ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


เริ่มธุรกิจควรทำอย่างไร

ออฟไลน์ pol

เริ่มธุรกิจควรทำอย่างไร
« เมื่อ: มกราคม 15, 2009, 08:38:59 AM »
ตอนนี้ผมเปิดร้านขายไอศครีมอยู่ ถ้าผมจะขายระบบแฟรนไซส์ผมควรเริ่มอย่างไร  ตอบทาง e-mail ให้ผมด้วยนะครับ

Re: เริ่มธุรกิจควรทำอย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 18, 2009, 03:38:46 AM »
การเริ่มต้นเป็นเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์

ตั้งแต่เริ่มเขียนบทความเกี่ยวกับแฟรนไชส์มาส่วนใหญ่แล้ว เจ้าของกิจการจะมีคำถามที่ทุกๆ คน ถามเหมือนกันก็คือ ธุรกิจของผม หรือธุรกิจของดิฉันสามารถเป็นแฟรนไชส์ได้หรือไม่ คำถามนี้เป็นคำถามที่ตอบง่ายมาก แต่จะต้องรู้ถึงแนวทางบางประการเพื่อดูว่าธุรกิจนั้นหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ เหมาะที่จะพัฒนาเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ได้หรือไม่ ก่อนอื่นขออธิบายถึงประเภทธุรกิจก่อนว่า ธุรกิจประเภทอะไรบ้างที่เป็นแฟรนไชส์ได้ วิธีดูก็คือ

1. เป็นธุรกิจที่สามารถลอกเลียนแบบความสำเร็จได้ และไม่ผูกพันกับตัวบุคคลความสามารถเฉพาะตัว หรือวัตถุที่มีสิ่งเดียวหาไม่ได้อีกแล้ว ขยายความก็คือ ธุรกิจนั้นจะต้องสามารถผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพมาตราฐานเดียวกันได้ สอนได้ ถ่ายทอดได้ เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟูดในต่างประเทศจะผลิตอาหารไม่ว่าเป็น แฮมเบอเกอร์ ไก่ทอด พิซซ่า ฯลฯ ที่มีรสชาติคุณภาพเหมือนกันทุกชิ้น และทุกจาน จะต่างกับร้านอาหารที่เป็นที่หนึ่งได้รางวัลโดยกุ๊กมืออาชีพ จะปรุงอาหารให้อร่อยที่สุดได้แต่ไม่สามารถทำให้คนอื่นทำอาหารอร่อยเท่ากับอาหารที่ตัวเองทำได้ ร้านอาหารที่พึ่งแต่กุ๊กเก่งๆ เมื่อเปลี่ยนกุ๊กก็จะไม่สามารถคงรสชาดอาหารให้มีคุณภาพเท่ากันได้ ในที่สุดก็ต้องปิดไป หรือความสามารถเฉพาะตัว อย่างการร้องเพลง จะลอกเลียนแบบให้เหมือนกันทุกคนคงไม่ได้ เพราะเป็นพรสวรรค์ของแต่ละบุคคล วัตถุโบราณ เครื่องเพชรที่มีชิ้นเดียวในโลก จะทำแฟรนไชส์ไม่ได้ เพราะถ้าลอกเลียนแบบจะเป็นของปลอม คงไม่มีใครทำงานแสดงภาพลอกเลียนแบบภาพโมนาลิซ่าแน่ เพราะคงไม่มีคนไปชม ทุกคนอยากดูของจริงเท่านั้น ดังนั้นร้านหรือธุรกิจที่จำเป็นแฟรนไชส์ได้ จะต้องเป็นธุรกิจที่ลอกเลียนแบบได้ สร้างมาตรฐานให้เหมือนๆ กันได้

2. ธุรกิจอาหาร เป็นธุรกิจที่ทำเป็นแฟรนไชส์ได้ง่ายมาก เพราะอาหารจะพิสูจน์กันที่รสชาติ แต่เจ้าของกิจการอาหารจะต้องสามารถเขียนสูตรหรือมีวิธีทำอาหารที่ไม่ต้องพึ่งความสามารถของกุ๊กเพียงคนเดียว แต่สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาช่วย ทำให้ได้อาหารที่มีรสชาติและคุณภาพเหมือนกันทุกจาน ซึ่งธุรกิจอาหารมีเพียงเงื่อนไขเดียวที่จะเป็นแฟรนไชส์ได้หรือไม่คงต้อง “อร่อย” เสียก่อน เพราะถ้าอาหารไม่อร่อยก็ไม่มีคนมาทานก็เท่ากับได้ลอกเลียนแบบความไม่สำเร็จของธุรกิจให้กับผู้อื่น

3. ธุรกิจที่มีสินค้าและบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก ๆ เช่นมีผู้ประกอบการมาถามว่าทำธุรกิจอุปกรณ์ก่อสร้าง คือซื้อมาขายไปอุปกรณ์ก่อสร้างเป็นแฟรนไชส์ได้หรือไม่ ผมให้ความเห็นว่า ถ้าจะทำในรูปแบบแฟรนไซส์จะต้องปรับรูปแบบใหม่ให้กลายเป็นหรือเหมือนรถบริการขายกับข้าวตามหมู่บ้าน คือเอาอุปกรณ์ก่อสร้างใส่รถแล้ววิ่งไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ให้บริการทุกอย่างเกี่ยวกับบ้าน ตามที่เจ้าของบ้านร้องขอ เช่น ทาพื้นหลังคา สำรับกันหลังคารั่ว ซ่อมประตู ซ่อมมุ้งลวด เป็นต้น เท่ากับขายของบวกบริการนั่นเอง หรือธุรกิจการศึกษาที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ ตามความรู้ความสามารถของผู้สอนหรือโรงเรียน เช่นมีโรงเรียนจากต่างประเทศสอนทำโจทย์เลข จะให้นักเรียนทำโจทย์เป็นชุดๆ ซ้ำกันมากๆ และมีครูมาช่วยอธิบายในส่วนที่นักเรียนไม่เข้าใจ ก็จะทำให้เด็กมีการพัฒนาที่ดี คะแนนสอบเลขก็ดีตามไปเองเช่นนี้จะทำเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ได้

4. ธุรกิจประเภทเทคโนโลยี ที่ต้องใช้ผู้ชำนาญการ และผู้เชี่ยวชาญก็ทำได้เช่น ธุรกิจประเภท IT ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล ก็จะเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ได้

5. ธุรกิจที่สร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารเสริม สปา นวดแบบต่างๆ ธุรกิจเสริมความงาม ปลูกผม ก็สามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้

เมื่อพอที่จะทราบถึงประเภทธุรกิจที่จะพัฒนาเป็นแฟรนไชส์แล้วจะกล่าวถึงแนวทาง 10 ประการธุรกิจจะต้องคำนึงถึง 10 ประการ ก่อนการพัฒนาให้เป็นแฟรนไชส์ได้ เพื่อดูว่าธุรกิจที่เข้าข่าย 5 ข้อเบื้องต้นนั้น มีความพร้อมที่จะพัฒนาได้หรือไม่

1) “ธุรกิจมีจุดยืนทางการตลาดที่แข็งแกร่งหรือไม่ หรือมีส่วนแบ่งตลาดมากพอที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง” ธุรกิจบางประการพอเริ่มต้นธุรกิจ ก็จะเป็นแฟรนไชส์แล้ว พอเริ่มไปได้อีกไม่กี่เดือนก็อยู่ไม่ได้เนื่องจากไม่มีลูกค้าบ้าง ขายของไม่ออกบ้าง จะต้องคำนึงไว้เสมอก็คือ การทำธุรกิจแฟรนไชส์จะลอกแบบความสำเร็จธุรกิจแฟรนไชส์ซี (Franchisee) ถ้าธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จก็จะเท่ากับลอกแบบความล้มเหลวให้กับผู้อื่น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงมานาน และมีกลุ่มลูกค้าที่นิยมชมชอบในสินค้าและบริการจำนวนมาก

