ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


บรรเทาอาหารปวดหัวข้างเดียว ด้วยการตรวจไมเกรน

ตรวจไมเกรน

ก่อนจะทำความรู้จักกับการตรวจไมเกรน ไมเกรนคืออะไร เราต้องขอเกริ่นก่อนว่าปัญหาการใช้ชีวิตของผู้คนไม่ว่าจะเรื่องชีวิต เรื่องงาน หรือเรื่องความรัก ย่อมทำให้ภาวะความเครียด ปัจจุบันมีคนไม่น้อยประสบปัญหาภาวะความเครียดโดยไม่รู้ตัวจากการทีเก็บไปปัญหาเหล่านี้มาคิด นำไปสู่โรคที่แฝงมาโดยไม่รู้ตัว อย่างไมเกรน ที่มีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ปวดหัวข้างเดียว ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความรำคาญและสร้างปัญหาการใช้ชีวิตให้กับใครหลายคนไม่สามารถทำกิจกรรม หรือทำอะไรได้ตามต้องการ

หลายคนที่เป็นไมเกรน นั้นมักจะบอกว่าไม่เป็นไรโรคไม่อันตราย แต่จะดีกว่าไหม หากเราตรวจไมเกรน หรือศึกษาวิธีตรวจไมเกรน กับแพทย์ เพื่อลดผลของอาการหรือรักษาให้ไม่ให้ไมเกรนเกิดขึ้น ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับโรคไมเกรน ตรวจไมเกรนอย่างไรให้เรารู้และตระหนักถึงโรคนี้มากขึ้น

อาการสัญญาณเตือนไมเกรน

หากท่านมีอาการเหล่านี้ ท่านคือผู้ที่เข้าข่ายเป็นโรคไมเกรน

- ปวดศีรษะรุนแรงและฉับพลัน ในช่วงระยะเวลาอันสั้น
- มีอาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้น บ่อยขึ้นกว่าเดิม
- ลักษณะการปวดศีรษะ จะไม่เหมือนทั่วไป ไม่มึนแต่เป็นการปวดหัวเลย
- มีการปวดศีรษะขณะทำกิจกรรมต่าง ๆ ไอ จาม เบ่ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนอิริยาบถ
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรงขณะอายุมากกว่า 65 ปี
- มีอาการปวดศีรษะขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอด
- มีอาการปวดศีรษะเมื่อได้มีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือคอ
- เมื่อใช้ยาแก้ปวด มากเกินไปแล้วมีอาการปวดศีรษะ
- ตำแหน่งปวดไมเกรนจะบริเวณศีรษะ และอาจจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว

อาการเหล่านี้จะเป็นอาการกลุ่มเสี่ยง ในการเป็นโรคไมเกรน หากท่านรู้สึกว่ามีอาการเหล่านี้ ท่านควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ เพื่อทำการตรวจไมเกรน

การตรวจวินิจฉัยโรคไมเกรน

ตรวจวินิจฉัยโรคไมเกรน

เมื่อเรามีอาการเข้าข่ายในการเป็นไมเกรน เราควรเข้ารับการตรวจไมเกรน โดยโรคไมเกรนนั้นไม่ใช่โรคที่แพทย์จะต้องทำการตรวจแบบเฉพาะเหมือนโรคอื่น ๆ วิธีตรวจไมเกรนจึงไม่มีความซับซ้อนวุ่นวาย โดยแพทย์ผู้ตรวจ อาจจะซักประวัติเราคร่าว ๆ ร่วมกับการวินิจฉัยควบคู่กับการวิเคราะห์อาการต่าง ๆ ที่เราเป็น จากนั้น หากมีอาการเข้าข่ายแพทย์จะทำการ ทำการตรวจโรคไมเกรน อาจจะเป็นการ ตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า MRA หรือ MRI เป็นต้น เพื่อให้ได้ผลที่แน่นอนกว่า

วิธีตรวจไมเกรน ตรวจอะไรบ้าง

การตรวจไมเกรนนั้น จะมีวิธีดังนี้

1. ซักประวัติว่า ปวดหัวแบบไหน ปวดมานานเท่าไร หรือ แม้กระทั่งพฤติกรรมการทาน
2. ตรวจตา เพื่อหาว่าเป็น papilledema ซึ่ง เป็นโรคเกี่ยวกับความดันของเบ้าตาว่าผิดปกติหรือไม่ เพราะอาการของโรคนี้ จะเป็นการปวดหัวข้างเดียวเหมือนไมเกรน
3. เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้น แพทย์อาจจะให้เราเข้ารับการตรวจด้วยวิธีตรวจไมเกรนแบบใช้เครื่องมือทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่นการ Headache Screening หรือ MRA และ MRI เพื่อตรวจเส้นเลือดในสมอง

