ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - เอยู ฟาร์ม

หน้า: 1 [2] 3
51
โรคอ้วน
โรคอ้วน หรือการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานหรือผู้สูงวัยจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ง่าย เนื่องจากคนที่อยู่ในวัยทำงานส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานทำให้ขาดการออกกำลังกาย ส่วนผู้สูงอายุอาจเป็นช่วงวัยที่มีความเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ การรับประทานอาหารและพักผ่อนมาก ๆ โดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายหรือใช้พลังงานทำให้อ้วนง่าย โรคอ้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร บทความนี้มีความรู้มาแนะนำครับ
โรคอ้วนคืออะไร ?
โรคอ้วน เป็นสภาวะที่ร่างกายมีปริมาณไขมันสะสมในร่างกายจำนวนมาก โดยไขมันที่สะสมในร่างกายส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณใต้ผิวหนังบริเวณต่าง ๆ เช่นหน้าท้อง สะโพก ต้นขา จากนั้นก็จะเริ่มสะสมในกล้ามเนื้อ และที่อวัยวะภายใน เช่น ตับ รวมทั้งไขมันสะสมในเส้นเลือดทำให้เส้นเลือดอุดตัน การเป็นโรคอ้วนทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกหรือคล่องแคล่วเช่นเดิม ซึ่งภาวะโรคอ้วนทำให้ร่างกายมีกระบวนการเมทาลิซึมที่สูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักปกติทำให้เหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือคนที่ผอมกว่า
สาเหตุของโรคอ้วน
โรคอ้วน คือการที่ร่างกายของคนเรามีการสะสมไขมันมากผิดปกติ หรือสะสมไว้มากเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญออกไป ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะคนที่ชอบรับประทานอาหารรสจัด เช่น รสหวาน มัน ดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม และรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาชอบทานจุกจิกหรือชื่นชอบขนมประเภทขบเคี้ยว ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ง่าย
เพศ เพศมีผลต่อการเป็นโรคอ้วนเช่นกัน โดยเพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ง่ายกว่าเพศชายสูงถึงเท่าตัว เนื่องจากเพศหญิงจะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร ซึ่งจะต้องมีการบำรุงร่างกายเพื่อให้บุตรในครรภ์มีความสมบูรณ์แข็งจึงมีโอกาสเป็นโรคอ้วนตามมาได้
อายุ เมื่ออายุสูงขึ้นภาวะโรคอ้วนจะเริ่มตามมา เนื่องจากสภาพร่างกายและกระบวนการเผาผลาญพลังงานลดลงทำให้มีไขมันสะสมเพิ่มมากขึ้นได้ง่าย
พันธุกรรม โรคอ้วนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมการได้ โดยพบว่าครอบครัวที่มีพ่อ แม่ เป็นโรคอ้วน มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคอ้วนในอนาคตสูงถึงร้อยละ 80
ภาวะทางอารมณ์ บางคนเมื่อมีภาวะความเครียด วิตกกังวลกังวลใจ จะเลือกใช้วิธีสงบสติอารมณ์โดยการรับประทานอาหารทำให้เป็นโรคอ้วนได้ง่าย
การไม่ออกกำลังกาย สาเหตุใหญ่ของคนที่เป็นโรคอ้วน ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามสภาพความเหมาะสม เพื่อเพิ่มการเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของไขมันส่วนเกิน โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในสำนักงานและผู้สูงอายุ
เมทาบอลิซึมในร่างกาย หรือการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเป็นกระบวนการทางเคมีในเซลล์ของร่างกายซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างบุคคล ผู้ที่เผาผลาญสารอาหารหรือไขมันไม่ดีจะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ง่าย ซึ่งการเผาผลาญพลังงานเกี่ยวข้องกับการทำงานต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
เบาหวาน
อันตรายจากโรคอ้วน
โรคอ้วน ส่งผลต่อสุขภาพโดยก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนและโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้มากมาย ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ เช่น
โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคความดันโลหิตสูง ภาวะอ้วนยังทำให้หัวใจทำงานหนักที่ส่งผลให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายเฉียบพลัน หรือโรคเส้นเลือดในสมองตีบและตัน
โรคเบาหวาน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆเช่น โรคไตวาย แผลหายช้า ตาบอดเนื่องจากอาการแทรกซ้อนของเบาหวานขึ้นตา
โรคข้อกระดูกเสื่อม เนื่องจากกระดูกต้องรองรับน้ำหนักตัวที่มากทำให้กระดูกอ่อนที่ข้อมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่า ข้อสะโพก
โรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งตับอ่อน ซึ่งล้วนเป็นโรคร้ายแรงทั้งสิ้น
แนวทางการรักษาและป้องกันโรคอ้วน
โรคอ้วน หรือการมีน้ำหนักตัวมาก ๆ จนส่งผลต่อสุขภาพรวมและมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ แพทย์จะทำการรักษาโดยแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ เช่น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาล หรือไขมันสูง มีวินัยในการรับประทานอาหารให้เป็นเวลาไม่กินจุกกินจิก รับประทานหารจำพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อปลา การประกอบอาหารโดยวิธีการนึ่งหรือต้ม แทนวิธีการทอดซึ่งจะทำให้มีไขมันสะสมในอาหารมากเกินไป เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้อ้วนง่าย
หมั่นการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอโดยเลือกการออกกำลังที่เหมาะสมกับโครงสร้างร่างกายของตนเอง จะทำให้ออกกำลังกายได้นานและสามารถเผาผลาญพลังงานมากขึ้นไม่มีไขมันสะสม หากไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายก็สามารถเพิ่มกิจกรรมที่สามารถช่วยเผาผลาญพลังงานได้ เช่น การเดินขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟต์ การกวาดบ้านถูบ้าน การทำสวนปลูกต้นไม้
การฝึกให้ตนเองเป็นผู้ที่มีอารมณ์แจ่มใส และมั่นคงอยู่เสมอ คือไม่เป็นผู้หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย หรือวิตกกังวลกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกินไปซึ่ง อาการต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดการเครียดและจะมีความรู้สึกหิวอยากรับประทานอาหารตามมาจะทำให้อ้วนได้ง่านขึ้นนั่นเอง
การดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคอ้วน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะคนที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก ๆ นอกจากทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมีโรคแทรกซ้อนได้ง่าย และเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิต นอกจากนั้นโรคอ้วนยังทำให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม ทำให้สูญเสียความสามารถในการทำงาน และอาจปิดโอกาสในการทำงานในองค์กรต่าง ๆ ส่งผลทำให้ความสุขในชีวิตลดลง



ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/obesity-symptoms-causes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

52

โรคข้อเช่าเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ เนื่องจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงแบบถดถอย ความแข็งแรงของกระดูกย่อมเสื่อมสภาพลง และกลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็เป็นปัจจัยสำคัญ หากใช้ข้อเข่าอย่างไม่ระมัดระวังภาวะข้อเช่าเสื่อมก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากสาเหตุใด มีอาการและแนวทางการรักษาอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ
ข้อเข่าเสื่อม และอาการของโรค 
ข้อเข่าเสื่อม ( osteoarthritis) คือภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้า ๆ อาการจะรุนแรงมากขึ้นตามวัย เนื่องจากเป็นปัญหาสุขภาพที่พบมากในผู้สูงอายุ 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุในประเทศไทย และพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ในแต่ละปี อาการของข้อเข่าเสื่อม ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูป ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติหรือมีความยากรำบากในการใช้ชีวิต
สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเสื่อม เป็นอาการของโรคที่เกิดจากการเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ลักษณะงานที่ทำประจำบางประเภทที่อาจส่งผลต่อข้อเข่าหรือทำให้ข้อเข่าเสื่อม เช่น คนที่ใช้แรงงาน หรือกรรมกร โดยทั่วไปปัจจัยที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ ได้แก่
อายุ ผู้ที่มีอายุมากมีโอกาสเป็นมากกว่าเนื่องจากข้อเข่าผ่านการใช้งานมานาน
เพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกกว่าเพศชาย 2 เท่า
น้ำหนัก น้ำหนักตัวมากจะทำให้เข่ามีแรงกดทับมากเข่าจะเสื่อมเร็ว
พฤติกรรมการใช้เข่า เช่นการนั่งพับเพียบ การนั่งยอง หรือการกระโดดกระแทกจะทำให้เข่าเสื่อมเร็ว
อุบัติเหตุกับข้อเข่า เช่นเข่าบิด เข่าแพลง หรือข้อเขาได้รับการกระแทกทำให้กระดูกอ่อนเสียหาย
โรคในข้อเข่า เช่น โรคเก๊าต์ โรครูมาตอยต์ จะทำลายกระดูกอ่อนทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

People photo created by freepik – www.freepik.com

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่ามีอาการบวมและฝืด
ข้อเข่ามีลักษณะผิดรูป
สูญเสียการเคลื่อนไหวจากการทำงานของข้อเข่า
ข้อเข่าเหยียดและงอไม่สุด
มีเสียงดังในข้อเข่า
การวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม
ภาวะข้อเข่าเสื่อม ที่มีอาการรุณแรงและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เมื่อต้องทำการรักษาแพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 50 ปี หากพบอาการฝืดแข็งในตอนเช้า มีเสียงดังในข้อเข่า และมีอาการปวดบวม แพทย์จะวินิจฉัยตามขั้นตอน ดังนี้
การซักประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อเช็คดัชนีมวลกาย และวัดความดันโลหิต
การตรวจร่างกายเพื่อประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม อาการปวดของโรค ความผิดปกติของข้อเข่า
ประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ภาพถ่ายรังสี เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม
การเจาะเลือดตรวจหาสาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม เช่นโรคเก๊าต์ โรครูมาตอยต์
การตรวจน้ำในข้อ (joint fluid analysis) โดยการเจาะน้ำในข้อเข่าเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 
โรคข้อเข่าเสื่อมมีแนวทางการรักษา 2 วิธี
1. การรักษาโดยการใช้ยา
การใช้ยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์ควบคุมอาการของโรค เช่น ยาบรรเทาปวด ได้แก่ยาพาราเซตามอล ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ได้แก่ยาไอบูโปรเฟน ไพร๊อกซิแคม และที่ใช้ฉีดเข้าข้อ ได้แก่ไฮโดรคอร์ติโซน
การใช้ยาในกลุ่มที่ชะลอการเสื่อมของกระดูกอ่อนได้แก่ยา คอนดรอยตินซัลเฟต กลูโคซามีนซัลเฟต ช่วยซ่อมแซมกระดูกอ่อน เพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าทำให้ข้อเข่าทำงานได้ดีขึ้น
2. การรักษาโดยการผ่าตัด 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดนั้น ก่อนการรักษาแพทย์จะทำการวินิจฉัยว่าอาการของผู้ป่วยอยู่ในระดับใดและจะต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษาแบบใด โดยวิธีที่นิยมในปัจจุบันมีดังนี้
การผ่าตัดโดยส่องกล้อง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกและยังไม่มีความรุนแรงมากนัก ในการผ่าตัดแพทย์จะสอดกล้องเข้าไปเพื่อตรวจดูความเสียหายของกระดูกอ่อน และนำเศษกระดูกอ่อนที่เสียหายออกมา การผ่าตัดแบบนี้แผลจะมีขนาดเล็ก
การผ่าตัดเพื่อปรับแนวโครงสร้างของกระดูกหรือเพื่อจัดให้กระดูกมีรูปแบบที่เหมาะสมต่อการลงน้ำหนักกดทับที่ข้อเข้า ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและทำให้ข้อเข่าทำงานได้ดีขึ้น
การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดเพื่อนำข้อเข่าที่เสียหายออกแล้วนำข้อเข่าเทียมที่ทำมาจากโลหะหรือพลาสติกมาแทนที่ เมื่อรักษาโดยวิธีนี้ผู้ป่วยจะมีสามารถใช้ข้อเข่าได้อีกหลายปี
การดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคข้อข่าเสื่อม
การศึกษาหาความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อม
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวเข่าและต้นขาให้แข็งแรงเพื่อช่วยพยุงหัวเข่า
การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วย เช่น ไม้เท้า รองเท้ากันลื่น 
การใช้ผ้าหุ้มเข่าหรือที่รัดเข่าเพื่อช่วยรองรับแรงกระแทกข้อเข่า
การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อข้อเข่า เช่น ปลา งาดำ ฟักทอง ข้าวโพด เชอรี่ 
งดอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด อาหารทอด อาหารที่ปรุงโดยใช้ความร้อนสูง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างยิ่ง การป้องกันเบื้องต้นสามารถทำได้โดยระมัดระวังในการทำกิจกรรมต่าง ๆในชีวิตประจำวัน ไม่ให้ข้อเข่าได้รับการกดทับมากเกินไป หรือได้รับบาดเจ็บ รวมทั้งการป้องกันตนเองโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคนี้ ทำให้ห่างไกลจากโรคข้อเข่าเสื่อมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/knee-osteoarthritis-causes-symptoms-treatments/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

53

ริดสีดวงจมูก เป็นโรคที่สร้างความรำคาญกับให้กับผู้ป่วย เนื่องจากจะมีอาการแน่นจมูกมาก หายใจไม่สะดวก  จนทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน แต่อาการของโรคนี้ก็สามารถรักษาหายได้ หากผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและต้องปฏิบัติตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ ควรงดเว้นอาหารต้องห้ามร่วมกับการรักษาอย่างต่อเนื่อง อาการของริดสีดวงจมูก สาเหตุ และอาหารต้องห้ามมีอะไรบ้าง บทความนี้มีความรู้มาแนะนำอีกเช่นเคยครับ
ริดสีดวงจมูกคืออะไร ?
ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyp) คืออาการที่เยื่อบุในจมูกเกิดการอักเสบเป็นเวลานาน ๆ จนกลายเป็นอาการเรื้อรัง เกิดน้ำคั่งเป็นก้อนบวม และกลายเป็นเนื้องอกเกิดขึ้นภายในโพรงจมูก มีลักษณะเป็นก้อนยื่นออกมาในจมูกคล้ายริดสีดวงทวาร อาจมีก้อนเดียวหรือมีจำนวนหลายก้อนก็ได้ ซึ่งจัดว่าเป็นก้อนเนื้อชนิดไม่ร้ายแรง 
สาเหตุของการเป็นโรค และการวินิจฉัยเพื่อทำการรักษา
แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจหาตำแหน่งของก้อนเนื้อด้วยการใช้กล้องส่องตรวจในโพรงจมูก การตรวจด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อหาขนาดและตำแหน่งที่ชัดเจนและตรวจเลือดเพื่อคัดกรองสารแอนติบอดี โดยสาเหตุที่ทำให้เยื่อในโพรงจมูกอักเสบแบ่งเป็น 2 สาเหตุคือ
ริดสีดวงจมูก ที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ ที่พบได้บ่อย ๆคือการที่ผู้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ จนทำให้เยื่อในโพรงจมูกอักเสบ หากมีการรักษาและการดูแลตนที่ไม่ถูกต้องก็จะยิ่งทำให้เยื่อบุในโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง ไม่หายขาด จนกลายเป็นเนื้องอกออกมาได้
เกิดจากการเป็นไซนัส ซึ่งผู้ที่เป็นไซนัสแบบเรื้อรัง เยื่อบุเกิดอาการบวมนาน ๆรักษาไม่หายขาดก็จะเกิดเป็นริดสีดวงจมูกได้เช่นกัน

อาการของริดสีดวงจมูก
ริดสีดวงจมูก ที่มีขนาดเล็กไม่โตมากอาจไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยมากนัก หากเนื้องอกในโพรงจมูกมีขนาดโตมาก อาจทำให้โพรงจมูกแคบลง อากาศผ่านเข้าออกได้ยากขึ้น ก็จะทำให้ผู้ป่วยคัดแน่นจมูกมาก การรับรู้ของกลิ่นก็จะลดลง หรืออาจเสียไปทำให้ไม่ได้กลิ่นเลย นอกจากนี้ยังมีอาการของโรคภูมิแพ้และไซนัสร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูกไหล ไอ จาม อาจมีน้ำมูกใสหรือขุ่นข้น เหนียว มีสีเหลืองเขียว เพราะไซนัสอักเสบกำเริบอีกด้วยก็เป็นได้
การรักษาริดสีดวงจมูก
การรักษาอาการริดสีดวงจมูก สามารถทำทำการรักษาได้ 2 วิธี คือ
1. รักษาโดยการใช้ยา 
การรักษาด้วยวิธีนี้ เป็นการรักษาโดยการให้ยาสเตียรอยด์ ซึ่งก็มีทั้งชนิดใช้กินและชนิดฉีดพ่นเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ สำหรับสเตียรอยด์ชนิดกินจะใช้ติดต่อกันนาน ๆ ไม่ได้ แต่การฉีดพ่นสามารถใช้ติดต่อกันได้นานหลายปี ดังนั้นการใช้แบบฉีดพ่นจะปลอดภัยกว่า
2. การรักษาด้วยวิธีผ่าตัด 
กรณีที่ใช้ยาทั้งสองชนิดในข้อ 1 แล้วไม่เห็นผล ไม่ทำให้อาการดีขึ้น เมื่อหายแล้วก็กลับมามีอาการและเกิดเป็นซ้ำอีก ซึ่งหากเป็นกรณีนี้แพทย์จะใช้การผ่าตัดซึ่งจะอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ การผ่าตัดทำได้ 2 วิธีคือ
การผ่าตัดแบบธรรมดาด้วยการใช้ลวดคล้องดึงเอาก้อนริดสีดวงออกมา ซึ่งวิธีนี้มีข้อเสียคือโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง 
การผ่าตัดด้วยการใช้กล้อง ด้วยการตัดริดสีดวงจมูกออกและผ่าตัดบริเวณรูไซนัสให้เปิดโล่ง

การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงจมูก
ส่วนมากผู้ที่เกิดเป็นริดสีดวงจมูกมักพบว่าสาเหตุอาจมาจากการเป็นภูมิแพ้ชนิดเรื้อรัง ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงและป้องกันสารก่อภูมิแพ้ดังนี้
หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้เช่น ควัน ฝุ่น ควันธูป สิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่าง ๆ ขนสัตว์ สุนัข แมว เกสรดอกไม้
จัดบ้านเรือนให้สะอาด ไม่ควรมีของใช้ที่เก็บฝุ่น ไม่ควรเลี้ยงสัตว์ไว้ในบ้าน 
จัดเครื่องนอนให้ปราศจากฝุ่นหรือไรฝุ่น ด้วยการนำมาซักและผึ่งแดดบ่อย ๆ
ป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่ำ ดังนั้นจึงต้องนอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่และออกกำลังกายให้เหมาะกับวัยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง 
ควรป้องกันตนเองไม่ให้เกิดเป็นหวัดได้ง่าย ๆ เพื่อลดการติดเชื้อหวัด เพราะถ้าเป็นหวัดจะยิ่งทำให้เยื่อบุจมูกกลับมาอักเสบ ด้วยการออกกำลังกาย ไม่โดนอากาศเย็นจัดๆ 
อาหารต้องห้ามของผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงจมูก
สำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงจมูกมีอาหารต้องห้ามหลายประเภท ที่ควรงดการรับประทานเพราะอาจจะไปกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบหนักขึ้น ดังนี้
อาหารแปรรูป เช่น อาหารกระป๋องทั้งหมด กะปิ ปลาเค็ม เนย ชีส เบค่อน และในที่นี้ยังหมายถึงของหมักดองทุกชนิดอีกด้วย
เครื่องดื่มมีคาเฟอีน เช่นกาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่ผสมน้ำนมของสัตว์
อาหารรสจัด ทุกรสชาติ ไม่ว่าจะเป็น เปรี้ยว หวาน เค็มและเผ็ด 
ผักและผลไม้บางชนิดเช่น หน่อไม้ กุยฉ่าย กระถิน สะตอ ชะอม มะระ กะหล่ำปลี บีทรูท แครอทดิบ และผลไม้เช่น ลำไย ทุเรียน มะไฟ มะยม มะม่วงสุก มะปราง ขนุน ละมุด ตะลิงปลิง มะดัน มะขาม น้อยหน่า ลิ้นจี่ สัปปะรด 
อาหารทะเลและเนื้อสัตว์ เช่น หมึก หอย แมงดา แมงกะพรุน กั้ง กุ้ง ไข่หอยเม่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาจวด ปลาสำลี ปลาโอ วัว ควาย เป็ด ห่าน ปลาคัง ปลาเนื้ออ่อน ปลาดุก ปลาไหล ปลาชะโด ปลาบึก ปลาดิบ แพะ แกะ งู ปลาแดงน้ำจืด ไข่เป็ด ไข่นก และเครื่องในทุกชนิด 
อาหารประเภททอดซ้ำทุกชนิด และ ข้าวปั้น ซูชิ กะทิ มะยองเนส น้ำสลัด
ริดสีดวงจมูก เป็นโรคที่สร้างความรำคาญและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นหลังการรักษาผู้ป่วยควรปฏิบัติตนตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด เมื่อรักษาหายแล้วควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นภูมิแพ้ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ จนโรคริดสีดวงจมูกกลับมาเกิดซ้ำได้อีก

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/nasal-polyps-symptoms-causes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

54

ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบสืบพันธ์ของเพศชาย ลักษณะคล้ายลูกเกาลัด  มีหน้าที่ในการสร้างสารที่เป็นของเหลว สารหล่อเลี้ยงอสุจิเพื่อให้อสุจิมีความสมบูรณ์เหมาะกับการสืบพันธ์อีก ทั้งยังช่วยห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ด้วย ต่อมลูกหมากโต คือภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ และยังเป็นปัญหาสุขภาพที่สร้างความวิตกกังวลใจให้กับคุณผู้ชาย อาการต่อมลูกหมากโตส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร อาการและวิธีรักษา ควรทำอย่างไร เรามีคำตอบมาให้เช่นเคยครับ

ต่อมลูกหมากโต คืออะไร ?
ต่อมลูกหมากจะอยู่ติดกับกระเพาะปัสสาวะ มีขนาดปกติประมาณ กว้าง 4 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตรและหนา 2 เซนติเมตร ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia) คือการที่ต่อมลูกหมากมีอาการใหญ่ขึ้นจนผิดปกติ ทำให้ไปกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบตัน ทำให้ผู้ที่เป็นเกิดการปัสสาวะลำบาก อีกทั้งยังทำให้ผนังของกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนา เพราะต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับปัสสาวะให้ออกมาจากท่อแคบ ๆ เมื่อผนังหนาขึ้นก็จะทำให้ความสามารถในการเก็บปัสสาวะลดลง ส่งผลให้ผู้ที่เป็นต้องปัสสาวะบ่อย ๆ โรคนี้พบมากในผู้ชายอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 50% และพบได้ 90% ในผู้ชายอายุ 90 ปี ขึ้นไป 

สาเหตุและอาการ
อาการต่อมลูกหมากโต ทางการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุอย่างแน่ชัด แต่พบว่าอาจจะมีส่วนสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น และการมีฮอร์โมนที่ไม่สมดุลของเพศชาย หรือบางรายก็เกิดจากกรรมพันธุ์ โดยอาการเมื่อต่อมลูกหมากโตมักทำให้เกิดการอุดกั้นของท่อทางเดินปัสสาวะและคอปัสสาวะ เพราะต่อมลูกหมากได้ห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ เมื่อท่อปัสสาวะเกิดการอุดกั้นผู้ที่เป็นมักมีอาการ ดังนี้

ปัสสาวะบ่อยมากทั้งกลางวันและกลางคืน บางครั้งกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปัสสาวะขัด ต้องเบ่ง 
ปัสสาวะต้องรอนานกว่าจะออกและปัสสาวะช้า ออกเป็นหยดกว่าจะหมด เหมือนปัสสาวะไม่ค่อยสุด 
เมื่ออาการรุนแรงมักทำให้ปัสสาวะไม่ออก และขณะเบ่งปัสสาวะมักมีเลือดปน เพราะเส้นเลือดภายในต่อมลูกหมากแตก บางรายปัสสาวะออกไม่หมด ทำให้เกิดการค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย
เมื่อเป็นขั้นรุนแรงอาจมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และทำให้ไตเสื่อมซึ่งทำให้เกิดเป็นอันตรายมาก 


การวินิจฉัย อาการต่อมลูกหมากโตจากแพทย์ 
การวินิจฉัย ต่อมลูกหมากโต แพทย์จะทำการวินิจฉัยเพื่อให้ทราบว่า อาการของโรคอยู่ในระยะใด โดยจะแบ่งออกตามความรุนแรง เช่น น้อย ปานกลาง และรุนแรง ในการวินิจฉัยแพทย์จะมีขั้นตอน ดังนี้

ซักประวัติ เพื่อสอบถามอาการต่าง ๆ และตรวจร่างกาย ตรวจต่อมลูกหมากด้วยการใช้มือกดลงบนต่อมลูกหมากเพื่อตรวจและประเมินขนาด ทางทวารหนัก ใช้การส่องกล้องหรือใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์ 
ทดสอบการไหลของปัสสาวะ จากนั้นก็จะทำการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ และหาปริมาณน้ำปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
เจาะเลือดเพื่อแยกว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต แพทย์จะทำการรักษาตามระยะของอาการ ดังนี้

ระยะที่ยังไม่มีอาการ 
แพทย์จะเฝ้าดูอาการหากยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงและไม่มีโรคแทรกซ้อน การเฝ้าระวังก็เพื่อประเมิน

ว่าเกิดผลกระทบกับผู้ป่วยแล้วหรือไม่ หากยังไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพก็จะยังไม่ทำการรักษา

ระยะที่แสดงอาการน้อยจนถึงปานกลาง 
ระยะนี้แพทย์จะเริ่มให้ยาลดขนาดต่อมลูกหมากและกลุ่มยาต้าน เพื่อช่วยลดขนาดของต่อมลูกหมากให้เล็กลง หรืออาจเป็นยาคลายกล้ามเนื้อเรียบ เพื่อให้ต่อมลูกหมากคลายตัวและอ่อนลง สำหรับกลุ่มยาต้านอาจส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง หรือมีผลต่อระดับของสารที่บ่งชี้ว่าจะเป็นมะเร็งด้วยหรือไม่

รักษาด้วยการใช้ความร้อนจากพลังงานคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นวิทยุความถี่ กับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก ทำให้ต่อมลูกหมากเหี่ยวเล็กลงและช่วยให้ท่อปัสสาวะมีขนาดกว้างขึ้น วิธีนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม มีค่าใช้จ่ายแพง
ผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เป็นการตัดชิ้นเนื้อที่เกินออกจากต่อมลูกหมาก โดยแพทย์จะทำการส่งกล้องขนาดเล็กที่มีท่อ โดยที่ปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กมาก ผ่านเข้าทางท่อปัสสาวะ เพื่อตัดเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมากที่กดทับท่อปัสสาวะ วิธีนี้ได้รับความนิยมมากที่สุด
ระยะที่แสดงอาการ
เป็นระยะที่อาการต่อมลูกหมากโต มีขนาดโตมาก แพทย์อาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อเอาเนื้อส่วนที่เกินและทำให้ต่อลูกหมากโตออก

การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต
ก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำมาก ลดการดื่มเครื่องดื่มที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย เช่น แอลกอฮอล์ กาแฟ รวมทั้งยาบางชนิดที่อาจกระตุ้นทำให้โรคต่อมลูกหมากมีอาการหนักขึ้น เช่น ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้หวัด
ควรหมั่นขมิบอุ้งเชิงกรานบ่อย ๆ เป็นการช่วยฝึกความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อของทางเดินปัสสาวะทำหน้าที่ได้ดีขึ้น
ควรออกกำลังด้วยการเดินเป็นประจำ 
หลีกเลี่ยงการอั้นปัสสาวะเพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะเสียหาย 
ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ 
นอกจากนั้น การปรับพฤติกรรมตนเองโดยปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ฝึกการเข้าห้องน้ำทุก 4-6 ชั่วโมงจนกลายเป็นนิสัย ทำควบคู่ไปกับการรักษา ก็จะทำให้การรักษาอาการต่อมลูกหมากโตเห็นผลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการรู้เท่าทันโรคยังทำให้อาการของโรคนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/prostate-enlargement-causes-symptoms/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