2) “องค์กรจะต้องมีความพร้อม และมีทัศนคติที่ดีต่อการขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์” ซึ่งการพัฒนาธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จะต้องให้เจ้าของกิจการเริ่มก่อน และลองถามทีมงานในองค์กรดูว่า พร้อมไหมที่จะรับคนนอกมาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ รู้และเข้าใจในรูปแบบแฟรนไชส์แค่ไหน ไม่ใช่รู้แต่เพียงว่าจะได้เงินจาแฟรนไชส์ซีมาลงทุน แต่ไม่เคยรู้ถึงปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาก็อาจจะล้มเหลวได้

3) “มีความรู้ความชำนาญในธุรกิจนั้นเป็นอย่างดี” ผู้เป็นแฟรนไชซอร์ (Franchisor) จำเป็นมากที่จะต้องรู้ และมีความชำนาญธุรกิจนั้นเป็นอย่างดี จนสามารถสอนผู้อื่นได้ แก้ปัญหาให้ผู้อื่นได้

4) ควรที่จะมีระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเป็นอย่างไร ระบบบริหารจะต้องมีประสิทธิภาพเพื่อที่จะทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินกิจการไปได้อย่างสะดวกราบรื่น

5) “สามารถบริหารต้นทุนได้ต่ำและสร้างกำไรได้อย่างเพียงพอ” เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องสร้างมาตรฐานของสินค้าและบริการทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกกำหนดไว้โดยแฟรนไชส์ซอลแล้วดังนั้นเมื่อเริ่มธุรกิจมักจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า ดังนั้นธุรกิจนั้นจะต้องสามารถบริหารต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายได้ต่ำพอ ที่จะสร้างผลกำไรได้อย่างพอเพียง จึงจะทำให้แฟรนไชส์นั้นอยู่รอดได้

6) “สามารถรองรับการขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว” การเปิดตัวของแฟรนไชส์เมื่อประสบความสำเร็จจะมีผู้สนใจขอเปิดสาขาจำนวนมาก แฟรนไชส์ซอลจะต้องมีทีมงานที่จะรองรับการขยายตัวนี้ได้อย่างมั่นคง เพราะธุรกิจที่มีการขยายตัวสูงแบบแฟรนไชส์จะประสบกับปัญหามาก เช่น ปัญหากำลังคนไม่พอ หรืออบรมไม่ทัน ปัญหาผลิตสินค้าไม่พอจำหน่าย เป็นต้น

7) เป็นธุรกิจที่อยู่ในสังคม ได้มีผู้นิยมได้มีผู้นิยมชมชอบ ควรเป็นธุรกิจที่ทุกขั้นตอนยอมรับและไม่เป็นภัยต่อสังคม มีผู้นิยมชมชอบ สร้างความดี หรือสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม

“มีต้นทุนในการเริ่มธุรกิจที่เหมาะสม” ข้อนี้ต่างกับข้อ 5 เพราะข้อนี้จะดูที่เงินลงทุนควรใช้เงินลงทุนไม่มากนัก เพราะถ้าใช้เงินลงทุนมากเกินไปก็จะขยายตัวช้า แต่ถ้าใช้เงินลงทุนน้อยก็จะมีคนทำแล้วทิ้งจำนวนมาก เปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น หรือแฟรนไชส์อื่นที่ดูดีกว่าหรือจูงใจกว่า การลงทุนแฟรนไชส์ในปัจจุบันอยู่ที่ 50,000 บาทขึ้นไป ถึง 2.5 ล้าน จึงจะน่าสนใจและมั่นคง

9) “เจ้าของธุรกิจมีความมุ่งมั่นและรับผิดชอบ” การพัฒนาธุรกิจเป็นแฟรนไชส์เจ้าของธุรกิจต้องเริ่มก่อน จะต้องมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมแฟรนไชส์ซีให้ประสบความสำเร็จเพื่อความสำเร็จของเจ้าของกิจการ ก็คือ แฟรนไชซีคืนทุน