จะสังเกตได้ว่า การตรวจไมเกรน โดยใช้เครื่องมือจะเป็นวิธีสุดท้ายเพื่อยืนยันว่า เราเป็นไมเกรนจริง ๆ หรือไม่

ปวดไมเกรน..เมื่อไหร่ควรเข้าตรวจ

ปวดไมเกรน

อาการปวดหัวนั้นมีมากหลากหลายแบบ แต่เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราปวดไมเกรน หากเรารู้สึกว่าเราปวดหัวหนักมาก แทบจะยืนไม่ไหว หรือ อาการปวดหัวมาบ่อย ๆ เป็นช่วง ๆ ตามอาการที่กล่าวมาข้างบน เราควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจไมเกรน มาลองดูกันเลย เราได้รวบรวมเช็กลิสต์คำถามเพื่อให้แพทย์ประเมินว่าคุณเป็นไมเกรนหรือไม่

- อาการปวดหัวเริ่มเมื่อไร มีอาการอย่างไร แย่ลงช่วงไหน แล้วใช้เวลานานหายเมื่อไร
- ปวดหัวตรงส่วนไหน
- ปวดหัวแบบไหน ปวดจี๊ด ตุบ หรือว่ามึน ๆ
- ปวดนานเท่าไร
- ได้ทานยาหรือไม่ เมื่อไรล่าสุด
- ได้ลองวิธีแบบอื่นหรือยัง เช่นประคบด้วยผ้าขนหนูหรือยัง
- การทานยาหรือวิธีบรรเทาต่าง ๆ ช่วยหรือไม่

นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับการใช้ชีวิตของเราอีกด้วย เช่น

- นอนหลับกี่ชั่วโมงต่อวัน
- ได้ออกกำลังกายหรือไม่บ่อยแค่ไหน
- ทานอะไรไปบ้าง
- อากาศช่วงนี้เป็นอย่างไร
- เครียดอยู่หรือไม่
- ถ้ามีประจำเดือน ต้องบอกข้อมูล

หากคุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ จะเป็นการช่วยให้แพทย์ สามารถ วินิจฉัยอาการของคุณได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

การบันทึกอาการปวดหัวเพื่อการวินิจฉัย

อาการไมเกรน

บางทีเราไม่สามารถคาดเดาว่าอาการไมเกรน จะมาเมื่อไร เพราะฉะนั้นเพื่อให้เราสามารถเก็บบันทึกข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการตรวจไมเกรนนั้น เราควรบันทึกอาการปวกหัวไมเกรน เพราะจะเป็นประโยชน์กับเรา และคุณหมอเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโดยสิ่งที่เราควรบันทึกมาดังนี้

- วันที่และเวลาที่เราปวดหัว
- ทำอะไรอยู่ตอนปวดหัวไมเกรน
- มีอาการปวดหัวนานเท่าไร
- อาการปวดเป็นอย่างไร
- ทานยาอะไรทานไป

ข้อมูลเหล่านี้เราควรหมั่นบันทึกอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลาประมาณ2-3 สัปดาห์ เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเรา ทำให้เราหลีกเลี่ยงสาเหตุเหล่านั้นได้ เพราะบางทีแนวทางวิธีตรวจไมเกรน และลดปัญหาการเกิดไมเกรน อาจจะอยู่ในบันทึกนี้ก็ได้

แนวทางการรักษาไมเกรน

การรักษาไมเกรนนั้น หากไม่ได้เป็นหนักและบ่อย แพทย์จะตรวจไมเกรนและรักษาโดยการรักษาแบบเบื้องต้น แต่ถ้าเป็นหนักและบ่อยจนกระทบการใช้ชีวิตเป็นอย่างมากแพทย์จะใช่วิธีทางการแพทย์ในการรักษา ซึ่งการ โบท็อกไมเกรน เป็นวิธีที่เห็นผลและได้ประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก

การรักษาไมเกรนเบื้องต้น

รักษาไมเกรนเบื้องต้น

* การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง - เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงให้อาการไมเกรนกำเริบ เช่น การกิน การขยับร่างกาย หรือ แม้กระทั่งพฤติกรรมการนอน
* สมุนไพรรักษาไมเกรน - สมุนไพรบางชนิดสามารถรักษาไมเกรนได้ เช่น ใบบัวบก ขิง เป็นต้นที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน
* การประคบเย็นลดอาการปวด - การประคบเย็น เพราะความเย็นทำให้หลอดเลือดหดตัว ลดการอักเสบตามบริเวณ
* การนวดกดจุดแก้ปวดไมเกรน - การนวดกดจุดตามบริเวณ คอ (โดยผู้เชี่ยวชาญ) เป็นอีกหนึ่งวิธีในการบรรเทารักษาไมเกรน

การรักษาไมเกรนทางการแพทย์

รักษาไมเกรนทางการแพทย์

* ยารักษาไมเกรน - ยาบางชนิดช่วยบรรเทาอาการไมเกรน ให้ดีขึ้น
* ฉีดยาแก้ไมเกรน - เป็นวิธีที่เห็นผลกว่าทานยา เพราะการฉีดยาเป็นการฉีดโดยตรงเข้าเส้นเลือด
* ฝังเข็มรักษาไมเกรน - อีกหนึ่งการรักษาทางเลือกที่ขึ้นชื่อ
* โบท็อกไมเกรน - เป็นการฉีดโบท็อกไปในบริเวณ ระหว่างระหว่างคิ้ว หน้าผาก ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เพื่อช่วยลดอาการปวดศีรษะ เพราะโบท็อกมีฤทธิ์ในการยับยั้งปลายประสาท ทำให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งคลายตัวลง ทำให้ช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของการปวดหัวไมเกรน

หากตรวจไมเกรนแล้วไม่เข้าข่าย

นอกจากโรคไมเกรน ที่มีอาการปวดศีรษะแล้ว ยังมีโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวได้เช่นกัน และโรคบางโรคเหล่านี้ยังมีความอันตรายกว่าไมเกรนอีกด้วย ซึ่งถ้าหากท่านได้ตรวจไมเกรนแล้ว รู้สึกว่าตัวเองยังไม่เข้าข่าย ท่านควรตรวจวินิจฉัยโรคอื่นเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็น การปวดตึงกล้ามเนื้อ เนื้องอกในสมอง หรือความดันในช่องตาผิดปกติ โดยเราได้รวบรวมการตรวจวินิจฉัยแบบอื่นมาให้ท่านแล้วดังนี้

การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ

โรคไมเกรน

หากเราไม่เข้าข่ายเป็นไมเกรน และมีอาการปวดหัว ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีเหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าเราเป็นโรคอะไร และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

1. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
2. ตรวจ CBC หรือความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
3. ตรวจ LDL ในเลือด
4. ตรวจการทำงานของตับ และ ไต
5. ตรวจสารเกลือแร่ในร่างกาย
6. วัดความดันลูกตา
7. ตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท
8. ตรวจระบบหู คอ จมูก
9. ตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์

ตรวจไมเกรนที่ไหนดี

สำหรับใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วยังไม่รู้ว่า ตรวจไมเกรนที่ไหนดี ทางผู้เขียนจึงจะมาแนะนำวิธีเลือกคลีนิกรักษาไมเกรน เพื่อให้ท่านสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเมื่อเข้ารับการรักษา และสามารถพิจารณาศูนย์รักษาไมเกรนที่เหมาะกับท่านได้

1. สถานที่ต้องอยู่ใกล้ที่พักของเราเพื่อง่ายต่อการเดินทาง
2. แพทย์จะต้องมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในการตรวจรักษาไมเกรน
3. ที่ ๆ เข้ารับการรักษาควรเป็นศูนย์รักษาไมเกรนโดยเฉพาะ
4. ศูนย์รักษาไมเกรนต้องมีใบรับรองได้มาตรฐาน
5. เครื่องมือในการตรวจรักษาไมเกรนต้องพร้อม
6. มีวิธีตรวจไมเกรนที่ครอบคลุมทุกปัญหา สามารถตรวจไมเกรนได้ทุกรูปแบบ
7. พยาบาลและบุคลากรมีความสุภาพดูแลท่านได้อย่างดี

หากสถานที่รักษาไมเกรนของคุณมีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้น ถือว่าเป็นสถานที่รักษาไมเกรนที่มีคุณภาพท่านสามารถเข้าไปใช้บริการได้เลย

ข้อสรุป

ไมเกรนถึงแม้จะเป็นโรคที่ไม่มีความอันตราย อะไรถึงชีวิต แต่เรียกได้ว่าสร้างความรำคาญและเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก ทางที่ดีเพื่อคุณภาพที่ดีขึ้น จะเป็นการดีกว่าไหมถ้าเรา ไปตรวจไมเกรน เพื่อวินิจฉัย และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อลดปัญหาการปวดไมเกรนของเรา ทางผู้เขียนหวังว่า ข้อมูลการตรวจไมเกรน วิธีตรวจไมเกรน เหล่านี้จะมีประโยชน์กับท่านไม่มากก็น้อย