55

อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย เป็นการขับเอาสิ่งที่ตกค้างในทางเดินหายใจ ด้วยการเอาอากาศเข้าไปในช่องท้อง และหน้าท้อง จากนั้นก็จะเกิดการหดตัวของหน้าท้อง พร้อม ๆกับการเปิดกล่องเสียง และขับเอาสิ่งที่อยู่ตกค้างอยู่ให้ออกมา การไอหากเกิดบ่อยๆ ย่อมเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ดังนั้นหากมีอาการไอเรื้อรัง เป็นเวลานาน ๆโดยไม่ทราบสาเหตุก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนั่นคือการไอเรื้อรังที่เตือนว่าร่างกายอาจมีโรคบางอย่างแฝงอยู่
ไอเรื้อรัง คืออะไร ?
อาการไอ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง และสารแปลกปลอมอื่น ๆ ลักษณะการ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การไอเฉียบพลัน คือ มีระยะเวลาของอาการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอที่มีระยะเวลาระหว่าง 3-8 สัปดาห์ และไอเรื้อรัง คือ มีระยะเวลาของอาการไอมากกว่าหรือเท่ากับ 8 สัปดาห์
สาเหตุของอาการไอเรื้อรัง
การไอ อาจเป็นแค่การไอแห้ง ๆ ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองคอหรืออาจมีเสมหะปนออกมา หากมีอาการเพียงเท่านี้ ก็ไม่ถือเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับโรคร้ายอื่น ๆ  แต่ถ้าหากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การไอเรื้อรัง แบบรุนแรง ขณะไอมีอาการเจ็บหน้าอก เจ็บคอ หายใจลำบาก มีเสมหะที่มีเลือดปนออกมา ไอติดต่อกันนาน คือมีระยะเวลาของการไอมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป สาเหตุอาจเกิดได้จาก 
โรคภูมิแพ้หรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆ หรือเป็นโรคในช่องจมูก เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหืดหอบ โรคไซนัส และอาการของโรคภูมิแพ้มักเป็นโรคที่พบว่าสามารถทำให้มีอาการ ไอเรื้อรังได้มากที่สุด 
โรคในช่องคอ เช่นโรคเส้นเสียงอักเสบ ซึ่งสาเหตุมาจากการใช้เสียงมากเกินไป โรคต่อมทอนซิลอักเสบ มักมีอาการไข้ เจ็บคอเมื่อกลืนน้ำลาย
โรคร้ายแรง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ร่างกายจะขับออกมาได้ด้วยการไอ เพราะมีก้อนเนื้อไปกดทับที่บริเวณปอดเช่น การเป็นโรคมะเร็งที่ปอด หรือเป็นโรคเนื้องอกบริเวณหลอดลมและกล่องเสียง จึงทำให้มีการไอเรื้อรังไม่หาย
โรคอื่น ๆ ที่แฝงอยู่กับโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น วัณโรคปอด ถือเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องรีบทำการรักษา โรคหอบหืดซึ่งมักเป็นคู่กับโรคภูมิแพ้ โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอด

Heart photo created by diana.grytsku – www.freepik.com

การวินิจฉัยโรคไอเรื้อรัง
ไอเรื้อรัง สามารถเป็นอาการของโรคอื่น ๆได้หลายโรค การวินิจฉัยจึงจำเป็นต้องใช้การตรวจและการวินิจฉัยจากแพทย์หลาย ๆด้าน เพื่อให้ทราบผลอย่างแน่ชัด สำหรับขั้นตอนแพทย์อาจปฏิบัติ ดังนี้
แพทย์จะทำการซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของโรค โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ เช่น ประวัติการเป็นของคนในครอบครัว อาการต่างๆ การสัมผัสสารที่อาจทำให้เกิดการแพ้ หรืออาการที่อาจเป็นโรคอื่นๆได้อีกเช่น โรคเส้นเสียงอักเสบ โรคกรดไหลย้อน
ตรวจระบบทางเดินหายใจ หากมีความผิดปกติก็อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอื่น ๆเช่น ส่องกล้องดูระบบทางเดินหายใจ ตรวจเสมหะ ตรวจสมรถภาพปอดด้วยการใช้หูฟัง ฟังเสียงหายใจเข้าและออก หรือถ่ายภาพรังสีของโพรงจมูก เอ็กซเรย์ช่องอกเพื่อตรวจหาความผิดปกติของปอด  
วิธีการรักษาโรคไอเรื้อรัง
การรักษาโรคไอเรื้อรัง สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องได้รับการตรวจหาสาเหตุและวิเคราะห์ เพื่อให้ทราบแน่ชัดก่อนเป็นอาการไอเรื้อรังจากสาเหตุใด หรือเป็นอาหารของโรคชนิดใด แล้วจึงทำการรักษาตามแนวทางหรือวิธีการของโรคนั้น ๆ 
วิธีดูแลตนเองเมื่อมีอาการไอ
โรคไอเรื้อรัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นอาการไอที่ไม่ร้ายแรงสามารถหายได้เองเพียงบำรุงดูแลตนเองหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และอาจเป็นอาหารของโรคร้ายแรง สำหรับแนวทางการรักษากรณีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้ยาแก้ไอ ร่วมกับยาอื่น ๆ เช่น ยาละลายเสมหะหรือยาอม เพื่อรักษาในเบื้องต้นก่อน รวมทั้งผู้ป่วยต้องดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้
หากการไอเกิดจากการเป็นภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะต้องหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่กระตุ้นแล้วร่างกายแพ้ จนทำให้เกิดการไอมากยิ่งขึ้น เช่น ฝุ่นละอองต่าง ๆ ควันบุหรี่ สารเคมี ละอองเกสร ขนแมว ขนสุนัข 
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรืองดไปอยู่ในที่ที่มีควัน เช่นควันธูป ควันไฟ
หลีกเลี่ยงจากการสัมผัส อากาศเย็นๆโดยตรงเช่น จากพัดลมหรือจากแอร์ เพราะอากาศที่เย็นจัดจะทำให้หลอดลมหดตัวเล็กลง ก็จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการไอถี่ๆมากยิ่งขึ้น
พักผ่อนให้เพียงพอทุกวัน ขณะนอนพักผ่อนต้องทำร่างกายให้มีความอบอุ่นเช่นห่มผ้า ใส่ถุงเท้า เพื่อป้องกันอากาศเย็น
โรคร้ายแรงบางชนิดสามารถป้องกันด้วยการตรวจพบแต่เนิ่น ๆ ได้ เช่นโรคมะเร็งปอด หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรตรวจเพิ่มร่วมไปกับการตรวจสุขภาพประจำปีได้
ไอเรื้อรังที่มีอาการมากกว่า 8 สัปดาห์ แม้จะเป็นการไอที่ไม่มีสัญญาณหรืออาการร้ายแรงใด ๆร่วมด้วย เช่น ไม่มีอาการแสบร้อนกลางอก หรือมีรสเปรี้ยวในปาก  ไม่เจ็บหน้าอกขณะไอ ก็อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาการไอเรื้อรังเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงหลายชนิด หากอาการไออยู่ในขั้นเรื้อรังหรือไอนานกว่า 8 สัปดาห์ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรีบทำการรักษา

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/chronic-cough-causes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

56

People photo created by jcomp – www.freepik.com

ปวดท้อง เป็นปัญหาสุขภาพเกิดได้จากหลายสาเหตุ และยังมีลักษณะความผิดปกติหรืออาการปวดท้องเหมือนหรือคล้าย ๆ กับหลายโรคทั้งอาการปวดท้องที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและปวดเรื้อรัง  “ไส้ติ่งอักเสบ” เป็นหนึ่งในโรคที่เริ่มจากอาการปวดท้องและเป็นอาการปวดที่ไม่แตกต่างจากโรคทั่วไป แต่อาจมีอันตรายร้ายแรงได้หากดูแลรักษาไม่ทัน เพื่อให้รู้ทันอาการปวดท้องไส้ติ่งอักเสบ วันนี้มีความรู้มาแนะนำครับ
รู้ทันอาการปวดท้อง  “ไส้ติ่งอักเสบ”
ไส้ติ่ง คือส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ยื่นออกมาเป็นติ่ง มีตำแหน่งอยู่บริเวณท้องน้อยด้านขวา เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายที่ไม่ได้มีหน้าที่สำคัญ แต่หากเกิดการอุดตันและมีการอักเสบอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ส่วนไส้ติ่งอักเสบ คืออาการปวดท้องแบบเฉียบพลันที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย พบได้มากในกลุ่มคนที่มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 15–30 ปี  ซึ่งผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้เท่า ๆ กัน
สาเหตุของไส้ติ่งอักเสบ 
ไส้ติ่งอักเสบ มาจากการอักเสบและติดเชื้อของไส้ติ่ง โดยสัญญาณบ่งบอกในเบื้องต้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน หากเกิดการอักเสบรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บตรงท้องน้อยด้านขวา และในที่สุดไส้ติ่งก็จะเกิดการเน่าตายและแตกทะลุได้ สาเหตุหลัก ๆของไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากภาวะอุดตันในรูหรือทางเข้า-ออกของไส้ติ่ง ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
การมีเศษอุจจาระแข็ง ๆ ชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “นิ่วอุจจาระ” (Fecalith) ตกลงไปในรูไส้ติ่ง
เกิดจากเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง (Lymphoid tissue) ที่ผนังไส้ติ่งที่หนาตัวขึ้นตามการอักเสบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย
เกิดจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เมล็ดผลไม้ หนอนพยาธิ หรือก้อนเนื้องอก
อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดการปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการขยายตัวขึ้นจนไปปิดกั้นไส้ติ่ง และทำให้ไส้ติ่งที่อาจมีเชื้อโรคอาศัยอยู่เกิดอาการอักเสบ
อาการปวดท้องไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างเฉียบพลัน มักเป็นมากขึ้นและอาการแย่ลงภายใน 6-24 ชั่วโมง ซึ่งอาการของภาวะไส้ติ่งอักเสบที่พบโดยทั่วไปมีดังนี้
มีอาการปวดอย่างเฉียบพลัน ที่บริเวณรอบสะดือ ต่อมาย้ายไปปวดที่ท้องด้านล่างขวาเนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นขณะที่ไอ เดิน หรือแม้แต่ขยับตัว
บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือรู้สึกเบื่ออาหาร
มีไข้ต่ำ ๆ ระหว่าง 37.2–38 องศาเซลเซียส และอาจสูงกว่า 38.3 องศาเซลเซียส หากเกิดภาวะไส้ติ่งแตก
มีอาการท้องเสีย ท้องผูก หรือมีอาการท้องอืดรวมด้วย
มีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้นของไส้ติ่งไปกระตุ้นท่อไตของระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งอยู่ใกล้กัน
การวินิจฉัยของแพทย์
การวินิจฉัยอาการไส้ติ่งอักเสบค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากอาการของไส้ติ่งอักเสบนั้นค่อนข้างคลุมเครือ และมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ โดยทั่วไปแพทย์จะทำการวินิจฉัยตามอาการหรือตามขั้นตอน ดังนี้
แพทย์จะทำการซักประวัติเพื่อให้ทราบลักษณะอาการเจ็บป่วยหรืออาการปวดท้องและนำมาวินิจฉัย
การตรวจร่างกายหาความผิดปกติหรืออาการของโรค อาจทำควบคู่กับการซักประวัติ เพราะอาการปวดท้องไส้ติ่งมีอาการคล้ายกันหลายโรค
หาก 2 วิธีแรกยังได้ผลไม่ชัดเจน แพทย์จะใช้การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัย
กรณีแพทย์มีความมั่นใจจากการวินิจฉัยโรค ก็จะทำการรักษาได้ทันที

Abstract vector created by macrovector – www.freepik.com

แนวทางการรักษาไส้ติ่งอักเสบ
ไส้ติ่งอักเสบสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเท่านั้น เพราะจะช่วยรักษาอาการและช่วยกำจัดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะไส้ติ่งแตก โดยการผ่าตัดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ 
การผ่าตัดแบบส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เพราะเป็นการผ่าตัดเล็กสามารถกลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ทันที เหมาะกับกรณีไส้ติ่งที่อักเสบยังอยู่ในระยะไม่ร้ายแรงนัก 
2.กรณีปวดท้องไส้ติ่งมีอาการที่รุนแรง หรืออยู่ในขั้นไส้ติ่งแตก ก็จะต้องใช้การผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) ซึ่งเป็นผ่าตัดแบบมาตรฐาน เพราะนอกจากจะต้องนำไส้ติ่งที่แตกออกแล้ว ยังต้องทำความสะอาดภายในช่องท้อง และใส่ท่อเพื่อระบายหนองจากฝีที่เกิดขึ้นอีกด้วย
วิธีดูแลตนเองในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ยังไม่ได้รับการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่อาการโรคไส้ติ่งอักเสบยังไม่รุนแรงมาก หรือยังไม่ได้เข้ารับการผ่าตัดไส้ติ่ง ควรเฝ้าสังเกตอาการผิดปกติของตนเองอย่างระมัดระวัง หากพบว่า มีอาการ เบื่ออาหาร มีไข้สูง อาเจียน หรือกดบริเวณที่มีอาการแล้วรู้สึกปวดมากขึ้น และปวดนานกว่า 6 ชั่วโมง ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที 
วิธีดูแลตนเองในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่ผ่าตัดไส้ติ่งแล้ว
ในกรณีผู้ป่วยที่ผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบไปแล้ว การดูแลตนเองถือว่า เป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูกลับมาแข็งแรงดังเดิม ควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำ ดังนี้
กระตุ้นการลุกจากเตียงหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวเร็วขึ้น
หลีกเลี่ยงการเกาแผลหรือกระทบกระเทือนแผล เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ได้
รักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ ห้ามให้แผลเปียก และควรล้างมือก่อนสัมผัสแผล
การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
พักผ่อนให้เพียงพอ 
ควรเลือกรับประทานอ่อนๆ และเป็นอาหารที่กลืนง่าย ย่อยง่าย 
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชาและกาแฟ
โรคไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่คล้ายคลึงกับโรคปวดท้องทั่วไปแต่มีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คุณหลีกเลี่ยงจากการเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ นั่นก็คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพของระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่ายที่ดีของร่างกาย แต่ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติคล้ายอาการโรคไส้ติ่งอักเสบ และคุณยังไม่เคยผ่าตัดไส้ติ่งมาก่อน ข้อแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการทันที 

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/appendicitis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

57

อาหารเป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ง่ายและป้องกันได้ยาก ส่วนใหญ่เกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปแต่อาการมักไม่รุนแรง และทุเลาได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง ส่วนในรายที่มีอาการอย่างรุนแรง ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของเชื้อที่ร่างกายได้รับเข้าไป อย่างไรก็ดีแม้อาหารเป็นพิษจะสามารถทุเลาได้เอง แต่หากเกิดในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพหรือในผู้สูงอายุ ก็เป็นอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนได้ 
อาหารเป็นพิษ คืออะไร ?
อาหารเป็นพิษ หมายถึง อาการท้องเดินเป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการกินอาหารเข้าไปแล้วมีอาการ เช่น ปวดท้อง ท้องสีย อาเจียน อาจเกิดขึ้นช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อโรคที่ปนเปื้อน อาการที่ไม่รุนแรงสามารถหายได้เอง นอกจากมีภาวะอื่น ๆ แทรกซ้อนเช่น ท้องเสียไม่หยุดและรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ
ลักษณะอาการของอาหารเป็นพิษ
ผู้ที่ได้รับเชื้อที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไป ส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน หรือบางคนอาจมีอาการหลังรับประทานอาหารเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยลักษณะอาการของอาหารเป็นพิษ ได้แก่
รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง
อาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ หรือ  ถ่ายอุจจาระปนเลือดหรือมูก
มีอาการปวดมวนท้อง ทำให้รู้สึกทรมานจากอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพัก ๆ
รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะน้อย จากการที่ร่างกายสูญเสียหรือขาดน้ำ
ปวดศีรษะ หรือมีอาการวิงเวียนศีรษะ

Designed by yanalya / Freepik

สาเหตุของอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย และรองลงมาคือ เชื้อไวรัส รวมทั้งการปนเปื้อนสารพิษอื่น ๆ เช่น สารเคมี พืชพิษ สัตว์พิษที่ไม่ใช่จากเชื้อโรค ที่พบได้บ่อย ๆ คือ จากเห็ดพิษ อาหารทะเล สารหนู และสารตะกั่ว 
อาการรุนแรงที่ต้องรีบพบแพทย์
มีภาวะขาดน้ำ มักมีอาการ ปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย ปัสสาวะมีสีเข้ม หัวใจเต้นเร็ว  อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืด
ผู้ใหญ่ท้องเสียติดต่อกัน 3 วัน ส่วนเด็กอาจท้องเสียติดต่อกันตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่อาการไม่ดีขึ้นเลย
อาเจียนต่อเนื่องนานกว่า 12 ชั่วโมง
มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ
ตามัวหรือมองเห็นภาพไม่ชัด
ปวดท้องอย่างรุนแรง โดยที่อาการปวดท้องไม่ลดลงเลยหลังจากอุจจาระไปแล้ว
ท้องเสียร่วมกับมีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
ภาวะแทรกซ้อนของอาหารเป็นพิษ
ภาวะแทรกซ้อนที่พบในบ่อย โดยเฉพาะในรายที่มีอาการถ่ายมาก อาเจียน ได้แก่ ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ อาจรุนแรงถึงภาวะช็อก กรณีได้รับเชื้อโรคที่เป็นสารพิษภาวะแทรกซ้อนอาจต่างกันไป เช่น มีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ เกิดการแท้งบุตรในหญิงตั้งครรภ์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพาต โลหิตเป็นพิษแทรกซ้อน หรือโรคไต
การวินิจฉัยอาการอาหารเป็นพิษ
แพทย์จะวินิจฉัยโดยพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบ เริ่มจากซักถามประวัติเพื่อหาสาเหตุ เช่น อาการของผู้ป่วย อาหารที่รับประทาน ระยะเวลาที่มีอาการ กรณีมีอาการถ่ายท้องรุนแรงหรือเรื้อรัง แพทย์จะตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม โดยการการตรวจเลือด ตรวจหาปริมาณเกลือแร่ในเลือดและตรวจการทำงานของไต หรือการตรวจอุจจาระ เพื่อตรวจหาชนิดของเชื้อโรค

Children photo created by lifeforstock – www.freepik.com

การรักษาอาการอาหารเป็นพิษ
ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษ เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคแล้วแพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของโรค โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
อาการอาหารเป็นพิษที่ไม่รุนแรง จะให้การรักษาตามอาการและให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
ผู้ป่วยอาหารเป็นพิษที่มีอาการรุนแรง ถึงขั้นขาดน้ำรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ จนกว่าอาการอาหารเป็นพิษจะทุเลา
หากการวินิจฉัยพบว่า เกิดจากสาเหตุอื่น ก็จะให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ เช่น ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่พบว่าเป็นบิดชิเกลล่า หรืออหิวาต์
วิธีป้องกันตนเองจากอาหารเป็นพิษ
เลือกอาหารที่ผ่านการปรุงสุกใหม่ ๆ  รับประทานอาหารที่สด สะอาด 
ดื่มน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุก
เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากหนู แมลง หรือสัตว์อื่น
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีการปนเปื้อน เพื่อถนอมอาหารหรือปรุงแต่งรส แต่งสี และกลิ่น
อาหารที่ค้างมื้อ ก่อนรับประทานต้องทำให้สุกใหม่ก่อนเสมอ
ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารหรือรับประทานอาหาร
แยกอาหารดิบและอาหารสุก เพื่อระมัดระวังการปนเปื้อน 
อาหารเป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยมีสาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหาร เนื่องจากอาหารการกินเป็นปัจจัยสำคัญในการในชีวิตประจำวัน การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดถูกสุขอนามัยก็จะทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ วิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากภาวะเหล่านี้ ได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกทานอาหารปรุงเองหรือปรุงสุกใหม่ ๆ หลีกเลี่ยงอาหารปรุงสำเร็จที่มีการปนเปื้อนสารปรุงแต่ง หรือถนอมอาหาร แม้อาการเหล่านี้จะไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองแต่หากมีภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพมีโรคประจำตัว อาจเป็นอันตรายและต้องใช้เวลาในการดูแลรักษา

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/food-poisoning-symptoms-treatments/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

58

ปัญหาของหลอดดำที่ขยายตัวบวมออกมา จนทำให้เลือดมาสะสมจนเห็นเป็นเส้นเลือดขอดคดเคี้ยว มีสีฟ้าหรือม่วงเข้ม โดยมักจะเกิดที่บริเวณขาหรือเท้า เนื่องจากเลือดที่ไปเลี้ยงขาหรือเท้าย้อนกลับไปสู่หัวใจได้ยากขึ้น อาการนี้เรียกกันว่า เส้นเลือดขอด ใครที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด โดยเฉพาะคุณผู้หญิง วันนี้เรามาทำความรู้จักอาการของโรคและวิธีรักษาจากบทความนี้ครับ
อาการของเส้นเลือดขอด
อาการของเส้นเลือดขอด มักมีเส้นเลือด นูน คอดเคี้ยว โดยเส้นเลือดจะมีสีฟ้าหรือสีม่วง เมื่อเป็นไประยะหนึ่งก็อาจจะเจ็บหรือรู้สึกหนักขา บางรายบวม แสบร้อน คันและปวดรอบ ๆ เส้นเลือด เมื่อเส้นเลือดแข็งหรือเปลี่ยนสี อาจพบว่ามีอาการอักเสบของผิวหนังหรือมีแผลพุพองที่ผิวหนังใกล้ข้อเท้าร่วมด้วยและมักมีอาการแย่ลง หากยืนนาน ๆ หรืออยู่ในสภาพอากาศร้อน และจะดีขึ้นเมื่อเดินหรือยกขาขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดขอด
กรรมพันธุ์ บุคคลที่มีประวัติคนในครอบครัวและมีพ่อแม่เป็นโรคนี้ ก็จะมีโอกาสเป็นได้สูง
อายุ โดยผู้ที่มีอายุมากมักมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย เพราะหลอดเลือดหลวมและหย่อนตัว 
เพศ เพศหญิงมีจำนวนที่เป็นมากกว่าเพศชาย อาจเนื่องมาจากฮอร์โมนเพศไปทำให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวลง
น้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออ้วนมักเป็นโรคนี้ เนื่องจากเลือดหมุนเวียนไม่สะดวก มีเลือดค้างอยู่ที่เส้นเลือดขาได้ง่าย
การใส่รองเท้าส้นสูงและการยืนนาน ๆ ทำให้เลือดไปคั่งอยู่ที่เส้นเลือดที่ขาได้มากเช่นกัน 
การกระแทกหรือการกดทับทำให้เลือดเดินไม่สะดวก 
ระดับความรุนแรงของอาการเส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอด แบ่งระดับของความรุนแรงได้ 3 ระดับ ดังนี้
เส้นเลือดฝอยแตก (Spider Veins) ลักษณะเห็นเป็นเส้นเล็ก ๆ แผ่กระจายแบบตื้นๆไปคล้ายใยของแมงมุม มีสีแดงหรือม่วง มีความรุนแรงน้อย ไม่ค่อยพบว่ามีอาการเจ็บปวดหรือเมื่อย
เส้นเลือดโป่งพองขนาดกลาง (Reticular veins) ลักษณะโป่งพองออกมาแค่พอสังเกตเห็นได้ ไม่ใหญ่มาก
เส้นเลือดโป่งพองขนาดใหญ่ (Varicose) ลักษณะเห็นได้อย่างชัดเจน เส้นเลือดจะโป่งพองออกมาเป็นขดและหยัก สีม่วงอมเขียว มักมีอาการเจ็บปวด เมื่อยล้าตรงบริเวณที่เป็น ซึ่งควรจะต้องได้รับการรักษา เพราะระดับความรุนแรงนี้จะเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนได้
วิธีการรักษาเส้นเลือดขอด
การรักษาเส้นเลือดขอดนั้น แพทย์จะรักษาตามระดับของความรุนแรงที่เป็น หากเป็นความรุนแรงระดับที่ 1 เส้นเลือดขอดที่เป็นมีขนาด 1-3 มิลลิเมตร จะรักษาด้วยการฉีดยาเข้าไป (Microsclerotherapy) เพื่อที่จะช่วยปิดการทำงานของเส้นเลือดที่โป่งพองขึ้นมานี้ให้ยุบตัวลง สำหรับระดับความรุนที่ 2-3 เส้นเลือดมีขนาดใหญ่มากกว่า 3 มิลลิเมตร วิธีการรักษาก็จะมีหลายวิธี ดังนี้
ฉีดสารเคมีเข้าสู่เส้นเลือดดำ (Mechanochemical Ablation, MOCA) เป็นการทำให้เส้นเลือดขอดที่เป็นฝ่อและตีบลง วิธีการคือแพทย์จะทำการฉีดยาเข้าไปที่เส้นเลือดผ่านทางสายสวน เพื่อปิดเส้นเลือดและกระจายตัวยา วิธีนี้จะเกิดแผลเล็ก ๆ เพียงจุดเดียวและสามารถกลับบ้านได้เลย
ฉีดโฟมด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ (Foam Sclerotherapy) เป็นการใช้เครื่องอัลตราซาวด์เพื่อดูตำแหน่งและฉีดโฟมเข้าไปภายในเส้นเลือด เนื่องจากโฟมจะช่วยให้เส้นเลือดขอดเกิดการอักเสบ เพื่อให้ร่างกายมีกลไกทำลายเส้นเลือดขอด ทำให้เส้นเลือดขอดมีสีจางลง
ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงหรือใช้เลเซอร์ (Radio Frequency Ablation หรือ RFA) เป็นการทำให้เส้นเลือดขอดยุบตัวลงด้วยการใช้ยาชา จากนั้นก็จะเปิดแผลเล็ก ๆ และใช้คลื่นวิทยุทำการรักษา ใช้เวลาไม่นาน เมื่อทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย ประมาณ 6-8 สัปดาห์ เส้นเลือดขอดก็จะยุบตัวลงประมาณ 90% 
ใช้สารยึดติด (กาว) (Cyanoacrylate Glue) เป็นการรักษาด้วยการใช้สารยึดติดทางการแพทย์ เพื่อให้ผนังหลอดเลือดยึดติดเข้าหากัน วิธีการนี้ทำให้คือเกิดแผลเล็ก ๆ เพียงจุดเดียว รักษาเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย
การผ่าตัด จะแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ ผ่าตัดเพื่อลอกเอาเส้นเลือดขอดออก (High Ligation and Stripping) ด้วยการดมยาหรือบล็อกหลัง เมื่อตัดและผูกเส้นเลือดขอดนี้แล้วต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1-2 วันและกลับไปพักที่บ้าน 7-14 วัน และผ่าตัดเพื่อเอาเส้นที่ขอดที่ไม่ลึกมากออก (Phlebectomy) ด้วยการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ดูดออก โดยแพทย์จะให้ยาชาและเปิดแผลเล็ก ๆ ที่ไม่ต้องเย็บ หลังการทำสามารถกลับบ้านได้เลย
การดูแลตนเองหลังการรักษา
ควรใส่ผ้ายืด เพื่อเป็นการประคองเส้นเลือดและกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็น หากเป็นเส้นเลือดขอดระดับความรุนแรงที่ 1. ควรใส่ประมาณ 1-3 วัน ระดับที่ 2-3  ควรใส่ 7 วันขึ้นไป
ไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักมากหรือยืนนาน ๆ ประมาณ 1 สัปดาห์ เพราะจะทำให้น้ำหนักไปลงบริเวณที่ทำการรักษา
กระตุ้นให้ยากระจายตัวไปรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการออกกำลังกายด้วยการเดินทุกวัน 
ไปพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้รับการรักษาและติดตามผลได้อย่างต่อเนื่อง
เส้นเลือดขอด อาจเป็นอาการของโรคที่ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อการดำเนินชีวิต แต่เมื่อเป็นแล้วโดยเฉพาะผู้หญิงอาจทำให้เกิดริ้วรอยที่ไม่พึงปรารถนา และทำให้เกิดความกังวลใจไม่มั่นใจในการสวมใส่เสื้อผ้า และหากปล่อยให้เส้นเลือดขอดมีอาการที่รุนแรง อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดจนไม่สามารถยืน-เดินได้สะดวก หรืออาจถึงขั้นเส้นเลือดแตก หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีเส้นเลือดขอดก็จะไม่เป็นปัญหาให้กับคุณผู้หญิงได้อีกต่อไป

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/varicose-vein/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

