ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


26 จุดเสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร

26 จุดเสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร
« เมื่อ: กันยายน 15, 2022, 07:17:47 AM »
ด้วยสภาพอากาศฝนตกหนักที่ยังคงมีอยู่ในทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ (อ่วมกันต่อ ! กรมอุตุฯ ชี้ ฝนจะตกหนักต่อเนื่องถึง 9 ก.ย. ทุกภาค แนะระวังน้ำท่วม https://hilight.kapook.com/view/226957) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำจนเป็นเหตุให้การเดินทางของประชาชนได้รับความลำบาก มีรถจักรยานยนต์และรถยนต์ขนาดเล็กได้รับความเสียหายเครื่องยนต์ดับกลางทาง (ขับรถลุยน้ำท่วม แล้วรถดับ ทำอย่างไร ? https://www.smk.co.th/newsdetail/2947) แล้วในกรุงเทพมหานครพื้นที่ใดบ้างที่เป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมขังบนพื้นผิวจราจร
 
กรมทางหลวง ได้ให้ข้อมูล 26 จุดเฝ้าระวังน้ำท่วมขังบนผิวจราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดังนี้
•   จุดที่ 1 ทล 31 วิภาวดีรังสิต (กองพันทหารราบที่ 1)
•   จุดที่ 2 ทล 31 วิภาวดีรังสิต (หน้าการบินไทย)
•   จุดที่ 3 ทล 31 วิภาวดีรังสิต (ร.ร.หอวัง)
•   จุดที่ 4 ทล 31 วิภาวดีรังสิต (แยกหลักสี่)
•   จุดที่ 5 ทล 304 แจ้งวัฒนะ (ซอย 10) 
•   จุดที่ 6 ทล 304 แจ้งวัฒนะ (วงเวียนบางเขน)
•   จุดที่ 7 ทล 304 สุวินทวงศ์ (แยกพรสุดา)   
•   จุดที่ 8 ทล 304 สุวินทวงศ์ (แยกนิมิตรใหม่)
•   จุดที่ 9 ทล 3312 ลำลูกกา (ช่วงปากทางลำลูกกา) 
•   จุดที่ 10 ทล 9 กาญจนาภิเษก (หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต) 
•   จุดที่ 11 ทล 302 งามวงศ์วาน (ใต้ด่วนงามวงศ์วาน)
•   จุดที่ 12 ทล 306 ติวานนท์ (อุโมงค์ปากเกร็ด) 
•   จุดที่ 13 ทล 304 แจ้งวัฒนะ (หน้าห้างไทวัสดุ) 
•   จุดที่ 14 ทล 1 พหลโยธิน (หน้าตลาดสี่มุมเมือง) 
•   จุดที่ 15 ทล 1 พหลโยธิน (บริเวณหน้าโลตัสรังสิต) 
•   จุดที่ 16 ทล 1 พหลโยธิน (บริเวณหน้าไทวัสดุ - พลัมคอนโด) 
•   จุดที่ 17 ทล 1 พหลโยธิน (บริเวณหน้า ม.กรุงเทพ) 
•   จุดที่ 18 ทล 1 พหลโยธิน (บริเวณหน้า ศูนย์มิตซูบิชิ) 
•   จุดที่ 19 ทล 3 สุขุมวิท (ซอยลาซาล-ซอยแบริ่ง) 
•   จุดที่ 20 ทล 3 สุขุมวิท (แยกปู่เจ้าสมิงพราย)
•   จุดที่ 21 ทล 3344 ศรีนครินทร์ (ช่วงหน้าวัดศรีเอี่ยม) 
•   จุดที่ 22 ทล 3344 ศรีนครินทร์ (ซอยแบริ่ง - ซอยลาซาล)
•   จุดที่ 23 ทล 34 เทพรัตน (ช่วงต่างระดับวัดสลุด)
•   จุดที่ 24 ทล 34 เทพรัตน (ช่วงซอยรัตนโกสินทร์ 200 ปี) 
•   จุดที่ 25 ทล 3413 บายพาสบางบ่อ (ช่วงบายพาสบางบ่อ) 
•   จุดที่ 26 ทล 3117 ปานวิถี (ช่วงหมู่บ้านเสรี)
 
