ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


แนะนำ 4 รูปแบบตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่อง

เคยสงสัยไหมว่า เวลาที่นักตัดต่อวีดีโอ หรือที่เรียกว่า “Editor” ตัดต่อวีดีโอต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สื่อโฆษณา มิวสิควีดีโอ (Music Video) ละคร หรือภาพยนตร์ พวกเขาใช้เทคนิคอะไรในการตัดต่อวีดีโอกันบ้าง ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับ 4 รูปแบบตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่องกัน
ตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่อง คือ?
ก่อนที่จะไปรู้จักรูปแบบของการตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่อง คุณควรที่จะทำความรู้จักกับการตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่องก่อน การตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่องก็คือการตัดต่อที่ต้องการให้เนื้อหามีความต่อเนื่องกันระหว่างช็อตต่อช็อต เพื่อให้วีดีโอมีความต่อเนื่องกันมากที่สุด มักนิยมใช้ในการตัดต่อวีดีโอสำหรับละคร ภาพยนตร์ หรือสื่อโฆษณา แตกต่างจากการตัดต่อวีดีโอแบบเรียบเรียงที่เน้นการเรียบเรียงภาพให้สอดคล้องไปกับเสียงบรรยาย ซึ่งนิยมใช้ในการตัดต่อวีดีโอสำหรับสารคดีนั่นเอง
รวม 4 รูปแบบตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่องที่ต้องรู้
สำหรับใครที่กำลังจะตัดต่อวีดีโอ 4 รูปแบบตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่องที่เรานำมาฝากนี้ จัดเป็นเทคนิคการตัดต่อวีดีโอแบบต่อเนื่องขั้นพื้นฐานที่คุณต้องรู้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตัดต่อวีดีโอได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เนื้อหามีความต่อเนื่อง และน่าสนใจมากขึ้นอีกด้วย
ตัดต่อวีดีโอแบบคัทอะเวย์ (Cutaway) คือการตัดต่อภาพไปยังภาพอื่น ในขณะที่เหตุการณ์กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งจะช่วยหักเหความสนใจจากช็อตหลัก และทำให้เนื้อหามีความกระชับมากยิ่งขึ้น เช่น ตัดภาพจากตัวละครที่กำลังเดินบนสะพานลอยไปยังภาพตัวละครที่เดินลงสะพานลอยขั้นสุดท้ายแล้ว
ตัดต่อวีดีโอแบบแมทคัท (Match Cut) คือการตัดต่อโดยใช้ความกลมกลืนจากช็อตหนึ่งไปยังอีกช็อตหนึ่ง เพื่อกระชับเนื้อหามากยิ่งขึ้น เช่น ตัดภาพจากตัวละครที่กำลังนอนหลับบนเตียงไปยังภาพของตัวละครที่กำลังนั่งหลับในห้องเรียน เป็นต้น
ตัดต่อวีดีโอแบบแทรกคัท (Insert Cut) คือการตัดภาพแทรกระหว่างช็อตหลัก (Master Shot) ที่เป็นช็อตยาวและมุมภาพกว้าง กับภาพระยะใกล้ (Close Up) หรือภาพมุมแคบ เพื่อเน้นความสนใจไปที่จุดสำคัญของฉากนั้น ๆ เช่น ตัดภาพตัวละครที่กำลังเดินถือปืนในระยะไกลไปที่ภาพมือของตัวละครที่มีปืนอยู่ในมือ
ตัดต่อวีดีโอแบบซ้ำแอคชั่น (Reaction Cut) คือการตัดต่อภาพปฏิกิริยาของตัวละครที่มีต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้พูด ผู้ฟัง หรือบุคคลที่สาม เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจอารมณ์ของตัวละครทั้งหมด ซึ่งจะต้องเลือกจังหวะภาพและเรียบเรียงเหตุการณ์ให้เหมาะสม เพราะอาจทำให้ผู้ชมเกิดความสับสนได้ เป็นต้น