ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ตากุ้งยิง อันตรายหรือไม่ และควรดูแลตนเองอย่างไร


เชื่อว่าหลายคนเคยเป็น ตากุ้งยิง อาการของโรคทางตาที่มีลักษณะเป็นก้อนบริเวณเปลือกตา อาจเป็นที่ขอบตาล่างหรือบริเวณขอบตาด้านบน หลายคนอาจเป็นซ้ำเมื่อเป็นตากุ้งยิงที่บริเวณเปลือกตาข้างซ้ายเมื่อรักษาหายแล้ว อาจเปลี่ยนมาเป็นที่เปลือกตาข้าวขวา หรือสลับจากขอบตาด้านล่างเป็นปลือกตาด้านบน อาหารเหล่านี้เป็นอันตรายร้ายแรงหรือไม่  สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร เมื่อเป็นแล้วควรดูแลตนเองอย่างไร  มีความรู้มาแนะนำครับ

ตากุ้งยิง (Hordeolum) คืออะไร ?
ตากุ้งยิง คือ การติดเชื้อที่บริเวณเปลือกตา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหนังตาหรือรู้สึกคับบริเวณขอบตา ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งขอบตาล่างและขอบตาบน ก่อนที่จะเกิดเป็นฝีหรือตุ่มหนองที่ขอบเปลือกตา มีอาการเจ็บและปวดที่บริเวณเปลือกตามากขึ้น เปลือกตาบวมและก้อนหนองอาจจะแตกได้เอง ทำให้ผู้ป่วยมีขี้ตาปนหนองออกมาด้วย

สาเหตุของตากุ้งยิง
อาการของโรคตากุ้งยิง เกิดจากการติดเชื้อแบคที่เรีย ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจมีการอุดตันของต่อมบริเวณเปลือกตามาก่อน และสามารถเป็นได้มากกว่าหนึ่งจุด ปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบ ได้แก่

เปลือกตาไม่สะอาด เมื่อขยี้ตาบ่อย ๆ ทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อแบคทีเรียได้
เกิดจากการแต่งหน้า แล้วล้างเครื่องสำอางออกไม่หมดหรือล้างหน้าไม่สะอาด
การใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์ หากไม่รักษาความสะอาดหรือล้างมือก่อนใส่หรือถอดทุกครั้ง อาจเป็นสาเหตุของตากุ้งยิงได้
มีภาวะที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ภูมิต้านทานในร่างกายบกพร่อง
ผู้ที่มีผิวหน้ามัน อาจทำให้เกิดการอุดตันของต่อมไขมันบริเวณใบหน้ารวมทั้งหนังตาได้สูงกว่าปกติ
ลักษณะและ ชนิดของตากุ้งยิ่ง
ลักษณะของตากุ้งยิงส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในต่อมไขมันที่อยู่ใต้เปลือกตา แบคทีเรียที่พบได้มาก คือ สแตฟฟิโลค็อกคัส ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่ไม่ร้ายแรงหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นที่เป็นอันตราย อาการตากุ้งยิงยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

ตากุ้งยิงภายนอก อาจเกิดขึ้นที่รูขุมขนเล็ก ๆ ที่มีขนตางอกขึ้นมาซึ่งต่อมไขมันที่อยู่ในรูขุมขนดวงตาจะทำหน้าที่ผลิตซีบัม สารที่ช่วยหล่อลื่นไม่ให้ลูกตาแห้ง หรือเกิดขึ้นที่ต่อมเหงื่อบริเวณรูขุมขนดวงตาที่ขับสารน้ำช่วยหล่อลื่นไม่ให้ตาแห้ง นอกจากนั้นตากุ้งยิงอาจเกิดจากเปลือกตาอักเสบได้ด้วย
ตากุ้งยิงภายใน จะเกิดขึ้นเมื่อต่อมไมโบเมียนที่อยู่บริเวณเปลือกตาซึ่งทำหน้าที่ผลิตไขมันเหลวส่วนหนึ่งของน้ำตามีการติดเชื้อ


อาการของตากุ้งยิง
เริ่มจากมีอาการเคืองตาหรือคันตาคล้ายมีผงอยู่ในตา
บริเวณแปลือกตาหรือขอบตาทั้งขอบตาด้านบน ด้านล่าง หัวตาหรือหางตา จะเกิดตุ่มฝี อาจมีน้ำตาไหล ทำให้ผู้ต้องขยี้ตาอยู่สมอ ๆ ระยะ 1-2 วันจะเริ่มบวมแดงเป็นตุ่มแข็ง
มีอาการปวดที่บริเวณเปลือกตาหรือบริเวณตุ่มนูน ในลักษณะปวดแบบตุบ ๆ
บางครั้งอาจมีขี้ตาออกมากผิดปกติหรือมีขี้ตาไหล เปลือกตาบวม ปวดตา หรือตาแดง
ตากุ้งยิง อาจมีอาการกำเริบแบบเป็น ๆ หาย ๆ โดยอาจจะเป็นตรงจุดเดิม หรือย้ายที่ สลับข้างไปมาก็ได้
การรักษาอาการตากุ้งยิง
การรักษาด้วยตัวเอง
อาการตากุ้งยิง หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนปล่อยทิ้งไว้ 4-5 วันตุ่มฝีมักจะแตกเอง หัวฝีจะยุบลงและหายปวด ถ้าหนองระบายออกได้หมดก็จะยุบหายไป ส่วนการดูแลรักษาด้วยตัวเอง ในส่วนของตุ่มนูนที่เกิดขึ้น ให้หลับตาแล้วใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณรอบ ๆ ดวงตาประมาณ 5-10 นาที และนวดเบา ๆ ทำซ้ำวันละ 3-4 ครั้งจนกว่าอาการตากุ้งยิงจะดีขึ้นและหายไป ควรหลีกเลี่ยงการบีบให้หนองบริเวณตากุ้งยิง เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบและควรปล่อยให้หนองไหลออกมาเอง กรณีมีอาการปวดตากุ้งยิง สามารถกินยาบรรเทาอาการปวดได้ เช่น พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน

รักษาโดยแพทย์
แพทย์จะทำการรักษาโดยเริ่มจากการวินิจฉัยหาสาเหตุให้แน่ชัด หรือให้รู้ว่าเป็นตากุ้งนยิงชนิดใด เพราะแม้จะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะไม่จ่ายยาปฏิชีวนะให้หากไม่มีความจำเป็น เนื่องจากอาการส่วนใหญ่จะหายได้เองในเวลาไม่นาน ส่วนแนวทางการรักษาแพทย์จะทำการรักษาตามอาการป่วยอื่นที่เป็นสาเหตุของตากุ้งยิง เช่น

มีอาการเปลือกตาอักเสบ แพทย์จะแนะนำวิธีทำความสะอาดบริเวณดวงตา ด้วยการใช้สำลีเช็ดทำความสะอาดรอบดวงตา
กรณีเยื่อบุตาอักเสบ แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะแบบขี้ผึ้งใส่ไปยังจุดที่เป็นตากุ้งยิง หรือให้ยารับประทานในระยะสั้น ๆ
การรักษาอาการตุ่มนูนที่เปลือกตา แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาตุ่มออก
ตากุ้งยิง เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อเป็นแล้วยังเป็นซ้ำได้อีก หากดูแลรักษาไม่ให้มีภาวะแทรกซ้อนอาการก็จะไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เอง  กรณีตากุ้งยิงเกิดจากปัญหาสุขภาพ มีสาเหตุมาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากมีอาการอักเสบควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/hordeolum/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/