10) “เป็นธุรกิจที่มีวงจรชีวิตที่ยืนยาว” เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องผูกพันตามสัญญา เป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งว่าสินค้าและบริการจะต้องมีวงจรชีวิตที่นานและสร้างผลกำไรมากพอที่จะทำให้แฟรนไชซีคืนทุน

กลยุทธ์การสร้างแบรนด์แบบแฟรนไชส์

นอกจากคุณสมบัติ 10 ประการของผู้ประกอบธุรกิจดังที่ได้กล่าวไปแล้ว อย่างไรก็ตามอย่าไปยึดติดมากนัก คนเราถ้ามีความมุ่งมั่นเสียอย่าง อย่าไปกังวลใจครับ ทำธุรกิจ ทำธุรกิจต้องอาศัยหลักง่ายๆ คือ กล้า ปัญญา และศรัทธาครับ คุณสมบัติที่เขียนให้เพื่อให้ท่านผู้อ่านลองไปเปรียบเทียบดูว่ามีตรงกันบ้างไหม เพราะเรื่องที่เขียนไปมาจากการสอบถามผู้ที่ทำธุรกิจและประสบความสำเร็จ จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

การสร้างแบรนด์นั้นเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนละเอียดอ่อนทำให้การปฏิบัติไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ ผมจึงนำข้อปฏิบัติที่ธุรกิจแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์ปฏิบัติอยู่ นำมาเฉพาะแนวทางที่ทำได้เลยตัดด้านวิชาการที่ยุ่งยากออก นำเฉพาะวิธีทำเพื่อให้แฟรนไชส์ที่ต้องการทำให้ธุรกิจของตัวเองเป็นที่รู้จัก เลือกกลยุทธ์ปใช้ได้เลยหรือเลือกใช้หลายๆ กลยุทธ์ก็ได้ครับในการทำธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ธุรกิจที่จะเป็นต้นแบบหรือแฟรนไชซอร์ (Franchisor) จะต้องประสบความสำเร็จก่อนจึงจะ COPY ความสำเร็จถ่ายทอดให้กับแฟรนไชส์ (Franchise) ได้ กลยุทธ์หรือวิธีการที่น่าสนใจสำหรับการสร้างแบรนด์ของแฟรนไชส์ มีดังนี้ครับ

1. การโฆษณา ซึ่งการโฆษณาเป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันแพร่หลายมาก ถ้าสินค้าและบริการของบริษัทใดมีงบประมาณพอ ผมก็จะแนะนำให้ทำโฆษณาในตราสินค้า หรือแบรนด์มากๆ เพราะถือว่าเป็นการลงทุนในตราสินค้าครับไม่ใช่ค่าใช้จ่าย การตัดงบประมาณมาลงทุนโฆษณาในแบรนด์นั้นเหมือนซื้อทรัพย์สินให้บริษัทครับ ถึงเวลาจะกลับคืนมาในรูปแบบของผลประกอบการและในอนาคตก็ขายได้ด้วยครับ ดังนั้นถ้ามีเงินพอก็ตัดมาโฆษณาสร้างแบรนด์ครับ แล้วจดไว้ทุกบาททุกสตางค์ว่าลงไปกี่ล้านแล้ว 10 ปีมานี่ เราสามารถคิดถึงผู้ลงทุนได้หรือในอนาคตอาจเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯก็ขายได้ครับ

2.การทำประชาสัมพันธ์ สินค้าบางชนิดไม่เหมาะกับการทำโฆษณาเพราะยังไม่เป็นที่แพร่หลาย งบประมาณก็มีจำกัดอาจเริ่มจากการทำประชาสัมพันธ์ ต้องการให้ข่าวก่อนก็ได้ครับ เช่นอาหารเสริมบางชนิดอาจต้องให้ข่าวสารข้อมูลแก่ผู้บริโภคมากๆ เพื่ออธิบายถึงคุณประโยชน์หรือโทษดังนั้นการทำโฆษณาไม่เหมาะเพราะไม่สามารถให้เนื้อหามากนัก บางแฟรนไชส์ก็ใช้วิธีทำข่าว โดยซื้อหน้าโฆษณาเขียนบทความ หรือให้ข่าวตามหน้าหนังสือต่างๆ ก็ได้ครับ แต่การให้ข่าวต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของข่าวก่อนว่าหนังสือต้องการขายข่าว ดังนั้นต้องดึงประเด็นที่น่าสนใจต่อผู้บริโภคและเป็นสิทธิของนักข่าวที่จะลงประเด็นที่เขาสนใจ เราไม่สามารถไปกะเกณฑ์ได้ว่าคุณต้องเขียนตามที่ผมบอก เขาไม่ทำครับเราต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับข่าว ข่าวจึงจะให้คุณประโยชน์กับเราครับ

3. การสร้างชื่อจากการได้รับรางวัล แฟรนไชส์หลายๆ รายสร้างแบรนด์จากการเสาะหารางวัลต่างๆ โดยเฉพาะแฟรนไชส์อาหารบางรายจะมีรางวัลประกันคุณภาพมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะเท่ากับประกันความอร่อยผู้บริโภคเมื่อเข้าไปทานก็มักจะไม่ผิดหวัง นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานต่างๆ ที่ทางสำนักงานมาตรฐานทั้งของต่างประเทศและของในประเทศ ของทางราชการที่ให้เพื่อแสดงถึงคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า รางวัลเหล่านี้แฟรนไชส์สามารถนำมาแสดงควบคู่กับการบรรยายข้อมูลสินค้าและบริการ ทำให้สร้างความเชื่อถือได้มาก

4. การบอกต่อ กลยุทธ์นี้ก็คือ การบอกปากต่อปากนั่นเอง การที่ข่าวสารพูดในสิ่งที่ดีของคุณภาพสินค้าและบริการที่ประทับใจ จะเป็นการสร้างแบรนด์ที่มีพลังมาก เนื่องจากผู้บอกมีความมั่นใจและประทับใจจริงๆ จึงแนะนำกันต่อๆ จากสถิติแบรนด์ที่แข็งแกร่งจะมีตัวเลขลูกค้าที่มาใช้บริการจากปากต่อปากถึงร้อยละ 70 ส่วนที่เหลือมักจะเป็นจากสื่อโฆษณา ดังนั้นถ้าสร้างคุณภาพและมาตรฐานได้ ก็จะสร้างแบรนด์จากการบอกปากต่อปากได้ด้วยแต่วิธีนี้มีข้อเสีย คือ จะช้ามาเพราะผู้บริโภคต้องมาใช้บริการก่อน เมื่อประทับใจแล้วจึงจะบอกต่อในขณะที่วิธีอื่นจะรวดเร็วกว่าบางแฟรนไชส์ใช้วิธี 1 แถม 1 แต่ไม่ได้แถมให้ผู้ซื้อแต่แถมให้เพื่อนของผู้ซื้อให้เขามาอีก 1 คน ทำให้ผู้ซื้อต้องไปแนะนำเพื่อนให้กับสินค้าและบริการนั้นการแตกตัวของฐานลูกค้าจะทวีคูณเท่าตัวทุกครั้งที่มีการซื้อครับ

5. กลยุทธ์ราคา การกำหนดราคาสินค้าและบริการบางแฟรนไชส์ทำได้อย่างดี เพราะไม่จำเป็นต้องลดราคาแต่ใช้ราคาเป็นตัวกำหนดคุณภาพและเกรดของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือย พวกเครื่องสำอางอาหารเสริมทั้งหลาย ซึ่งบางคนเข้าใจผิดคิดว่าการใช้ราคามักจะต้องลดราคา ซึ่งอาจนำไปสู่วงจรอุบาทว์ซึ่งหลบออกมาไม่ได้เพราะต้องลดราคาลงเรื่อยๆ จึงจะขายได้ ผู้ใช้กลยุทธ์ราคาจึงต้องระมัดระวังให้ได้ว่าอย่าลดจนราคาที่ลดเป็นราคาขายจริงไปเสียแล้ว

