์ฟ้องร้องเนื่องจากผู้ขับขี่จะมีความผิด และโทษในทางอาญา ที่ระบุว่า “ให้ความเท็จเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากประกันวินาศภัย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ” หรืออาจมีกรณีต่อเนื่องไปถึงการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่พนักงาน ส่งผลให้เกิดการเดือดร้อนต่อบุคคลที่ 3 หรือทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเกิดความเสียหาย จะถือว่ามีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
 
ทั้งการแจ้งเคลมเท็จและการแจ้งความเท็จนั้นมีสิทธิ์ที่ทางบริษัทอาจจะยื่นเรื่องคดีฉ้อโกงไปยังผู้เคลมหากได้มีการตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริง รวมทั้งเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายจากทางบริษัทประกัน หรือบุคคลที่ 3 ก็ถือจะนับเป็นคดีฉ้อโกงด้วย และแม้ว่าการทำประกันชั้น 1 จะสามารถแจ้งเคลมประกันรถยนต์ได้ทุกกรณี แต่หากเจ้าของรถทำผิดข้อยกเว้นความคุ้มครองตาม ก็อาจทำให้โดนปฏิเสธจ่ายค่าสินไหมและยังถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย คุ้มครองครอบคลุมได้ตามใจ 3, 6, 12 เดือน ด้วยประกันรถยนต์ตามเวลา ประเภท 1 จ่ายสบาย ช่วยแบ่งเบาภาระในยามวิกฤต เพิ่มความอุ่นใจเมื่อออกเดินทาง สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/1020 หรือ โทร.1596  Line : @smkinsurance พร้อมติดตามอ่านข้อมูลและเนื้อหาสาระดีดีเพิ่มเติมได้ที่  https://smkinsurance.blogspot.com