59

โรคภูมิแพ้อากาศ ปัญหาสุขภาพที่นอกจากสร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยแล้ว อาการไอ จาม มีน้ำมูกไหล ยังสร้างปัญหาในการเข้าสังคม หรือทำให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจในตัวเอง โรคภูมิแพ้อากาศ เหมือนหรือแตกต่างจากอาการหวัดอย่างไร สาเหตุของภูมิแพ้อากาศ และเมื่อเป็นภูมิแพ้อากาศควรดูแลตนเองอย่างไร บทความนี้ มีความรู้ดี ๆ มาแนะนำครับ
โรคภูมิแพ้อากาศ คืออะไร ?
โรคภูมิแพ้อากาศ คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อจมูกเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ แม้โรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตแย่ลงได้ และหากโรคภูมิแพ้อากาศเกิดร่วมกับหอบหืดและมีอาการแพ้รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน
โรคภูมิแพ้ ต่างจากไข้หวัดอย่างไร ?
โรคภูมิแพ้อากาศและไข้หวัด หากจะแยกความแตกต่างของหวัดและภูมิแพ้อากาศ ในส่วนของหวัดจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล โดยช่วงแรกน้ำมูกจะใสแล้วค่อย ๆ ข้นขึ้น แต่จะไม่มีอาการคันจมูก โดยระยะเวลาของโรคหวัดจะประมาณ 3-10 วัน ซึ่งต่างกับโรคภูมิแพ้อากาศที่ผู้ป่วยจะมีอาการคันจมูกร่วมด้วย รวมไปถึงอาการคันตา น้ำตาไหล และมักมีระยะเวลาของโรคยาวนานมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
ปัจจัยที่ทำที่เป็นสาเหตุของภูมิแพ้อากาศ
ภูมิแพ้ที่เกิดจากพันธุกรรม คนที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีภูมิคุ้มกันต่ำและยีนส์ที่ผิดปกติ สามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้
ภูมิแพ้ที่เกิดสารก่อภูมิแพ้ สาเหตุหลักของการเกิดภูมิแพ้ คือสารที่ก่อนภูมิแพ้ในอากาศและเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ เช่น ไร้ฝุ่น เกสรดอกไม้ เชื้อรา
ภูมิแพ้ที่เกิดจากปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้  เช่น สารเคมี กลิ่นฉุน กลิ่นบุหรี่ น้ำหอม
อาการของโรคภูมิแพ้อากาศ
คันในจมูก หรืออาจคันไปถึงในคอ เพดาน
มีอาการคันตา หรืออาจคันไปถึงหูด้วย
จามบ่อย จามไม่หยุด และอาจมีอาการไอร่วมด้วย
มีน้ำมูกใส ๆ
มีอาการแน่นจมูก หรือหายใจทางจมูกไม่สะดวก
มีอาการหูอื้อ
มีน้ำมูกไหลลงคอ มีเสียงดังในหู
การวินิจทางการแพทย์
แพทย์จะทำการซักประวัติสุขภาพ และสอบถามว่ามีบุคคลในครอบครัว หรือญาติทางสายเลือดเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ จากนั้นจะทำการตรวจร่างกายเบื้องต้นและทดสอบอาการของโรคภูมิแพ้ เพื่อวินิจฉัยโรค ซึ่งทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 
การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง  แพทย์จะนำน้ำยาที่มีส่วนประกอบของสารก่อภูมิแพ้ทางอากาศหรือที่เป็นอาหารมาทดสอบกับผิวหนังของผู้ป่วย โดยผ่านการสะกิดที่ผิวหนัง จากนั้นจะให้ผู้ป่วยรอดูอาการประมาณ 20 นาที หากผู้ป่วยมีอาการแพ้บริเวณที่สะกิดผิวหนังของผู้ป่วยจะเกิดเป็นตุ่มนูนแดงขึ้นมา
การตรวจเลือดเพื่อหาสารภูมิต้านทานอิมมูโนโกลบูลินอีในเลือดของผู้ป่วยว่าก่อภูมิแพ้ใดบ้าง

การรักษาโรคภูมิแพ้อากาศ
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งการรักษาโรคภูมิแพ้โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น 3 วิธี ได้แก่  
1. การรักษาโรคภูมิแพ้โดยรับประทานยาแก้แพ้ 
  การรักษาโดยการรับประทานยาแก้แพ้ จะแบ่งเป็น  2 กลุ่ม ได้แก่ ยาแก้แพ้กลุ่มที่ช่วยลดการหลั่งของสารฮิสตามีน และอาการภูมิแพ้อื่น ๆ ได้ดี แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม และกลุ่มที่ 2 ได้แก่ ยาแก้แพ้กลุ่มที่ถูกพัฒนาโมเลกุลยาให้ใหญ่ขึ้น เพื่อไม่ให้เคมีของยาผ่านเข้าสู่สมอง และไปรบกวนระบบประสาทส่วนกลางจนทำให้ผู้ป่วยง่วงซึม         
2. การรักษาโรคภูมิแพ้โดยการฉีดวัคซีน
การฉีดวัคซีนภูมิแพ้ คือ การฉีดเอาสารภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันให้ทำปฏิกิริยาต่อสารที่คุณแพ้ และไม่ทำให้เกิดอาการแพ้อีก ผู้ป่วยที่เป็นภูมิแพ้สามารถฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ โดยช่วงแรกแพทย์จะฉีดวัคซีนเข้าที่แขนให้สัปดาห์ละครั้งแล้วสลับข้างกัน ระยะเวลาที่เข้ารับการฉีดวัคซีนภูมิแพ้จะอยู่ที่ประมาณ 3-5 ปี ซึ่งแพทย์จะให้หยุดรับวัคซีนได้ก็ต่อเมื่อไม่มีอาการแพ้แล้ว แต่หากผู้ป่วยยังมีอาการแพ้อยู่หรือผลจากการรับวัคซีนยังไม่ดีพอ แพทย์ก็อาจยืดระยะเวลาการรับวัคซีนอย่างต่อเนื่องไปอีก 1 ปีหรือมากกว่านั้นตามอาการ
3. การรักษาโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง นอกจากเป็นการรักษาโรคภูมิแพ้อากาศด้วยตนเองที่ได้ผลดี ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่เสียเวลาในการรักษา ยังเป็นการป้องกันตนเองจากอาการภูมิแพ้ได้เป็นอย่างดี เช่น
หลีกเลี่ยงอย่าเข้าใกล้ หรือที่เสี่ยงที่จะได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้ามาในร่างกาย
หมั่นทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ 
ตัดหญ้า และวัชพืชต่าง ๆ ที่คุณมีอาการแพ้
กำจัดแมลง เช่น มด แมลงสาบ ตัวต่อ แตนที่เสี่ยงจะกัดต่อย ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้
รักษาอุณหภูมิของร่างกายตนเองให้อบอุ่นเสมอ 
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ 
หากิจกรรมทำเพื่อคลายเครียดเสมอ 
ตากผ้า ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน พรมหรือผ้าปูรองต่าง ๆ ไว้ในที่แดดจัดเสมอเพื่อฆ่าเชื้อโรค
หลีกเลี่ยงไม่ในที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือที่สถานที่ที่มีสารเคมี
หากคุณแพ้ขนสัตว์ ควรหลีกเลี่ยงไม่เลี้ยงสัตว์ 
ฉีดยาป้องกันขนร่วง หรือบำรุงขนให้ไม่กลายเป็นฝุ่นละอองในบ้าน
โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นปัญหาสุขภาพที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง แต่อาการของโรคนี้จะไม่มีอันตรายต่อตัวคุณถ้าหากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ระมัดระวังการใช้ชีวิต รักความสะอาด และตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง  ก็สามารถรับมือและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคภูมิแพ้อากาศได้

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/allergic-rhinitis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

60

คนส่วนมากมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน ว่าเป็นการใช้เฉพาะฉุกเฉินหรือป้องกันการตั้งครรภ์จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ควบคุมเท่านั้น และอาจเข้าใจว่าการรับประทานยาคุมฉุกเฉินเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ ความเข้าใจเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่ และมีวิธีรับประทานอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ผล บทความนี้มีคำตอบครับ
ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร ?
ยาคุมฉุกเฉินเป็นยาที่ใช้รับประทานเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์หลังการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้คุมกำเนิด หรือเกิดความผิดพลาดจากการคุมกำเนิด เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด ลืมรับประทานยาคุมกำเนิด หรืออาจใช้ในกรณีถูกข่มขืน ยาคุมฉุกเฉิน แม้จะสามารถควบคุมการตั้งครรภ์ได้ แต่อาจไม่ได้ผลหรือปลอดภัยจากการตั้งครรภ์ 100%  รวมถึงยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ได้ และยังอาจส่งผลกระทบต่อรังไข่หรือมดลูก รวมถึงกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้
ชนิดของยาคุมฉุกเฉิน
ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน เป็นยารับประทาน ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน หรือเมื่อการคุมกำเนิดล้มเหลว เช่น ลืมรับประทานยาคุมกำเนิด 3 วันติดต่อกัน ถุงยางคุมกำเนิดแตก เลยกำหนดฉีดยาคุม หรือเกิดกรณีฉุกเฉินอื่น ๆ ชนิดของยาคุมฉุกเฉินที่มีใช้ในประเทศไทย ได้แก่
ยาคุมฉุกเฉินแบบ Levonorgestrel 1.5 mg. กิน 1 เม็ด หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า ยาคุมฉุกเฉินแบบฮอร์โมนเดี่ยว
ยาคุมฉุกเฉินแบบ Levonorgestrel 0.75 mg. กิน 2 เม็ด โดยครั้งแรกกับครั้งที่ 2 ห่างกัน 12 ชั่วโมง
ยาคุมฉุกเฉินฮอร์โมนรวม คือ การใช้ยาสองชุด แต่ละชุดประกอบด้วย Levonorgestrel 0.5 mg และ Ethinyl estradiol 0.1 mg. ใช้ห่างกัน 12 ชั่วโมง
การทำงานของยาคุมฉุกเฉิน
ยาคุมฉุกเฉินจะมีฮอร์โมนสังเคราะห์ ลีโวนอร์เจสเตรล ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เมื่อรับประทานจะช่วยระงับภาวะไข่ตกหรือช่วยชะลอภาวะไข่ตก รบกวนการเคลื่อนที่ของอสุจิที่จะเข้าไปผสมกับไข่ และเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อทำให้ยากแก่การฝังตัวของไข่ที่ผสมกับอสุจิแล้ว ทำให้ไข่ไม่สามารถปฏิสนธิกับอสุจิได้ 
วิธีการกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง
ยาคุมฉุกเฉิน 1 กล่อง จะมีตัวยา 2 เม็ด ประกอบด้วยตัวยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง คือ ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) เม็ดละ 750 ไมโครกรัม การกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง คือ ต้องกินเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกัน โดยไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง และไม่แนะนำให้กินยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่อง ต่อเดือน
ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉิน
การรับประทานยาคุมฉุกเฉินเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมง หลังการมีเพศสัมพันธ์ และจะต้องรับประทานยาเม็ดที่สองหลังจากรับประทานยาเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75%
หากมีการอาเจียนภายใน  2 ชั่วโมงหลังรับประทานยาแต่ละเม็ด  ต้องรับประทานยาใหม่
หากเริ่มรับประทานยาคุมฉุกเฉินภายใน 24 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ จะให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นเป็น 85%
หลังจากรับประทานยาคุมฉุกเฉินแล้ว ปกติจะมีประจำเดือนหลังจากรับประทานยาภายในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ หากไม่มี ให้สงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์
ยาคุมฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในแต่ละครั้งของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้วางแผนไว้เท่านั้น แต่ยาไม่มีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ไปตลอดรอบเดือนที่เหลือ ดังนั้นระหว่างรอบเดือนที่เหลือ จึงควรมีการคุมกำเนิดแบบอื่นร่วมด้วย

Food photo created by freepik – www.freepik.com

ผลข้างเคียงของการใช้ยาคุมฉุกเฉิน
การกินยาคุมฉุกเฉินในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยจะเป็นอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก เช่น
ประจำเดือนคลาดเคลื่อน อาจเป็นประจำเดือนช้าหรือเร็วกว่าปกติ
ประจำเดือนอาจมาน้อย เลือดมีเลือดออกกะปริดกะปรอย ระหว่างเดือน
มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เวียนหัว 
อาจมีอาการเจ็บคัดที่เต้านม
มีภาวะทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
ข้อควรระวังในการใช้ยาคุมฉุกเฉิน 
การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน มีฤทธิ์ต่อเยื่อบุโพรงมดลูกและอาจมีภาวะผิดปกติหลังรับประทานยา  ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก
มีผลการศึกษาพบว่าการกินยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้ร่างกายขาดแคลเซียม
ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีไว้เพื่อการคุมกำเนิดระยะยาว อีกทั้งปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในยาคุมฉุกเฉินที่มีสูงกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติถึง 2 เท่า การกินในระยะยาวอาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม
ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาคุมฉุกเฉิน
เป็นหรือเคยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
มีอายุมากกว่า 35 ปี 
เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
มีภาวะไขมันในเลือดสูง
เป็นผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
ยาคุมฉุกเฉิน ผลิตขึ้นเพื่อช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์กรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ การถูกข่มขืน เกิดการฉีกขาดของถุงยางอนามัย หรือเกิดความผิดพลาดอื่น ๆ สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สำหรับการใช้ยาคุมกำเนิดของคู่สามีภรรยาที่ต้องการคุมกำเนิดแบบระยะยาว แม้ยาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ไม่แนะนำให้ใช้และควรปรึกษาแพทย์ หรือเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและดีกว่า

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/emergency-contraceptive-pills/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

61

อาการเจ็บป่วยที่เกิดจากความเครียด หรือมีภาวะเครียดสะสม ส่งผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน อารมณ์แปรปรวน ซึ่งพบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน และถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่นอกจากสามารถเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวได้แล้ว ยังอาจเกิดขึ้นกับตัวเราเองได้ ไบโพล่าร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคหนึ่งที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นอาการของโรคนี้หรือภาวะเครียดทั่วไป บทความนี้มีคำตอบครับ

โรคไบโพล่าร์ (อารมณ์สองขั้ว) คืออะไร ?
ไบโพล่าร์ คือโรคที่มีความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างช่วงอารมณ์ซึมเศร้าสลับกับช่วงที่อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ โดยอาการเหล่านี้อาจอยู่นาน เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน และจะมีช่วงที่เป็นปกติคั้นกลาง ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และการเข้าสังคม

อาการของโรคไบโพล่าร์ 
ผู้ป่วยไบโพลาร์ จะมีอารมณ์แปรปรวนสลับกันระหว่างอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ กับอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติโดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใด ๆ และอาการของโรคไบโพล่าร์ที่เห็นได้ชัดจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ และภาวะซึมเศร้า ซึ่งลักษณะอาการจะแตกต่างกัน ดังนี้ 

ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ 
รู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มั่นใจในตัวเองเพิ่มมากขึ้นหรือคิดว่าตนเองยิ่งใหญ่
อารมณ์ดี และร่าเริงจนเกินไป อยู่ไม่นิ่ง
โต้ตอบต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย อารมณ์ไม่คงที่ ไม่มีเหตุผล
ทำกิจกรรมต่าง ๆ มาก ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน
 คิดเร็ว พูดเร็ว ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
มีความต้องการทางเพศสูง อาจมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้าได้ง่าย
มีความประมาทในการใช้ชีวิต ใช้เงินฟุ่มเฟือย
ภาวะซึมเศร้า
รู้สึกอ่อนเพลีย ร่างกายไม่สดชื่น นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
ซึมเศร้า เสียใจง่าย ร้องไห้ 
ท้อแท้ ชีวิตสิ้นหวัง รู้สึกตนเองไร้ค่า
วิตกกังวลต่อสิ่งต่าง ๆ 
ไม่มีความสุขในชีวิต ไม่มีอารมณ์ขันหรือสนุกสนาน
รู้สึกผิดหวัง อยากฆ่าตัวตาย
มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ จำสิ่งต่าง ๆ ไม่ได้
ความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง
มีปัญหาในการนอนไม่หลับ บางครั้งอาจนอนมากจนเกินไป หรือนอนน้อยจนเกินไป
มีปัญหาในด้านการรับประทานอาหาร บางครั้งอาจรับประทานอาหารมาก หรือน้อยจนเกินพอดี 
มีแนวโน้มใช้สารเสพติด
ภาวะแทรกซ้อนที่มากับโรคไบโพลาร์
อาการแทรกซ้อนของไบโพลาร์ที่พบได้แก่ การทำร้ายตัวเองเพื่อควบคุมอารมณ์ความรู้สึกด้านลบ โดยมีผู้ป่วยร้อยละ 10-15 ที่พยายามฆ่าตัวตาย นอกจากนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่ใช่จะมีความผิดปกติเฉพาะทางด้านอารมณ์เท่านั้น และมีผลงข้างเคียงที่สามารถเกินสภาวะแทรกซ้อน อื่น ๆ ได้ อย่างเช่น โรคทางจิต โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเกี่ยวกับสมาธิหรือความปกติในการรับประทานอาหาร 


Background photo created by pressfoto – www.freepik.com

การวินิจฉัยโรคไบโพล่าร์ 
ผู้ป่วยไบโพล่าร์จะต้องทำการรักษาโดยจิตแพทย์  เมื่อพบจิตแพทย์จะถูกตั้งคำถามจากคู่มือการวินิจฉัยความผิดปกติทางจิต เพื่อทดสอบว่าผู้ป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่ แพทย์จะทำการซักถามลักษณะอาการและปัญหา ซักประวัติครอบครัวว่ามีญาติที่เคยประสบปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ ซักถามเคยมีความคิดที่เป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ และสอบถามเกี่ยวกับประวัติการใช้ยาที่อาจมีผลกระทบต่ออารมณ์ เพื่อวิเคราะห์ภาวะความรุนแรงของโรคแล้วจึงจัดเตรียมหรือวางแผนขั้นตอนการรักษา

การรักษาโรคไบโพล่าร์
ผู้ป่วยไบโพล่าร์  เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์แล้ว จะได้รับการรักษาตามที่เหมาะสมกับความรุนแรงและลักษณะอาการ โรคไบโพลาร์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถใช้ยาปรับสมดุลสารสื่อประสาทและการบำบัดเพื่อช่วยบรรเทาและควบคุมอาการป่วยได้ ดังนี้

การรักษาด้วยยา ผู้ป่วยจะต้องรับยาปรับสารเคมีในสมอง ยาจะช่วยทำให้อารมณ์มั่นคงและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น เช่น ยาควบคุมอารมณ์ ยาต้านโรคจิต และยาต้านเศร้า มักใช้ช่วงสั้น ๆ ในระยะที่มีอาการซึมเศร้า
การรักษาด้วยการบำบัด เป็นการรักษาฟื้นฟูทางด้านร่างกาย ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรับษาบำบัดจากจิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องรับคำปรึกษาและการบำบัดทางจิต การเข้าร่วมกลุ่มบำบัดกับผู้ป่วยคนอื่น ๆ และการศึกษาเกี่ยวกับโรคความผิดปกติทางจิตและอารมณ์ที่ตนเป็นอยู่ เพื่อให้รับมืออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น โดยกิจกรรมบำบัดที่มีประโยชน์ เช่น ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัดและโยคะ


การดูแล และป้องกันโรคไบโพลาร์
หมั่นสังเกตพฤติกรรม อารมณ์ของผู้ป่วยก่อนที่อาการจะกำเริบ เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด
ศึกษาและทำความเข้าใจผู้ป่วย ทำให้ดูแลป้องกันอาการของโรคได้อย่างถูกต้อง
หลีกเลี่ยงหรือไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยไบโพลาร์อยู่ตามลำพัง
หากิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ทำ เช่น ดูหนังที่ผู้ป่วยชอบ เล่นเกมส์ พูดคุย หรือพาไปในสถานที่ใหม่ ๆ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเพลิดเพลินผ่อนคลาย
พบแพทย์และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ไบโพลาร์ เป็นโรคเกี่ยวกับอารมณ์ จึงไม่มีวิธีดูแลรักษาให้หายจาดได้ 100 % แต่สามารถป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ และไบโพลาร์ ยังเป็นโรคทางอารมณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน การดูแลสุขภาพจิตใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ และหากมีอาการของโรคนี้แล้ว ควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนในสังคมได้อย่างคนปกติทั่วไป


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/bipolar-disorder/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

62

อาการปวดหลัง เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบใด้บ่อยในกลุ่มของวัยทำงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่นาน ๆ หรือในกลุ่มคนที่ต้องทำงานหนักหรือต้องใช้แรง และเมื่อเกิดอาการปวดหลังหากปล่อยละเลยไม่รีบดูแลรักษา หรือหายาแก้ปวดมาทานเองเพราะคิดว่าไม่อันตราย นอกจากรักษาอาการปวดไม่หายแล้ว อาการของโรคอาจรุนแรงจนยากต่อการรักษา เพื่อรู้ทันอาการปวดหลัง เรามีความรู้มาแนะนำครับ

โรคปวดหลัง คืออะไร ?
ปวดหลัง เป็นอาการปวดเหมือนกับการปวดอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากหรือน้อยแตกต่างกันไปตามอาการ ลักษณะการปวดหลังอาจเริ่มจากการปวดแบบเรื่อย ๆ ไม่รุนแรง แต่ปวดอย่างต่อเนื่อง หรือมีอาการปวดแบบเฉียบพลัน ปวดเสียวแปลบ ซึ่งทำให้ยากต่อการเคลื่อนไหว 

สัญญาณเตือนอันตรายจากการปวดหลัง 
อาการปวดหลังเกิดจากหลายปัจจัย และมีอาการแสดงแตกต่างกันโดยส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เช่น ก้มเงย บิดตัวไปมา นั่งในท่าเดิมนาน ๆ ทำงานหรือเล่นกีฬา อาการเหล่านี้มักจะดีขึ้นและหายได้เองภายใน 2-4 สัปดาห์ ส่วนสัญญาณเตือนอันตรายจากการปวดหลังที่ควรพบแพทย์ ได้แก่ ปวดหลังปวดรุนแรงฉับพลันมีอาการชา อ่อนแรง ไม่สามารถขยับร่างกายได้ และมีอาการปวดนานเกิน 4 สัปดาห์หากอาการปวดไม่หายควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป

สาเหตุหลักของการปวดหลังเรื้อรัง 
อาการปวดหลัง แม้จะเกิดขึ้นจากการทำงานหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนั่งทำงาน การขับรถทางไกล หรือใช้แรงงานที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ ซึ่งสามารถหายได้เอง แต่หากไม่ได้รับการดูแลรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจกลายเป็นปวดหลังเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น สาเหตุหลักของอาการปวดเรื้อรัง ได้แก่

ข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม เนื่องจากกระดูกข้อเป็นส่วนที่ขยับได้ เมื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักและเคลื่อนไหว กระดูกอ่อนจะทำหน้าที่ลื่นและลดแรงเสียดทานไปพร้อม ๆ กัน จึงทำให้กระดูกอ่อนสึกและบางลงได้  และเป็นสาเหตุทำให้กระดูกออนสึกและเสื่อม ส่งผลให้เกิดผลการปวดหลังเรื้อรัง
กระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง หรือ ปวดร้าวลงสะโพก และ ขา ทำให้เคลื่อนไหวยากลำบาก และเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ปวดจากหมอนรองกระดูกหลัง เนื่องจากหมอนรองกระดูกหลังที่เสื่อมจะทำให้มีสารอักเสบออกมาบริเวณรอบ ๆ และส่งผลให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง
ปวดจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อหนึ่งมัด หรือมากกว่าเกิดการอักเสบ แล้วมีอาการปวดร้าวลามไปบริเวณหลัง 


การวินิจฉัยทางการแพทย์ 
แพทย์จะทำการตรวจสอบประวัติพื้นฐานของผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังแบบเรื้อรัง
ตรวจสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยจะดูจากการนั่ง การยืน การเดิน การยกขา และรวมไปถึงการเคลื่อนไหวของแผ่นหลัง
สอบถามหรือซักถามเกี่ยวกับลักษณะการทำงาน และการดำเนินชีวิตประจำวัน
ตรวจและสอบถามเกี่ยวกับลักษณะอาการปวด รวมทั้งระยะเวลาที่เริ่มมีอาการปวดหลัง เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการรักษาอย่างถูกวิธี
แนวทางการรักษาโรคปวดหลัง  
สำหรับแนวทางการรักษา หลังจากแพทย์วินิจฉัยเหาสาเหตุของอาการปวดหลังได้แล้ว จะแบ่งการรักษาออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่ การรักษาโดยการใช้ยา และการรักษากายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย ดังนี้

1. การรักษาโดยการใช้ยา 
ได้แก่

ยาคลายกล้ามเนื้อ
ยาแก้ปวด เช่น ไทลีนอล ยาไอบูโปรเฟน มอตรินไอบี ยานาพรอกเซน และโซเดียม 
ยาทาบรรเทาอาการปวดเฉพาะที่
การรักษาระยะสั้น และอยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยใช้ยาโคเดอีน ไฮโดรโคโดน
การฉีดยาคอร์ติโซน
2. รักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดและการออกกำลังกาย
นักกายภาพบำบัดจะทำการรักษาอาการปวดหลัง โดยใช้วิธีการบำบัด เช่น ความร้อน อัลตร้าซาวด์ การกระตุ้นด้วยคลื่นไฟฟ้า หรือวิธีการคลายกล้ามเนื้อบริเวณกล้ามเนื้อหลังและเนื้อเยื่ออ่อนเพื่อลดอาการปวด 

3. รักษาโดยการการให้คำปรึกษา
แพทย์หรือผู้เชียวชาญ จะให้ความรู้กับผู้ที่ปัญหาอาการปวดหลัง และแนะนำวิธีจัดการกับอาการอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การดูวิดิโอให้ความรู้ การทำกิจกรรมหรือหาวิธีลดความกังวลและความเครียด แนะนำวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้

4. รักษาโดยการผ่าตัด
ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง รวมทั้งมีอาการเจ็บหลังต่อเนื่องร่วมกับอาการเจ็บแปลบบริเวณขา มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างต่อเนื่อง จากเส้นประสาทถูกกดทับ แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัด


Medicine bottles and tablets on wooden desk

วิธีป้องกันตนเองจากโรคปวดหลัง
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปวดหลังมาจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไป  ส่งผลให้เอว และหลังมีการรับน้ำหนักมากกเกินไป กรณีมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและมีอาการปวดหลัง ควรลดน้ำหนัก เพื่อป้องกันอาการปวดหลังเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อการชีวิตประจำวัน
การนอนในท่าหงายเป็นเวลานาน ๆ ทำให้นำหนักของร่างกายกดลงไปที่กระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ควรนำหมอนมารองใต้ขาเวลานอน ส่วนการนอนตะแครง ให้นำหมอนสอดไว้ระหว่างขา จะช่วยการลงน้ำหนักของตัวป้องกันอาการปวดหลังได้ดี
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรเลือกการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เป็นการเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องและหลังมีความแข็งแรงและลดความเสี่ยงของอาการปวดหลังได้
การสวมรองเท้าส้นสูง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหลัง ควรเลือกสวมรองเท้าที่ใส่แล้วสบาย รองเท้าที่มีส้นไม่เกิน 1 ซม. หรือสวมรองเท้าส้นเตี้ยช่วยลดอาการปวดหลังเวลาเดินได้
หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน โดยควรเปลี่ยนอิริยาบถอย่างน้อย ทุก 20-45 นาที
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การยกของหนักเป็นสาเหตุหลัก ทำให้เกิดอาการปวดหลัง 
บำรุงกระดูก ด้วยการรับประทานแคลเซียม
ดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน
อาการปวดหลัง แม้อาการปวดจะไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่การป้องกันย่อมดีกว่าการดูแลรักษา เมื่อมีอาการปวดหลังควรหมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติ หากมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องและปวดนานเกินกว่า 3-4 สัปดาห์ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจกลายเป็นอาการปวดหลังเรื้อรังที่ยากต่อการรักษาได้


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/back-pain-signals-something-serious/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

63

หัวใจ เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยปกติหัวใจของคนจะเต้นประมาณ 80 ครั้งต่อนาที และในทุก ๆ วันหัวใจของคนเราจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณ 2,000 แกลอน ส่วนอาการผิดปกติของหัวใจที่พบได้ก็คือ หัวใจโต หรือภาวะหัวใจโต  โรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงของหัวใจโตและโรคหัวใจเกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันรักษาหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ
หัวใจโต และสาเหตุของภาวะหัวใจโต
หัวใจโต ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่หรือหนากว่าปกติ หัวใจโตที่มีขนาดโตว่าปกตินั้นอาจแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่
หัวใจโตจากกล้ามเนื้อที่หนาตัวกว่าปกติ เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือลิ้นหัวใจตีบ อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น
หัวใจโต เพราะกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก ทำให้ขนาดของหัวใจโตขึ้น
อาการของหัวใจโตและโรคหัวใจ
ผู้ที่มีภาวะหัวใจโตส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยแสดงอาการหากหัวใจยังทำงานปกติ กรณีหัวใจทำงานผิดปกติก็จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจเร็ว เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย ใจสั่น บวมบริเวณเท้าช่วงสายของวันไอ โดยเฉพาะเวลานอนและนอนราบไม่ได้เนื่องจากแน่นหน้าอก 
สัญญาณบ่งบอกของโรคหัวใจและภาวะหัวใจโต
โดยทั่วไป อาการที่เป็นสัญญาณความเสี่ยงของหัวใจโตและโรคหัวใจ มีลักษณะอาการที่สามารถบ่งบอกได้ ดังนี้
อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ตัวอย่างเช่น คนที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่จะรู้สึกเหนื่อยเมื่อออกกำลังไปได้ระดับหนึ่ง แต่ในกรณีของคนที่เริ่มต้นมีอาการของโรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยมากผิดปกติ ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก จะรู้สึกแน่นบริเวณกลางหน้าอกคล้ายมีของหนักทับ ทำให้รู้สึกเหนื่อยและหายใจอึดอัด หากอาการรุนแรงอาจเป็นลมหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน
อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากร่างกาย จะพบว่าปริมาณออกซิเจนในเลือดมีน้อยลง เนื่องจากทางเดินของเลือดในหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ นอกจากนั้นยังอาจมีอาการ ขา หรือเท้าบวมโดยไม่ทรายสาเหตุ
อาการผิดปกติที่พบจากการตรวจร่างกาย เช่น ในคนที่มีการตรวจร่างกายประจำปี หรือตรวจพบร่วมกับโรคประจำหรือโรคเรื้อรังที่ต้องไปพบแพทย์ตามนัด และอาจตรวจพบความผิดปกติที่บ่งบอกได้ว่า มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น พบไขมันในเลือดสูง หรือมีอาการของโรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของภาวะหัวใจโตและโรคหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคหัวใจ และภาวะหัวใจโต เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด และสาเหตุอื่น ๆ  เช่น
กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวไม่ดี มีเลือดคั่งค้างในห้องหัวใจมาก
เกิดจากพันธุกรรม  คนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับโรคหัวใจ
ความดันโลหิตสูง คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจเต้นเร็วและทำงานหนัก เนื่องจากหัวใจต้องใช้พลังงานในการสูบฉีดโลหิตมากกว่าปกติ
ขาดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดสูง
.ความเครียด เพราะความเครียดทำให้หัวใจเต้นแรงโดยที่เป็นไม่รู้ตัว
.ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด ไขมันในเส้นเลือดสูง และโรคอ้วน
การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์   

Heart photo created by diana.grytsku – www.freepik.com

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและภาวะหัวใจโต
การซักประวัติและตรวจร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การตรวจวินิจฉัยด้วยการถ่ายภาพรังสีของทรวงอก
การตรวจระดับเอนไซม์กล้ามเนื้อหัวใจในเลือด
การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่น ๆ ตามที่แพทย์เห็นสมควร
การรักษาภาวะหัวใจโตและโรคหัวใจ
การรักษาภาวะหัวใจโตและโรคหัวใจ แบ่งออกเป็นการป้องกัน เช่น หมั่นตรวจเช็คความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายเป็นประจำ งดบุหรี่และสุรา ส่วนการรักษาอาการของโรค หรือภาวะหัวใจโต ได้แก่ การรับประทานยา  สวนหลอดเลือดหัวใจ จี้ไฟฟ้าหัวใจและผ่าตัดทั้งนี้ขึ้นกับอาการหรือรักษาตามลักษณะอาการ
วิธีป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และภาวะหัวใจโต
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที และควรเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตนเอง
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมอาหารให้มีความพอดี ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
หากิจกรรมนันทนาการเพื่อคลายเครียด ควบคุมอารมณ์และดูแลสุขภาพจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ
งดเว้น หรือหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
หัวใจโต ไม่ใช่โรคและสามารถรักษาได้หากตรวจพบอาการและไม่อยู่ในขั้นรุนแรง หรือแม้แต่โรคหัวใจที่ถือเป็นภัยเงียบ หากหมั่นดูแลสุขภาพและตรวจพบความผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งบอกได้เร็ว ก็สามารถรักษาให้หายได้ โดยวิธีการรักษาหรือแนวทางในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการ และร่างกายของคนไข้ ว่าเหมาะกับการรักษาวิธีใด โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/cardiomegaly-risk-factors-prevented/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

64

“ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ประโยคที่มีความหมายไม่ได้เกินไปจากความเป็นจริง เพราะการไม่มีโรคไม่มีปัญหาสุขภาพถือเป็นความโชคดี โดยเฉพาะโรคบางอย่างที่เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร แต่คนที่ไม่มีอาการบ่งบอก หรือไม่เคยไปตรวจสุขภาพประจำปี ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปราศจากโรคภัย เพราะภัยเงียบจากโรคร้ายเกิดขึ้นได้เสมอ เส้นเลือดหัวใจตีบ คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรไว้วางใจเพราะอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการบ่งบอก

เส้นเลือดหัวใจตีบ คืออะไร ?
เส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดจากหลอดเลือดที่เข้าไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบแคบลง เนื่องจากมีคราบไขมันและหินปูนไปเกาะภายในผนังหลอดเลือด ทำให้ปริมาณเลือดไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอตามความต้องการ ทำให้โรคนี้เป็นสาเหตุของการตายอยู่ในอันดับต้น ๆ ของคนไทย

อาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 
เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคอันตรายที่บางครั้งอาจไม่มีสัญญาณใด ๆ บ่งบอกเลย เช่นผู้ที่เป็นโรคประจำตัวหรือเป็นผู้ป่วยเบาหวาน อาจจะไม่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก แต่จะมีอาการหัวใจวาย เช่น เหนื่อยหอบง่าย บางรายอาจมาโรงพยาบาลด้วยอาการหัวใจหยุดเต้น ส่วนอาการรที่พได้จากโรคนี้คือ เจ็บแน่นหน้าอกร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อออกแรง แต่เมื่อนั่งพักจะดีขึ้น

ความรุนแรงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
อาหารของผู้ป่วยในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอย่างรุนแรงจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น หากนำตัวส่งโรงพยาบาลไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้


Heart vector created by brgfx – www.freepik.com

สาเหตุของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 2
เส้นเลือดหัวใจตีบหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่เกิดจากผนังหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัว เนื่องจากมีไขมันเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือดที่เรียกว่า  “ตะกรันท่อหลอดเลือด”  ซึ่งจะค่อยๆพอกตัวหนาขึ้นจนทำให้ช่องทางเดินของเลือดตีบและแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย  เมื่อมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ กล้ามเนื้อหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นในการเผาผลาญให้เกิดพลังงาน หากเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกขึ้นชั่วขณะ

ในกรณีที่ตะกรันท่อหลอดเลือดที่เกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจเกิดการฉีกขาดหรือแตก  เกล็ดเลือดก็จะจับตัวเป็นลิ่มเลือดอุดตันช่องทางเดินเลือด หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นเวลานานจนเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือที่เรียกว่า “โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน”

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยแบ่งออกเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้  และปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุม ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
เพศ เส้นเลือดหัวใจตีบ เป็นโรคที่พบว่าผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่า แต่เมื่อเข้าสู่วัยทองผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบมากขึ้น
กรรมพันธุ์ ลักษณะของโรคนี้ พบว่าหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมาก่อน ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็สูงด้วยเช่นกัน
อายุ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ พบว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปหรือมากกว่า 55 ปีในผู้ชายและอายุ 60 ปีหรือมากกว่า 65 ปีในผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าคนอายุน้อย
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้
ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พบว่าผู้ที่นั่งอยู่กับที่มีอกาสเกิดโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมากถึง 2 เท่า นอกจากนั้นการออกกำลังกายยังช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงอีกด้วย
พฤติกรรมการบริโภค พบว่าการรับประทานอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช และอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป  มีโอกาสเกิดคอเลสเตอรอลสูง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือเส้นเลือดหัวใจตีบ
การดื่มกาแฟ ในคนที่ดื่มกาแฟมาก ๆ วันละ 3-4 แก้วหรือมากกว่า จะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้น และมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
น้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน และมีไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ภาวะเครียด ในคนที่มีความเครียดบ่อย ๆ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเกิดการทำลายของชั้นเซลล์ผนังหลอดเลือด

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยวิธีผ่าตัด
การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องเปิดช่องอก ต้องใช้ยาเพื่อหยุดการเต้นของหัวใจและใช้อุปกรณ์พิเศษช่วย เพื่อให้เลือดยังสามารถไหลเวียนไปทั่วร่างกายโดยไม่ผ่านหัวใจ จนกว่าการผ่าตัดจะเสร็จสิ้น
การผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจ วิธีการผ่าตัดบายพาสแบบนี้จะเปิดช่องอกคล้ายกับวิธีแรก แต่แพทย์จะไม่ใช้ยาเพื่อหยุดการเต้นของหัวใจและจะไม่ใช้อุปกรณ์พิเศษที่ใช้สูบฉีดเลือด
การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบแผลเล็ก  เป็นการผ่าตัดด้วยอุปกรณ์พิเศษ ซึ่งจะทำให้แพทย์ไม่ต้องทำการเปิดช่องอก มักนิยมทำในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันอยู่ที่บริเวณด้านหน้าของหัวใจ วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจมากกว่า 1 เส้น
การดูแลหลังผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ
แพทย์ จะให้คนป่วยพักในห้อง CCU ประมาณ 2 วัน เพราะเมื่อออกมาจากห้องผ่าตัดใหม่ ๆ คนไข้อาจมีท่อช่วยหายใจอยู่ด้วย เมื่อคนไข้ฟื้นดีแล้ว พยาบาลจะนำท่อช่วยหายใจออก  เพื่อให้คนป่วยหายใจเอง
เมื่อคนป่วยหายใจเอง จะถูกส่งตัวจากห้อง CCU ไปพักที่ห้องพักที่มีเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจ
กรณีที่คนป่วยแข็งแรง สามารถเดินไปห้องน้ำได้เอง แต่ก็จะต้องมีนักกายภาพบำบัดเข้ามาคอยดูแล ช่วยฟื้นฟู โดยปกติแล้วคนไข้จะพักฟื้นที่โรงพยาบาลราว 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด 
หลังจากกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามอาการและ
ผลการรักษา
เส้นเลือดหัวใจตีบ แม้จะเป็นโรคที่บางครั้งอาจไม่แสดงอาหารหรือมีสัญญาณบ่งบอก การตรวจสุขภาพประจำ คือแนวทางหนึ่งที่ช่วยป้องอันตรายจากโรคนี้ได้ หรือหากมีอาการเจ็บหน้าอกไม่ว่าจะลักษณะใด ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการในเบื้องต้น เพื่อช่วยให้ห่างไกลและปลอดภัยจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/coronary-artery-disease-symptoms/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

65

ปกติภายในดวงตาของคนเราจะมีวุ้นตา ลักษณะเป็น เจล หนืด ใส อยู่ในช่องของดวงตาด้านหลัง ซึ่งทำหน้าที่คอยยึดติดกับจอตาที่บุอยู่รอบ ๆ ภายในลูกตาเพื่อทำให้ดวงตาคงรูปร่างไว้ แต่จะเป็นอย่างไรเมื่อเกิดปัญหาวุ้นตาเสื่อม ภาวะวุ้นตาเสื่อมคืออะไร อันตรายหรือไม่ และการดูแลรักษาควรทำอย่างไร ใครที่ทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ และมีอาการตาแห้ง คำถามเหล่านี้มีประโยชน์มาก เราก็มีคำตอบมาฝากด้วยครับ
วุ้นตาเสื่อม คืออะไร ?
วุ้นตาเสื่อม คือสภาพที่วุ้นตาได้เสื่อมตัวลงโดยปกติวุ้นตาของคนเราประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังมีโปรตีน ไฟเบอร์ เช่น คอลลาเจน กรดไฮยาลูโรนิก และเกลือแร่ต่าง ๆ เมื่ออยู่ในภาวะวุ้นตาเสื่อมก็จะกลายเป็นน้ำ ไฟเบอร์และสารที่อยู่ในวุ้นตาจะหดตัวลง จากนั้นก็จะจับเป็นก้อนตกตะกอนวุ้นตาที่เสื่อมตัวลงนี้จะหลุดลอกออกจากผิวของจอตา เมื่อแสงผ่านวุ้นตาที่เสื่อมลง ทำให้ผู้ที่เป็นวุ้นตาเสื่อมมองเห็นเป็นเงาดำๆหรือเป็นจุดเล็ก ๆ หรือเป็นวงสีดำลอยไปลอยมาอยู่ในดวงตา
อันตรายตจากภาวะวุ้นตาเสื่อม ?
ในรายที่พบว่ามีอาการวุ้นตาเสื่อมที่รุนแรง เมื่อเกิดภาวะวุ้นตาลอกซึ่งอาจเกิดจากการดึงรั้ง ทำให้วุ้นตาในส่วนที่ยึดเกาะแน่นขาดลง ก็จะทำให้จอตาเกิดฉีกขาดตามมาด้วย กรณีนี้จะทำให้ผู้ที่เป็นมีอาการเห็นแสงไฟสว่างขึ้นในลูกตาได้ การฉีกขาดจนจอตาหลุดลอกก็อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรหรือตาบอดได้
วุ้นตาเสื่อม เกิดจากอะไร ?
ภาวะวุ้นตาเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย เช่น ภาวะที่เป็นการเปลี่ยนแปลงของวุ้นตาตามธรรมชาติ ไม่มีอันตราย และไม่ต้องทำการรักษา ส่วนสาเหตุหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการวุ้นตาเสื่อมที่ต้องดูแลรักษา ได้แก่
อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีเป็นต้นไป มักพบอาการวุ้นตาเสื่อม โดยสาเหตุนี้จะพบบ่อยมากที่สุด
การอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หน้าจอโทรศัพท์ การดูหนัง การอ่านหนังสือ การใช้สายตาเพ่งเป็นเวลานาน ๆ หรือการเลื่อนแป้นตัวอักษร การเลื่อนดูเนื้อหาบนหน้าจอ เป็นเหตุที่ทำให้ตาต้องปรับโฟกัสบ่อย ๆ ทำให้กล้ามเนื้อสายตาต้องทำงานหนัก
การติดเชื้อหรือการอักเสบของวุ้นและจอตา ซึ่งมักมาจากการอักเสบจากภาวะ ผู้ที่มีสายตาสั้น
เกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา จนทำให้เลือดออกมาในน้ำวุ้นตาหรือเกิดเป็นโรคที่ทำให้หลอดเลือดเกิดความผิดปกติ

Business photo created by katemangostar – www.freepik.com

อาการของโรควุ้นตาเสื่อม เป็นอย่างไร ?
เห็นจุด หรือเส้นเล็ก ๆ ลอยไปมาขณะที่มองท้องฟ้า บนพื้นผนังเรียบ ๆ สีขาวหรือเวลากลอกลูกตา 
ในระยะแรกที่เป็นมักจับความรู้สึกหรือมองเห็นวุ้น เป็นเส้นหรือจุดสีดำลอยไปมาได้อย่างชัดเจน แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ที่เป็นมักเกิดอาการเคยชินจนมองไม่เห็น
ในกรณีที่วุ้นหดตัวลงมาก ๆ และขณะหลุดลอก ก็อาจจะมีการดึงรั้งผิวจอตา เมื่อเป็นเช่นนี้มักมีอาการเห็นเป็นแสงสว่างวาบ เหมือนสายฟ้าแลบหรือคล้ายแสงไฟแฟลช ทั้งในขณะที่ลืมตาหรือหลับตาและโดยเฉพาะในที่มืด และเมื่อจอตาถูกดึงรั้งลดลง อาการเหล่านี้ก็จะหายไป
ในบางรายพบว่าวุ้นที่เสื่อมมีการดึงรั้งหลอดเลือดที่จอตา จนหลอดเลือดฉีกขาด เกิดเลือดออกในดวงตา ผู้ที่มีลักษณะนี้จะเกิดอาการเลือดออกวุ้นตาและเกิดเงาดำ ๆ เพิ่มมากขึ้น หรือในกรณีที่รุนแรงหากวุ้นตาติดแน่นมาก ๆ กับจอตา ก็อาจดึงจนทำให้จอตาฉีกขาด จนจอตาลอก ในกรณีนี้อาจส่งผลให้เสียการมองเห็นอย่างถาวรได้
การรักษาต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดเป็นวุ้นตาเสื่อม
ในกรณีที่เกิดอาการรุนแรงเช่น วุ้นในตาเกาะจอตาแน่นและขณะลอกตัวเกิดการดึงรั้งจนจอตาฉีกขาด ต้องรีบมาพบจักษุแพทย์ โดยแพทย์จะตรวจตาส่วนหน้าก่อน และหลังจากนั้นจะหยอดยาขยายม่านตา เพื่อทำการขยายรูม่านตาเพื่อตรวจจอตาและวุ้นตา
หากตรวจพบว่ามีการฉีกขาดของจอตา แพทย์จะทำการปิดรอยฉีกขาดและป้องกันการเกิดจอตาหลุดลอกออกมา ด้วยการใช้แสงเลเซอร์หรือใช้การจี้ด้วยความเย็น
การเตรียมตัวและการดูแลตนเองหลังการรักษา
หลังการหยอดยาขยายม่านตา จะทำให้มีอาการตาพร่ามัวไม่สามารถสู้แสงจ้าได้ ใช้สายตามองใกล้ไม่ได้หลังจากนั้น 4-6 ชั่วโมงอาการข้างเคียงของยาขยายม่านตาก็จะหายไป ดังนั้นเพื่อให้ปลอดภัยขณะเดินทางมารักษาจึงไม่ควรขับรถมาเพียงลำพังด้วยตนเอง และหลังการหยอดยาควรสวมใส่แว่นกันแดดเพื่อเป็นการลดแสงจ้าที่จะมากระทบดวงตาอีกด้วย
ในกรณีเป็นผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรมีการตรวจสายตาเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์ในที่มืด เพราะอาจทำให้สายตาสั้นได้ง่าย ซึ่งก็จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดวุ้นตาเสื่อมได้ง่ายเช่นกัน
วุ้นตาเสื่อมกรณีเป็นน้อย เป็นเพียงเห็นจุดดำขณะเพ่งมองเท่านั้น ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะอาการจะดีขึ้นเอง อีกทั้งควรสังเกตถึงปัจจัยที่จะทำให้เกิดวุ้นดึงจอตาด้วยเช่นการเกิดอุบัติที่รุนแรง การมีเลือดออกที่จอตาและอาการไม่ดีขึ้น ซึ่งก็อาจเกิดการดึงรั้งจอตาจนอาจเป็นอันตรายได้ กรณีนี้ต้องไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้ทันท่วงที

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/vitreous-degeneration/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

66

ตับถือเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาอวัยวะภายใน และยังมีหน้าที่สำคัญหลายประการ โดยการทำงานของตับจะต้องอาศัยการทำงานของเซลล์ตับซึ่งหน้าที่หลักก็คือการผลิตน้ำดี เพื่อแปรสภาพสารพิษและยาที่อยู่ในร่างกายให้สามารถขับถ่ายออกไป หรือเรียกกระบวนการนี้ว่าเมแทบอลิซึมของยา และนอกจากหน้าที่หลักนี้แล้ว ตับยังทำหน้าที่ควบคุมกระบวนสังเคราะห์คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ของคนที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ดังนั้นเมื่อตับเกิดปัญหากหรือมีไขมันพอกตับ ระบบการทำงานของร่างกายก็จะผิดปกติและมีปัญหาสุขภาพตามมาด้วย

ไขมันพอกตับ คืออะไร ?
โดยปกติไขมันในร่างกายของคนเราจะเป็นแหล่งพลังงาน มีข้อดีก็คือเมื่ออดอาหารร่างกายก็จะนำพลังงานในส่วนนี้ออกมาใช้ทดแทน ซึ่งแหล่งเก็บพลังงานที่สำคัญในร่างกายแบ่งออกเป็น 2 จุดใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณพุงหรือหน้าท้อง และอีกจุดถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดได้แก่ตับ  เมื่อเกิดความผิดปกติของกลไกในการใช้พลังงานภายในร่างกายลดน้อยลง หรือร่างกายสร้างไขมันมากขึ้นจากการทานอาหาร ก็จะส่งผลให้มีไขมันไปสะสมในตับสูงขึ้นและกลายเป็นไขมันส่วนเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ


Cake photo created by freepik – www.freepik.com



สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ
การที่จะมีไขมันไปพอกตับ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีความผิดปกติในระบบเผาผลาญ เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง จนทำให้ไขมันไปสะสมอยู่ที่ตับเกินกว่า 5-10 % ของน้ำหนัก ซึ่งถือว่าเข้าสู่การเป็นโรคไขมันพอกตับ โดยสาเหตุหลัก ๆ ของโรคนี้ ได้แก่

เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของผู้ป่วยเป็นหลัก เช่น เลือกทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ ทำให้ร่างกายนำพลังงานไปใช้ไม่หมด นอกจากเป็นสาเหตุทำให้ไขมันพอกตับแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลสูง
เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป ทำให้ตับต้องทำงานหนัก
เกิดจากผู้ที่มีภาวะเป็นโรคประจำตัวอื่น ๆ อยุ่ก่อนแล้ว เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับตามมาได้
เกิดจากการทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป
เป็นผลข้างเคียงมาจากการทานยาบางชนิด เช่น ยาต้านไวรัส ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง หรือยาพาราเซตามอลในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง


ลักษณะอาการและความรุนแรงของโรคไขมันพอกตับ
ภาวะไขมันพอกตับ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะเริ่มแรกจะไม่รู้สึกมีความผิดปกติ เพราะอาการและความรุนแรงของโรคจะแบบค่อยเป็นค่อยไป ผู้ที่เป็นมักไม่รู้ตัวเพราะไม่มีอาการแสดงออก ความรุนแรงของโรค หากตรวจพบในช่วงที่ยังไม่มีอาการเมื่อได้รับการรักษา โรคไขมันเกาะตับหรือไขมันพอกตับมักกลับมาเป็นปกติได้ แต่ถ้าตรวจพบเมื่อมีอาการที่รุนแรงแล้วการรักษาให้กลับมาเป็นปกติทำได้ยาก ลักษณะอาการของโรคไขมันพอกตับโดยทั่วไปมี ดังนี้

ผู้ป่วยจะรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง โดยไม่ทราบสาเหตุ
รู้สึกแน่น อึดอัด และไม่สบายท้อง
น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง หรือมีอาการคลื่นไส้บ่อย ๆ
มึนงง ความสามารถในการตัดสินใจและสมาธิลดลง
มีอาการเจ็บแน่น ใต้ชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่ของตับ อาการเจ็บเนื่องจากการมีตับโตขึ้น
การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับ
เมื่อมีอาการรุนแรงหรือตรวจพบความผิดปกติและมีแนวโน้มว่าเป็นอาการของโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะทำกาวินิจฉัยโรคตามขั้นตอน ดังนี้

การตรวจเลือดดูภาวะตับอักเสบ
การตรวจอัลตราซาวนด์
การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจทางพยาธิวิทยา
การตรวจวัดปริมาณไขมันและผังผืดในตับด้วยเครื่อง FibroScan


แนวทางการรักษาโรคไขมันเกาะตับ
การรักษาโรคไขมันพอกตับ ปัจจุบันยังไม่มียาตัวใดที่รักษาโรคไขมันพอกตับได้โดยตรง เมื่อตรวจพบหรือวินิจฉัยว่าเป็นโรคไขมันพอกตับ แพทย์จะทำการรักษาตามทาง ดังนี้

แนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง งดดื่มแอลกอฮอล์ และหันมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายนำพลังงานที่เก็บสะสมไว้มาใช้ ส่งผลให้ลดการสะสมไขมันส่วนเกินในตับ
ใช้ยาและสารที่ใช้บรรเทาอาการของภาวะไขมันพอกตับ เช่น
 ยาเพิ่มความไวต่ออินซูลินช่วยลดระดับเอนไซม์ตับในเลือดลงได้ ทำให้ตับทำงานได้ดีขึ้น
ยาลดไขมันในเลือดกลุ่มสแตติน
วิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย แต่ไไม่ควรรับประทานวิตามินอีเกินวันละ 400 IU
วิธีป้องโรคไขมันพอกตับ
1.ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

2.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีรสหวานต่อเนื่อง

3.ลดน้ำหนัก หรือควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่เกิดโรคอ้วน 

4.รักษาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ให้พลังงานต่ำ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนอย่างเพียงพอ

กรณีเป็นเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล
ไขมันพอกตับ เป็นภัยเงียบที่อันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากอาการในระยะเริ่มแรกจะไม่แสดงความผิดปกติ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกปิดปกติใด ๆทำให้ตรวจพบโรคในระยะที่มีความรุนแรงและยากต่อการรักษา การป้องกันตนเองโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโดภคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ จึงช่วยให้ห่างไกลและปลอดภัยจากไขมันพอกตับได้ดีที่สุด

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/fatty-liver-disease/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

67

ในโลกยุคปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตหรือแม้แต่การทำธุรกิจในด้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เครื่องมือเหล่านี้นอกจากจะให้คุณอนันต์แล้ว ก็ยังแฝงไปด้วยอันตรายที่เราอาจไม่รู้ นั้นคือ “แสงสีฟ้า”  บทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับแสงสีฟ้า ว่ามีอันตรายอะไรต่อดวงตาและจะป้องกันให้ปลอดภัยได้อย่างไร ?

 แสงสีฟ้าคืออะไร ?
แสงสีฟ้าหรือ Blue Light เป็นส่วนผสมระหว่างแสงสีครามและสีน้ำเงิน ให้พลังงานสูงใกล้เคียงกับแสงยูวี มีอยู่ทั่วไปรอบตัวเราเป็นแสงที่สายตาสามารถมองเห็นได้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือแสงสีม่วงและแสงสีฟ้ามีความยาวคลื่น 380-450 นาโนเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายต่อดวงตามากที่สุด  และแสงสีน้ำเงินมีความยาวคลื่น 450-500 นาโนเมตร

แหล่งที่มาของแสงสีฟ้าอยู่ที่ใดบ้าง ?
แสงสีฟ้านอกจากจะมีตามธรรมชาติคือจากแสงอาทิตย์แล้ว ก็ยังพบว่ายังมีอยู่ในเครื่องมือที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาอีกด้วย นั่นคือ อุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แทบเลต อุปกรณ์เครื่องใช้ เช่นหลอดไฟฟ้าแบบต่าง ๆ หลอดไฟ LED นาฬิกา Smart Watch ทั้งนี้ก็จะให้พลังงานของแสงสีฟ้าที่สูงหรือต่ำแตกต่างกันออกไป ซึ่งในชีวิตประจำวัน แสงสีฟ้าที่มาจากดวงอาทิตย์ก็นับเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก และเครื่องมืออุปกรณ์เหล่านี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการดำรงชีวิตมากยิ่งขึ้น  ซึ่งหากเราใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้  จ้องมือถือ

แสงสีฟ้าทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาอย่างไรบ้าง ?
แสงสีฟ้า ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาของเรา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย โดยแสงสีฟ้าประเภทนี้จะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายรู้เวลากินและเวลาง่วงต้องเข้านอน หรือช่วยให้ร่างกายรู้เวลาของนาฬิกาชีวิต ช่วยให้ระบบในร่างกายทำงานป็นปกติ
ประเภทที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยแสงสีฟ้าสามารถทำอันตรายต่อดวงตาได้ลึกที่สุด ซึ่งตัวกรองทางธรรมชาติที่มนุษย์มี เช่น น้ำตา น้ำหล่อเลี้ยงตา แก้วตา กระจกตาก็ไม่สามารถป้องกันได้ แสงสีฟ้าหากมีการใช้สายตากับอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่ยาวนานต่อเนื่อง จะส่งผลเสียต่อดวงตาได้ ดังนี้
อาการสายตาล้า เกิดจากการที่ดวงตาต้องทำงาน เพ่งหรือจ้องอุปกรณ์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่พักสายตา
ตาแห้ง เกิดจากการจ้องจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือนาน ๆ มักมีอาการระคายเคืองตา ปวดตา แสบตา ตาแห้งหรือมีน้ำตาออกมามาก แต่เป็นน้ำตาที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ
จอประสาทตาเสื่อม เป็นเพราะแสงสีฟ้าจะไปกระตุ้นทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะเป็นการทำลายเซลล์ประสาทตา ประกอบกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เสี่ยงกับการเป็นโรคประสาทตาเสื่อมได้สูง ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆจะทำให้ตาบอดได้
แว่นกรองแสง

วิธีป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้า
วิธีป้องกันช่วยไม่ให้แสงสีฟ้าสัมผัสดวงตาให้น้อยที่สุดควรใช้หลาย ๆ วิธีดังต่อไปนี้

ปรับแสงของอุปกรณ์ให้อยู่ในค่าหรือในระดับที่เหมาะสม ไม่ให้มืดหรือสว่างจ้าจนเกินไป ควรให้แสงสว่างมีใกล้เคียงกับความสว่างของไฟในห้องหรือในบริเวณที่ทำงาน
จัดที่นั่งทำงานให้เหมาะสม ควรให้มีแสงสว่างจากธรรมชาติเพียงเล็กน้อย ไม่ควรนั่งใกล้หน้าต่างจนมีแสงจากด้านนอกเข้ามาสว่างจ้าจนเกินไป หากจำเป็นต้องนั่งควรติดม่านหรือปิดหน้าต่างแล้วเปิดไฟในห้องด้วยแสงที่พอเหมาะจะดีกว่า
เลือกใช้อุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างที่พอเหมาะ เช่น ไม่ควรใช้หลอดไฟชนิดที่ให้แสงจ้ามากจนเกินไป ควรเลือกใช้แบบที่ให้แสงสบายตาจะดีกว่า รวมทั้งต้องติดฟิล์มบนหน้าจอของอุปกรณ์เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์เพื่อลดแสงที่จะกระทบกับดวงตาให้น้อยลง
พักสายตา ไม่ควรใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ติดต่อกันนาน ๆ หลายชั่วโมง ควรมีการพักสายตาเป็นระยะทุก 12 ชั่วโมง ประมาณ 5 นาที การพักสายตาที่ดีที่สุดคือการนอน หากทำไม่ได้ก็ควรมองไปไกล ๆเพื่อลดการเพ่ง ลดความเมื่อยล้าของดวงตา
แว่นสายตาที่ใช้ควรเป็นเลนส์ที่ออกแบบพิเศษ เพราะหากใช้เลนส์ที่มีคุณภาพดี ก็จะสามารถป้องกันแสงสีฟ้าได้ เป็นการตัดหรือลดแสงไม่ให้ดวงตามาสัมผัสแสงโดยตรงได้ดีอีกวิธีหนึ่ง
ใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความหล่อลื่นให้แก่ลูกตาในกรณีที่เกิดอาการตาแห้งเมื่อจ้องอุปกรณ์เป็นเวลานาน ๆ เป็นการช่วยบรรเทาอาการระคายเคือง อาการแสบตา ความไม่สบายตาได้ดีที่สุด อีกทั้งควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันอีกด้วย
เมื่อพบอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ควรรีบไปพบจักษุแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพตาทุก ๆ 1-2 ปี เพื่อป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับดวงตาเช่น โรคต้อลม ต้อกระจก ต้อหิน เมื่อพบแล้วจะได้รักษาได้ทันท่วงที
ในเมื่อการดำเนินชีวิตของคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ หรือมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือและเครื่องมือสื่อสารในชีวิตประจำวัน ทำให้ต้องเผชิญกับแสงสีฟ้า จากอุปก์เหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นหากเรารู้จักป้องกันตนเอง ทำตามวิธีแก้ป้องกันอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้รู้ทันสามารถถนอมและช่วยชะลอไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสายตา เป็นการรักษาสุขภาพสายตาให้เราใช้งานได้อย่างมีคุณภาพตลอดไป


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/blue-light-from-electronic-devices/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

68
การนอนหลับอย่างเต็มตื่นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย คือวิธีพักผ่อนที่ช่วยให้สุขภาพดีอย่างสมดุลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ การนอนน้อย นอนไม่เพียงพอ อดนอน หรือนอนไม่หลับ เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ทำให้เกิดความเครียด ง่วงนอนระหว่างวัน และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ใครที่มีอาการนอนไม่หลับ วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคนอนไม่หลับ สาเหตุและวิธีแก้ปัญหาการนอนไม่หลับจากบทความนี้พร้อม ๆ กันครับ
โรคนอนไม่หลับ และสาเหตุของการนอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ เป็นความผิดปกติในวงจรการนอนหลับพักผ่อนของคนเรา เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุและเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย บางสาเหตุอาจทำให้มีอาการนอนไม่หลับเป็นครั้งคราว ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะสั้น ๆ แต่บางสาเหตุอาจส่งผลกระทบจนทำให้กลายเป็นโรคนอนไม่หลับที่มีภาวะเคียดและมีโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ
มีสาเหตุมาจากปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย เช่น นอนกรนชนิดรุนแรงที่มีการหยุดหายใจช่วงเวลาสั้น ๆ และตื่นขึ้นมาเรื่อย ๆ ในขณะนอนหลับ เป็นโรคกระเพาะอาหาร ไมเกรน โรคเกี่ยวกับกระดูกทำให้มีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะช่วงอากาศเย็น ๆ หรือขณะนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่สนิทหรือนอนไม่หลับ
มีสาเหตุมาจากปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น มีความวิตกกังวลใจ รู้สึกหดหู่ ซึมเศร้า มีภาวะเครียด รวมทั้งความตื่นเต้น รู้สึกสุขใจ หรือมีความหวังความฝันในเรื่องใด ก็เป็นสาเหตุทำให้นอนไม่หลับได้เช่นเดียวกัน
 มีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อม เช่น เสียงดังรบกวนจากการประกอบอาชีพของเพื่อนบ้าน ฝุ่น ควันและมลภาวะ กลิ่นเหม็ดจากสารเคมีหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย และอื่น ๆ
พฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือการทำงาน เช่น การดื่มและใช้สารเสพติด ตัวอย่างเช่น คาเฟอีนในกาแฟหรือชา นิโคตินในบุหรี่  การทำงานที่ต้องทำให้นอนผิดเวลาบ่อย ๆ เมื่อใช้ชีวิตปกติ นอนตามเวลาทำให้นอนไม่หลับหรือหลับยาก

Woman photo created by drobotdean – www.freepik.com

วิธีแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ
พิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ แล้วแก้ตามสาเหตุนั้น เช่น อากานอนไม่หลับที่เกิดจากการเข้านอนไม่เป็นเวลา ควรปรับพฤติกรรมการนอน เข้านอนให้เป็นเวลา พยายามไม่งีบหลับในระหว่างวัน และนอนเมื่อง่วงนอน ไม่พยายามกดดันตัวเองเพื่อให้นอนหลับ
หากมีอาการง่วงนอนระหว่างวัน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรีบหลับอย่างถูกวิธี โดยการหลับพักสายตาเพียง 10-20 นาที อาจงีบหลับหรือนั่งหลับตานิ่ง ๆ จะทำให้รู้สึกได้พักผ่อนและหายง่วง แต่ควรหลีกเลี่ยงการงีบหลับในช่วงเวลา 15.00 น.–16.00 น. เพราะอาจทำให้นอนหลับยากหรือนอนไม่หลับในเวลากลางคืน
อาหารมื้อเย็นไม่ควรทานให้อิ่มจนเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกอึดอัดและนอนหลับยาก และควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารดึก ๆ หลัง 2 ทุ่มเป็นต้นไป
ก่อนนอนทำให้รู้สึกผ่อนคลายด้วยการสวดมนต์ ทำสมาธิ หรือเล่นโยคะ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และลดความวิตกกังวลหรือความเครียดที่เป็นสาเหตุสำคัญของอาการนอนไม่หลับ
จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องนอน เช่น ปรับอุณหภูมิห้อง เปิดพัดล ทำให้อากาศภายในห้องนอนเย็นสบาย  ปิดไฟหรือปรับเปลี่ยนทำความสะอาดเครื่องนอนอย่างสม่ำเสมอ
ภายในห้องนอนควรเป็นสถานที่พักผ่อน ไม่ควรมีทีวี โต๊ะทำงาน และปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดก่อนเข้านอน จะช่วยแก้อาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยากได้ดียิ่งขึ้น
หากมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันหลาย ๆ วัน ให้จิบนมอุ่น ๆ ก่อนนอนจะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
พักสมองทำให้รู้สึกผ่อนคลาย หยุดการทำกิจกรรมเครียด ๆ เช่น กาเล่มเกม จัดทำเอกสารเกี่ยวกับตัวเลข หรืออื่น ๆ ก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง จะทำให้นอนหลับได้ง่ายและนอนหลับอย่างเต็มตื่น
เปิดเพลงคลาสสิกหรือเพลงบรรเลงจังหวะช้า ๆ ก่อนนอนเป็นการกล่อมตัวเองทำให้นอนหลับสบายและหลับได้รวดเร็ว
รักษาสมดุลให้กับร่างกาย ด้วยการกินอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบจากพืชสมุนไพร หรือ
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เห็ดหลินจือแดงสกัด ชนิดแคปซูล หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่งเช่าทิเบตแท้ เมื่อสุขภาพร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เป็นการรักษาสมดุลภายในร่างกายก็จะส่งผลให้นอนหลับง่ายขึ้นด้วย อาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ จนกลายเป็นโรคนอนไม่หลับ นอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย อาจส่งผลต่อจิตใจทำให้หงุดหงิด ไม่สดชื่น มีภาวะเครียดได้ง่าย ทำให้ง่วงนอนระหว่างวัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงแล้ว วิธีแก้ปัญหาการนอนไม่หลับที่ไม่ถูกต้อง ด้วยการทานยามาทานเอง เพื่อรักษาอาการนอนหลับเป็นเวลานาน ๆ ยังส่งผลทำให้ติดยานอนหลับ ที่ทำให้ต้องเสียเวลารักษาทั้งอาการติดยานอนหลับและรักษาอาการนอนไม่หลับไปพร้อม ๆ กันด้วย

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/insomnia-causes-prevention/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

69
ต้อลม
“ต้อลม” โรคทางดวงตา ที่พบได้บ่อย และเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ทั้งวัยทำงานและผู้สูงอายุ เพราะอาการของโรคไวต่อมลภาวะหรือสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ รวมทั้งมลภาวะจากการเดินทาง และสภาพแวดล้อมจากการทำงานที่เป็นวิถีชีวิตของทุกคน นอกจากนั้นยังมีโรคเกี่ยวกับดวงตาที่มีหลายลักษณะอาการ แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า เป็นอาการของโรคนี้ ไม่ต้องกังวลค่ะ วันนี้มีความรู้เกี่ยวกับต้อกระจกมาแนะนำ

ต้อลม สุขภาพดวงตา ที่ไม่ควรมองข้าม
ต้อลม เป็นโรคที่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นภายในดวงตา ลักษณะเป็นก้อนเนื้อขนาดเล็กอยู่บริเวณเยื่อบุตาขาวไม่ใช่เนื้องอกแต่เป็นการเสื่อมของเยื่อบุตาขาว ส่วนใหญ่จะพบที่บริเวณทางด้านหัวตามากกว่าทางด้านหางตา และหากเนื้องอกอยู่เฉพาะในส่วนที่เป็นตาขาว ก็คือต้มลม เมื่อเป็นแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอาจลุกลามขนาดใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นแผ่นเนื้อลามเข้ามาในบริเวณกระจกตาดำ เรียกว่าต้อเนื้อ

แสบตา
People photo created by freepik – www.freepik.com

สาเหตุและลักษณะอาการของต้อลม
สาเหตุหลัก ๆ ของต้อลมยังไม่ทราบแน่ชัด อาการเริ่มต้นมักตาแห้งมีอาการระคายเคือง ซึ่งในแต่ละคนอาจมีลักษณะอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน และพบว่าปัจจัยสำคัญที่อาจเป็นสาเหตุของต้อลม ได้แก่

แสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ความร้อนจากเตาไฟ ความร้อนจากงแวดล้อมต่าง ๆ คนที่เผชิญความร้อนเหล่านี้เป็นเวลานาน ๆ ส่งผลทำให้เกิดโรคต้อลมได้ทั้งสิ้น
การได้รับฝุ่นละออง และลมบ่อย ๆ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เนื้อเยื่อปกติของดวงตาเกิดการอักเสบ หรือมีอาการตาแห้ง ทำให้เกิดการระคายเคือง รู้สึกแสบร้อน คันตา แสบตา ตาพร่ามัว ทำให้เกิดโรคต้อลมได้
ควัน สารเคมี และมลพิษทางอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถ กลุ่มควันจากสารเคมี ตามโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง ช่างเชื่อมโลหะ ที่ควันเหล่านี้เข้าตาบ่อย ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต้อลม
อาการของต้อลม ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยต้อลมบางรายไม่ได้เผชิญกับมลพิษและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ก็มีอาการเยื่อบุตาขาวมีอาการผิดปกติได้เช่นเดียวกัน
อาการของต้อลม นอกจากมีแผ่นหรือตุ่มนูนขนาดเล็กในส่วนที่เป็นตาขาวแล้ว บางรายอาจมีความรู้สึกเหมือนมีบางสิ่งติดอยู่ในดวงตา เช่น เม็ดทราย หรือเศษผง
โดยทั่วไป ต้อลมจะไม่มีอาการผิดปกติมากนัก โดยจะเป็นเพียงก้อนสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนอยู่ที่ขอบของตาดำเท่านั้น แต่บางรายอาจมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงมากผิดปกติ ทำให้เห็นเป็นปื้นเนื้อเยื่อชัดเจนได้ หากเกิดการอักเสบ
อาการของผู้ที่เป็นต้อลม หรือมีอาการตาแห้งบ่อยเยื่อบุตาขาวมีอาการผิดปกติ พบมากในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
การวินิจฉัยโรคต้อลม
การวินิจฉัยโรคต้อลม จักษุแพทย์อาจทำการตรวจตาเพียงอย่างเดียว หรืออาจใช้การตรวจตาร่วมกับเครื่องมือตรวจโรคตาเบื้องต้น ที่เรียกว่า Slit–Lamp  เพื่อตรวจดูกระจกตา ม่านตา เลนส์แก้วตา และช่องว่างระหว่างม่านตาและเลนส์แก้วตาได้อย่างละเอียด เพื่อประเมินอาการและทำการรักษาได้อย่างถูกต้องตามความรุนแรงของอาการ

หยอดตา
Woman photo created by freepik – www.freepik.com

วิธีรักษา และขั้นตอนการรักษาโรคต้อลม
ปกติโรคต้อลมไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เพราะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองทำงานไม่สะดวก รู้สึกรำคาญทั้งในเวลาปกติหรือเวลาใส่คอนแทคเลนส์เท่านั้น ยกเว้นก้อนเนื้อหรือตุ่มนูนในดวงตามีการขยายใหญ่มากขึ้นจนเข้าใกล้กระจกตา หรือทำให้บดบังการมองเห็นจนกลายเป็นโรคต้อเนื้อ จักษุแพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคและรักษาตามความรุนแรงของอาการ เช่น ใช้น้ำตาเทียม ขี้ผึ้ง หรือยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดการอักเสบ

การป้องกันโรคต้อลม
ลดหรือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อลม เช่น ลม แสงแดด ฝุ่น ควัน ความร้อน สารเคมี มลพิษทางอากาศ และสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา
เมื่อต้องเผชิญแสงแดดโดยตรง ควรสวมใส่แว่นที่ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยกรองและป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
สวมหมวกปีกกว้าง หรือพกร่มติดตัวติดรถไว้เสมอ เพื่อป้องกันดวงตาจากลมและแสงแดด
สำหรับคนที่ต้องทำงานใช้สายตามาก ๆ เช่น ช่างอ๊อก ช่างเชื่อมโลหะ หรือทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เมื่อมีอาการตาแห้งควรหยอดน้ำตาเทียมเพื่อป้เองกันการเกิดต้อลม
เมื่อจำเป็นต้องทำงานที่ใช้สายตามาก ๆ ควรพักสายตาเป็นระยะ ๆ
กรณีที่ต้องทำงานอยู่ในงานอุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโลหะ ซึ่งได้รับรังสียูวีในระดับสูงมาก ควรสวมแว่นตากรองรังสีตลอดเวลา และควรใช้หน้ากากพิเศษกรองรังสีขณะปฏิบัติงานด้วยทุกครั้ง
ทานวิตามินบำรุงสายตา หรืออาหารเสริมที่มีคุณสมบัติช่วยฟื้นฟูการรับแสงของตาตา เพื่อลดการเกิดต้อทุกชนิด
พบจักษุแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น แสบตา ตาแดงมาก มีน้ำตาไหล มีปัญหาการมองเห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และลืมตาไม่ขึ้น
โรคที่เกี่ยวกับดวงตา รวมทั้งต้อลม แม้อาการจะไม่รุนแรงเมื่อเป็นแล้วสามารถหายได้เอง ก็ต้องระมัดระวังและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากต้อลมและโรคที่เกี่ยวกับดวงตาเพราะหากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง อาจมีภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดการอักเสบที่เป็นอันตรายทำให้ยากต่อการรักษา


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/pinguecula/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

70
ต้อกระจก
Photo by National Eye Institute on Foter.com / CC BY

ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุก็คือ การเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายที่เป็นไปตามอายุและช่วงวัยที่มากขึ้น ดวงตาก็เช่นเดียวกันผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอาการตามัวมองภาพหรือสิ่งต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ทำให้มีปัญหาในการอ่านตัวหนังสือ สัญญาณเตือนเหล่านี้เป็นอาการของต้อกระจกใช่หรือไม่ หากเป็นแล้ว การรักษาและการดูแลสุขภาพดวงตาควรทำอย่างไร ? aufarm.shop มีความรู้เรื่องต้อกระจกมาแนะนำค่ะ

โรคต้อกระจก คืออะไร
โดยปกติดวงตาของคนจะมีลักษณะโปร่งใส แสงสามารถผ่านเข้าไปได้ มีแก้วตาและกระจกตาทำหน้าที่ร่วมกันในการหักเหแสง ให้ตกอยู่ที่จอประสาทตาทำให้เกิดการมองเห็น โรคต้อกระจกก็คือ โรคที่แก้วตามีอาการเสื่อม โดยจะมีลักษณะจากใสกลายเป็นสีขาวขุ่น ทึบแสง จนแสงจากภายนอกไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ทำให้เกิดการรวมแสงที่จอเรติน่าหรือจอประสาทตาได้ไม่เต็มที่ ทำให้มีอาการสายตามัว ฝ้าฝาง จนส่งผลให้การมองเห็นไม่ชัดหรือมีอาการพร่ามัว

สาเหตุของต้อกระจก
ต้อกระจก นอกจากเป็นโรคที่มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของอายุที่มากขึ้น เพราะส่วนใหญ่พบในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และต้อกระจกยังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

เกิดจากความเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ประมาณ 80% พบในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ประมาณ 20 % เช่น
– จากโรคประจำตัวของผู้ป่วยในวัยกลางคน เช่น โรคต่อมไทรอยด์ผิดปกติ โรคภูมิแพ้ที่ผิวหนัง โรคเบาหวาน และโรคความดัน
– เกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาอย่างรุนแรง เช่น โดนสะเก็ดไฟหรือเศษเหล็กกระเด็นเข้าที่ดวงตาขณะทำงาน เกิดการกระแทกชนจากอุปกรณ์ต่าง ๆ จากการเล่นกีฬา เกิดจากของมีคมทิ่มแทง เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ การเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาถึงแม้จะรักษาหายแล้ว ก็พบว่ายังสามารถเป็นต้อกระจกได้ในภายหลัง
– มีความผิดปกติหลังการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น การกินยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ๆ
– จากการเป็นโรคภูมิแพ้ โรคหืด หอบ และโรคข้อ
– เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ซึ่งพบว่าผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้จะเป็นผู้ที่มีโอกาสเป็นต้อกระจกได้สูง
– เกิดจาการถูกรังสีในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งและผู้ที่ถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ๆ
– เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากมีมารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์
– เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่นพันธุกรรม
ไม่ชัด

อาการของต้อกระจก
มักมีสายตาพร่ามัวเมื่ออยู่ในที่แสงจ้าหรือออกแดด โดยอาการสายตามัวนี้จะค่อย ๆ เป็นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปีโดยไม่มีอาการเจ็บปวด และจะกลับมามองเห็นได้ชัดขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืด
ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตาค่อย ๆ มัวลงเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวดหรือตาแดงแต่อย่างใด
มักมองเห็นวัตถุต่าง ๆเป็นภาพซ้อน โดยจะเป็นได้ทั้งการใช้สายตามองเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
มีอาการปวดตาหรือปวดศีรษะในรายที่เป็นมาก ๆ
เป็นฝ้าขาวที่บริเวณรูม่านตา ซึ่งจะเกิดอาการนี้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเป็นต้อกระจกขั้นรุนแรงหรือเป็นมากแล้ว
ภาวะแทรกซ้อนของต้อกระจก
ภาวะแทรกซ้อนของต้อกระจก โดยทั่วไปจะไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากอาการของโรค แต่จะมีเพียงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดหลังการผ่าตัด ดังนี้

เกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นหลังการผ่าตัด ทำให้การมองเห็นพร่ามัว แต่อาการก็จะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน
มีอาการบวมแดง เจ็บ มองไม่เห็นหลังการผ่าตัด กรณีนี้ควรไปพบจักษุแพทย์ทันที
แพทย์ไม่สามารถเอาต้อกระจกออกมาได้หมด ซึ่งก็สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัดเพิ่มเติม
ขั้นตอนการรักษาต้อกระจก
การรักษาโรคต้อกระจกที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยวิธีผ่าตัดสลายต้อกระจก ซึ่งมีขั้นตอนการรักาษา ดังนี้

การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ผ่านท่อขนาดเล็กสอดเข้าไปในดวงตา โดยการเปิดแผล 2-3 มิลลิเมตร คลื่นอัลตราซาวด์จะทำให้ฝ้าขุ่นมัวเกาะอยู่ที่ดวงตาแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ จากนั้นก็จะดูดชิ้นส่วนที่แตกออกมา
รักษาด้วยวิธี Intraocular lens หรือ IOLเป็นการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บ และไม่ให้มีการเคลื่อนไหวดวงตา จากนั้นก็จะนำเลนส์แก้วตาเทียมใส่เข้าไป
วิธีดูแลสุขภาพดวงตา ให้ห่างไกลจากโรคต้อกระจก
การดูแลสุขภาพดวงตาเพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นต้อกระจก ควรปฏิบัติตน ดังนี้

ควรตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันสูง
เมื่อพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา หรือมีปัญหาสายตาควรพบจักษุแพทย์ทันที
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
สวมแว่น เพื่อป้องกันอันตรายทุกครั้งเมื่อต้องทำงานที่อาจเกิดอันตรายกับดวงตา เช่น สวมแว่นกันแดดเมื่อต้องออกไปเจอแดด หรือเมื่อทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี ควรสวมแว่นป้องกันสารเคมี
รับประทานอาหาร ที่มีสารอาหารช่วยบำรุงสายตา เช่น อาหารที่มีโปรตีนสูง ผักและผลไม้ที่มีวิตามินเอและสารต้านอนุมูลอิสระ ทานผักใบเขียว ผักบุ้ง แครอท มะละกอ และกล้วย
พักสายตาเป็นระยะโดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้สายตานาน ๆ
โรคต้อกระจก แม้สาเหตุหลักจะเกิดจากความเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อมีอายุที่มากขึ้น แต่หากรู้ทันอาการของโรค ปรับและลดพฤติกรรมเสี่ยง หากมีอาการผิดปกติหรือมีสัญญาณเตือนที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสายตา ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหรือขอคำแนะนำในการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคต้อกระจก


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/cataract/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

71
โรคเบาหวาน กินอย่างไร
โรคเบาหวาน คือโรคเรื้อรังที่เป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และนอกจากผู้ป่วยจะต้องกินยาไปตลอดชีวิตแล้ว ยังต้องควบคุมการกินอาหารให้อยู่ในปริมาณที่สมดุล เพราะการกินที่มากเกิน อาจเป็นสาเหตุทำให้น้ำตาลขึ้นสูง  ในขณะเดียวกันหากกินน้อยไป ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนเป็นอันตรายได้ แล้วควรกินอย่างไรเพื่อให้ห่างไกลจากโรคเบาหวานหรือควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงหรือต่ำจนเป็นอันตราย  เราหาคำตอบได้จากบทความต่อไปนี้ครับ

กินอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน ?
พฤติกรรมการบริโภค คือหนึ่งในหลายสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่มีภาวะของโรคเบาหวาน และเมื่ออาการรุนแรงจนกลายเป็นเบาหวานเรื้อรัง ที่ต้องกินยาไปตลอดชีวิต ยังต้องให้ความสำคัญหลักการบริโภคเพราะการกินมากไปหรือน้อยไปก็สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มหรือต่ำลงจนเป็นอันตรายได้ การกินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและป้องกันให้ห่างไกลจากโรคนี้ ทำได้ไม่ยาก ดังนี้

– กินอย่างเพียงพอ
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะต้องเรียนรู้ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้ออาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานจะไม่แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานร่วมกับคนในครอบครัว แต่การกินอย่างเพียงพอตามปริมาณที่กำหนด นอกจากเป็นการควบคุมน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไปแล้ว การกินน้อยเกินไปหรือไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุทำให้ปริมาณน้ำตาลลดลงเร็วจนเป็นอันตรายร้ายแรงได้

– กินอาหารอย่างสมดุล
การกินอาหารอย่างสมดุล หมายถึง การกินอาหารที่มีทั้งชนิด ปริมาณ และมีสารอาหารต่าง ๆ ตามที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน เช่น ให้พลังงานหรือแคลลอรี่เพียงพอกับอายุ สภาวะของร่างกาย มีสารอาหารประเภทโปรตีน สารอาหารประเภทไขมัน สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ รวมทั้งมีกากใยอาหารเพียงพอเพื่อช่วยให้ระบบชับถ่ายทำงานได้ดี

– กินอาหารที่หลากหลาย
การกินอาหารที่หลากหลาย เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารยังทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ การกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปส่งผลเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องจำกัดปริมาณแป้งและน้ำตาล นอกจากนั้นการกินอาหาที่หลากหลาย ยังป้องกันพิษภัยจากสารเจือปนที่อยู่ในอาหารต่าง ๆ ที่เรากินเป็นประจำทำให้เข้าไปสะสมจนเกิดโทษต่อร่างกายได้

– กินอาหารให้พอเหมาะ
การกินอาหารให้พอเหมาะหมายถึง การกินอาหารรวมทั้งดื่มเครื่องดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป หากเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ที่ต้องควบคุมและจำกัดอาหารก็ต้องกินอาหารในปริมาณที่จำกัดตามที่แพทย์ให้คำแนะนำ การกะปริมาณอาหารให้พอดี พอเหมาะนอกจากช่วยคุมพลังงานและสารอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายแล้ว ยังไม่เหลือทิ้งทำให้สิ้นเปลืองอีกด้วย
ครอบครัว ทานอาหาร

Food photo created by pressfoto – www.freepik.com

โภชนาการแต่ละช่วงวัย ช่วยให้ห่างไกลจากโรคเบาหวาน
โภชนาการในวัยเด็ก โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงวัยรวมทั้งวัยเด็ก พฤติกรรมการกินคือหนึ่งในสาเหตุของโรคนี้ นอกจากการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว ปริมาณของอาหารที่กินในแต่ละมื้อต้องเหมาะสมกับช่วงวัยและกินอาหารอย่างสมดุล ระวังน้ำตาล แป้ง และไขมัน เน้นดื่มน้ำเปล่าและนมรสจืด แทนน้ำหวานและน้ำอัดลม
โภชนาการอาหารสำหรับวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่ใช้พลังงานมาก ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องออกแรงอยู่เสมอ ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการกิน ควรเน้นอาหารประเภทโปรตีนผักและผลไม้ ลดแป้ง น้ำตาล และไขมัน กินอาหารให้หลากหลายในแต่ละมื้อเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและสมดุล
โภชนาการสำหรับวัยทำงาน เป็นช่วงวัยที่กำลังทำงาน ใช้ทั้งแรงงานและความคิด จำเป็นต้องกินอาหารให้หลากหลายและกินให้พอดี โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับวัยนี้ขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และกิจกรรม เพราะการได้รับพลังงานมากเกิดไปและใช้ไม่หมด จะเกิดการสะสมและทำให้เป็นโรคอ้วนซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
โภชนาการสำหรับวัยสูงอายุ เป็นวัยแห่งการพักผ่อนร่างกายมีการเสื่อมสภาพ ระบบอวัยวะต่าง ๆ
ทำงานได้ไม่ดีเหมือนเดิม มีอายุในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีคุณภาพ และมีปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ระวังการรับกินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในแต่ละวันอย่างเคร่งครัด เน้นการรับประทานผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์หรือใยอาหารสูง เพราะจะช่วยป้องกันและควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด

วิธีกินอาหารให้ปลอดภัยและห่างไกลจากโรคเบาหวาน
ครบคุมการบริโภคน้ำตาลให้เคยชิน โดยกินน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวัน
การบริโภคผักผลไม้ ดีต่อสุขภาพ แต่ควรเลือกกินผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ เช่น ฝรั่ง มะละกอ ส้ม มะม่วงดิบ ส้มโอ และแอปเปิ้ลเขียว
ควรหลีกเลี่ยงหรือลดเครื่องดื่มประเภท น้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม ขนมหวาน หรือควบคุมการบริโภคได้สัปดาห์ละครั้ง
เลือกกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี และมีกากใยสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่วเมล็ดแห้ง
การซื้อผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่ม ควรอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์ดูข้อมูลปริมาณน้ำตาลที่ก่อนซื้อมารับประทาน
การกินอาหารหรือพฤติกรรมการบริโภค คือสาเหตุของการเกิดโรคเบาหวานและยังเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงหรือลดลงได้ ดังนั้นการใช้ชีวิตให้ปลอดภัยและห่างไกลจากโรคนี้ก็คือรับรู้ความเสี่ยงเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค โดยให้ความสำคัญกับการกินอาหารตามหลักโภชนาที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ช่วยให้ปลอดภัยและห่างไกลจากโรคเบาหวานได้แล้ว ยังสามารถควบคุมปริมาณน้ำตาลในคนที่ป่วยเป็นเบาหวานไม่ให้อาการรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้อีกทางหนึ่งด้วย


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/how-to-eat-to-prevent-diabetes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

72

ในความเป็นจริงโรคเครียดหรือความเครียด เป็นสภาวะทางอารมณ์ของคนเราที่กำลังเผชิญหรือต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ แม้กระทั่งสภาวะความไม่ปกติของร่างกายก็ส่งผลทำให้ร่างกายและจิตใจของเราเสียสมดุล  เมื่อหาทางออกไม่ได้เราก็จะเกิดความเครียดขึ้นมา โรคเครียด ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างไร เกิดขึ้นแล้วมีวิธีดูแลรักษาหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบครับ

โรคเครียดคืออะไร
ในทางการแพทย์ โรคเครียด คือ ภาวะที่ผู้ป่วยจะต้องเผชิญแรงกดดัน จากเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่ไม่สามารถหาทางออกได้ ซึ่งสภาวะดังกล่าวส่งผลให้ร่างกายและภาวะด้านจิตใจ เกิดความเครียด ซึ่ง  ความเครียดนั้นสามารถเกิดได้กับทุกคน ในคนปกติทั่วไปจะสามารถคลายความเครียดได้แต่ในทางตรงกันข้าม  บุคคลที่มีแนวโน้มจะป่วยด้วยโรคเครียดไม่สามารถทำให้อาการเครียดลดน้อยลงได้และอาจเป็นมากขึ้น 



สาเหตุของโรคเครียด
โรคเครียด เป็นสาเหตุลำดับต้นๆของโรคทางด้านจิตเวช ปัจจุบันยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ความเครียดเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนสาเหตุหลัก ๆ มีอยู่ 2 ด้าน ดังนี้ 

1. ความเครียดจากภายในร่างกาย
กรรมพันธุ์ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของความเครีดเช่น มารดาที่กำลังตั้งครรภ์มีความเครียดเมื่อคลอกบุตรออกมาสามารถส่งผลให้เด็กได้รับผลกระทบไปด้วย รวมถึงการมีบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อแม่ ปู่ ย่าหรือตา ยาย เคยป่วยด้วยโรคเครียด รวมทั้งการเจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัวก็ส่งผลกับความเครียดเช่นกัน

2. ความเครียดจากภายนอกร่างกาย 
ความเครียดจากภายนอก เกิดขึ้นได้จากหลานปัจจัย เช่น 

สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น มลภาวะ อากาศเสีย เสียงดังเกินไป การอยู่กันอย่างเบียดเสียด ยัดเยียด และอื่น ๆ
สภาพเศรษฐกิจ เช่นรายได้น้อยกว่ารายจ่าย
ความรู้สึกตนเองต่ำต้อยกว่าคนอื่น ต้องพยายามต่อสู้เอาชนะ
พฤติกรรมความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิต

ภาพโดย Robin Higgins จาก Pixabay

อาการหรือสัญญาณบ่งบอกของความเครียด
สีหน้าหน้าบึ้งตึงไม่แจ่มใส
ไม่สนใจตนเอง ปล่อยเนื้อปล่อยตัว
อาการรุ่นแรงอาจมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย และทำร้ายตัวเอง
ปวดศีรษะเป็นประจำ  กินยาไม่หาย
รู้สึกใจสั่นง่ายและ เหงื่อออกตามตัว  และฝ่ามือฝ่าเท้า
รู้สึกขาดกำลังใจไม่มีแรงรู้สึกอ่อนล้า และไม่อยากทำอะไร
ระบบขับถ่ายมีปัญหา  
อารมณ์ไม่อยู่กับร่องกับรอย
สมาธิสั้นลง  ไม่สามารถทำในสิ่งเดิม ๆได้
รู้สึกหมดหวัง ซึมเศร้า
รู้สึกหวาดกลัวและวิตกกังวล
ชอบเก็บตัว  อยากอยู่แบบคนเดียวเงียบ ๆ
นอนไม่หลับ กระสับกระส่ายหรือนอนนาน นอนมากกว่าคนปกติ
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเครียด
การวินิจฉัยโรคเครียดด้วยตนเอง มีเกณฑ์การวินิจฉัย ดังนี้
หมั่นสังเกตอารมณ์ของตนเองเช่น อารมณ์หงุดหงิด แทบทั้งวัน
ขาดความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆที่เคยทำหรือเปล่า
สังเกตน้ำหนักของตนเองว่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก 
การพักผ่อนนอนหลับเป็นอย่างไร
รู้สึกไม่อย่างพบปะผู้คน หรือไม่
ร่างกายอ่อนเพลีย  ไร้เรี่ยวแรงหรือเปล่า
มีอาการใจลอย หรือลังเลใจ ไม่แน่ใจในทุก ๆ เรื่องหรือไม่
รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า  ไม่น่าเกิดมา
ที่สำคัญเคยคิดเรื่องการตาย หรือคิดอยากตายหรือไม่
การวินิจฉัยโรคเครียดโดยแพทย์ มีเกณฑ์การวินิจฉัย ดังนี้
ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการทั่ว ๆไปเพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่มีอาการครั้งแรกไล่มาตามลำดับจนปัจจุบัน
แพทย์อาจตรวจร่างกาย และอาจส่งตรวจแบบพิเศษเท่าที่จำเป็น ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีโรคทางร่างกายอื่น ๆ เช่น โรคทางจิต 
ในกรณีที่ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต อาจได้รับการตรวจและวินิจฉัยสาเหตุอีกครั้งตามกรรมวิธีของแพทย์ เช่น
สอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่รุนแรงที่ผู้ป่วยเคยประสบ
การใช้สารเสพติด 
กรณีมีโรคประจำตัวอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางอย่าง และปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ 


การรักษาและขั้นตอนการรักษาโรคเครียด
1.การรักษาโรคโดยวิธีธรรมชาติบำบัด   
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเครียดไม่มากได้แก่การนั่งสมาธิ การฝึกลมหายใจเข้าออก การสวดมนต์ การหากิจกรรมที่ชอบทำให้เพลิดเพลิน การออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน พบปะผู้คนรวมถึงการหาคนที่สามารถรับฟังปัญหาของเราได้

2.การใช้ยา   
แพทย์อาจต้องจ่ายยารักษาโรคเครียดให้กับผู้ป่วยในบางราย เพราะแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกัน เริ่มจากให้ยาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดตามส่วนต่าง ๆของร่างกาย รวมถึงปัญหาของการนอนหลับ และอาการซึมเศร้า 

กลุ่มยาที่ใช้รักษาในโรคเครียด ได้แก่ เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta-Blocker) บรรเทาอาการเจ็บป่วยทางร่างกายเกิดจากฮอร์โมนความเครียดที่ร่างกายออกมา 
กลุ่มยาที่ช่วยในการระงับอาการทางประสาท ไดอะซีแพม (Diazepam) อยู่ในกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiapines) เป็นยาระงับประสาท แต่ในทางการแพทย์ไม่นิยมนำมาใช้ เว้นแต่บางกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เพราะยาไดอะซีแพมอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการติด 
วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรคเครียด
เป็นที่ทราบว่าโรคเครียดเป็นปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ยากมาก ดังนั้นแนวทางป้องกันที่ดีที่สุดคือการสังเกตอาการตนเองและรีบทำการรักษาให้เร็วที่สุด แต่เมื่อเรามีอาการแล้วเราควรทำอย่างไรไม่ให้อาการเป็นมากขึ้นดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการโรคเครียดควรดูแลตนเอง โดยการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

เมื่อเจอสถานการณ์ร้ายแรงที่ไม่อาจควบคุมได้ควรได้รับการรักษาจากแพทย์ เพื่อไม่ให้อาการเครียดเป็นมากขึ้น
หมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอหรือทำกิจกรรมที่ได้พบปะผู้คน  และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
ฝึกสมาธิ หรือเล่นโยคะ 
ฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออก
ไปนวดหรือทำสปา เพื่อให้รางวัลกับร่างกายและเป็นการผ่อนคลายที่ดี 
หางานอดิเรกที่ชอบทำในยามที่ว่าง เช่น การเล่นกีฬา  ดูหนัง ฟังเพลงหรืออ่านหนังสือ 
ออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆหรือหมู่ญาติ เพื่อจะได้พดคุยแลกเปลี่ยนความคิด ฯลฯ
ความเครียดหรือโรคเครียด เป็นสาเหตุที่นำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ดังนั้นการหมั่นสังเกตตนเองและคนรอบข้างถือเป็นเรื่องที่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะอย่างน้อยโรคเครียดนี้ก็ยังสามารถรักษาได้ถ้าเราทราบตั้งแต่เริ่มต้น  เริ่มที่ตัวเราก่อนและต่อไปคือคนที่คุณรัก ญาติพี่น้องต่อด้วยเพื่อนฝูงและคนรอบข้าง


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/stress-disorder/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

73

เหงื่อออกมือ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ กรณี ยกเว้นอาการเหงื่อออกมือในสภาวะที่ผิดปกติ เช่น ในวันที่อากาศไม่ร้อน ไม่อยู่ในภาวะเครียดเครียด ไม่มีอาการตื่นเต้น รวมไปถึงอาการมีเหงื่อออกมือในขณะนอนหลับ เป็นเหงื่อที่ออกโดยไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหรือการทำกิจกรรมที่ควรจะมีเหงื่อออกมาก ๆ แม้อาการเหล่านี้จะไม่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน  ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายกำลังผิดปกติหรือมีโรคอะไรที่เราควรระวัง  เพื่อให้คลายความกังวลสำหรับคนที่มีอาการเหล่านี้ aufarm.shop มีความรู้มาแนะนำอีกเช่นเคยครับ
เหงื่อออกมือ เกิดจากสาเหตุใด ?
การมีเหงื่ออกที่มือและเท้าถือเป็นสภาวะปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นได้ ยกเว้นอาการของคนที่มีเหงื่อออกมือและเท้าจำนวนมาก ขณะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปกติหรือขณะนอนหลับ ทางการแพทย์จะแบ่งกลุ่มผู้มีภาวะเหงื่อออกมือที่ไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยรอบตัวเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
กลุ่มที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกาย หรือระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ดี เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายกำลังเป็นโรคบางอย่างแฝงอยู่ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ และโรคหัวใจ ซึ่งอาการเหงื่อออกมักเป็นหนึ่งในอาการที่โรคเหล่านี้แสดงออกมา และอาจมีเหงื่อออกไปทั่วร่างกายร่วมด้วย
กลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจมีสาเหตุมาจากระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ ทำให้ต่อมเหงื่อทำงานเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ซึ่งมักทำให้เหงื่อออกเฉพาะจุด หรือภาวะ primary focal hyperhidrosis ซึ่งเป็นอาการที่เหงื่อออกแค่มือและเท้า มักเริ่มเป็นตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่น สันนิษฐานว่ามาจากพันธุกรรม ซึ่งหากมีพ่อแม่ ญาติพี่น้องเป็น ดังนั้นโอกาสที่จะมีอาการเหงื่อออกมือก็เกิดได้สูงเช่นกัน 

Heart photo created by diana.grytsku – www.freepik.com

เหงื่อออกมือ อันตรายหรือไม่ ?
ภาวะเหงื่อออกมือที่มากกว่าปกติ แม้ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แต่การมีเหงื่อออกมาก ๆ อาจสร้างความกังวลใจ ทำให้ขาดความไม่มั่นใจในตัวเอง และอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำให้ไม่กล้าเข้าสังคม  รวมทั้งมีผลทำให้คุณภาพชีวิตลดลง การพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำหรือตรวจวินิจฉัยก็ทำให้ทราบว่า ภาวะที่มีเหงื่อออกมือมากเกินไปเป็นอาการของโรคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ?
เหงื่อออกมือ เป็นสัญญาณบ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง ?
หากพบว่าเหงื่อออกมือขณะนอนหลับ โดยไม่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมหรืออยู่ในกิจกรรมที่เหงื่อควรจะออก เช่น ขณะออกกำลังกาย และยังมีอาการอื่นๆร่วมด้วยจนกระทบกับชีวิตประจำวัน ก็อาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายอาจมีโรคอื่นแฝงอยู่ ดังนี้
โรคหัวใจ อาการของโรคนี้พบว่านอกจากมีเหงื่อออกมือแบบผิดปกติแล้ว อาจยังมีอาการ ใจสั่น เหนื่อยง่าย หอบ หายใจได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากหัวใจทำงานหนักต้องสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายมากกว่าปกติ มีความร้อนในร่างกายมากขึ้น จึงทำให้มีการระบายความร้อนทางผิวหนังเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย
โรคเบาหวาน โรคนี้มักมีอาการเหงื่อออกมือหรือมีเหงื่อออกไปทั่วร่างกาย ร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย เป็นลมง่าย อ่อนเพลีย หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด 
วัณโรค มาเลเรีย มะเร็ง โดยวัณโรคมักมีอาการเหงื่อออกตามมือและมีไอแบบเรื้อรัง หากเป็นโรคมาเลเรียจะมีไข้ และหากเป็นมะเร็งจะมีอาการเหงื่อออกไปทั่วๆร่างกายร่วมด้วย 
โรคไทรอยด์เป็นพิษ มักมีอาการเหงื่อซึมที่มือและที่ตัวอยู่ตลอดเวลา กระหายน้ำบ่อย มือสั่น โรคนี้มักทำให้ระบบร่างกายเผาผลาญได้ดี
เครียด กังวล ตื่นเต้น นอกจากอาการมีเหงื่อออกที่มือแล้ว เมื่อเป็นมากๆอาการมักจะใจสั่น คล้ายจะเป็นลม ปวดศีรษะร่วมด้วย 
น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน นอกจากมีเหงื่อออกมือแล้ว ยังมักเกิดเหงื่อออกไปทั่ว ๆร่างกาย โดยไม่ได้เป็นเฉพาะจุดแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีชั้นไขมันที่หนาทำให้เหงื่อออกระบายไม่สะดวก
วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง เมื่อผู้หญิงมีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในวัยนี้บางครั้งขณะนอนหลับอาจพบว่ามีภาวะเหงื่อออกมือบ่อย ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนได้น้อยลงหรือฮอร์โมนแปรปรวน และมักมีอาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ปัสสาวะบ่อย ช่องคลอดแห้ง ความรู้สึกทางเพศลดลงร่วมด้วย
การวินิจฉัยและการรักษาอาการเหงื่อออกมือ
เหงื่อออกมือ หากเป็นมากจนทำให้คุณภาพชีวิตลดลงหรือทำให้เกิดความวิตกกังวล ควรพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาหรือวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยตามขั้นตอน ดังนี้
ซักถามประวัติและสอบถามลักษณะอาการเหงื่อออกมือร่วมกับการตรวจร่างกาย
หากตรวจวินิจฉัยอาการแล้วหากไม่พบว่ามีโรคอื่นแฝง แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาทา ยากิน 
การฉีดโบทอกหรือการใช้กระแสไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นให้ประสาทส่วนเหงื่อหยุดทำงาน หรือการผ่าตัดเอาต่อมเหงื่อออกเพื่อทำลายปมประสาทบางส่วนที่ส่งสัญญาณมาที่มือ
กรณีวินิจฉัยพบว่าเป็นอาการของโรคใดโรคหนึ่ง แพทย์จะวางแผนเพื่อรักษาโรคนั้น ๆ ตามขั้นการรักษาที่ถูกต้อง
เหงื่อออกมือ หากไม่ใช่อาการของโรคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เป็นภาวะที่ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด หรือไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน การมีเหงื่อออกมือมาก ๆ หากตรวจวินิจฉัยจากแพทย์แล้วไม่พบความผิดปกติหรือเป็นอาการของโรคใด ๆ การล้างทำความสะอาดมือบ่อย ๆ เช็ดมือให้แห้ง นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำด้วยการจิบน้ำบ่อย ๆ ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เพียงเท่านี้ก็ทำให้สุขภาพกายใจแข็งแรง ไม่มีความวิตกกังวล และสามารถชีวิตได้อย่างปกติสุข

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/what-causes-sweaty-hands/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

74
เบาหวาน
เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเกิดขึ้นในวัยวัยผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น  แต่ความเป็นจริงเบาหวานในวัยเด็ก วัยรุ่น หรือคนอายุน้อยก็ป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน อาการของโรคเบาหวายที่เกิดกับคนอายุน้อย ๆ สาเหตุของโรค ลักษณะอาการและการดูแลตนเอง แตกต่างจากเบาหวานที่พบเห็นในคนวัยทำงานและสูงอายุหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบมาให้ครับ
โรคเบาหวานในวัยเด็กและวัยรุ่น
เบาหวาน คือโรคที่มีน้ำตาลสูงในเลือดสูง เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ เป็นผลให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานที่พบในเด็กและวัยรุ่น แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน เบาหวานชนิดนี้เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมน หรือสร้างได้ไม่เพียงพอ จึงต้องมีการฉีดฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปในร่างกาย อาการของโรคมักเริ่มเป็นตั้งแต่เป็นเด็กหรือเป็นวัยรุ่นแต่ก็เกิดในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เป็นชนิดที่ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินได้ แต่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน พบบ่อยในเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคอ้วนและผู้ใหญ่
สาเหตุของโรคเบาหวานในเด็ก
เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างอินซูลินที่ตับอ่อน ความผิดปกติของโรคจะไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าตับอ่อนถูกทำลายไปมากกว่า 90 % กระบวนการของโรคนี้อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี
เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน สาเหตุสำคัญเกิดจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตประจำวัน พบได้มากในเด็กที่มีรูปร่างอ้วน รวมทั้งพันธุกรรมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของเบาหวานชนิดนี้ โดยครอบครัวที่พ่อแม่เป็นเบาหวานลูกก็มีโอกาสเป็นเบาหวานตั้งแต่ยังเด็กสูง
ลักษณะอาการของโรคเบาหวานในเด็ก
มีอาการอ่อนเพลีย กินเก่ง หิวบ่อย แต่น้ำหนักตัวลด
น้ำตาลจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ อาจปัสสาวะออกมาแล้วมีมดตอม
ปัสสาวะบ่อยและปัสสาวะมาก หรือมีปัสสาวะรดที่นอนในวัยที่ไม่สมควร
อาการผิวหนังต้นคอ รักแร้ ขาหนีบ จะมีความหนา และดำ
ในบางรายอาจมีอาการความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
ตรวจน้ำตาล
การวินิจฉัยโรคเบาหวานในวัยเด็กและวัยรุ่น
เบาหวานในวัยเด็กและวัยรุ่น หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว ปล่อยให้กลายเป็นโรคเรื้อรัง อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทำให้มีโรคแทรกซ้อนได้ง่ายเพราะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยากกว่าวัยผู้ใหญ่ หากพบอาการและวินิจฉัยโรคเบาหวานในวัยเด็กและวัยรุ่นได้เร็วจะทำให้ควบคุมอาการของโรคได้ง่ายขึ้น สำหรับขั้นตอนการวินิจฉัยเบาหวานในเด็ก มีดังนี้
ตรวจน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร 8-12 ชั่วโมง หากตรวจพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงเกิน 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป โดยมีผลตรวจอย่างน้อย 2 ครั้ง แสดงว่ามีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและต้องทำการรักษา
ตรวจน้ำตาลในเลือดหลังกลืนน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หากตรวจพบว่ามีค่าน้ำตาลในเลือดเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไปถือว่าเป็นเบาหวาน
ตรวจน้ำตาลในเลือดแบบสุ่มโดยไม่ต้องงดอาหารที่ให้พลังงาน เกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ร่วมกับมีอาการที่เข้าได้กับโรคเบาหวาน เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย
การรักษาโรคเบาหวานในวัยเด็กและวัยรุ่น
รักษาโดยการฉีดอินซูลิน ปริมาณอินซูลินที่ใช้ฉีดขึ้นอยู่กับการตรวจวินิจฉัยของแพทย์  และระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวาน แพทย์จะกำหนดปริมาณในการฉีดในระดับที่เหมาะสม บางรายอาจฉีดอินซูลินฉีด 2 – 4 ครั้งต่อวัน นอกจากเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว จะต้องไม่ให้มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอีกด้วย
รักษาด้วยการใช้ยารับประทานลดระดับน้ำตาลควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร การรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมและควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารให้เป็นสัดส่วน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด และให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
แนวทางป้องกันโรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น
โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เมื่อเป็นแล้วการดูแลรักษาทำได้ยาก ทั้งการรักษาด้วยการรับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภครวมถึงการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ซึ่งทุกวิธีทำได้ยากสำหรับคนที่อยู่ในวัยเด็กและวัยผู้หใหญ่ การป้องกันเด็กให้ห่างไกลและปลอดภัยจากโรคเบาหวานจึงเป็นแนวทางที่ดี โดยสามารถทำได้ ดังนี้
ลดปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ เช่น ขณะตั้งครรภ์คุณแม่ควรควบคุมน้ำหนักให้ขึ้นในเกณฑ์ที่ปกติ ไม่ขึ้นลงมากเกินไป
ฝากท้องตามระยะเวลาที่หมอกำหนด โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป นอกจากการฝากครรภ์แล้ว ยังเป็นช่วงวัยที่ต้องระวังเรื่องการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์อีกด้วย
การเลี้ยงดู ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาลและไขมัน เน้นโปรตีนและผัก-ผลไม้
ส่งเสริมกิจกรรมเช่นออกกำลังกายให้กับเด็กและวัยรุ่น เช่น การเล่นกีฬา การวิ่ง หรือการออกกำลังกายตามที่เด็กถนัดหรือชื่นชอบ ก็สามารถป้องกันการเกิดภาวะเบาหวานในเด็กและวัยรุ่นได้
เบาหวาน เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกช่วงวัยไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มผู้ใหญ่หรือกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น แต่โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น เป็นภาวะที่ต้องนอกจากต้องดูแลรักษาเหมือนๆ กับภาวะเบาหวานในผู้ใหญ่แล้ว การป้องกันให้เด็กปลอดภัยและห่างไกลจากโรคนี้ก็สำคัญไม่แตกต่างจากการรักษา เนื่องจากเป็นวัยที่ควบคุมได้ยากทั้งการดูแลรักษา พฤติกรรมการใช้ชีวิต การคุมอาหารและควบคุมการบริโภค การป้องกันเพื่อให้เด็กห่างปลอดภัยและห่างไกลจากโรคนี้จึงเป็นแนวทางที่ดีสุด

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/diabetes-in-children/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

75

อาการนอนไม่หลับที่บางครั้งดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ นอกจากเป็นปัญหาต่อสุขภาพแล้ว ยังส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง รวมไปถึงมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนมีอาการนอนไม่หลับบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ต้องพึ่งยานอนหลับและการใช้ยานอนหลับต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานที่อาจไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ  ใครที่นอนไม่หลับ หลับยากหรือนอนหลับไม่สนิท ปัญหานี้ เรามีความรู้มาแนะนำครับ
อาการนอนไม่หลับ คืออะไร ?
อาการนอนไม่หลับ คือ โรคที่มีความผิดปกติในวงจรการหลับ มีอาการหลับยาก หลับไม่สนิท หลับสั้น นอนหลับไม่เต็มตื่น ตื่นง่าย หรือตื่นเร็ว เมื่อตื่นแล้วนอนไม่หลับอีก เป็นภาวะที่ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างมีคุณภาพ อาการนอนไม่หลับแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะซึ่งผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับอาจจะมีอาการเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือมีหลายข้อรวมกัน ดังนี้
อาการหลับยาก เป็นภาวการณ์นอนไม่หลับที่สามารถนอนหลับได้ปกติแต่ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะหลับ เช่น ใช้เวลาเป็นชั่วโมง
อาการหลับไม่ทน เป็นอาการนอนไม่หลับที่มักมักตื่นกลางดึก ในบางคนอาจตื่นแล้วนอนไม่หลับอีก
อาการหลับ ๆ ตื่น ๆ เป็นลักษณะของอาการนอนไม่หลับที่รู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน เพียงแต่เคลิ้มไปเป็นพัก ๆ และเมื่อตื่นนอนแล้วจะรู้สึกคล้ายไม่ได้นอนหรือนอนไม่เต็มตื่น

People photo created by jcomp – www.freepik.com

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคนอนไม่หลับ
เริ่มจากมีอาการนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ทั้งคืน
นอนหลับปกติหรือนอนหลับง่าย แต่นอนไม่นานและตื่นบ่อย
หากตื่นนอนในช่วงดึกๆ เมื่อตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีกจนถึงเช้า
อาการนอนไม่หลับที่ควรพบแพทย์ ได้แก่นอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน 
สาเหตุของการนอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งโรคทางจิตเวช ภาวะทางจิตใจ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นขณะหลับ รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อม ดังนี้
อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการปรับตัว สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็ก ผู้ใหญ่วัยทำงานและผู้สูงอายุ มักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น เปลี่ยนสถานที่นอน มีเรื่องตื่นหรือมีเหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น
ปัญหาด้านจิตใจ เช่น มีความเครียด วิตกกังวล หรือมีภาวะซึมเศร้า
เกิดจากสิ่งแวดล้อมในการนอน เช่น เกิดเสียงดังรบกวน ห้องแคบ หรือมีแสงสว่างมากเกินไป สภาพอากาศที่อาจร้อนหรือหนาวเย็นเกินไป
การใช้ยาหรือกินบางชนิดเนื่องจากมีโรคประจำตัว
เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การทำงานที่ทำให้นอนไม่เป็นเวลา การดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์

Hand photo created by jcomp – www.freepik.com

ผลกระทบจากการนอนไม่หลับ
หน้าตาหมองคล้ำ สังเกตได้ง่าย ๆ ขอบตาจะคล้ำดำมากกว่าปกติ
อ่อนเพลีย เหนื่อยล้ามากกว่าปกติ สมองไม่ปลอดโปร่ง คิดอะไรได้ช้า 
อารมณ์หงุดหงิด เหวี่ยงวีน โกรธง่ายโดยไม่รู้สาเหตุ
ง่วงนอนระหว่างวัน หรือมีนั่งหลับช่วงทำงานบ่อย ๆ มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการนอนหลับทำให้เกิดความเครียด
มีปัญหาด้านความจำและความสนใจในการทำกิจกรรม การทำงานต่าง ๆ ขาดประสิทธิภาพ
มีอาการอ่อนเพลีย และเหนื่อยง่าย
แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือนอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน ถือเป็นอาการนอนไม่หลับเรื้อรังที่ต้องทำการรักษา โดยแพทย์จะวินัจฉัยอาการของโรคจาก สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอน อาจให้ทำแบบสอบถามและจดบันทึกพฤติกรรมการนอน การตรวจสอบทางด้านร่างกาย และการตรวจคุณภาพการนอนหลับจากเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อหาสาสาเหตุและความรุนแรงของอาการ ก่อนทำการรักษาซึ่งมี 2 แนวทาง ได้แก่
การใช้ยาเพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่จะช่วยให้ผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล และทำให้นอนหลับได้ง่าย ทำให้หลับสนิทมากขึ้น
การรักษาอาการนอนไม่หลับด้วยการบำบัด เป็นการรักษาเพื่อทำให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลาย เช่น ดนตรีบำบัด วารีบำบัด หรือกิจกรรมบำบัดรูปแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของผู้ป่วย

วิธีป้องกันและแก้ไขอาการนอนไม่หลับ
กำหนดเวลาเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวัน
ดื่มน้ำอุ่น ๆ ก่อนนอน พยายามผ่อนคลายหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำชา กาแฟ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ประสาทตื่นตัว และควรงดเว้นการดื่มหลังมื้อเที่ยง
งดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการตื่นตัวก่อนนอน เช่น การเล่นเกมส์ต่อสู้ การดูหนังสยองขวัญ การดูหนังต่อสู้
จัดห้องนอนให้มีบรรยากาศสงบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนได้แก่ มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อยหรือจะทำให้ห้องนอนมืดสนิท
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
เมื่อถึงเวลาเข้านอนแล้วยังนอนไม่หลับ ลองนั่งสมาธิ อ่านหนังสือ หรือฟังเพลงเบา ๆ อาจช่วยให้ง่วงนอนและทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
นอนไม่หลับ อาจเป็นเพียงปัญหากวนใจที่ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ป้องกันรักษา จนมีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะกลายเป็นนอนไม่หลับเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต นอกจากทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงแล้ว ยังเป็นปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/insomnia/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

76

ตาแห้งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทุกวัย  มักเกิดพร้อม ๆ กันทั้ง 2 ข้าง ทำให้รู้สึกไม่สบายตา ซึ่งนานวันเข้าก็จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน หากไม่ป้องหรือดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นอาจลุกลามถึงขั้นสูญเสียสายตาอย่างถาวรได้ วิธีดูแลเบื้องต้นเมื่อเกิดอาการตาแห้งคือการใช้น้ำตาเทียม มาดูกันว่าอาการตาแห้งและข้อควรระวังในการใช้น้ำตาเทียมนั้นต้องทำอย่างไร ?

