ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ค.ศ 1989 ปีที่การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยกล้องเกิดขึ้นครั้งแรก

ตั่งแต่ปี ค.ศ. 1989-1993 ที่เทคนิคการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยการส่องกล้องถือกำเนิดขึ้น มีรายงานถึงประสิทธิภาพและข้อได้เปรียบของการผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์อย่างกว้างขวาง จนวงการแพทย์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
 
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่เข้ารับการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยเทคนิคนี้ได้ เนื่องจากมีข้อบ่งชี้และขั้นตอนคัดเลือกผู้ป่วยที่ต้องมีความเหมาะสมด้วย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ส่งผลต่อการรักษาให้หายจากอาการผิดปกติ อันเนื่องมาจากภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

เทคนิคผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องมีดีอย่างไร ถึงได้รับความนิยมมาตั่งแต่ปี 1989

การผ่าตัดกระดูกสันหลังรักษาอาการปวดหลังจากภาวะหมอนรองกระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทที่เป็นมาตรฐาน (gold standard) เป็นการผ่าตัดร่วมกับการใช้กล้องจุลทรรศน์ (microdiscectomy) เมื่อผ่าตัดเสร็จรอยบาดแผลที่บริเวณกลางหลัง จะมีขนาดยาวเพียง 3-5 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพในแต่ละราย
 
ปัจจุบันการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่เยอรมนีพัฒนาขึ้น ที่เว็บ https://www.s-spinehospital.com/main/ผ่าตัดกระดูกสันหลัง-เลเซอร์รักษาปวดหลัง/ นี้และวงการแพทย์ไทยนำมาใช้ ก็ถูกพัฒนาให้มีความสมัยยิ่งขึ้น ด้วยการประดิษฐ์กล้องที่แบบ Endoscrope ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 0.4-0.5 เซนติเมตร แผลผ่าตัดจึงมีขนาดเล็กมาก ผู้ป่วยจึงกลับมาใช้ชีวิตได้เร็ว การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสั้นลง ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น ก็ทำให้ผู้ป่วยกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติอย่างรวดเร็วขึ้น

วิธีการผ่าตัดหมอนรองกระดูก มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

การผ่าตัดในระดับเอว ผู้ป่วยจะนอนอยู่ในท่าคว่ำหน้า หลังถูกวางยาสลบแล้ว โดยระหว่างผ่าตัดแพทย์จะใช้เครื่อง X-Ray เพื่อตรวจสอบหาตำแหน่งที่ต้องการผ่าตัดเปิดแผล และนำกล้องเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4 เซนติเมตรและท่อ working channel สอดผ่านผิวหนัง เพื่อให้กล้องสามารถเข้าไปถึงตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทอยู่