ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


นิ้วชา นิ้วล็อค นิ้วงอไม่ได้ แก้ได้ไม่ยาก

นิ้วชา นิ้วล็อค นิ้วงอไม่ได้ แก้ได้ไม่ยาก
นิ้วล็อคเป็นอาการที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ต้องใช้นิ้วมืออย่างหนัก เช่น พนักงานออฟฟิศที่ต้อใช้นิ้วในการพิมพ์คีย์บอร์ด รวมถึงแม่บ้าน และแม่ค้าที่ต้องใช้นิ้วมือหยิบจับกำสิ่งของตลอดเวลา การเจ็บนิ้ว และการยืดนิ้วได้ไม่สุดอาจส่งผลให้การทำงานของเราตอนนั้นติดขัดเอาได้ แต่อาการ นิ้วล็อคแก้ง่ายนิดเดียว ไม่ยากอย่างที่คิด วันนี้เราจะมาเรียนรู้ว่าสาเหตุของนิ้วล็อคเกิดจากอะไร และแก้ไขด้วยการกายภาพนิ้วล็อค

รู้จักกับอาการนิ้วล็อค และวิธีรักษา

นิ้วล็อคเกิดจากอะไร และมีอาการอย่างไร ?
นิ้วล็อค (Trigger Finger) เกิดจากการอับเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นที่บริวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว ทำให้นิ้วขยับได้ไม่ดี เมื่องอนิ้วมือแล้วจะไม่สามารถเหยียดกลับคืนได้เหมือนเดิม เหมือนนิ้วถูกล็อคไว้ และนิ้วล็อคเกิดจากอะไร สามารถได้สังเกตได้จาก นิ้วที่มักเป็นนิ้วล็อค คือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง ที่มีการใช้งานมาก ดังนั้นสาเหตุของอาการนิ้วล็อคเกิดจากการใช้งานนิ้วอย่างหนัก โดยไม่มีการดูแลหรือพักผ่อนอย่างเหมาะสม

นิ้วล็อคมีอาการอย่างไร
อาการของนิ้วล็อคหากไม่ได้รับการรักษา จะมีอาการที่ค่อยๆรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยจะแบ่งอาการนิ้วล็อคออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน

ระยะที่ 1 : มีอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือ
ระยะที่ 2 : เมื่อกำมือหรือเหยียดนิ้วมือของจะมีอาการเจ็บ และสะดุด แต่ยังสามารถกำมือและเหยียดนิ้วมือได้อยู่
ระยะที่ 3 : เมื่อกำมือจะมีอาการนิ้วล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้เอง อาการเจ็บมากขึ้น
ระยะที่ 4 : ไม่สามารถกำมือให้สุดได้ อาจมีอาการนิ้วแข็ง นิ้วบวม หรือผิดรูป ไม่สามารถหยิบจับใช้งานได้เหมือนปกติ
 
 


กลุ่มคนที่มีอาการเสี่ยงเป็นนิ้วล็อค
กลุ่มคนที่มีอาการเสี่ยงเป็นนิ้วล็อคมักจะเป็นกลุ่มคนที่ใช้มือและนิ้วมือมากจนทำให้เส้นเอ็นอักเสบส่งผลให้มีอาการนิ้วล็อคตามมาในภายหลัง

คนที่ติดสมาร์ทโฟน : การเพ่งมือถือมากๆนอกจากทำให้สายจาเสียแล้ว การใช้สมาร์ทโฟนต้องใช้นิ้วเป็นหลัก การใช้นิ้วมือไถมือถือเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่พัก ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นนิ้วล็อคได้เช่นกัน
คนทำงานออฟฟิศ : สิ่งที่มาคู่กับการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ก็คือ การใช้เมาส์และคีย์บอร์ด ซึ่งต้องใช้นิ้วมือและข้อมืออย่างมาก เสี่ยงต่อการเป็นนิ้วล็อคได้
แม่บ้าน : งานบ้านที่ต้องทำนั้นมีอยู่หลากหลาย ซึ่งแต่ละอย่างก็ต้องใช้มือ ใช้นิ้วมือ หยิบจับสิ่งของและอื่นๆอีกหลายอย่าง การทำงานบ้านเป็นเวลานานๆ ก็อาจทำให้คุณแม่บ้านมีอาการนิ้วล็อคเช่นกัน

3 กลุ่มนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ยกมา ไม่ว่าจะอาชีพไหนหากมีการใช้นิ้วมือ และมือนานๆโดยไม่พัก จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหมด
ท่าบริหารแก้อาการนิ้วล็อค
นิ้วล็อค สามารถป้องกันได้โดยเฉลี่ยเวลาการทำงานกับการพักให้พอเหมาะ การทำงานโดยต้องใช้นิ้วมือ หรือข้อมือในการออกแรงนานๆ ต้องควบคู่กับการพักไปด้วยอย่างน้อยควรพักทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เส้นเอ็นอักเสบ แต่สำหรับผู้ที่เริ่มมีอาการของนิ้วล็อคแล้ว วันนี้เรามีท่าบริหาร 3 ท่า เพื่อช่วยยืดเส้นกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นที่กำลังตึงอยู่ หลังจากศึกษาท่าบริหารแล้วจะรู้เลยว่า นิ้วล็อคแก้ง่ายนิดเดียว