นอกจากนี้ ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักการระบายน้ำ ยังระบุถึงพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำซากเมื่อเกิดฝนตกหนักในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 12 จุด ทั่วกรุงเทพฯ ดังนี้

1.   เขตบางซื่อ ถนนประชาราษฎร์สาย 2 บริเวณแยกเตาปูน
2.   เขตราชเทวี ถนนพญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์
3.   เขตราชเทวี ถนนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท
4.   เขตดุสิต ถนนราชวิถี บริเวณหน้าราชภัฏสวนดุสิตและเชิงสะพานกรุงธนบุรี
5.   เขตสาทร ถนนจันทน์ ช่วงจากซอยบำเพ็ญกุศล ถึงที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา
6.   เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ
7.   เขตหลักสี่ ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงจากคลองประปา ถึงคลองเปรมประชากร
8.   เขตสาทร ถนนสวนพลู ช่วงจากถนนสาทรใต้ ถึงถนนนางลิ้นจี่
9.   เขตสาทร ถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณแยกตัดถนนจันทน์
10.   เขตบางขุนเทียน ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสะแกงาม
11.   เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ช่วงจากคลองทวีวัฒนา ถึงคลองราชมนตรี

ทำไมกรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วมขังบ่อย

สาเหตุของน้ำท่วมขังในเขตกรุงเทพมหานครประกอบไปด้วยหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น

1.   ประชากรเพิ่มขึ้นหนาแน่น
เนื่องจากประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร มีปริมาณหนาแน่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยจากสถิติล่าสุดปี 2564 จากสำนักทะเบียนกลาง พบว่า มีผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร 5,527,994 คน (ไม่นับรวมประชากรแฝง) เกิดการขยายตัวของที่อยู่อาศัย มีการถมที่ดินเพื่อสร้างตึกรามบ้านช่อง อาคาร หมู่บ้าน ทำให้เส้นทางระบายน้ำอาจถูกกลบทับกลายเป็นเส้นทางจราจรทดแทน ปริมาณต้นไม้ในเขตเมืองมีจำนวนลดน้อยลงจนเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

2.   ขยะอุดตันท่อระบายน้ำ
เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีปริมาณขยะมูลฝอยมากกว่าหนึ่งหมื่นตันต่อวัน และปัญหาจากการไม่คัดแยกขยะในครัวเรือน รวมทั้งการทิ้งขยะไม่ลงถัง ส่งผลให้ปลายทางของขยะที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมอาจไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองหรือทะเล ทำให้ขยะสะสมติดอยู่ตามท่อระบายน้ำ เมื่อเกิดฝนตกในปริมาณมากทำให้การระบายน้ำไม่สามารถระบายได้ทัน

3.   ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา พร้อมปัญหาดินทรุดต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
ตามลักษณะภูมิศาสตร์ของกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำหรือเป็นแอ่งกระทะในบางแห่ง ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเองได้ จำเป็นต้องใช้วิธีสูบน้ำออกทะเลแทน ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากพื้นดินทรุดลงจากการก่อสร้างและการใช้น้ำบาดาลในปริมาณมาก เพราะในแต่ละปีระดับพื้นดินของกรุงเทพฯ จะลดลงไปประมาณ 1 เซนติเมตรต่อปี ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 3 มิลลิเมตรทุกปี และพื้นที่ส่วนใหญ่ยังมีลักษณะลาดเทจากด้านตะวันตกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเมื่อฝนตกหนักเส้นทางของน้ำจะถูกบังคับเส้นทางการระบายน้ำให้ไหลไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นส่วนใหญ่
 
หลีกเลี่ยงทุกภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับรถคุณ ให้ประกันภัยรถยนต์คนกรุง เบี้ยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ประกันรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยเริ่มต้น 11,600 บาท คุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี  ไม่ว่าจะรถชนรถ รถชนของ รถคันอื่นมาชน เกิดอุบัติเหตุนอกเมือง สูญหายไฟไหม้ น้ำท่วม พร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางรถยนต์ (Roadside Assistance Service) สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/productmotordetail/19 หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance พร้อมติดตามอ่านข่าวสารสาระดีๆ ได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/