ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


รวม 5 อาการสำคัญควรสังเกต เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย

รวม 5 อาการสำคัญควรสังเกต เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย

        เชื่อว่าเรื่องที่ทำให้พ่อแม่เป็นทุกข์มากที่สุดก็คือการที่ลูกน้อยของคุณเจ็บป่วย ซึ่งการป้องกันอาการป่วยได้นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการสังเกตอาการผิดปกติ เพื่อที่ว่าเมื่อเกิดอาการเหล่านั้นขึ้นเมื่อใด จะสามารถดูแลได้อย่างทันท่วงที วันนี้เราได้รวบรวมมาให้แล้วกับ 5 อาการผิดปกติที่พ่อแม่สังเกตได้ไม่ยาก ยิ่งไปกว่านั้นเรายังได้นำตัวช่วยดี ๆ อย่างแอพปรึกษาหมอ ที่มีชื่อว่า แอพ alive  (ALive Power by AIA) มาให้พ่อแม่ทุกท่าน ส่วนอาการผิดปกติจะมีอะไรบ้าง และแอพที่นำมาฝากในวันนี้ จะช่วยคุณอย่างไรได้บ้างนั้น ตามเราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันได้เลย

กินได้น้อย
นี่คืออาการที่สังเกตเห็นได้ง่ายที่สุด เพราะเพียงแค่ลูกดื่มนมได้น้อยลง หรือกินอาหารได้น้อยกว่าปกติ เพียงเท่านี้ก็อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติบางอย่างได้ โดยความผิดปกติมีได้ตั้งแต่แผลในปาก ไปจนถึงความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร (เช่น กระเพาะอาหารหรือระบบขับถ่าย) ซึ่งหากเป็นอาการแผลในปาก การรักษาก็ทำได้ไม่ยาก แต่ถ้าเป็นส่วนอื่นของระบบทางเดินอาหาร วิธีซึ่งดีที่สุดคือการพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

ตัวร้อน
หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการกระสับกระส่าย และเมื่อใช้อุปกรณ์วัดไข้ตรวจดูแล้วพบว่าอุณหภูมิร่างกายของลูกสูงเกิน 37 องศาเซลเซียส ให้เริ่มดูแลด้วยการเช็ดตัว แต่หากเฝ้าดูอาการไปหนึ่งวันแล้วไข้ยังไม่ลดลง หรือไข้สูงขึ้น ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อชี้ชัดให้ได้ว่าเป็นเพียงไข้ธรรมดา หรือเป็นโรคที่รุนแรงกว่านั้น ยิ่งรู้สาเหตุเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งรักษาได้ทันท่วงที

มีเสมหะ
เมื่อลูกน้อยของคุณมีเสมหะ แปลว่าร่างกายได้รับเชื้อโรคเข้าไปทางระบบทางเดินหายใจ ร่างกายจึงพยายามขับเชื้อโรคนั้นออกมา แม้ว่านี่จะเป็นกลไกธรรมชาติ แต่คุณแม่ก็ควรสังเกตให้ดี เพราะหากเสมหะมีอย่างต่อเนื่อง ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเช่นกัน

ไอ
อาการไอ แม้ว่าจะเป็นอาการพื้นฐานที่ดูเหมือนไม่รุนแรงอะไร แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณแม่พบว่าลูกน้อยมีอาการไอเรื้อรัง เรื่องนี้ก็ไม่ควรปล่อยผ่าน เพราะแปลว่าร่างกายน่าจะได้รับเชื้อโรคบางอย่างเข้าไป จึงควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากต้องมีการให้ยา สำหรับเด็กวัยทารก ควรเป็นยาที่แพทย์สั่งให้เท่านั้น เพราะแม้ว่ายาแก้ไอจะหาซื้อได้ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ยาทุกตัวที่จะนำมาใช้กับลูกน้อยได้

เสียงหายใจ
นี่คืออาการที่ต้องสังเกตให้ดี เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกน้อยของคุณหายใจเสียงดัง มีเสียงหายใจซึ่งแสดงว่าหายใจติดขัด หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ริมฝีปากเขียวคล้ำ ควรรีบนำไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นไปได้ว่าระบบทางเดินหายใจเกิดความผิดปกติ ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจร้ายแรงจนยากต่อการรักษาก็เป็นไปได้

         แม้ว่าการสังเกตเหล่านี้ พ่อแม่จะทำได้จากที่บ้าน แต่บางครั้งพ่อแม่เองก็ไม่มั่นใจกับผลการสังเกตที่ได้ และอยากได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด ก่อนหน้านี้ วิธีที่ทำได้คือการพาลูกไปโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว แต่ทุกวันนี้เพียงมี แอพ alive ทุกอย่างก็เป็นไปได้จากหน้าจอสมาร์ทโฟนของคุณ และหากคุณแม่สงสัยว่า แอพ alive ดีไหมเราขอให้ลองพิจารณาจากฟีเจอร์เด่น ๆ ต่อไปนี้

- มีกิจกรรมไลฟ์สดจัดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คุณแม่ได้เข้าไปปรึกษากับทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
- มีบริการปรึกษาแพทย์ผ่านระบบ video call ในเวลาทำการ โดยเป็นทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาจากโรงพยาบาลสมิติเวช
- พูดคุยกับผู้ใช้งานแอพคนอื่นได้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำให้ได้มุมมองที่หลากหลายในการดูแลสุขภาพลูกน้อย
- มีคลังความรู้ที่น่าเชื่อถือ ให้คุณแม่เข้าไปหาข้อมูลได้ทุกเวลาที่ต้องการ

         จาก รีวิว  alive แอพคนท้อง ที่เพิ่งจบลงไป คงเห็นแล้วว่าแอพนี้นอกจากจะเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับคุณแม่ทุกคนแล้ว ยังเหมาะอย่างยิ่งกับทุกคนในครอบครัว เพราะไม่ว่าสมาชิกในครอบครัวจะมีปัญหาสุขภาพด้านใด ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็พร้อมให้คำปรึกษา จึงถือเป็นอีกหนึ่งแอพดี ๆ ที่ควรมีติดสมาร์ทโฟนของคุณไว้ เพื่อให้พร้อมใช้งานทันทีที่ต้องการ โดยเฉพาะ Feature Live ปรึกษาแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ หรือเข้ากลุ่มแชทกับพยาบาล ในแอป Alive Powered by AIA เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สะดวกสบาย สำหรับคุณแม่มือใหม่


ที่มาข้อมูล
https://baby.kapook.com/view81943.html
https://www.aia.co.th/th/Alive.html
https://www.babimild.com/th/expert-articles/expert-articles-sub/new-born/item/1036-10-signs-your-kids-getting-sick.html