6.ทำเลและที่ตั้งของสาขา มีแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์เกิดจากการพบเห็นริมถนนหลายๆ ที่ จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเช่น เซเว่นอีเลฟเว่น ชายสี่หมี่เกี้ยว เป็นต้น กลยุทธ์นี้จะต้องมีทีมที่จะออกไปเคาะประตูบ้าน หาทำเลการค้าที่ราคาไม่แพงและทำเลดี หรือไม่ก็ต้องสร้างเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว จึงจะเกิดสาขาได้ทั่วไปจนชินสายตานั่นเอง

7. พันธมิตรทางการค้า ในการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก บางแบรนด์ไม่ค่อยมีงบประมาณมากนัก ก็อาจจะไปอิงกลุ่มกันเป็นพันธมิตร เพื่อผลของพลังแห่งสื่อ แชร์กันคนละนิดละหน่อยก็ได้ลงโฆษณาก้อนโต หรือสร้างพลังการต่อรองจากการมีพันธมิตรร้านแฟรนไชส์หลายสิบแบรนด์ได้บางครั้ง การรวมพลังกันจะสร้างแรงดึงดูดความสนใจได้มาก เช่น ฟูดเซ็นเตอร์จะรวมร้านอาหารอร่อยๆ มากๆ ไว้ที่เดียวกัน ก็จะดึงลูกค้ามาได้มากกว่าการเปิดร้านเดียว การจับกลุ่มพันธมิตรยังมีประโยชน์ในแง่การแชร์ความคิดกัน การให้ความช่วยเหลือกันในเรื่องอื่นๆ ได้อีกด้วย

8. การใช้ตัวแทนทางสังคม (Presenter) เช่น ดารา นักร้อง ผู้นำชุมชน ผู้ที่เป็นที่รู้จัก นักธุรกิจ นักวิชาการ มาเป็น Presenter ให้กับสินค้าแฟรนไชส์ได้ เช่น ข้าวมันไก่ เจมส์ ก็ใช้คุณเจมส์ นักร้องนักแสดงเป็น Presenter ทำให้คนรู้จักแฟรนไชส์นี้อย่างแพร่หลาย ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก

9. การใช้กระแสนิยมหรือสร้างกระแสนิยม ในการสร้างแบรนด์ความสำคัญคือ ต้องการให้คนรู้จัก จดจำ และเมื่อใช้สินค้าและบริการแล้วจะเกิดความภักดีในแบรนด์นั้น ในปัจจุบันมักจะมีกระแสต่างๆ เกิดขึ้นทุกวัน เช่น กระแสที่คนทานชาไข่มุกกันมาก ยุคนั้นก็มีแฟรนไชส์ชาไข่มุกเกิดขึ้นมากมายกระแสถ่ายรูปดิจิตอลในมินิสตูดิโอก็กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น ดังนั้นถ้าแฟรนไชส์ไหนจับกระแสความนิยมดีๆ ก็จะประสบความสำเร็จในการสร้างแบรนด์ได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์เพื่อเป็นแฟรนไชซี

