ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


โรคข้อเข่าเสื่อม อาการ และแนวทางการรักษา


โรคข้อเช่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบบถดถอย ความแข็งแรงของกระดูกย่อมเสื่อมสภาพลง และกลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เป็นปัจจัยสำคัญ หากใช้ข้อเข่าอย่างไม่ระมัดระวังภาวะข้อเช่าเสื่อมก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากสาเหตุใด มีอาการและแนวทางการรักษาอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ
ข้อเข่าเสื่อม และอาการของโรค 
ข้อเข่าเสื่อม ( osteoarthritis) คือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้า ๆ อาการจะรุนแรงมากขึ้นตามวัย เนื่องจากเป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากในผู้สูงอายุ 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุในประเทศไทย และพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในแต่ละปี อาการของข้อเข่าเสื่อม ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูป ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติหรือมีความยากรำบากในการใช้ชีวิต
สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเสื่อม เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลักษณะงานที่ทำประจำบางประเภทที่อาจส่งผลต่อข้อเข่าหรือทำให้ข้อเข่าเสื่อม เช่น คนที่ใช้แรงงาน หรือกรรมกร โดยทั่วไปปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ ได้แก่
อายุ ผู้ที่มีอายุมากมีโอกาสเป็นมากกว่าเนื่องจากข้อเข่าผ่านการใช้งานมานาน
เพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกกว่าเพศชาย 2 เท่า
น้ำหนัก น้ำหนักตัวมากจะทำให้เข่ามีแรงกดทับมากเข่าจะเสื่อมเร็ว
พฤติกรรมการใช้เข่า เช่นการนั่งพับเพียบ การนั่งยอง หรือการกระโดดกระแทกจะทำให้เข่าเสื่อมเร็ว
อุบัติเหตุกับข้อเข่า เช่นเข่าบิด เข่าแพลง หรือข้อเขาได้รับการกระแทกทำให้กระดูกอ่อนเสียหาย
โรคในข้อเข่า เช่น โรคเก๊าต์ โรครูมาตอยต์ จะทำลายกระดูกอ่อนทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

People photo created by freepik – www.freepik.com

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่ามีอาการบวมและฝืด
ข้อเข่ามีลักษณะผิดรูป
สูญเสียการเคลื่อนไหวจากการทำงานของข้อเข่า
ข้อเข่าเหยียดและงอไม่สุด
มีเสียงดังในข้อเข่า
การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม
ภาวะข้อเข่าเสื่อม ที่มีอาการรุณแรงและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เมื่อต้องทำการรักษาแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปี หากพบอาการฝืดแข็งในตอนเช้า มีเสียงดังในข้อเข่า และมีอาการปวดบวม แพทย์จะวินิจฉัยตามขั้นตอน ดังนี้
การซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อเช็คดัชนีมวลกาย และวัดความดันโลหิต
การตรวจร่างกายเพื่อประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม อาการปวดของโรค ความผิดปกติของข้อเข่า
ประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ภาพถ่ายรังสี เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม
การเจาะเลือดตรวจหาสาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เช่นโรคเก๊าต์ โรครูมาตอยต์
การตรวจน้ำในข้อ (joint fluid analysis) โดยการเจาะน้ำในข้อเข่าเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 
โรคข้อเข่าเสื่อมมีแนวทางการรักษา 2 วิธี
1. การรักษาโดยการใช้ยา
การใช้ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ควบคุมอาการของโรค เช่น ยาบรรเทาปวด ได้แก่ยาพาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ได้แก่ยาไอบูโปรเฟน ไพร๊อกซิแคม และที่ใช้ฉีดเข้าข้อ ได้แก่ไฮโดรคอร์ติโซน
การใช้ยาในกลุ่มที่ชะลอการเสื่อมของกระดูกอ่อนได้แก่ยา คอนดรอยตินซัลเฟต กลูโคซามีนซัลเฟต ช่วยซ่อมแซมกระดูกอ่อน เพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าทำให้ข้อเข่าทำงานได้ดีขึ้น
2. การรักษาโดยการผ่าตัด 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดนั้น ก่อนการรักษาแพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าอาการของผู้ป่วยอยู่ในระดับใดและจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษาแบบใด โดยวิธีที่นิยมในปัจจุบันมีดังนี้
การผ่าตัดโดยส่องกล้อง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกและยังไม่มีความรุนแรงมากนัก ในการผ่าตัดแพทย์จะสอดกล้องเข้าไปเพื่อตรวจดูความเสียหายของกระดูกอ่อน และนำเศษกระดูกอ่อนที่เสียหายออกมา การผ่าตัดแบบนี้แผลจะมีขนาดเล็ก
การผ่าตัดเพื่อปรับแนวโครงสร้างของกระดูกหรือเพื่อจัดให้กระดูกมีรูปแบบที่เหมาะสมต่อการลงน้ำหนักกดทับที่ข้อเข้า ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและทำให้ข้อเข่าทำงานได้ดีขึ้น
การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดเพื่อนำข้อเข่าที่เสียหายออกแล้วนำข้อเข่าเทียมที่ทำมาจากโลหะหรือพลาสติกมาแทนที่ เมื่อรักษาโดยวิธีนี้ผู้ป่วยจะมีสามารถใช้ข้อเข่าได้อีกหลายปี
การดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคข้อข่าเสื่อม
การศึกษาหาความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวเข่าและต้นขาให้แข็งแรงเพื่อช่วยพยุงหัวเข่า
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้เท้า รองเท้ากันลื่น 
การใช้ผ้าหุ้มเข่าหรือที่รัดเข่าเพื่อช่วยรองรับแรงกระแทกข้อเข่า
การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อข้อเข่า เช่น ปลา งาดำ ฟักทอง ข้าวโพด เชอรี่ 
งดอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด อาหารทอด อาหารที่ปรุงโดยใช้ความร้อนสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง การป้องกันเบื้องต้นสามารถทำได้โดยระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่าง ๆในชีวิตประจำวัน ไม่ให้ข้อเข่าได้รับการกดทับมากเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งการป้องกันตนเองโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคนี้ ทำให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/knee-osteoarthritis-causes-symptoms-treatments/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/