อาการตาแห้ง คืออะไร ?
อาการตาแห้งคืออาการที่ดวงตามีน้ำตามาหล่อเลี้ยงน้อยและไม่เพียงพอ เมื่อเกิดอาการตาแห้งก็จะทำให้เกิดอาการแสบตา ระคายเคืองตา คันตา หรือบางรายมีอาการตาแฉะ เป็นเพราะน้ำตาที่หลั่งออกมามีคุณภาพไม่ดีพอ จึงทำให้มีการหลั่งน้ำตาออกมาหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่ตลอดเวลา



สาเหตุของอาการตาแห้ง
อาการตาแห้ง เป็นอการของโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

เกิดจากการเป็นภูมิแพ้สิ่งต่าง ๆ ภายนอก เช่น ควันบุหรี่ อากาศเป็นพิษ ฝุ่นละออง 
เกิดจากสิ่งที่กระทบดวงตาจากภายนอก เช่น อยู่ในสถานที่ที่มีลมแรง แดดแรง การดูโทรศัพท์ จ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ 
เกิดจากสภาวะวัยทอง ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ร่างกายผลิตน้ำได้น้อยเกินไป รวมถึงการดื่มน้ำที่ไม่พียงพอต่อวัน
เกิดจากการที่เปลือกตาปิดไม่สนิท หรือการกระพริบตาที่น้อยเกินไป
ผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ภูมิแพ้ ก็จะทำให้การผลิตน้ำตาทำได้น้อยลง
เป็นโรคบางชนิดที่มีผลต่อการผลิตน้ำตาของร่างกาย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคของหลอดเลือด
อาการเริ่มต้นของภาวะตาแห้ง
ระคายเคืองตา แสบ คัน ปวดตา ตาแดง มีเมือกเหนียวหรือมีขี้ตา ตาแฉะหรือมีการผลิตน้ำตามากขึ้นแต่ก็ไม่สามารถทำให้ตาหายแห้งหรือหายระคายเคืองได้
สายตามีความไวต่อแสงมากกว่าปกติ
รู้สึกเสียด ระคายเคืองเหมือนมีอะไรอยู่ในดวงตา กระพริบตาไม่สะดวก
หากจะต้องใส่คอนแทคเลนส์จะใส่ได้ยาก
การขับรถในเวลากลางคืนทำได้ยาก
มีอาการล้าสายตา หรือเห็นภาพไม่ชัดเบลอ รู้สึกอยากหลับตา
วิธีดูแลรักษาและป้องกันอาการตาแห้ง
การดูแลตนเองทำได้ไม่ยาก หากเป็นกรณีที่มีอาการตาแห้งไม่รุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ก็สามารถทำได้ด้วยการใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตา แต่ในรายที่เป็นรุนแรงและเรื้อรังจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพื่อทำการรักษา รวมทั้งจะต้องจำกัดปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดตาแห้งได้ โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดตาแห้ง เช่น หากเกิดจากการโดนลมก็จะต้องหลีกเลี่ยง เกิดจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด แพทย์ก็อาจจะต้องเปลี่ยนการใช้ยานั้น ๆ หรือหากเกิดจากการที่เปลือกตาปิดไม่สนิท แพทย์อาจจำเป็นต้องให้เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเปลือกตา


Woman photo created by freepik – www.freepik.com

น้ำตาเทียม และการหยอดน้ำตาเทียม
ตาแห้งหากอาการไม่รุนแรง ผู้ที่เป็นสามารถใช้น้ำตาเทียมหยอดตารักษาบรรเทาอาการโดยไม่ต้องไปพบแพทย์ จัดว่าเป็นวิธีการรักษาเบื้องต้นที่ทำได้ดีที่สุด เนื่องจากน้ำตาเทียมเป็นสารหล่อลื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายน้ำตาจริงจากธรรมชาติ ใช้รักษาอาการตาแห้ง ลดอาการระคายเคืองในลูกตา หรือใช้เป็นสารหล่อลื่นช่วยขณะใส่คอนแทคเลนส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งหาซื้อง่ายราคาไม่แพง โดยน้ำตาเทียมถูกจัดให้เป็นยาที่ใช้ภายนอก สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ แบ่งออกได้ 3 ชนิดดังนี้

แบบสารละลายไม่ใส่สารกันเสีย บรรจุอยู่ในรูปแบบของแพกเกตเล็ก ๆ เป็นกระเปาะ 
แบบสารละลายที่ใส่สารกันเสีย บรรจุอยู่ในรูปแบบของหลอดและขวด ใช้ได้ 1 เดือนหลังจากเปิดใช้แล้ว
แบบสารละลายเป็นเจล โดยมีสารละลาย โพลีไวนิลแอลกอฮอล์ คาร์บอกซิเมทิล เซลลูโลส ไฮโปรเมลโลสและโซเดียมไฮยาลูโรเนตเป็นสารประกอบหลัก
ข้อควรระวังในการใช้น้ำตาเทียม
หากเป็นผู้ที่มีประวัติว่าเคยแพ้น้ำตาเทียม ก็ควรหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนการใช้
เพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือปนเปื้อนเชื้อโรค ขณะหยอดน้ำตาเทียมควรระวังไม่ให้ปลายหลอดสัมผัสกับลูกตา หรือส่วนอื่นๆของร่างกาย
หลังการหยอดตาด้วยน้ำตาเทียมหากมีอาการผิดปกติใด ๆ เช่น มีอาการตาแห้งแบบรุนแรงขึ้น ระคายเคืองมากขึ้น ควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องต่อไป
น้ำตาเทียมแบบชนิดที่ใส่สารกันเสีย หากจะต้องใช้ร่วมกับคอนแทคเลนส์จะต้องถอดคอนแทคเลนส์ออกก่อน เพราะจะทำให้คอนแทคเลนส์เปลี่ยนสีหรือทำลายเยื่อบุตาจนเป็นอันตรายได้
การใช้น้ำตาเทียมร่วมกับยาชนิดอื่น ควรเว้นระยะห่างกันประมาณ 10 นาที
ห้ามนำน้ำตาเทียมที่หมดอายุมาใช้ เมื่อเปิดใช้แล้วต้องทิ้งภายใน 1 เดือน
ควรเก็บน้ำตาเทียมไว้ในอุณหภูมิห้อง หรือแช่เย็นไว้ที่อุณหภูมิ 15–30 องศาเซลเซียสเท่านั้น
ตาแห้งเป็นอาการที่สามารถป้องกันได้หลายวิธี ได้แก่ การใส่แว่นตาที่มีเลนส์ป้องกัน พักสายตาจากการเล่นโทรศัพท์มือถือหรือจากจอคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีการบริหารดวงตาบ้าง เมื่อมีอาการตาแห้ง ไม่ควรขยี้ตาเพราะอาจเสี่ยงทำให้ตาแดง ตาอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายต่อดวงตา ควรใช้น้ำตาเทียมหยอด เพื่อรักษาและบรรเทาอาการเบื้องต้นจะดีที่สุด หากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรรีบไปพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/dry-eyes-artificial-tears/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

77

เบาหวาน เป็นโรคที่มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี มักมีอาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มักไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน หากปล่อยนาน นอกจากมีอาการแทรกซ้อนได้แล้วยังยากต่อการรักษา หากมีการตรวจคัดกรองหรือรู้ทันโรครู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ ก็จะสามารถควบคุมได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้ทุกคนรู้ทันโรคเบาหวาน เรามีความรู้ดี ๆ มาแนะนำ

โรคเบาหวาน คืออะไร ?
เบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากฮอร์โมนอินซูลินทำงานผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของปริมาณอินซูลิน หรืออวัยวะต่างๆตอบสนองต่ออินซูลินลดลง จนทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดออกมาใช้เลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือนำมาเผาผลาญเป็นพลังงานได้ จนต้องไปสลายไขมันตามผิวหนังออกมาใช้แทน น้ำตาลจึงเหลือปนอยู่ในเลือดสูง หากถึงระดับที่ไตไม่สามารถกรอง และดูดกลับจากหน่วยไตได้หมด ก็จะทำให้มีน้ำตาลรั่วออกมากับปัสสาวะ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ก็ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามมา 


Designed by yanalya / Freepik

อาการหรือสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน
น้ำหนักตัวลด เหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย หงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย
หิวบ่อยรวมทั้งกระหายน้ำบ่อย ๆ แบบผิดปกติ 
ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
ตาพร่ามัวอย่างผิดปกติ
ตามปลายมือและปลายเท้ามักมีอาการชา รวมทั้งปวดตามแขน ขา
คันตามผิวหนัง ผิวหนังแห้งและมักเป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
เมื่อเป็นแผลง่ายแต่จะรักษาให้หาย ทำได้ยาก ใช้เวลานาน
ความรู้สึกทางเพศลดลง

ภาพโดย stanias จาก Pixabay

สาเหตุและประเภทของเบาหวาน 
เบาหวานไม่ได้มีสาเหตุเพียงแค่การทานอาหารที่มีรสหวานจนเกินไปเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดได้กับผู้ที่มีพฤติกรรมการเสี่ยง อย่างอื่น ๆ ได้อีกเช่น มีน้ำหนักมากเกินไป อ้วน มีไขมันในเลือดสูง รวมทั้งเกิดจากสาเหตุที่เป็นหลักดังนี้

เบาหวานที่เกิดจากตับถูกทำลาย ทำให้ขาดอินซูลิน 
เบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อยา มักเกิดกับคนอ้วน พบมากที่สุด 
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ 
เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุจำเพาะ เช่น กรรมพันธุ์ ยาบางชนิด
การวินิจฉัยโรค จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
เมื่อมีอาการซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเบาหวานควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีผลของการตรวจดังนี้ 

ตรวจหาน้ำตาล จะพบว่ามีค่าน้ำตาลเท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ทดสอบความทนต่อน้ำตาล ด้วยการให้อดอาหาร จากนั้นจะตรวจเลือดครั้งที่ 1 หลังจากนั้นจะให้ดื่มกลูโคสและเจาะเลือดตรวจซ้ำ ผลจะมีค่าน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ตรวจเลือดร่วมกับการวิเคราะห์อาการที่ผิดปกติเช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด 
ตรวจเลือดโดยไม่ต้องอดอาหารร่วมกับการพิจารณาปัจจัยอื่นๆของผู้ป่วยเช่น เป็นโรคโลหิตจางหรือไม่ อายุ ซึ่งผลตรวจเลือดมีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 6.5%

ภาพโดย Myriam Zilles จาก Pixabay

การรักษาโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่เรื้อรัง รักษาไม่หายขาดแต่สามารถควบคุมให้น้ำตาลอยู่ในระดับปกติได้ ผู้ป่วยต้องอาศัยความตะหนักของการรักษาและให้ความร่วมมือกับแพทย์ ดังนี้

ควบคุมอาหาร เป็นวิธีที่สำคัญ ผู้ป่วยทุกรายควรเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและเคร่งครัด เช่น ไม่ทานเนื้อสัตว์ติดมัน ทานผลไม้ชนิดหวานน้อย ไม่ควรทาน อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก ๆ ฯลฯ
ออกกำลังกายชนิดต้านน้ำหนักเป็นประจำอย่างน้อย 45 นาที 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ 
ใช้ยาลดน้ำตาล ซึ่งต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ ห้ามซื้อยามาทานเอง
มาพบแพทย์ตามนัดและปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เมื่อเลือดมีน้ำตาลเข้ามาอยู่เป็นจำนวนสูงมากก็จะส่งผลให้ เส้นเลือดทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เกิดการอักเสบและอุดตันได้ง่าย เมื่อน้ำตาลไปเกาะกับเม็ดเลือดขาวก็จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อโรคอื่นๆลดลง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคดังนี้คือ

เบาหวานขึ้นตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม เสี่ยงกับการเป็นโรคต้อกระจก ต้อหิน หากไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้จอประสาทตาลอกและตาบอด
เบาหวานลงไต เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้เกิดแรงดันเลือดที่ไตสูงตามมาด้วย ทำให้ไตทำงานลดลง หากไม่ได้รับการรักษาก็อาจทำให้เกิดไตวายเรื้อรังจนต้องรักษาด้วยการล้างไต
เส้นเลือดอุดตัน โดยเฉพาะเส้นเลือดแดงใหญ่บริเวณขา มักมีอาการปวดขา ปลายเท้าเย็น ขาเงามัน ขนขาร่วง เมื่อปลายเท้าขาดเลือดนานวันก็จะทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ในที่สุดก็อาจจะต้องตัดนิ้วหรือตัดขาทิ้ง
ชาปลายมือปลายเท้า เจ็บเหมือนโดนเข็มทิ่มหรือแสบร้อน บางรายพบอาการทางประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ผิดปกติ เช่น เหงื่อไม่ออกหรือออกง่าย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ท้องอืด จุกแน่น สำลักอาหาร
เส้นเลือดหัวใจและสมองตีบ ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หัวใจสูบฉีดเลือดได้ลดลง ความดันต่ำ หากเป็นเส้นเลือดในสมองตีบก็จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานนั้น ทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงหรือไม่ทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเพื่อควบคุมระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน ตรวจคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี รวมทั้งสตรีมีครรภ์จะต้องรีบไปฝากครรภ์ เท่านี้ร่างกายก็ห่างไกลจากเบาหวานได้แล้ว


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/diabetes-control/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

78

โรคเครียดลงกระเพาะ มักเกิดกับกลุ่มคนวัยทำงานที่ทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน จนทำให้ร่างกายอ่อนล้ามีความเครียดและความวิตกกังวล ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ได้ การที่เรารู้ทันโรค มีวิธีรับมือและป้องกันรักษาอย่างตรงจุด ทำให้เราห่างไกลจากโรคเครียดได้ไม่ยาก สำหรับคนที่มีภาวะเครียดจากการทำงานหรืออาจกังวลว่าจะเป็นโรคเครียดลงกระเพาะ บทความนี้ เรามีความรู้และวิธีป้องกันรักษามาแนะนำ

โรคเครียดลงกระเพาะ คืออะไร ?
ความเครียดที่เกิดจากการทำงาน หรือเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ โรคเครียดลงกระเพาะ เป็นอาการของโรคที่มีผลมาจากความเครียด เมื่อเกิดความเครียดมาก ๆ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายความแปรปรวนและเส้นเลือดบีบตัวทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งก็เป็นผลให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติจนทำให้กระเพาะเป็นแผลและลำไส้บีบตัวอย่างรุนแรง นอกจากทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวดยังอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายร้านแรงได้

ความเครียดส่งผลต่อระบบย่อยอาหารอย่างไร?
ภายในร่างกายของคนเรา อวัยวะในระบบย่อยอาหารเป็นส่วนที่อ่อนไหว และมีเส้นประสาทจำนวนมาก เมื่อเกิดความวิตกกังวลหรือความเครียดบ่อย ๆ ก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เส้นประสาทเหล่านี้สั่งการให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้กล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติและอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ดังนี้

ระบบย่อยอาหารหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง
ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานน้อยลง
กล้ามเนื้อหลอดอาหารหดเกร็งและมีกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น 
ส่งผลทำให้ในกระเพาะอาหารและระบบย่อยมีแบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนมากกว่าแบคทีเรียชนิดดี
ส่งผลให้มีอาการแสบร้อนกลางอกและกรดไหลย้อน
อาจส่งผลทำให้มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียร่วมด้วย

Food photo created by freepik – www.freepik.com

สัญญาณเตือนเมื่อมีภาวะเครียดลงกระเพาะ
มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เสียดทรวงอกหลังกินอาหาร
หลังทานอาหารไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง จะเริ่มมีอาการปวดหลัง ซึ่งเป็นเวลาที่กระเพาะอาหารเริ่มทำหน้าที่ย่อยอาหาร
มีอาการปวดบริเวณลิ้นปี่ โดยเฉพาะเวลาท้องว่างจะเริ่มมีอาการปวด
รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง เหมือนมีลมในกระเพาะ
หายใจเร็ว เนื่องจากรูจมูกขยาย จากการที่ปอดขยายตัว
มีอาการขนลุกบ่อย ๆ  โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเกิดจากเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังหดตัว
หายใจเร็วกว่าปกติ เนื่องจากรูจมูกขยายจากการที่ปอดขยายตัว
วิธีรับมือ เมื่อภาวะเครียดลงกระเพาะ
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายยังกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น ทั้งยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นด้วย
เมื่อรู้สึกตัวเองว่ามีภาวะเครียด ควรหากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดทำ เช่น อ่านหนังสือ เล่นโยคะ หรือ เล่นดนตรี ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เพื่อทำให้รู้สึกเพลิดเพลินและลืมความเครียดความวิตกกังวลลงได้
อาจใช้วิธีฝึกสมาธิและกำหนดลมหายใจ โดยนั่งในท่าที่รู้สึกสบายและหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ หลับตา เพ่งสมาธิไปที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทีละส่วน เพื่อให้รู้สึกถึงกระบวนการต่าง ๆ ตามธรรมชาติที่กำลังเกิดขึ้นในร่างกาย เมื่อทำเป็นประจำจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด ก็ทำให้ห่างไกลจากโรคเครียดลงกระเพาะได้
เมื่อรู้สึกไม่สบายหรือเริ่มมีภาวะเครียด การขอคำแนะนำปรึกษาจากเพื่อน จากครอบครัว หรือจากคนรอบข้าง เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้นได้ หรืออาจปรึกษานักจิตวิทยาเพื่อให้คำแนะนำหรือช่วยแนะนำวิธีรับมือกับความเครียด ซึ่งวิธีนี้ทำให้ห่างไกลความเครียดได้อย่างเห็นผล และสามารถป้องกันโรคเครียดลงกระเพาะได้อีกทางหนึ่ง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น จัดตารางการทำงานอย่างเหมาะสม ไม่ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพักผ่อน และจัดสรรงานที่ต้องทำให้เป็นไปอย่างมีระบบระเบียบ
เมื่อประสบกับปัญหาชีวิต หรือปัญหาจากการทำงาน พยายามหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา พิจารณาที่ต้นเหตุหรืออาจเปลี่ยนมุมมองความคิดต่อปัญหานั้น ๆ ให้เป็นไปในแง่ดีหรือมองปัญหาอย่างเข้าใจ มองในมุมบวกก็จะช่วยลดความเครียดลงได้
ระวังและควรหลีกเลี่ยงการรับมือกับความเครียดด้วยวิธีที่ผิด เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอลล์ ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียด และยังส่งผลต่อกระบวนการย่อยได้
พบแพทย์ และทานยาตามแพทย์สั่ง โรคเครียดลงกระเพาะ หากมีอาการที่รุนแรงทรมานจากอาการปวดท้อง ไม่สบานตัว ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตามแนวทาง และพบแพทย์หรือทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง
โรคเครียดลงกระเพาะ สาเหตุสำคัญมาจากความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคนที่อยู่ในช่วงวันทำงาน ความเครียดเมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ได้  การกำจัดความเครียดหรือเรียนรู้ที่จะรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ ก็คือแนวทางสำคัญที่ช่วยป้องกันให้ทุกคนห่างไกลจากโรคเครียดลงกระเพาะได้เป็นอย่างดี


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/stress-affect-stomach/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

79

เบาหวานในขณะตั้งครรภ์ เป็นความผิดปกติของการเผาผลาญคาโบไฮเดรตและการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในขณะที่ตั้งครรภ์ และยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะของการตั้งครรภ์ ทำให้เสี่ยงหรือมีโอกาสเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกได้

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติโดยทั่วไปมักพบภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงเวลาครึ่งหลังของการตั้งครรภ์

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 
ขณะตั้งครรภ์คุณแม่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรืออายุน้อยกว่า 16 ปี
คุณแม่ตั้งครรภ์ มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคแพ้ภูมิตัวเองอยู่ก่อนแล้ว
มีประวัติคนในครอบครัวของคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นเบาหวาน เช่น พ่อหรือแม่ เป็นเบาหวาน
คุณแม่มีน้ำหนักมากหรืออ้วนมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ตั้งครรภ์มีคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง
คุณแม่ตั้งครรภ์มีประวัติเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มาก่อน


เบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับผลกระทบต่อมารดาและทารกในครรภ์
ระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่สูงมากของคุณแม่ตั้งครรภ์ อาจกระตุ้นให้ตับอ่อนของทารกผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุให้ทารกมีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการคลอด
เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด อาจคลอดในช่วงอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์
เด็กอาจตัวเหลือง เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำอาจส่งผลให้ทารกเกิดภาวะตัวเหลืองหลังคลอด ซึ่งทำให้ต้องรับการรักษาต่อในโรงพยาบาล
คุณแม่อาจเสี่ยงต่อภาวะน้ำคร่ำมาก เพราะปริมาณน้ำคร่ำในมดลูกที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และอาจเกิดปัญหาอื่น ๆ ขึ้นในระหว่างคลอดได้
เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อทั้งแม่และทารกในครรภ์
คุณแม่มีโอกาสเป็นเบาหวานอีกครั้งเมื่อตั้งครรภ์ลูกคนต่อไป และอาจป่วยด้วยโรคเบาหวานเรื้อรั้งหลังคลอดได้
อาการเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยทั่วไปจะไม่มีอาการใด ๆ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ซึ่งจะคล้ายกับอาการของผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง  เช่น รู้สึกหิวกระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย และนอนหลับระหว่างวัน

การวินิจฉัยทางการแพทย์
ตรวจคัดกรอง แพทย์จะสอบถามประวัติคุณแม่ตั้งครรภ์ และบุคคลในครอบครัว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และวัดค่าดัชนีมวลกายว่ามากกว่า 30
การตรวจร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ เช่น รูปร่างหรือน้ำหนักตัวหากอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โอกาสเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ก็มีมากด้วย หรือตรวจความผิดปกติของครรภ์ เช่น ครรภ์ใหญ่กว่าปกติ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ตรวจเพื่อหาน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจหาระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โดยวิธี OGTT


การรักษาเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะที่ยังไม่มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจนเนื่องจากยังไม่มีข้อสรุปเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยที่เหมาะสม รวมทั้งยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในระหว่างตั้งครรภ์ที่ส่งผลต่อมารดาและทารก คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด โดยมีแนวทางในการรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ดังนี้ 

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จุดมุ่งหมายหลักของการดูแลรักษาภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในปัจจุบันคือพยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของของคุณแม่ตั้งครรภ์ให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
การควบคุมอาหาร แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารด้วยการบริโภคผัก ผลไม้ และธัญพืช เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การออกกำลังกาย เป็นองค์ประกอบสำคัญในการควบคุมโรคเบาหวาน โดยเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ เช่น  การออกกำลังกายที่แขนทั้งสองข้าง
ฉีดอินซูลิน หากระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูงอยู่หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายมาระยะหนึ่งแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาฉีดอินซูลิน เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ
การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์  โดยการตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์มากเป็นพิเศษด้วยการอัลตราซาวด์ และอาจตรวจเพิ่มเติมเพื่อดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ว่ามีการเจริญเติบโตตามปกติหรือไม่
การปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เมื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์และพบว่ามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หลังการฝากครรภ์แพทย์จะให้คำแนะนำวิธีดูแลตนเอง คุณแม่ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ อย่างเคร่งครัด
ควบคุมอาหารให้ถูกสัดส่วนและรับประทานอาหารให้ถูกเวลา เช่น
ลดอาหารจำพวก แป้งหรือน้ำตาล และเลือกทานข้าวซ้อมมือแทนข้าวขาว
เพิ่มอาหารจำพวกโปรตีน เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ
รับประทานผักผลไม้หลากหลายชนิด เน้นที่มีกากใยสูง
เลือกดื่มนมสดชนิดจืด และพร่องมันเนย
หลีกเลี่ยงของหวาน และผลไม้ที่มีรสหวานจัด
งดอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด หรือเผ็ดจัด
หลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยว อาหารประเภททอดหรืออาหารผัดที่ใช้น้ำมันมาก ๆ
ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นปัญญาสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่อาจส่งผลกระทบทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่าง ๆ


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/gestational-diabetes/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

80

วัยทอง คือช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เกิดได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทอง บางคนมีอาการรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การเรียนรู้ภาวะวัยทองและวิธีดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากช่วยให้ผู้ที่มีอาการวัยทองสามารถปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้แล้ว ความรู้เกี่ยวกับอาการวัยทองยังทำให้ลูกหลานหรือคนในครอบครัวรับมือกับอาการวัยทองของคนใกล้ตัวได้อย่างเข้าใจ 
รู้ทัน ภาวะวัยทอง 
ภาวะวัยทอง คือช่วงวัยที่ความสามารถในการผลิตฮอร์โมนเพศลดน้อยลง จนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย อารมณ์ และสังคม อาการวัยทองเกิดขึ้นได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย โดยส่วนใหญ่แล้วเพศหญิงจะมีอาการเปลี่ยนแปลที่ชัดเจนมากกว่าเพศชาย
อาการวัยทองของเพศหญิง
เกิดจากการสิ้นสุดของการมีประจำเดือนอย่างถาวรเนื่องจากรังไข่หยุดการทำงาน อายุเฉลี่ยที่จะเข้าสู่วัยทองคือ 40 – 59  ปี การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่ตามมา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนหมดประจำเดือนระยะนี้จะเกิดขึ้นประมาณ 2-3 ปี ระยะที่ 2 เป็นระยะหมดประจำเดือน ประมาณ 1 ปีและระยะที่ 3 คือระยะหลังหมดประจำเดือน เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่หลังหมดประจำเดือนมาแล้ว 1 ปี
อาการวัยทองในเพศชาย
เกิดจากระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเทสโทสเตอโรน เป็นฮอร์โมนหลัก ช่วยกระตุ้นลักษณะความเป็นเพศชาย มีบทบาทสำคัญในระบบการสืบพันธุ์ วัยทองในผู้ชายจะเริ่มเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
สัญญาณบ่งบอกอาการวัยทองในเพศหญิง
ประจำเดือนเริ่มมาไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนมาน้อยลง จนหมดประจำเดือน
มีอาการแปรปรวนทางอารมณ์ หงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ
มีอาการร้อนวูบวาบ อาจเกิดขึ้นเป็นเวลา เช่น ช่วงก่อนนอนอาจมีเหงื่อออกในเวลากลางคืน หรือ บางคนอาจมีอาการหนาวสั่น 
มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อและกระดูก
ผิวหนังแห้งและบางลง ทำให้เกิดแผลได้ง่าย เส้นผมหยาบแห้ง และหลุดร่วงมาก
สัญญาณบ่งบอกอาการวัยทองในเพศหญิง
เริ่มมีความต้องการทางเพศลดน้อยลง เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ลดลงตามวัย
ประสิทธิภาพทางเพศลดลง ความแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลง
ร่างกายมีความแข็งแรงลดลง ความสามารถในการเล่นกีฬาลดลง
อาจรู้รู้สึกซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว
อารมณ์หงุดหงิดง่าย ความสนุกสนานในชีวิตลดลง

ภาพโดย Jill Wellington จาก Pixabay

วิธีรับมือกับอาการวัยทองในเพศหญิงและเพศชาย  
สำหรับภาวะวัยทองในเพศหญิงและเพศชาย แม้จะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัยเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่การเรียนรู้อาการเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อถึงช่วงวัยทองก็จะทำให้สามารถรับมือและลดปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ วิธีรับมือกับอาการวัยทองในเพศหญิงและเพศชาย  มีดังนี้
ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกทานอาหารที่หลากหลายเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมดุล เน้นอาหารที่มีแคลเชียมสูง การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสุขภาพที่ดีช่วยลดความเครียด และอารมณ์แปรปรวนของคนที่อยู่ในช่วงวัยทองได้
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีความเหนียว แข็งทำให้เคี้ยวยากและย่อยยาก ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทพืชผักและผลไม้ที่ย่อยง่าย
ฝึกควบคุมอารมณ์และจิตใจ เมื่อเข้าสู่ภาวะวัยทอง หากเรียนรู้และเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และจิตใจ ควรควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาวะเหมาะสม ฝึกฝนได้โดยการนั่งสมาธิ คิดบวกมองบวกและทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  การออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลระบบการทำงานทั้งภายในและภายนอกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อมีอารมณ์หงุดหงิดการออกกำลังกายจะช่วยให้อารมณ์ดีและใจเย็นขึ้น 
พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ปัญหาสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยทอง
ปัญหาภาวะกระดูกพรุน ผู้ที่อยู่ในวัยทองมักมีอาการปวดกระดูก กระดูกแตกหักจากอุบัติเหตุเล็กน้อยได้ง่าย
น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นและเริ่มอ้วน ผู้ชายวัยทองอาจอ้วนลงพุง
มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ
สูญเสียมวลกล้ามเนื้อโดยเฉพาะผู้ชายวัยทอง เริ่มมีไขมันสะสมรอบเอวและหน้าอก
มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
ผิวแห้งและบางลง หย่อน ไม่เต่งตึง
อาหารที่ควรรับประทานในวัยทอง 
ผู้ที่เข้าสู่ช่วงวัยทอง อารมณ์มักแปรปรวน หงุดหงิดง่าย เป็นปัญหาที่เกิดจากระดับฮอร์โมนเพศลดลง อาหารที่รับประทานเป็นประจำ ควรเป็นอาหารที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ปลาแซลมอน ไข่ กล้วย ดาร์กช็อกโกแลต เต้าหู้ และน้ำเต้าหู้ นอกจากนี้วัยทองยังมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน มีโอกาสที่จะกระดูกแตกหักง่าย จึงควรรับประทานอาหารอุดมด้วยแคลเซียม ได้แก่ 
โยเกิร์ตไขมันต่ำ                                
นมไขมันต่ำ
ผักใบเขียว เช่น บล็อกโคลี แขนงผัก ดอกกะหล่ำ หัวไชเท้า เป็นต้น
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ รวมถึงแอปเปิ้ล องุ่น และส้ม
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเข้าสู่วัยทอง
ผู้ที่อยู่ในภาวะวัยทองควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารที่ไปกระตุ้นให้ภาวะวัยทองมีอาการมากขึ้นได้ เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มชา กาแฟ เป็นประจำยังส่งผลทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หลีกเลี่ยงอาหารอาหารรสจัด ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน และ อาหารแปรรูป เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง ส่งผลให้ไขมันสะสมที่หน้าท้อง ทำให้อ้วนได้ง่าย ทำให้เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวานหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ  อาการวัยทอง เป็นภาวะความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ในช่วงอายุระหว่าง 40 – 50 ปี วิธีดูแลสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยทอง ก็คือรู้ทันอาการวัยทองเพื่อรับมือกับอาการต่าง ๆ โดยเฉพาะการควบคุมอารมณ์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างและการดำเนินชีวิต บำรุงดูแลสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์หรือทานอาหารเสริมที่เหมาะกับผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารได้อย่างครบถ้วนและสมดุล

