ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


พร บ รถยนต์ คืออะไร ทำไมต้องต่อทุกปี พ.ร.บ. รถยนต์และภาษีรถยนต์ต่างกันอย่างไร

   รถยนต์ทุกคันที่ขับบนท้องถนนต้องจดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกและทำ พร บ รถยนต์ ซึ่งหมายถึง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นประกันภัยภาคบังคับที่เป็นกฎหมายบังคับสำหรับคนที่ครอบครองรถ เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมชดเชยความเสียหายอื่น ๆ หลังจาก ต่อ พร บ รถยนต์ แล้วจึงนำไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้
   หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องบังคับให้ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ อธิบายง่าย ๆ ว่า ความสำคัญของ พ.ร.บ. คือเป็นหลักประกันว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อประสบอุบัติเหตุรถยนต์ ภาครัฐจ่ายเงินในกรณีที่บาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ หรือถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนการทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัยของเอกชนนั้น เป็นประกันภาคสมัครใจ มีระดับความคุ้มครองตั้งแต่ ประกัน ชั้น 1 ไปจนถึงประกันชั้น 3 ซึ่งให้ความคุ้มครองเพิ่มเติมในส่วนของค่าซ่อมรถและทรัพย์สินเสียหายด้วย เนื่องจาก พร บ รถยนต์ ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายมากพอ ประกันรถจ่ายชดเชยทั้งกรณีไฟไหม้ น้ำท่วม รถหาย เป็นต้น (ขึ้นอยู่กับประเภทและแผนความคุ้มครองของกรมธรรม์)
   ประกันภัยทั้งภาคบังคับและภาคสมัครใจมีอายุ 1 ปี เมื่อครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาแล้ว เจ้าของรถต้องยื่นเอกสารเพื่อต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และ ต่อประกันรถยนต์ เพื่อรับการคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ มีดังนี้
   - สำเนาบัตรประชาชน
   - สำเนาทะเบียนบ้าน
   - สำเนาเล่มทะเบียนรถ

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ล่วงหน้าได้หรือไม่
   การ ต่อ พร บ รถยนต์ ทำล่วงหน้าก่อนวันหมดอายุได้ไม่เกิน 90 วัน แตกต่างจากการต่อประกันภัยรถ ที่สามารถต่อล่วงหน้าได้นานตั้งแต่ 3-6 เดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน หลังจากนั้นจึงนำ พ.ร.บ. รถยนต์ไปเป็นหลักฐานในการ ต่อ ภาษี รถยนต์ ในขั้นถัดไป สามารถดำเนินการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์และต่อประกันภัยออนไลน์พร้อมกันเพื่อความสะดวกรวดเร็ว หลังชำระเงินแล้วได้รับความคุ้มครองในทันที

พ.ร.บ. รถยนต์และภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร
   พ.ร.บ. รถยนต์คือหลักฐานการเอาประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ส่วนภาษีรถยนต์ที่เรียกกันว่าป้ายวงกลมคือทะเบียนที่อนุญาตให้ขับรถได้ ซึ่งมีอายุ 1 ปีเช่นกัน หมายความว่ารถทุกคันต้องเสียภาษีรายปี การ ต่อภาษีรถยนต์ จะต้องนำหลักฐานคือ พ.ร.บ. รถยนต์, ใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมสำเนา และใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์ (หากใช้งานมานาน 7 ปีขึ้นไป)
   
ขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์
   ต้องนำรถยนต์และสมุดคู่มือทะเบียนรถไปติดต่อขอใช้บริการตรวจสภาพรถที่กรมขนส่งทางบก หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่มีอยู่ทั่วไปทุกจังหวัด ใกล้บ้านตามความสะดวก สิ่งที่ตรวจประกอบไปด้วย
   - ข้อมูลรถถูกต้อง ทั้งแผ่นป้ายทะเบียนรถ เลขตัวรถ และเลขเครื่องยนต์
   - ตรวจควันดำรถเครื่องยนต์ดีเซล
   - ตรวจวัดเสียง ไม่เกิน 100 เดซิเบล
   - สภาพ ตัวถัง สี โคมไฟฟ้า พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน อุปกรณ์ไฟฟ้า
   - โครงสร้าง ช่วงล่าง เบรก ระบบเชื้อเพลิง มี อาการ แบ ต เสื่อม หรือไม่

   หากไม่ผ่านต้องนำรถไปซ่อมบำรุงและกลับมาตรวจใหม่เพื่อความปลอดภัย สามารถตรวจล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนก่อนวันหมดอายุภาษีประจำปี หากป้ายภาษีหมดอายุแล้วนำรถไปขับขี่บนถนนถือว่าผิดกฎหมาย สรุปแล้วเจ้าของรถต้อง พร บ รถยนต์ และภาษีรถยนต์ทุกปีเพื่อรับการคุ้มครองตามกฎหมาย และต่อประกันภัยภาคสมัครใจไว้ทุกปี เพื่อให้อุ่นใจว่ามีความคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างเต็มที่

ชมข้อมูลเพิ่มเติม
https://online.scbprotect.co.th/motor?class=type-1