เมื่อมีความคิดที่จะเข้าสู่ธุรกิจแบบแฟรนไชส์ มีคำถามที่ถามกันบ่อยมากว่า การเริ่มธุรกิจแบบแฟรนไชส์ โดยไปซื้อแฟรนไชส์มาทำมีข้อดีข้อเสียอย่างไร? จะต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ผมขอเริ่มจากหัวข้อค่าใช้จ่ายที่จะต้องเสียให้กับแฟรนไชซอร์ (FRANCHISOR) ก่อนเมื่อคุณต้องการเริ่มธุรกิจโดยลดความเสี่ยงในหลายๆ อย่าง แฟรนไชส์จึงเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง แต่อย่างที่เคยกล่าวมาแล้วว่าการเลือกแฟรนไชส์ เหมือนการเลือกคู่ แฟรนไชซี (FRANCHISEE) จะต้องเลือกพี่เลี้ยงธุรกิจที่ดีมีประวัติการดูแล แฟรนไชส์เป็นอย่างดี มีความมั่นคงสูง ซึ่งเป็น ธรรมเนียมที่แฟรนไชซอร์หรือเจ้าของธุรกิจจะต้องเรียกค่าใช้จ่าย ถือเป็นค่าวิชาและประสบการณ์เฉพาะในการทำธุรกิจนั้น ค่าใช้จ่ายควรจ่ายให้กับแฟรนไชซอร์มีดังนี้ครับ

1. ค่าแฟรนไชส์หรือค่าแรกเข้า (FRANCHISE FEE) เป็นค่าชื่อ ค่าความรู้สึกต่างๆ ซึ่งมักจะเรียกเก็บเป็นเงินก้อนแรก แล้วแต่ว่าแฟรนไชซอร์มีชื่อเสียงและมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน

2. ค่า (LOYALTY FEE) ค่าสิทธิ์รายเดือน เป็นเงินที่แฟรนไชส์ต้องเรียกเก็บเป็นค่าดูแล ค่าให้คำแนะนำเมื่อธุรกิจได้เริ่มไปแล้ว

3. ค่าการตลาดและค่าโฆษณา เป็นเงินที่เรียกเก็บจากแฟรนไชซีเพื่อรวมเป็นเงินกองกลางสำหรับใช้ทำตลาดและลงโฆษณาตามสื่อต่างๆ เนื่องจากปีหนึ่งๆ แฟรนไชส์ซอร์ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการทำตลาดและโฆษณา

สำหรับค่าสินค้าและบริการบางอย่างเช่น ค่าอบรม ค่าจัดหาบุคลากร บางแฟรนไชส์อาจจะรวมไว้ในค่าแรกเข้าแล้วก็ได้ ส่วนข้อดีข้อเสียเมื่อทำธุรกิจแบบแฟรนไชส์มีดังนี้ครับ 1.ข้อดีของการเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์

1.ในช่วงเริ่มดำเนินธุรกิจแฟรนไชซอร์สามารถให้คำแนะนำเป็นพี่เลี้ยงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ได้

2. ด้วยชื่อเสียงและความนิยมที่แฟรนไชส์ต้องสะสมมาเป็นเวลานานทำให้มีลูกค้าที่เชื่อมั่นและเป็นที่นิยม เมื่อแฟรนไชซีเริ่มธุรกิจภายใต้ชื่อและเครื่องหมายการค้านั้นๆ ย่อมเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างมากในอาณาเขตของแฟรนไชซี

3. ลงทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการต้องเริ่มใหม่ด้วยตัวเอง เป็นความจริงเมื่อคุณเริ่มธุรกิจด้วยตัวเองมักจะต้องจ่ายค่าเรียนรู้ด้วยการผิดพลาดต่างๆ นานา ทำให้ต้นทุนเสียโดยใช้เหตุมากมาย แต่ถ้าเริ่มจากแฟรนไชส์ แฟรนไชซอร์จะคอยเป็นพี่เลี้ยงให้

4. ได้สิทธิในการประกอบธุรกิจอย่างมั่นคงภายใต้ระยะเวลาและอาณาเขตที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญา

5. ได้รับความรู้ประสบการณ์เทคนิคต่างๆ เพิ่มขึ้นเนื่องจากธุรกิจนั้นได้เข้าสู่ตลาดและผ่านการครองตลาดมาแล้ว และประสบกับความสำเร็จ

6. ได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่นการเลือกทำเล, การเตรียมงาน และรายละเอียดการเปิดร้าน, การจัดทำแหล่งเงินทุน , การฝึกอบรม, การจัดซื้อ จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในราคาถูก, การตลาดและโฆษณาต่างๆ ฯลฯ

