ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


มารู้จักเลนส์ตา ส่วนประกอบสำคัญของดวงตาที่ขาดไม่ได้!?

ดวงตาของเราเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากต่อร่างกาย โดยดวงตาจะช่วยทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ดวงตาข้างหนึ่งจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันเพื่อช่วยในการมองเห็น ซึ่ง เลนส์ตา ก็เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของดวงตาที่มีความสำคัญมากด้วยเช่นกัน แต่ก่อนที่จะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับเลนส์ตา เรามาศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของดวงตากันก่อนดีกว่าค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง แล้วเลนส์ตามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร



องค์ประกอบของดวงตา

ดวงตาของเรามีส่วนประกอบต่าง ๆ ที่คอยทำหน้าที่ช่วยทำให้สามารถมองเห็นได้ ดังนี้


  • ตาขาว (Sclera) ทำหน้าที่ป้องกันส่วนประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ภายในลูกตา
  • กระจกตา (Cornea) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดของดวงตา ทำหน้าที่โฟกัสและหักเหแสงให้เข้าไปข้างในรูม่านตา
  • ม่านตา (Iris) เป็นส่วนที่มีสีสันล้อมรอบรูม่านตา โดยจะมีสีอะไรนั้นจะขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและกรรมพันธุ์ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่จะเข้า
  • รูม่านตา (Pupill) มีลักษณะเป็นสีดำที่อยู่กลางตาดำ ทำหน้าที่รับแสงให้สามารถผ่านเข้าไปยังเลนส์ตาได้
  • เลนส์ตา (Lens) ทำหน้าที่ในการปรับระยะโฟกัสและหักเหแสงให้เข้าไปยังจอรับภาพ ทำให้เกิดภาพขึ้นมา
  • จอประสาทตา (Retina) ทำหน้าที่รับแสงที่ส่งจากเลนส์ตา ก่อนส่งภาพไปยังสมอง
  • จุดภาพชัด (Macula) เป็นจุดที่อยู่ตรงกลางจอประสาทตา ทำหน้าที่รับภาพจากจอตาเพื่อแปลผลที่สมอง
  • เส้นประสาทตา (Optic nerve) เป็นเส้นประสาททำหน้าที่นำภาพจากจอตาไปยังสมองเพื่อแปลผล


เลนส์ตา (Lens)

เลนส์ตา คือส่วนประกอบหนึ่งของดวงตาซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีนและน้ำเป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อสีใสคล้ายเลนส์นูนอยู่ในส่วนหลังม่านตาเพื่อให้แสงสามารถผ่านเข้ามาได้อย่างดี ทำหน้าที่ในการหักเหแสงที่ได้รับจากรูม่านตาเพื่อส่งไปยังจอประสาทตา


เลนส์ตาทำหน้าที่อะไร

เลนส์ตา มีคุณสมบัติช่วยในการมองเห็นในระยะต่าง ๆ โดยเลนส์ตานอกจากจะทำหน้าที่หักเหแสงจากระยะต่าง ๆ แล้วส่งภาพที่ได้ไปยังจอประสาทตาแล้ว ยังทำหน้าที่ในการโฟกัสซึ่งช่วยทำให้การมองเห็นของเรามีความคมชัดมากขึ้น



หากเกิดความผิดปกติที่เลนส์ตาจะส่งผลอย่างไร

เนื่องจากเลนส์ตามีส่วนช่วยสำคัญในการมองเห็น โดยทำหน้าที่ในการช่วยหักเหแสงรวมถึงช่วยทำให้มองโฟกัสระยะความห่างต่าง ๆ ได้ ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติที่เลนส์ตาแล้วก็อาจจะทำให้มองเห็นไม่ชัดหรือเบลอตามมา ซึ่งโรคที่พบบ่อยโดยมีสาเหตุเกิดจากเลนส์ตามีความผิดปกติมีดังนี้

สายตายาวตามอายุ (Presbyopia)

