ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


รู้ทัน PMDD คือ ? อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนที่ต้องรู้

อาการอยากเหวี่ยงใครสักคน หงุดหงิดไม่มีสาเหตุ ซึมเศร้า ดราม่าง่าย สาวๆ คนไหนที่เจอกับอาการเหล่านี้อยู่ก่อนที่ประจำเดือนจะมา ไม่ใช่เพราะว่าเราเป็นคนงี่เง่านะคะสาวๆ แต่เพราะอาการเหล่านี้เป็นหนึ่งในอาการ PMDD คือ อาการผิดปกติก่อนที่ประจำเดือนจะมา ที่สาวๆ จะต้องเคยเป็น ทั้งอาการทางร่างกาย และ ทางจิตใจ ถ้าคุณเคยมีอาการแบบนี้ไม่ใช่อาการผิดปกตินะคะ ผู้หญิงทุกคนสามารถเป็นได้ ถ้าอยากจะรู้จักไอ้เจ้าอาการนี้มากขึ้นก็ไปอ่านบทความกันเลย
เราจะพามารู้จัก PMDD คือ อะไร ?
PMDD หรือ ชื่อเต็มๆ Premenstrual Dysphoric Disorder คือ กลุ่มอาการที่จะปรากฏขึ้นก่อนที่ประจำเดือนจะมา เป็นอีกหนึ่งสัญญาณบอกว่าประจำเดือนจะมาแล้วจ้า อาการนี้เป็นกลุ่มอาการผิดปกติก่อนที่ประจำเดือนจะมา โดยจะปรากฏทางร่างกาย และ อารมณ์ โดยจะมีอาการที่หลากหลาย ตั้งแต่อาการเบาๆ จนถึงขั้นปวดหัวหนัก ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงครึ่งเดือนหลัง โดยจะเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนภายใน 5 วัน และ อาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่อประจำเดือนมา และ เกิดจากพวกความเครียด เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ  ภาวะซึมเศร้า พันธุกรรม และ การลดลงของสารเคมี (Serotonin) ในร่างกาย โดยไอ้เจ้า PMSS จะพบได้ไม่บ่อยนักในคนมีประจำเดือน (2-10%)
PMDD vs PMS ต่างกันตรงไหน?
หลายคนอาจจะแยกความแตกต่างของเจ้าอาการก่อนที่ประจำเดือนจะมา 2 อย่างนี้ไม่ค่อยออก เนื่องจากเป็นอาการที่เกิดก่อนมีประจำเดือนทั้งคู่ และ เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปเหมือนกัน  แต่กลับมีอันตรายที่แตกต่างกัน จะเหมือน หรือ ต่างกันยังไงมาดูกันเลย
-PMS เป็นอาการที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดอาการต่างๆ ส่วน PMDD เป็นอาการที่เกิดการจากเพิ่มระดับความรุนแรงของ PMS ขึ้น
-สาเหตุของการเกิด PMS คือ ฮอร์โมน สารสื่อประสาท ความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์ โรคซึมเศร้า ส่วน PMDD เกิดจากพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ความเครียด เหตุการณ์ที่กระทบกระเทือน การลดลงของสารในร่างกาย
-อาการของ PMS จะมีการคัดเต้านม ตัวบวม อ่อนล้า น้ำหนักเพิ่ม นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน ส่วนใหญ่มักจะมี 1 - 2 อาการถ้าจะแสดงออกทางร่างกายก็จะเน้นทางร่างกายไปเลย เช่น ตัวบวมควบคู่กับสิวขึ้น หากเป็นด้านอารมณ์ก็จะเป็นอารมณ์ไปเลย แต่ก็มีบางครั้งที่แสดงออกทั้งสองด้าน แต่พอมาเป็นอาการของ PMDD จะมีอาการคล้ายกับ PMS แต่จะมีความรุนแรงกว่า ส่วนใหญ่มักจะมีหลายอาการเกิดขึ้นทั้งด้านร่างกาย และ อารมณ์ เมื่อเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆ อาการจะทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก
เราจะรู้ได้ไงว่าเป็น PMDD คือ จะดูยังไง???
