ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


คลื่นไฟฟ้าหัวใจคืออะไร ทำไมเราจึงควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นประจำ ?

โรคหัวใจเป็นภัยเงียบที่กว่าจะรู้ตัวก็อาจสายไปแล้วค่ะ แท้จริงแล้วหัวใจเราจะส่งสัญญาณเตือนเราเมื่อเริ่มเกิดความผิดปกติขึ้น แต่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามและให้เหตุผลกับอาการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะทำงานเหนื่อยเกินไป พักผ่อนไม่พอ หรือรับประทานอะไรผิดไป ถ้าเราพักผ่อนเต็มที่แล้วก็คงจะดีขึ้น แต่จริง ๆ แล้วนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนก่อนจะเป็นโรคหัวใจค่ะ ดังนั้นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะช่วยบ่งบอกได้ว่าอาการที่กำลังเกิดขึ้นกับเรานั้นเป็นสัญญาณเตอนถึงโรคหัวใจหรือไม่นั่นเอง


ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG คืออะไร

ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เราควรจะต้องรู้เกี่ยวกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจกันก่อนค่ะว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจคืออะไร มีความสำคัญและมีความสัมพันธ์อย่างไรกับการเกิดโรคหัวใจค่ะ


ทำความรู้จักกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
   
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้าทีไหลผ่านจากจุดกำเนิดไฟฟ้าไปยังเชลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจเกิดการทำงาน หรือหัวใจเต้นนั่นเอง เราสามารถทราบได้ว่าหัวใจเรายังทำงานได้ปกติหรือไม่ก็สามารถดูได้จากความคงที่ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เมื่อใดที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจเกิดไม่คงที่ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าหัวใจอาจมีความผิดปกติหรือเกิดอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นค่ะ เราสามารถดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram หรือ EKG (ECG) นั่นเองค่ะ


ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่ออะไร สามารถบอกอะไรได้บ้าง?


อย่างที่ได้ทราบกันแล้วว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการดูกระแสไฟฟ้าที่ผ่านมายังเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจว่ามีการส่งสัญญาณมาอย่างคงที่ สม่ำเสมออยู่หรือไม่ค่ะ สำหรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจนี้สามารถบอกได้หลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกับหัวใจเรา ได้แก่

  • อัตราการเต้นของหัวใจ
  • จังหวะการเต้นของหัวใจ
  • ขนาดของหัวใจ
  • ครงสร้างภายในหัวใจ
  • เยื่อหุ้มหัวใจ
โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะรายงานผลในรูปกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะสามารถเห็นถึงความปกติ หรือผิดปกติของหัวใจได้จากกราฟนี้ค่ะ
หากทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วพบถึงความผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาส่งตรวจหัวใจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อหาสาเหตุและยืนยันถึงความผิดปกติของหัวใจ และสามารถวินิจฉัยโรคหัวใจได้แม่นยำมากขึ้น


ข้อดีของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีข้อดีมากมาย ได้แก่

  • สามารถบอกได้เลยว่าหัวใจยังทำงานได้ปกติหรือไม่ และผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถนำมาประกอบการวินิจฉัยร่วมกับวิธีอื่น ๆ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถทำได้กับทุกคนทุกเวลา
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนตรวจ สามารถเข้ารับการตรวจได้เลย
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีเท่านั้น
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าทำได้ง่าย ไม่มีการสอดอุปกรณ์ใด ๆ เข้าภายในร่างกาย เพียงแค่แปะอิเล็กโทรดหรือแผ่นรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจบนผิวหนังบริเวณหน้าอกเท่านั้น และไม่มีอันตรายและผลข้างเคียงใด ๆ หลังทำการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
   
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ไม่มีความจำเป็นจะต้องเตรียมตัวใด ๆ ก่อนเข้ารับการตรวจค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น ควรปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจดังนี้

  • สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาเป็นประจำ หรือได้รับยาในช่วงที่จะเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ในช่วงก่อนเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ควรงดพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อให้ได้ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ
  • ควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถถอดได้ง่าย เนื่องจากในวันตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะต้องมีการติดแผ่นอิเล็กโทรดบริเวณหน้าอกเพื่อรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ


ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงเห็นคำที่บ่งบอกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แถมยังไม่เจ็บตัวเพราะไม่มีการสอดใส่อุปกรณ์ หรือต้องเจาะเลือดเมื่อทำการตรวจ ในหัวข้อนี้จะมาบอกถึงขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG อย่างละเอียดกับค่ะว่ามันง่ายและใช้เวลาไม่นานจริง ๆ ค่ะ

  • เมื่อถึงคิวตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์หรือเจ้าหน้าที่พยาบาลจะนำแผ่นอิเล็กโทรดหรือสื่อนำคลื่นไฟฟ้า (Electrode) มาแปะลงบนบริเวณหน้าอก แขน และขา
  • ให้ผู้เข้ารับการตรวจนอนหงายบนเตียง และอยู่ในท่าผ่อนคลาย ในขณะตรวจผู้เข้ารับการตรวจควรอยู่นิ่ง ๆ ประมาณ 5-10 นาทีเพื่อให้แผ่นอิเล็กโทรดได้รับสัญญาณจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะถูกรายงานผลเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์จะสามารถทราบถึงผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้จากกราฟนี้
  • เมื่อแพทย์ได้กราฟที่เป็นผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้ว ผู้เข้ารับการตรวจสามารถฟังผลแล้วกลับบ้านได้ทันที หากแพทย์พบถึงความผิดปกติบนกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจให้ผู้เข้ารับการตรวจทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง และอาจพิจารณาส่งตรวจหัวใจวิธีอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและยืนยันผลอีกครั้ง

การวินิจฉัยผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
   
เมื่อผู้เข้ารับการตรวจทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและได้ผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะนำผลนี้มาอ่านและแปลผลตรวจให้เราทราบได้ แต่อย่างไรก็ตามหากผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบ่งบอกถึงความผิดปกติ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซ้ำอีกครั้ง และหากยังพบถึงความผิดปกติแพทย์จะพิจารณาส่งตรวจหัวใจวิธีอื่น ๆ เพิ่มเพื่อหาสาเหตุและวินิจฉัยถึงผลได้อย่างถูกต้องมากขึ้น

เมื่อนำผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมาประกอบกับการตรวจหัวใจวิธีอื่น ๆ ก็จะสามารถวินิจฉัยโรคหัวใจได้หลายโรค เช่น

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างหนาผิดปกติ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  • โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ำ
  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ำ
แต่อย่างไรก็ตามการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง หากตรวจแล้วพบความผิดปกติ แพทย์อาจสรุปผลตรวจจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ก็อาจจะต้องตรวจร่วมกับวิธีอื่น ๆ จึงจะวินิจฉัยโรคได้ และในบางครั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจก็ไม่อาจบอกได้ว่าผู้เข้ารับการตรวจจะเป็นหรือไม่เป็นกลุ่มโรคหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจไม่แสดงถึงความผิดปกติ หรือในบางรายผลตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคหัวใจค่ะ


การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจร่วมกับวิธีอื่น

เพราะการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพียงอย่างเดียวอาจทำให้แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยผลได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นเมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG แล้วพบความผิดปกติจากกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แพทย์อาจต้องส่งตรวจหัวใจร่วมกับวิธีอื่น ๆ เพื่อยืนยันและสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง

ตรวจสุขภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST: Exercise Stress Test)


ในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจหัวใจด้วยอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย หรือขณะที่ต้องใช้แรง การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ที่เป็นการตรวจขณะอยู่นิ่ง ๆ อาจทำให้ไม่พบถึงความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจค่ะ แพทย์อาจให้เข้ารับการตรวจด้วยการวิ่งสายพาน หรือ Exercise Stress Test (EST) ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเช่นเดียวกับ EKG แต่จะทำการตรวจขณะที่ผู้เข้ารับการตรวจออกกำลังกาย เช่น การวิ่งบนสายพาน หรือการปั่นจักรยาน แผ่นอิเล็กโทรดที่แปะตามร่างกายก็จะได้สัญญาณและแปลผลในรูปกราฟเช่นเดียวกับ EKG และเมื่อพบถึงความผิดปกติแพทย์จะทราบได้ทันที สำหรับการตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน หรือ EST จำเป็นต้องมีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram : ECHO)


เมื่อทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG และแพทย์อ่านผลจากกราฟแล้วสงสัยว่าผู้เข้ารับการตรวจอาจมีลักษณะของหัวใที่ผิดปกติไป แพทย์อาจส่งตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูง หรือ ECHO ค่ะ โดย ECHO จะมีหลักการคล้ายกับการทำอัลตราซาวด์ โดยการส่งคลื่นไปที่หัวใจและสะท้อนกลับมาให้เห็นในรูปแบบภาพ แพทย์จะเห็นภาพหัวใจของผู้เข้ารับการตรวจ และสามารถบอกถึงลักษณะของหัวใจอย่างละเอียด ไม่ว่าจะการเคลื่อนไหว การบีบตัว การสูบฉีดเลือดจากหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือดที่ผ่านหัวใจ รวมถึงลักษณะความผิดปกติอย่างการเกิดเนื้องอก หรือความพิการของหัวใจได้ค่ะ 


ใครที่ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
   
โรคหัวใจสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย ถึงในผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงที่มากกว่าวัยอื่น ๆ แต่ก็สามารถพบได้เช่นกัน และความอันตรายของโรคหัวใจในวัยอืนที่ไม่ใช้ผู้สูงอายุคือความประมาท ไม่คิดว่าตนจะเป็นโรคหัวใจ ทำให้กว่าจะรู้ตัวก็อาจสายไปเสียแล้ว ดังนั้นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจึงจำเป็นและเป้นสิ่งที่ควรทำไปพร้อม ๆ กับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้งค่ะ
   
หรือหากพบว่าตนเองเริ่มมีอาการผิดปกติ หรือมีปัจจัยเสี่ยงก็ควรจะเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ทำได้เลย สำหรับผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีคนในครอบครัวมีประวัติโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีปัญหาอื่น ๆ เช่น เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจไม่ทัน

คำถามที่พบบ่อย

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เจ็บไหม
ตอบ   การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่มีความเจ็บใด ๆ เนื่องจากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่มีการเจาะหรือสอดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ เข้าร่างกาย มีเพียงแค่การแปะแผ่นรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจบนผิวหนังเท่านั้น

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มีผลข้างเคียงไหม
ตอบ   เพราะการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจไม่มีการสอดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ เข้าภายในร่างกาย จึงทำให้ไม่มีผลข้างเคียงและไม่มีผลแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ในผู้เข้ารับการตรวจบางรายอาจพบรอยแดงบริเวณที่แปะแผ่นอิเล็กโทรด ซึ่งสามารถหายแดงได้เองภายใน 1-2 วันค่ะ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ควรตรวจบ่อยแค่ไห
ตอบ   ในผู้ที่สุขภาพแข็งแรงปกติ อาจเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างน้อยปีละครั้งพร้อม ๆ กับการตรวจสุขภาพประจำปี แต่หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่นเหนื่อยหอบง่าย หัวใจเต้นเร็วหรือผิดจังหวะ หรือจู่ ๆ ก็หมดสติไปไม่ทราบสาเหตุ ควรเข้ารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจทันที


ข้อสรุป
   
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG เป็นวิธีการตรวจหัวใจเบื้องต้นที่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ และไม่มีข้อควรระวังหลังทำการรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสามารถทราบถึงความผิดปกติของหัวใจได้ทันทีหลังตรวจเสร็จค่ะ สำหรับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG ที่ผิดปกติก็สามารถทำให้แพทย์พิจารณาส่งตรวจหัวใจวิธีอื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง