ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

อาการปวดหลัง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบได้บ่อยในโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการปวดหลังส่วนใหญ่เป็น ๆ หาย ๆ และเมื่อมีอาการปวดยังส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกายและการดำเนินชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีความยากลำบากในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากต้องลดการเคลื่อนไหวลง เพื่อช่วยระงับอาการปวด หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นหนึ่งในโรคระบบกล้ามเนื้อที่เริ่มจากมีอาการปวดหลัง แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นอาการของโรคหมอนรองกระดูก วันนี้ aufarm.shop มีคำแนะนำค่ะ

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คืออะไร ?
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือที่คนทั่วไปมักเรียกอาการของโรคนี้ว่า “กระดูกทับเส้น” คือ อาการของหมอนรองกระดูก ที่อาจเสื่อมจากการใช้งานมานาน การเกิดโรคนี้หลักๆแล้วเกิดจากการทำงานที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น การยกของหนักเกินไป การก้มหลังยกของหนัก การนั่งขับรถนาน ๆ การทำกิจกรรมที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ หลังเป็นประจำ หรือเกิดจากการประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลังโดยตรง และการเคลื่อนไหวผิดท่าทาง ซึ่งเกิดอย่างเฉียบพลัน

อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
สำหรับอาการหมอนรองกระดูกหรือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท มักมีอาการปวดหลัง ลักษณะปวดร้าวลงไปถึงขา โดยจะร้าวตั้งแต่สะโพกลงไป ในบางรายอาจมีอาการชา และอาการอ่อนแรงร่วมด้วย อาการปวดสามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้ และถ้าหากมีอาการปวดเรื้อรังเกินกว่า 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและหาแนวทางการรักษา

ปวดหลัง-นั่งทำงาน Business photo created by yanalya – //www.freepik.com

คนกลุ่มไหนที่เสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
หมอนรองกระดูกเคลื่อน เป็นภาวะที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังโดยมักพบมากในผู้ชายซึ่งเป็นมากกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า ส่วนกลุ่มคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหมอนรองกระดูก มักพบในคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 – 40 ปี โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงาน เช่น

กลุ่มคนทำงานที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ คนที่แบกของหนัก หรือยกของหนักมากและยกในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
คนที่นั่งทำงานในออฟฟิศ นั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ และนั่งในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เสี่ยงต่อโรคหมอนรองกระดูกได้
คนที่ขับรถทางไกล หรือต้องนั่งขับรถเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลต่อร่างกายทำให้ร่างกายอ่อนล้า มีความเสี่ยงต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง และกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก การบิดตัวหรือขยับร่างกายเพื่อผ่อนคลายความอ่อนล้า ก็ส่งผลต่อโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทได้
อันตรายของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังและปวดขาเรื้อรัง ซึ่งสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ที่ปวด แต่โดยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการร้ายแรง และสามารถดูแลรักษาให้อาการทุเลาลงแล้วกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นปกติได้ แต่หากปล่อยเรื้อรังขาดการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง หรือเป็นอาการปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังและเส้นประสาท อันตรายของโรคหมอนรองกระดูกก็จะมีความรุนแรงมากขึ้น

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
การรักษาโรคหมอนรองกระดูก ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย การรักษาจึงขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ โดยมีแนวทางการรักษา 2 รูปแบบ ได้แก่

การรักษารูปแบบที่ 1 โดยการฉีดยา
ฉีดยาลดการอักเสบในโพรงไขสันหลัง (ESL) เพื่อทำการรักษาหมอนรองกระดูก หรือกระดูกทับเส้นประสาท
ฉีดยาเฉพาะที่ในโพรงรากประสาท (SNRB) เพื่อลดอาการอักเสบ และ อาการปวด
ฉีดสารซีเมนต์เหลวในปล้องกระดูกสันหลัง (VERTEBROPLASTY) เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุน
การรักษารูปแบบที่ 2 โดยการผ่าตัด
การผ่าตัดแบบเปิด การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะต้องเลาะกล้ามเนื้อของกระดูก และตัดกระดูกออกส่วนหนึ่ง เพื่อที่จะให้เครื่องมือเข้าไปถึงหมอนรองกระดูกได้สะดวก
การผ่าตัดส่องกล้อง วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเลาะกล้ามเนื้อออก เพียงใช้การขยายกล้ามเนื้อแล้วสอดกล้องเข้าไปที่หมอนรองกระดูก จากนั้นคีบส่วนที่อักเสบออก เช่วยให้อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลดน้อยลง และฟื้นตัวเร็ว
การดูแลตนเอง หลังการผ่าตัด
การผ่าตัดแบบแผลเปิดเพื่อทำการรักษา หลังผ่าตัดจะต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 2-3 วัน แล้วกลับมาพักพื้นเพื่อดูแลตนเองที่บ้าน
การผ่าตัดแบบส่องกล้อง หลังผ่าตัดนอนโรงพยาบาลเพียงคืนเดียว ก็สามารถกลับมาดูแลตนเองที่บ้านได้
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด ห้ามบิดตัวหรือเอี้ยวตัว และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมก้ม ๆ เงย ๆ ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด จะต้องใส่เครื่องมือซัพพอร์ตหลัง เนื่องจากหมอนรอง
กระดูกมีโอกาสปลิ้นซ้ำออกมาได้ เมื่อผ่าน 6 สัปดาห์ไปแล้วสามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้มากขึ้น และหลังจาก 3 เดือนไปแล้ว ก็จะใช้ชีวิตได้ตามปกติ
โรคหมอนรองกระดูก หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น คนที่มีน้ำหนักตัวมาก มีภาวะเครียด นั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ และพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงของคนวัยทำงาน การดูแลสุขภาพ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค คือวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ดีที่สุด

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/herniated-nucleus-pulpous/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/