สายตายาวตามอายุ มักพบในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยเป็นภาวะที่เกิดจากเลนส์ตามีความแข็งมากขึ้น อีกทั้งกล้ามเนื้อที่คอยควบคุมเลนส์ตามีการเสื่อมสภาพตามอายุ ทำให้กล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพในการหดตัวลดลง แล้วด้วยความที่ว่าไม่สามารถควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อได้ จึงทำให้เลนส์ตาไม่สามารถโฟกัสวัตถุที่อยู่ระยะใกล้เป็นเหตุทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดในระยะใกล้ จึงเป็นที่มาของภาวะสายตายาวตามอายุนั่นเอง

สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตายาวตามอายุจะมีอาการเหมือนสายตายาว คือ มองเห็นสิ่งที่อยู่ระยะใกล้ไม่ชัด เช่น อ่านหนังสือ มองโทรศัพท์ และอื่น ๆ จนต้องยืดวัตถุห่าง ๆ เพื่อมอง แล้วในกรณีที่พยายามมองสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆก็จะทำให้เกิดอาการตาล้า ตาสู้แสงไม่ได้ รวมถึงอาการปวดหัว สำหรับภาวะสายตายาวสามารถรักษาได้โดยการใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ การผ่าตัด และการใส่เลนส์เสริมตรงส่วนหน้าของเลนส์ตา

โรคต้อกระจก (Cataract)

ต้อกระจก เป็นโรคที่เกิดจากโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของเลนส์ตาเกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้เลนส์ตาที่มีความใสเกิดขุ่นขึ้นจนแสงไม่สามารถผ่านเข้าไปข้างในได้ตามปกติ จึงทำให้มองเห็นไม่ชัดเจนหรือมองเห็นมัว เบลอ เป็นต้น

อาการของโรคต้อกระจกในช่วงแรกจะเริ่มรู้สึกมองไม่ชัด มองเห็นมัวเหมือนมีหมอกบัง และอาจเกิดอาการมองเห็นภาพซ้อน รวมถึงดวงตาไม่สามารถสู้แสงได้ และเมื่ออาการของต้อรุนแรงมากขึ้นเลนส์ตาจะเปลี่ยนจากสีใส่เป็นสีขุ่นทึบขึ้นเรื่อย ๆ จนแสงไม่สามารถผ่านเลนส์ตาได้ ทำให้สูญเสียการมองเห็น สำหรับการรักษาแม้ว่าโรคนี้จะไม่มียารักษา แต่ว่าอาการเหล่านี้สามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์เพื่อแก้ไขภาวะการสูญเสียการมองเห็น


การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม

เมื่อเกิดสิ่งผิดปกติขึ้นกับเลนส์ตาของเราไม่ว่าจะด้วยสาเหตุจากค่าสายตาที่เพิ่มขึ้น อุบัติเหตุ การเสื่อมสภาพเนื่องจากอายุ รวมถึงโรคต่าง ๆ เช่น ต้อกระจก ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ การเปลี่ยนเลนส์ตา จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเป็นเลนส์ตาเทียมที่จะคอยทำหน้าที่ให้ใกล้เคียงกับเลนส์ตาโดยธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยม


เลนส์แก้วตาเทียมคืออะไร

เลนส์แก้วตาเทียม หรือ เลนส์ตาเทียม คือ เลนส์ที่นำมาใส่ข้างหน้าเลนส์ตาหรือเปลี่ยนเลนส์ตาเดิมเพื่อช่วยทำให้ดวงตาสามารถกลับมามีการมองเห็นได้อย่างปกติ โดยเลนส์ตาเทียมที่ใช้ในปัจจุบันจะมีสักษณะสีใส ขนาดเล็ก และพับงอได้ เพื่อสามารถนำมาใช้ในการผ่าตัดขนาดเล็กได้


เลนส์แก้วตาเทียมมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

หากถามว่าในปัจจุบันมีเลนส์ตาเทียมกี่ชนิด ในปัจจุบันเลนส์ตาเทียมแต่ละชนิดก็จะมีรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในการเปลี่ยนเลนส์ตาเทียมนั้นจะสามารถเลือกตามประเภทที่ต้องการใช้งานได้ แต่ราคาก็จะสูงขึ้นเพิ่มตามประสิทธิภาพการใช้งาน โดยสามารถแบ่งตามลักษณะการโฟกัสเป็น 3 ชนิด

