ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ไขมันในเลือดสูงจากกรรมพันธุ์ น่ากลัวกว่าที่คิด!

    ไขมันในเลือดสูงเป็นโรคที่คนไทยเป็นกันมาก เพราะ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค (การกินอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ) และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ เกิดจากพันธุกรรม
    การที่ไขมันในเลือกสูง เป็นผลมาจากที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ โดยอาจมาจาก Cholesterol หรือ Triglyceride อย่างใดอย่างหนึ่งที่สูงผิดปกติ หรือสูงทั้ง 2 อย่างก็ได้ และเป็นปัจจับเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน


    พันธุกรรมของภาวะไขมันในเลือดสูง
    กระแสเลือดมีส่วนสำคัญในการส่งคอเลสเตอรอลในร่างกายของเรา หลังจากอนุภาคที่เล็กมากของคอเลสเตอรอล LDL ไปเกาะกับหน่วยรับของเซลล์ จะถูกดูดซึมโดยยีนส์ LDLR บนโครโมโซมที่ 19 ที่ทำหน้าที่ในการผลิตหน่วยรับ โดยภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ LDLR ซึ่งส่งผลต่อจำนวน และโครงสร้างของหน่วยรับ หรือ อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีนชนิดอื่นๆ เช่น ยีนเอพีโอบี (APOB) หรือ ยีนส์พีซีเอสเค 9 (PCSK9) จึงทำให้คอเลสเตอรอล LDL ไม่สามารถถูกดูดซึมได้เท่าที่ควร

    สัญญาณเตือน ภาวะไขมันในเลือดสูง (จากพันธุกรรม)
    มีประวัติการเกิดกับคนในครอบครัว
    เกิดโรคหัวใจตั้งแต่เด็ก
    ระดับคอเลสเตอรอล LDL สูง
    ระดับคอเลสเตอรอล LDL สูงในพ่อหรือแม่ หรือทั้งคู่
    มีอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ
    ไขมันเกาะที่ผิวหนัง (Xanthomas) คือ การที่คอเลสเตอรอลเกาะอยู่ตรงบริเวณหัวเข่า หรือ ข้อศอก


    ปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

    ปัจจัยภายนอก
    • ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
    • ขาดการออกกำลังกาย
    • การดื่มสุรา หรือ สูบบุหรี่
    • รับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง

    ปัจจัยภายใน
    • ความผิดปกติทางพันธุกรรม
    • เกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด
    • เกิดจากโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ โรคไต เป็นต้น

    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างสามารถลดความเสี่ยงการเกิดภาวะไขมันในเลืดอสูงได้ เช่น

    • ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง ไม่ควรรับประทานไข่แดงเกิน 1 ฟองต่อวัน ส่วนคนปกติ ไม่ควรรับประทานไข่แดงเกิน 2 ฟองต่อวัน
    • เลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดหนัง อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันอิ่มตัว  และไขมันทรานส์ เช่น  เมนูกะทิ  เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น
    • เลือกวิธีปรุงอาหารด้วยการต้ม อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ ย่าง แทนการทอด และการผัดที่ใช้น้ำมันมาก
    • เลือกใช้น้ำมันปาล์ม สำหรับทอด  น้ำมันถั่วเหลือง สำหรับผัด
    • รับประทานทานเมล็ดธัญพืช ผลไม้ ผัก เพราะสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล
    • ทานเมล็ดธัญพืช  ผลไม้  ผัก เพราะสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล
    • ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที หรือ 2 ชั่วโมง 30 นาที ต่อสัปดาห์
    [/list]
    « แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 11, 2021, 05:31:22 AM โดย Marple »