PMDD จะมีความรุนแรงมากกว่า PMS ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยอย่างที่เราได้บอกไปว่าหากพบอาการในกลุ่มเสี่ยงก็แสดงว่าคุณเข้าข่ายการเป็น PMDD โดยเราได้จัดแบบทดสอบพื้นฐานในการวัดว่าคุณเป็น PMDD หรือไม่ โดยแบ่งเป็นทางร่างกาย และ อารมณ์ หากมีตั้งแต่ 5 ข้อขึ้นไปคุณมีโอกาสเป็น PMDD สูงมาก ควรที่จะรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
-อาการทางร่างกาย เจ็บเต้านม ปวดหัว ปวดตามข้อ แน่นท้องบ่อยๆ
-นอนไม่หลับ นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ
-รู้สึกเครียด วิตกกังวล
-ขี้โมโห โมโหง่าย หงุดหงิดง่าย
-ดราม่า หมดหวัง ซึมเศร้า
-อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีสมาธิ สมาธิหลุดง่าย
-กินเยอะ กินจุ หรือ เบื่ออาหาร
-อารมณ์ไม่มั่นคง แปรปรวนง่าย
-คิดทำร้ายตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า
วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็น PMDD
-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้ครบ 6-8 ชั่วโมง
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น
-พยายามอย่าเครียด ทำจิตใจให้สดใส
-ส่วนในเรื่องของการทานอาหารควรเน้นทานพวกอาหารที่มีวิตามินสูงๆ เน้นอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งอาจจะเสริมด้วยอาหารเสริม เช่น วิตามินB วิตามินE
-พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่หวานจัด เค็มจัด และ พวกเครื่องดื่มมีคาเฟอีน แอลกอฮอล์
-กินยาคุมชนิด 24+4 ที่ช่วยในเรื่องการบรรเทาอาการ PMS PMDD (โดยเฉพาะยาคุม 24+4 เท่านั้นที่สามารถช่วยลดอาการได้) ซึ่งเป็นอาการก่อนที่ประจำเดือนจะมา ช่วยลดอาการตัวบวม อาการทางร่างกาย อารมณ์ที่ไม่มั่นคง ยาคุมรายเดือนแบบ 24+4 สามารถช่วยบรรเทาอาการพวกนี้ได้ เนื่องจากยาคุมจะช่วยในการบรรเทาอารมณ์ที่แปรปรวน จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นในช่วงมีประจำเดือน และ ยังช่วยในเรื่องการบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีเลยทีเดียว
แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงเกิน 5 ข้อ ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อที่จะรักษา แต่หากอาการยังไม่เกิน 5 ข้อก็อาจจะไปพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ เช่น การปรับฮอร์โมน ใช้ยาคุมกำเนิด ใช้จิตบำบัด ฝังเข็ม ผ่าตัดเอารังไข่ออก แต่ทางที่ดีควรดูแลร่างกายให้ดีที่สุด
 
ใครไม่บอก Talk Sistalk บอกทุกเรื่องสุขภาพนะคะ
อย่าพลาดบทความเกี่ยวกับสุขภาพ และ เรื่องผู้หญิงๆ ได้ที่ Sistalk เท่านั้น ถ้าไม่อยากพลาดบทความที่มีประโยชน์ อย่าลืมกดติดตามช่องทางต่างๆเอาไว้ด้วยนะคะ และ นอกจากบทความนี้คุณยังสามารถเข้าไปอ่านบทความเจ๋งๆ อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบทความเกี่ยวกับความรัก สุขภาพ เรื่องลับๆ ของผู้หญิง ถ้าอยากรู้ต้องอย่าลืมไปอ่านบทความต่างๆ ด้วยนะคะ แล้วเจอกันใหม่บทความหน้านะคะสาวๆ
 
 
สามารถติดต่อสอบถาม Sistalk ช่องทางอื่นๆได้ที่
Facebook : sistalk.in.th
Instagram : sistalk.in.th
Twitter : @SistalkTH


ขอบคุณค่าา