  • เลนส์แก้วตาเทียมโฟกัสระยะเดียว (Standard IOL) เป็นเลนส์ที่มีกำลังรวมแสง ซึ่งจะช่วยทางด้านการโฟกัสระยะไกลทำให้มองเห็นระยะไกลได้ แต่การมองระยะใกล้จำเป็นต้องใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ช่วย
  • เลนส์แก้วตาเทียมโฟกัสหลายระยะ (Multifocal IOL) เป็นเลนส์ที่สามารถโฟกัสได้มากกว่า 1 จุด แต่การใช้เลนส์นี้จะต้องใช้เวลาในการปรับตัวพอสมควร โดยแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ
    - เลนส์แก้วตาเทียมโฟกัสสองระยะ (Bifocal IOL) เป็นเลนส์ที่ช่วยโฟกัสระยะกลางและไกล หรือระยะใกล้และไกลได้
    - เลนส์แก้วตาเทียมโฟกัสสามระยะ (Trifocal IOL) เป็นเลนส์ที่ช่วยโฟกัสทั้งระยะใกล้ กลางและไกล
  • เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับแก้ไขสายตาเอียง (Toric IOL) เป็นเลนส์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องสายตาเอียงรวมถึงสายตาสั้นและยาวร่วมด้วยได้ โดย
    - เลนส์ชัดระยะเดียวแก้สายตาเอียง (Monofocal Toric) จะช่วยแก้ปัญหาสายตาเอียงและสามารถมองไกลได้แต่การมองระยะใกล้จำเป็นต้องใช้แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ช่วย
    - เลนส์ชัดหลายระยะแก้สายตาเอียง (Multifocal Toric) จะมีแบบ 2 ระยะและ 3 ระยะ โดย 2 ระยะจะช่วยแก้ปัญหาสายตาเอียงพร้อมช่วยแก้การมองเห็นระยะกลางและไกล หรือระยะใกล้และไกล ส่วน 3 ระยะจะช่วยแก้ปัญหาสายตาเอียงพร้อมช่วยแก้การมองเห็นระยะใกล้ กลางและไกลทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แว่นหรือคอนแทคเลนส์


วิธีดูแลดวงตาให้สุขภาพดี


  • หลีกเลี่ยงการใช้สายตาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หากจำเป็นควรหาช่วงเวลาพักอย่างน้อย 30 นาที
  • พักผ่อนให้เพียงพอและหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นวิตามินซี วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน เพื่อบำรุงสายตา
  • ไม่จ้องมองในที่ที่มีแสงสว่างมากเกินไป หากอยู่ในที่ที่มีแดดควรใส่แว่นกันแดดและใส่หมวกที่มีปีกบังช่วงตา เพื่อป้องกันแสงUV ซึงเป็นหนึ่งในต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อกระจก
  • รักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอโดยเฉพาะดวงตา พยายามไม่นำมือมาขยี้ตา เพราะในบางครั้งมือเราอาจจะมีสิ่งสกปรกติดอยู่ ถ้าหากคันมากควรใช้น้ำยาเทียมหยดหรือล้างตาด้วยน้ำสะอาดแทน
  • หากดวงตามีความผิดปกติ ไม่ควรซื้อยาหยอดตามาหยอดเองเพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับดวงตาได้ และควรเข้าพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัยและทำการรักษา


ข้อสรุป

เลนส์ตา เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในดวงตาที่ช่วยในการมองเห็นระยะต่าง ๆ เพราะฉะนั้นจึงควรดูแลให้เลนส์ตาอยู่คู่กับเราไปตลอดและเข้ารับการตรวจตาเป็นประจำ แต่ในกรณีที่ดวงตามีการมองเห็นผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นมองเห็นไม่ชัด เบลอ หรือมัว ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและเข้ารับการรักษาโดยเร็ว