ท่าที่ 1
ยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาอยู่ในระดับอก และค่อยๆกำมือจนแน่นอน ทำค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นค่อยๆคลายมือออกช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 2
สำหรับท่านี้ต้องมีอุปกรณ์ช่วยเล็กน้อย โดยยกมือทั้งสองข้างไว้ที่ระดับอก ถือลูกบอลยางไว้ในมือจากนั้นบีบลูกบอลแน่นๆ ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นค่อยๆคลายมือออกช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าที่ 3
ท่าบริหารนี้ต้องทำเริ่มทำทุกนิ้วทำที่ละข้อ โดยดึงข้อนิ้วขึ้นลง จากนั้นงอไปข้างหน้าและหลัง ช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง โดยนิ้วโป้งจะมี 2 ข้อ ส่วนนิ้วที่เหลือเป็น 3 ข้อ พอทำครบทุกนิ้วแล้วจึงกำนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ให้จนแน่น และคลายออก ทำซ้ำ 10 ครั้งเช่นเดียวกัน
 
นอกจากนี้แล้วต้องไม่ลืมที่จะพักการใช้งานนิ้วมือเป็นระยะๆ หากนิ้วมีอาการบวมไม่มาก ยังสามารถบรรเทาอาการด้วยการประคบเย็นได้

รักษาอาการนิ้วล็อค
สำหรับท่าบริหารแก้อาการนิ้วเคล็ด เป็นการดูแลรักษาในเบื้องต้นเทา่นั้น หากอาการมีความรุนแรง ก็ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาต่อไป โดยการรักษาทางการแพทย์จะแบ่งเป็น การทำกาบภาพบำบัด และการผ่าตัด

การรักษาด้วยกายภาพบำบัด
การทำกายภาพบำบัดนิ้วล็อค จะต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์และนักกายภาพบำบัด โดยจะมีการบำบัดหลายวิธี โดยจะเลือกวิธีไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการในแต่ละคน
การใช้ความร้อน ความเย็น
การรักษาด้วยคลื่ยเสียง
การดึงหรือดัดข้อต่อ
การใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว

การรักษาด้วยการผ่าตัด
ในกรณีที่อาการนิ้วล็อคมีความรุนแรงมาก แพทย์จะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อให้หายขาด โดยจะเริ่มด้วยการฉีดยาชาก่อน จากนั้นผ่าตัดเปิดแผลบริเวณด้านหน้าของโคนนิ้วที่จะผ่าตัด แยกหลอดประสาทออไปด้านข้างเพื่อให้เห็นปลอกหุ้มเอ็นชัดเจนขึ้น แล้วใช้ใบมีดตัดปลอกหุ้มเอ็น ปิดท้ายด้วยเย็บปิดแผลให้เรียบร้อย ผู้ป่วยอาการนิ้วล็อคจะสามารถงอนิ้วได้เป็นปกติทันที

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดนิ้วล็อค
ถึงแม้ว่านิ้วจะสามารถงอ ขยับได้แล้ว แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้งานนิ้วที่พึ่งผ่าตัด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนแผล ไม่ให้แผลโดนน้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์
ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดนิ้วล็อค
แม้ว่าจะมีการเจ็บแผลบ้างตามปกติ แต่หลังจากพ้นช่วงพักฟื้นไป ก็สามารถใช้นิ้วได้ตามปกติ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ

การป้องกันอาการนิ้วล็อค
การทำงานของบางอาชีพที่จำเป็นต้องใช้นิ้วและมือเป็นอย่างมาก อาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถจะป้องกันอาการนิ้วล็อคเบื้องต้นได้ ดังนี้
ควรมีช่วงเวลาให้นิ้วและมือมีการพักบ้างเป็นระยะๆ ช่วงเวลาที่พักนิ้วก็สามารถทำกายบริหารนิ้วมือ เพื่อช่วยยืดเส้น
การหิ้วของหรือยกของหนักๆ ไม่ควรทำด้วยมือเปล่า ควรใส่ถุงมือเพื่อลดไม่ให้ของเสียดเสียกับนิ้วมือโดยตรง
สรุป
อาการนิ้วล็อคดูจะเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะบางอาชีพก็มีความจำเป็นต้องใช้ทั้งข้อมือและนิ้วมืออย่างหนัก แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้คือ คอยลดภาระการทำงานของนิ้วมือโดยใส่อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม แบ่งเวลาพักบ้างเป็นระยะๆ และคอยหมั่นสังเกตเสมอว่า เรามีอาการที่เสี่ยงต่อภาวะนิ้วล็อคหรือไม่ หากเริ่มมีอาการหนักขึ้น ก็ควรไปพบแพทย์แต่เนิ่น เพราะการรักษานิ้วล็อคในช่วงระยะแรก สามารถรักษาได้โดย การทำกายภาพนิ้วล็อค ไม่จำเป็นต้องไปถึงการผ่าตัด