7. ได้รับประโยชน์ในการซื้อสินค้าราคาพิเศษ

8. ได้รับผลประโยชน์จากการที่ผู้ให้สิทธิ์ทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงสินค้าและบริการ

9. ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการ ข้อกฎหมาย และการเงินจากผู้ให้สิทธิ์

10. ได้สิทธิประโยชน์จากการจดทะเบียนการค้า, เครื่องหมายการค้า, ชื่อทางการค้า, ความลับทางการค้า, ความรู้รวมทั้งความลับต่างๆ ของกระบวนการหรือสูตรต่างๆ

11. ได้รับข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ของตลาด Feedback และประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับมาจากเครือข่ายแฟรนไชส์ ซึ่งจะหมุนเวียนและส่งต่อกันเพื่อผลประโยชน์ของผู้รับสิทธิ์ทั้งหมด

12.ได้รับระบบการจัดการ การบัญชี การขายและขั้นตอนการควบคุมคลังสินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันอยู่ในคู่มือการปฏิบัติงาน

2. ข้อจำกัดของระบบแฟรนไชส์ เมื่อมีส่วนดีแล้วเป็นธรรมดาครับที่ต้องมีข้อจำกัดบ้างเนื่องจากการทำธุรกิจจะต้องมีความเสี่ยงสำหรับข้อจำกัดมีดังนี้ครับ

1.) การดำเนินธุรกิจแบบแฟรนไชส์ จะจำกัดขอบเขตของความคิดริเริ่มการดำเนินงาน ด้านสินค้าบริการการตลาดและการออกแบบ เช่นเดียวกับการปฏิบัติหน้าที่บางอย่างที่ต้องแยกจากกัน และบางชนิดที่ต้องควบคุม

2.) จะต้องจ่ายค่าสิทธิและค่าธรรมเนียมการจัดการ โดยไม่พิจารณาว่าผลประกอบการจะมีกำไรหรือไม่

3.)เป็นไปได้ยากที่จะประเมินโอกาส และความสามารถของผู้ให้สิทธิ์ในการที่จะให้การสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4.)สัญญาให้ใช้สิทธิ์ อาจจะมีข้อกำหนดที่ไม่อนุญาตให้มีการขาย หรือการโอนสิทธิ์การเป็นแฟรนไชส์

5.) ข้อตกลงในเรื่องของพื้นที่ที่กำหนดเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ

6.) ผู้รับสิทธิ์อาจจะถูกกำหนดให้ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ให้สิทธิ์ในอัตราที่ผู้รับสิทธิ์ไม่ปรารถนา

7.) นโยบายต่างๆ ของผู้ให้สิทธิ์อาจมีผลกระทบต่อการทำกำไรของผู้รับสิทธิ์

8.) Corporate Image หรือภาพพจน์ทางการค้าของธุรกิจอาจจะตกต่ำลงอันเนื่องมาจากเหตุผลอื่นๆ ที่ผู้รับสิทธิ์ไม่สามารถควบคุมได้

9.) ความล้มเหลวของผู้ให้สิทธิ์อาจทำให้ผู้รับสิทธิ์ตกอยู่ในภาวะที่ต้องดำเนินธุรกิจที่ไม่สามารถเติบโตหรือไม่สามารถเข้าร่วมธุรกิจกับผู้รับสิทธิ์รายอื่นๆ หรืออยู่ในภาวะโดดเดี่ยว

คำถามนี้เป็นคำถามที่ผมเคยถามเขามาก่อนครับ อิอิ
http://www.siaminfobiz.com/forum/index.php?topic=78.0
ผู้นำเข้าขายส่งกล้องวงจรปิดและระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร มีประสบณ์การมายาวนาน ยินดีให้คำปรึกษาและโอกาศแก่ทุกๆท่านกับธุระกิจสวนเศรษฐกิจ