ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


การประเมินค่าเรือ

การประเมินค่าเรือ
« เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2021, 09:06:51 AM »


เคยสงสัยกันหรือเปล่า ว่าเรือที่เราเห็นขนสินค้ากัน เราจะประเมินค่าเรือได้อย่างไร เรือที่เราพูดกันถึงหมายรวมตั้งแต่เรือเดินทะเล เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ เรือลากเรือ เรือลากจูง เรือยอร์ช หรือวัตถุลอยน้ำที่ใช้บรรทุกสิ่งของต่างๆ

 

ดร.โสภณ พรโชคชัย ได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค่าเรือเดินทะเลโดยเริ่มต้นพิจารณาจากผู้ผลิต รุ่น และความจำเพาะ-เงื่อนไขต่างๆ  เป็นสิ่งที่แน่นอนว่า ถ้าเรืออยู่ในสภาพดี หรือเพิ่งผลิต ก็สามารถใช้วิธีต้นทุนได้ไม่ยาก  แต่ถ้าเรือที่อยู่ในสภาพไม่ดี ใช้งานมานานพอสมควรแล้ว หรือขาดการบำรุงรักษาเท่าที่ควร ราคาก็คงจะตกต่ำลงไปมาก ยิ่งไปกว่านั้น ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต ประสิทธิภาพ และความนิยมของรุ่นนั้น ๆ ก็มีส่วนสำคัญในการพิจารณามูลค่าของเรืออีกด้วย

 

การประเมินค่าเรือก็คล้ายกับการประเมินค่าทรัพย์สินอื่นๆ ที่เราต้องพิจารณาถึงสภาวะตลาด ตัวอย่างเช่น เมื่อการประมงไทยกำลังเฟื่องฟู ราคาเรือประมงก็สูงตามไปด้วย  อาจกล่าวได้ว่ามูลค่าของเราจะสูงกว่าเมื่อเศรษฐกิจดี แต่ถ้าเศรษฐกิจตกต่ำ เรือก็ไม่ค่อยได้รับความต้องการ ทำให้มูลค่าที่ประเมินได้ตกต่ำตามไปด้วย  อย่างไรก็ตามผู้ประเมินก็พึงพิจารณาถึงภาวะตลาดให้ชัดเจน เช่น เรือที่ใช้ขนถ่ายน้ำมัน หากการขนส่งนี้ยกเลิกไป หรือหดตัวตกต่ำลง เรือนั้นๆ จะนำไปใช้ในกิจการเรือประเภทอื่นที่ยังอยู่ในภาวะที่ดีได้หรือไม่ เป็นต้น

 

ในการผลิตเรือลำหนึ่ง อาจมีค่าแรงกับค่าเครื่อง ค่าอุปกรณ์ประกอบเรืออยู่ในองค์ประกอบที่ 40 : 60 โดย 40 คือค่าแรงนั่นเอง ที่ค่าแรงแพงเพราะมักประกอบในต่างประเทศ เช่น ไปประกอบเรือที่เกาหลี ค่าแรงจึงแพงกว่าค่าแรงในไทย เช่น คนทาสีอาจมีค่าแรงเดือนละ 70,000 – 80,000 บาท แต่เครื่องยนต์ อาจเป็นเครื่องยันมาร์จากประเทศญี่ปุ่น แต่ส่วนมากไม่ไปประกอบที่ญี่ปุ่นเพราะค่าแรงในญี่ปุ่นแพงหนักกว่าในเกาหลีเสียอีก  ในประเทศไทยก็สามารถต่อเรือเองได้บ้าง แต่ไม่นิยมต่อเรือในไทย เพราะเครื่องจักรต่างๆ ต้องนำเข้า (ไม่ใช่แบบจีนที่ทำเองได้แทบทุกอย่าง) ทำให้ต้นทุนอาจแพงพอๆ กับการไปสั่งทำจากต่างประเทศ

อ่านต่อ: https://www.trebs.ac.th/th/news_detail.php?nid=190