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/signs-and-symptoms-of-menopause/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

81

โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยหอบหืดจะมีภาวะหลอดลมอักเสบเรื้อรังทำให้หายใจไม่สะดวก เวลาหายใจมักมีเสียงหวีด ไอเรื้อรังและแน่นหน้าอก มีอาการหอบเหนื่อย แม้ไม่ใช่โรคติดต่อก็ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานโดยเฉพาะอาการที่เกิดกับเด็ก และหากอาการรุนแรงก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็ก ๆ และเคยมีประวัติเป็นหอบหืดโรคนี้สามารถติดต่อทางกรรมพันธุ์ได้ หากรู้สึกกังวลใจ วันนี้เรามี 5 เรื่องควรรู้ เกี่ยวกับโรคหอบหืดในเด็ก มาแนะนำค่ะ
โรคหอบหืดคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
โรคหอบหืดเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง โดยหลอดลมจะตอบสนองต่อสิ่งที่แพ้หรือสิ่งที่มากระตุ้นจนหลอดลมเกิดอาการหดบวมและเกร็งเป็นครั้งคราว เป็นโรคที่ไม่หายขาดมักจะเป็น ๆ หาย ๆ และเรื้อรัง สามารถเกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่โดยโรคนี้มีสาเหตุของการเกิดคือ 
เกิดจากกรรมพันธุ์ โดยพบว่าส่วนมากเด็กที่เป็นโรคนี้ มักมีประวัติมีพ่อแม่เป็นอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นจึงมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดจากพันธุกรรม ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูง
เกิดจากการที่มีสิ่งรอบ ๆ ตัวมากระตุ้น ซึ่งก็มักเป็นการหายใจเอาสิ่งเหล่านี้เข้าไป จนเกิดการติดเชื้อทางการหายใจ เช่น เกสรดอกไม้ ฝุ่น ไรฝุ่น เชื้อรา อากาศเป็นพิษ ควันบุหรี่ สารเคมีต่าง ๆ ขนและรังแคของสุนัขและแมว หรือการแพ้อาหารบางชนิดเช่น อาหารทะเล นมหรือไข่ รวมถึงมีเมื่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศก็สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้
อาการที่บ่งชี้ว่าลูกอาจเป็นหอบหืด
อาการของโรคนี้คือหายใจดัง เวลาหายใจมีเสียงดังหวีดออกจากปอด ซึ่งสาเหตุที่หายใจดังนั่นเป็นเพราะว่าเกิดอาการหลอดลมตีบจนทำให้หายใจไม่สะดวก และเมื่ออาการกำเริบรุนแรงเพราะเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจแล้ว การหายใจก็จะหายใจเร็ว หายใจลำบากมากยิ่งขึ้น แน่นหน้าอก โรคนี้มักไม่ค่อยมีอันตรายร้ายแรงมากนัก ยกเว้นในรายที่เป็นรุนแรงและได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดทางเดินหายใจ เกิดการอุดกั้นถาวรก็จะทำให้เสียชีวิตได้ แต่ถ้ามีอาการไม่รุนแรงก็อาจมีเพียงเวลาเหนื่อยจะมีแค่การไอ โดยเฉพาะในเวลาอากาศเย็น เวลากลางคืนและเวลาเช้ามืดเท่านั้น
การวินิจฉัยและขั้นตอนในการรักษาของแพทย์
หากต้องการทราบว่าลูกจะเป็นโรคหอบหืดหรือไม่ เมื่อมีอาการก็ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย โดยแพทย์จะทำการประเมินด้วยการซักประวัติ ดูอาการ ตรวจร่างกาย ทำการทดสอบสมรรถภาพของปอดและตรวจหาสารหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ หากสรุปได้ว่าเป็นโรคหอบหืดจริงก็จะทำการรักษาด้วยการ ให้คำแนะนำให้หลีกเลี่ยงสารหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ลูกแพ้ จากนั้นก็จะให้ยาพ่นเสเตียรอยด์ ยาสูดพ่นขยายหลอดลมและยาต้าน Leukotriene

School photo created by freepik – www.freepik.com

เมื่อลูกมีอาการหอบหืดต้องทำอย่างไร 
หากมีอาการขณะที่ลูกกำลังวิ่ง ต้องให้ลูกหยุดวิ่งและพักทันที
พยายามให้ลูกค่อย ๆ หายใจ และให้หายใจทางปาก โดยค่อย ๆ เป่าลมออกมา
หาน้ำอุ่นให้ลูกดื่มบ่อย ๆ และให้ดื่มมาก ๆ
ให้ยาตามที่แพทย์สั่ง เช่น ให้กินยาแก้หอบ ยาขยายหลอดลม ซึ่งหากเป็นแบบพ่นควรให้ซ้ำ 3 ครั้งห่างกันประมาณ 20 นาที เมื่ออาการดีขึ้นก็ควรให้ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง หากยังพบว่าอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที
วิธีดูแลและป้องกันเพื่อไม่ให้ลูกเกิดอาการแพ้ต้องทำอย่างไร
การป้องกันไม่ให้ลูกเป็นภูมิแพ้ หรือเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหอบหืดนั้น ก็จำเป็นต้องกำจัดปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรคหรือทำให้โรคกำเริบดังนี้
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่อย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ร่างกายของลูกแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น
กำจัดหรือหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ ต้องรู้ว่าลูกแพ้อะไร ไม่ต้องให้ลูกได้สัมผัสหรือใกล้ชิดสิ่งที่แพ้นั้น ต้องจัดบ้านที่อยู่ให้สะอาดเหมาะสม เช่น หากแพ้ฝุ่นหรือไรฝุ่นก็ควรทำความสะอาดบ้าน ห้องนอนหรือซักเครื่องนอนให้สะอาดเป็นประจำ หรืออาจใช้เครื่องนอนที่ทำจากวัสดุเพื่อป้องกันไรฝุ่น และควรมีของเล่นในห้องให้น้อยชิ้น ไม่พาลูกไปในที่มีมลภาวะเป็นพิษ เช่นหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันธูป ควันจากท่อไอเสีย
เครื่องปรับอากาศ (ถ้ามี) ควรล้างทำความสะอาดเป็นประจำ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของฝุ่น
ไม่ควรเลี้ยงสัตว์เลี้ยงที่มีขนไว้ในบ้านเพื่อป้องกันรังแคจากขนและเห็บหมัดจากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ ควรเลี้ยงไว้นอกบ้าน 
ไม่ควรมีของใช้หรือของเล่นที่เก็บฝุ่นหรือเกิดการอับชื้นได้ง่าย เช่น พรม ตุ๊กตาที่เป็นแบบมีขน หากจำเป็นต้องมีควรนำออกมาซักหรือตากแดดบ่อย ๆ
อย่าซื้อยามารักษาโรคเอง ควรให้ลูกทานยาตามแพทย์สั่งและมาตามที่แพทย์นัด หากลูกเริ่มมีอาการควรรีบปรึกษาแพทย์และทำตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
โรคหอบหืดเป็นโรคที่รักษาให้หายได้ โดยเฉพาะเด็ก ๆ เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ร่างกายมีการพัฒนาโดยเฉพาะที่ปอด เมื่อปอดมีการเจริญเติบโตได้เต็มที่ก็อาจจะทำให้โรคหอบหืดหายไปได้ แต่ก็พบว่าบางรายไม่หายขาด มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ซึ่งหากเป็นกรณีนี้วิธีการแก้ไขคือการออกกำลังกายเป็นประจำ และพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยบรรเทาอาการหากลูกเริ่มมีอาการควรรีบปรึกษาแพทย์และทำตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดไม่ให้กำเริบบ่อย ๆ ได้

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/5-things-to-know-about-childhood-asthma/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

82

เชื่อว่าหลายคนเคยได้ยินคำว่า “ดวงตา คือหน้าต่างของหัวใจ” เพราะไม่ว่าคนเราจะรู้สึกอย่างไรหากไม่สื่อสารด้วยคำพูด ก็มักแสดงออกทางสายตา การดูแลสุขภาพดวงตาจึงช่วยถนอมสายตาจากโรคภัยที่หลายคน ๆ อาจมองข้าม และอาการภูมิแพ้ขึ้นตา ก็เป็นหนึ่งในโรคทางตาที่เราสามารถป้องกันได้หากเรารู้ทันโรค และวันนี้ก็มีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับภูมิแพ้ขึ้นตา มาแนะนำครับ
ภูมิแพ้ขึ้นตา คืออะไร ?
ภูมิแพ้ขึ้นตา  คืออาการของโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง มักเกิดบริเวณเยื่อบุตา ซึ่งเป็นจุดที่ทำหน้าที่ปกป้องดวงตา เมื่อเยื่อบุตาจะเกิดปฏิกิริยาต่อสารที่ร่างกายแพ้จะทำให้เกิดการอักเสบ ระคายเคือง คัน เจ็บ แสบตา ตาแดง และน้ำตาไหล อาการภูมิแพ้ขึ้นตา เป็นโรคที่สามารถเกิดร่วมกับอาการภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ด้วย
สาเหตุของโรคภูมิแพ้ขึ้นตา เกิดจากอะไร ?
โรคภูมิแพ้ เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้บางอย่างเข้าไป และร่างกายได้เกิดปฏิกิริยาไวต่อสารนั้น จนระบบภูมิคุ้มกันต้องผลิตสารภูมิต้านทานออกมา และทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ขึ้น โดยสามารถพบสารก่อภูมิแพ้ได้ทุกที่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นอาหาร อากาศ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป สารเคมี ฝุ่น ควัน ขนสัตว์ แมลง ละอองเกสรดอกไม้ หรือพืชบางชนิด ในส่วนของโรคภูมิแพ้ขึ้นตา เกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่แพ้เช่นเดียวกับอาการภูมิแพ้อื่น ๆ โดยมักเกิดการอักเสบที่บริเวณเยื่อบุตาขาว อาการภูมิแพ้ขึ้นตามีหลายชนิดและมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้
ภูมิแพ้ตามฤดูกาล ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิดนี้มักเกิดขึ้นตามสภาพอากาศ และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาเดิมของเดือน
ภูมิแพ้เรื้อรัง ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิดนี้ แม้อาการจะไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง ระยะเวลาการแพ้อาจมีอาการทั้งปี สาเหตุมาจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้บ่อย ๆ หรือทุกวัน เช่น ฝุ่นในบ้าน เชื้อรา ขนสัตว์ ไรฝุ่นในที่นอน ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ต้องเผชิญอยู่เป็นประจำ
ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิดมีอาการฉับพลัน เช่น แพ้คอนแทคเลนส์ ยาหยอดตาบางชนิด หรือน้ำยาคอนแทคเลนส์ อาการแพ้มักเจอเม็ดขนาดใหญ่ที่บริเวณเยื่อบุตา จึงต้องตรวจพื้นผิวเยื่อบุตาอย่างละเอียด 
อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคภูมิแพ้ขึ้นตา
อาการภูมิแพ้ขึ้นตา จะมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย มักเกิดที่ตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างพร้อมกัน อาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอกได้แก่ 
อาการคันในดวงตา ตาแดง น้ำตาไหล แสบตา มีความไวต่อแสง หรือมีอาการระคายเคือง 
มีอาการเจ็บที่เปลือกตา เปลือกตาบวม บริเวณตาขาวเป็นสีชมพูหรือสีแดง
ลักษณะอาการแพ้ภูมิแพ้ที่ตาจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อได้รับสิ่งที่ร่างกายแพ้
การวินิจฉัยโรค
แพทย์จะทำการซักประวัติของการแพ้ รวมทั้งประวัติของคนในครอบครัวว่าเคยมีอาการภูมิแพ้ที่ตามาก่อนหรือไม่
ตรวจลักษณะของดวงตาเพื่อหาสิ่งแปลกปลอม หรือดูสีของดวงตา เพื่อทดสอบความสามารถในการมองเห็น
ตรวจด้วยเครื่องเพื่อประเมินความผิดปกติของลูกตา 
ทดสอบการแพ้สิ่งต่าง ๆ ทางผิวหนัง เพื่อหาสารก่อภูมิแพ้ที่มีต่อร่างกายว่ามีสิ่งใดบ้าง เนื่องจากอาการภูมิแพ้ขึ้นตาสามารถเป็นร่วมกับอาการแพ้อื่น ๆ ได้ด้วย
ตรวจด้วยการเก็บเยื่อบุตาหาเซลล์เม็ดเลือดขาว เพื่อตรวจหาการตอบสนองของร่างกายที่มีต่อสิ่งที่แพ้

Woman photo created by freepik – www.freepik.com

ขั้นตอนการรักษา
สำหรับขั้นตอนการรักษา เมื่อจักษุแพทย์ทำการวินิจฉัยว่าเป็นภูมิแพ้ขึ้นตาชนิดใด ก็จะทำการรักษาตามอาหารหรือตามชนิดของโรค ดังนี้
หากเป็นภูมิแพ้ตามฤดูกาล แพทย์จะทำการรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตา เพื่อต้านภูมิแพ้ร่วมกับยาระงับการหลั่งของสารที่ทำให้แพ้ และยาแก้อาการคัน
ภูมิแพ้ขึ้นตาชนิดเรื้อรัง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้ร่างกายแพ้ร่วมด้วย และทำการรักษด้วยยาตามอาการ
ภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลัน จักษุแพทย์จะทำการรักษาโดยการใช้ยาหยอดตา เพื่อต้านภูมิแพ้ร่วมกับยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือด
วิธีดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้โรคภูมิแพ้ขึ้นตากำเริบ
ให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาด เช่น ล้างมือด้วยสบู่และน้ำอุ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนใช้ยาหยอดตา
ดูแลรักษาความสะอาดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน และปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ทำความสะอาดเครื่องนอนและนำออกตากแดดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดไรฝุ่นรวมทั้งไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้าน
ล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศตามกำหนดระยะเวลา หรือเร็วกว่าในช่วงที่มีฝุ่นละอองมาก ๆ
กรณีผู้ป่วยทที่มีอาการแพ้เรื้อรัง อาจติดเครื่องกรองอากาศไว้ภายในบ้าน
เมื่อมีอาการภูมิแพ้ขึ้นตา เช่น อาการคันหรือระคายเคือง ไม่ควรขยี้ตา ควรใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตา จากนั้นให้ทำการประคบเย็น หากอาการไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบแพทย์
ภูมิแพ้ขึ้นตา หากเป็นแล้วอาการไม่รุนแรงจนเกิดการอักเสบที่กระจกตา ก็จะไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ยกเว้นเมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ แต่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้เยื่อบุตาอักเสบแบบเรื้อรังที่อาจส่งผลต่อสุขภาพตาในระยะยาว ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคต้อหินหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายได้ แต่ภูมิแพ้ขึ้นตา ก็เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้หากรู้ทัน บทความนี้คงเป็นประโยชน์และช่วยให้รู้ทันโรคนี้มากขึ้นนะครับ

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/allergic-conjunctivitis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

83
ปัญหาสายตาในผู้สูงวัยมีด้วยกันหลายประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ชีวิต การทำงานและการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของแต่ละบุคคล แต่หนึ่งในปัญหาทางด้านสายตาที่พบมากในผู้สูงวัยเป็นอันดับต้นๆก็คือ ต้อลม โรคนี้เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันรักษาหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

ต้อลม คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับต้อเนื้อ
ต้อลม เป็นปัญหาทางด้านสายตาที่พบมากในผู้สูงวัย ไม่ใช่เนื้องอกหรือมะเร็ง แต่เป็นการเสื่อมของเยื่อบุตาขาว ลักษณะเป็นแผ่นเนื้อสีขาวเหลืองหรือมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อ เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุตาขาวข้างกระจกตาดำ พบมากบริเวณหางตาเนื่องจากเป็นด้านที่สัมผัสกับสิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงมากที่สุด อาการของต้อลมในผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอาการอาจลุกลามจนกลายเป็นต้อเนื้อ ที่มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อขยายตัวใหญ่ขึ้น มีความหนามากขึ้นและลามไปถึงบริเวณกระจกตาดำทำให้ส่งผลต่อการมองเห็นหรือเกิดความผิดปกติทางสายตาอย่างถาวร

สาเหตุของต้อลมในผู้สูงวัย
สาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัดแต่พบว่า ต้อลม ในผู้สูงอายุมีปัจจัยสำคัญมาจากมลภาวะที่ตากระทบอยู่เป็นเวลานาน เช่น ลม ฝุ่น ควัน สารเคมี และมลพิษทางอากาศ แสงแดดที่มีรังสีอัลตราไวโอเลตอยู่ด้วย ความร้อนหรือไอร้อนต่าง ๆ คือสาเหตุทำให้เกิดอาการต้อลมรวมทั้งกรรมพันธุ์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ปู่ย่าตาทวดที่เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้เช่นกัน

อาการของโรคต้อลมในผู้สูงอายุ
อาการโดยทั่วไปของต้อลมอาจมีทั้งแบบไม่แสดงอาการใด ๆ เลย จนถึงอาการอักเสบที่รุนแรง ซึ่งแต่ละคนอาจมีอาการที่แตกต่างกันออกไป อาการที่สังเกตได้ มีดังนี้

มีอาการตาแห้ง แสบตา หรือเคืองตา
รู้สึกเหมือนมีเม็ดทรายหรือเศษผงติดอยู่ในดวงตา
มีอาการตาบวมและเจ็บตา
เปลือกตาหรือผิวบริเวณรอบดวงตามีอาการบวมแดง
สายตามีปัญหาในการมองเห็นเพิ่มมากขึ้น
การรักษาต้อลม
ต้อลมในระยะเริ่มแรกอาจมีขนาดเล็กไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา การดูแลรักษาเพื่อไม่ให้อาการผิดปกติหรือลุกลามจนเกิดการอักเสบทำได้หลายวิธี ดังนี้

หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดต้อลม เช่น แสงแดด ลม ฝุ่น ควัน หรือไอร้อน และความร้อนต่าง ๆ
ป้องกันตนเองจากปัจจัยกระตุ้น เช่น สวมแว่นกันแดด หรือพักสายตาเป็นระยะเมื่อต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารอื่น ๆ เพื่อป้องกันอาการตาแห้ง
ใช้ยาหยอดตาเพื่อลดอาการ สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการเคืองตา น้ำตาไหล
การรักษาต้อลมที่กลายเป็นต้อเนื้อ
อาการต้อลมในผู้สูงอายุ หากเป็นแล้วไม่ได้รับการดูรักษาปล่อยให้อาการรุนแรงและลุกลามกลายเป็นต้อเนื้อ มีก้อนเนื้อหนาและขยายตัวใหญ่ขึ้นจนลามไปถึงกระจกตาดำ ทำให้การมองเห็นผิดปกติหรือมองไม่เห็นอย่างถาวร ซึ่งการรักษาต้อลมที่กลายเป็นต้อเนื้อทำได้ ดังนี้

ลอกต้อเนื้อแบบไม่ปลูกเนื้อเยื่อ จักษุแพทย์จะลอกต้อเนื้อออก แล้วทิ้งบริเวณที่ลอกไว้ให้เนื้อเยื่องอกกลับมาคลุมส่วนที่ลอกออกไปเอง วิธีนี้มีข้อดีคือใช้เวลาน้อย แต่อาจกลับมาเป็นต้อเนื้อได้อีก
ลอกต้อเนื้อแบบปลูกเนื้อเยื่อโดยใช้เยื่อบุตาขาว จักษุแพทย์จะลอกต้อเนื้อออกแล้วทำการเลาะเนื้อเยื่อบุตาขาว ที่อยู่บริเวณใต้เปลือกตาด้านบนมาแปะบริเวณที่ลอกก้อนเนื้อออกไป วิธีนี้จะช่วยลดโอการการเกิดต้อลมซ้ำได้มากถึง 40% – 50%
ลอกต้อเนื้อแบบปลูกเนื้อเยื่อโดยใช้เยื่อรก วิธีนี้เป็นการลอกก้อนเนื้อออกแล้วใช้เนื้อเยื่อรก มาแปะบริเวณที่ลอกก้อนเนื้อออก เยื่อรกได้มาจากสภากาชาติไทยที่เก็บรักษาไว้ซึ่งได้จากการคลอดบุตร

ภาพโดย Gabor Jeszenszky จาก Pixabay

การดูแลผู้สูงอายุหลังผ่าตัดลอกต้อเนื้อ
หลังการผ่าตัดหรือลอกต้อเนื้อผู้ป่วยต้องระมัดระวังและห้ามน้ำเข้าตาเป็นเวลาอย่าน้อย  7 – 10 วันระวังอย่าให้น้ำเข้าตา
ห้ามผู้ป่วยขยี้ตาเป็นเวลาอย่างน้อย 2สัปดาห์
หลีกเลี่ยง แสงแดด ลม ฝุ่น และควัน เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำของต้อเนื้อ
หลังการผ่าตัดแพทย์จะให้ใช้ฝาครอบตา ไม่ควรแกะออกก่อนกำหนด และควรสวมฝาครอบตาตอนนอนหลับด้วย เพื่อป้องการการสัมผัสดวงตาขณะหลับ
หลังการผ่าตัดผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก ยกของหนัก หรือทำกิจกรรมใด ๆที่มีแรงกระแทกเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนถึงบาดแผล
ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง กรณีแผลผ่าตัดมีการอักเสบบวมแดงให้รีบไปพบแพทย์
วิธีป้องกันต้อลมต้อเนื้อในผู้สูงอายุ
ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
ผู้สูงอายุควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่า9งน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันอาการเคืองตา สายตาพร่ามัว ตาแห้ง จากการใช้สายตามาก ๆ และพักผ่อนไม่เพียงพอ
ควรสวมใส่แว่นตากันลม ฝุ่น ควันเมื่อจำเป็น เช่น อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นลออ ลมแรง ๆ หรือเมื่ออยู่กลางแจ้งเพื่อป้องกันแสงแดด
เมื่อมีปัญหาสุขภาพตา ไม่ควรซื้อยามาหยอดเอง เนื่องจากยาหยอดอาจมีส่วนผสมของสเตียรอยด์
กรณีผู้สูงอายุที่เป็นต้อลมอยู่แล้ว ควรดูแลรักษาป้องกันอาการรุนแรงหรือลุกลามกลายเป็นต้อเนื้อ ทำให้การดูแลรักษาทำได้ยากและมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น
ต้อลม ปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย หากเรู้ทันโรค รู้สาเหตุของโรค มีวิธีป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง หมั่นตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปีและพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติหรือมีปัญหาทางสายตา เพียงเท่านี้ก็ทำให้ห่างไกลจากโรคต้อลมและต้อเนื้อได้แล้ว


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/pinguecula-elderly-persons/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

84
ไส้เลื่อน เป็นปัญหาสุขภาพที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเกิดขึ้นกับผู้ชายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงไส้เลื่อน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพียงแต่ผู้ชายมีโอกาสที่จะเป็นไส้เลื่อนได้มากกว่า และมักพบโรคนี้เกิดขึ้นกับผู้ชายเป็นส่วนใหญ่ ไส้เลื่อน คืออะไร รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไส้เลื่อน เป็นแล้วมีวิธีดูแลรักษาอย่างไร คำถามเหล่านี้  เรามีคำตอบมาให้ครับ
โรคไส้เลื่อน คืออะไร ?
ไส้เลื่อน คือ ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกมาจากตำแหน่งที่อยู่เดิมไปอยู่ยังอีกตำแหน่งหนึ่ง และทำให้เห็นเป็นลักษณะคล้ายก้อนตุง ซึ่งเกิดจากความอ่อนแอของผนังช่องท้องหรือพังผืดที่เกิดความหย่อนยานสูญเสียความแข็งแรง โดยส่วนที่เคลื่อนตัวออกไปจะยังคงถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเดิม และอวัยวะที่เกิดไส้เลื่อนได้บ่อย คือ ลำไส้เล็ก
โรคไส้เลื่อนที่พบบ่อย 
ภาวะไส้เลื่อน หรือโรคไส้เลื่อน แบ่งออกเป็นหลายประเภทตามตำแหน่งของการเกิดโรค และที่พบได้บ่อย มีดังนี้
ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ เป็นภาวะของโรคที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณร้อยละ 70 ของโรคไส้เลื่อนที่พบทั้งหมด และยังพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เกิดจากความผิดปกติของผนังช่องท้องตั้งแต่กำเนิด โดยลำไส้เคลื่อนมาติดคาที่บริเวณขาหนีบหรือถุงอัณฑะ
ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ คือภาวะที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกมาตุงที่บริเวณกลางหน้าท้อง ทำให้เห็นลักษณะเป็นก้อนนูนบริเวณสะดือหรือสะดือจุ่น เกิดขึ้นได้ในเด็กและทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนเป็นไส้เลื่อนประเภทเดียวที่มักจะไม่มีอันตรายและสามารถหายไปได้เอง โดยส่วนใหญ่จะหายไปเมื่อเด็กอายุ 1 ขวบ
ไส้เลื่อนหลังจากการผ่าตัด ไส้เลื่อนประเภทนี้เป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ผู้ป่วยเคยได้รับการผ่าตัดที่บริเวณช่องท้องมาก่อน ทำให้ผนังหน้าท้องเกิดความอ่อนแอ
ไส้เลื่อนกะบังลม เกิดจากส่วนใดส่วนหนึ่งของกระเพาะอาหารยื่นออกมานอกช่องท้อง ผ่านรูบริเวณกะบังลมเข้าไปอยู่ในช่องอก เป็นลักษณะไส้เลื่อนที่พบในผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไป หากพบในเด็กโดยมากมักจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติแต่กำเนิด
สัญญาณเตือนของโรคไส้เลื่อน
กรณีเป็นไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ สัญญาณเตือนของโรคผู้ป่วยจะสังเกตได้ว่ามีก้อนนูนอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของกระดูกเชิงกรานหรือขาหนีบ อาจรู้สึกปวดบริเวณก้อนโดยเฉพาะขณะก้มตัว ยกสิ่งของ และไอจาม หรือมีอาการอัณฑะบวมและปวด
กรณีเป็นไส้เลื่อนกระบังลม ผู้ป่วยอาจมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ปวดบริเวณหน้าอก และรู้สึกกลืนลำบาก
โรคไส้เลื่อนอื่น ๆ สัญญาณเตือนของโรคอาจไม่มีก้อนนูนให้เห็นเลย แต่ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดท้องโดยหาสาเหตุไม่ได้ ปวดเฉพาะเวลาไอจาม หรือยกสิ่งของ มีอาการท้องผูก มีเลือดปนในอุจจาระ
อาการของโรคไส้เลื่อนที่ต้องรีบไปพบแพทย์
ภาวะของโรคไส้เลื่อนที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายและต้องได้รับการผ่าตัดรักษาฉุกเฉิน เช่น ภาวะลำไส้ขาดเลือดและเน่าตาย ภาวะลำไส้อุดตัน หรือไส้เลื่อนติดคาไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้องได้ ลักษณะอาการที่ต้องรีบไปพบแพทย์ ได้แก่
เริ่มมีอาการปวดบริเวณที่เป็นไส้เลื่อน
อาการของไส้เลื่อนที่ผู้ป่วยไม่สามารถดันก้อนนูนกลับเข้าไปในช่องท้องได้
มีอาการปวดบริเวณท้อง ท้องอืด ไม่ขับถ่าย ไม่ผายลม
มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
สาเหตุของโรคไส้เลื่อน
สาเหตุของโรคไส้เลื่อน เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งภาวะที่เกิดขึ้นจากปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ดังนี้
เกิดจากปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยที่อาจมีความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด
เกิดจากความเปลี่ยนแปลงของอวัยวะที่เสื่อมสภาพลงตามวัย เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น
การยกของหนัก ๆ ทำให้ต้องออกแรงมากและทำให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มสูงขึ้น
คุณแม่ที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เพราะเมื่อมีทารกเกิดขึ้นภายในครรภ์ จะส่งผลให้แรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น
เกิดจากได้รับอุบัติเหตุที่หน้าท้องและเกิดความเสียหายต่อผนังหน้าท้อง ซึ่งทำให้ผนังหน้าท้องอ่อนแอ
การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อน
การวินิจฉัยด้วยตัวเอง ทำได้โดยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น บริเวณหน้าท้องหรือบริเวณขาหนีบมีลักษณะนูนเป็นก้อนออกมามากผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจให้แน่ชัด
การวินิจฉัยโดยแพทย์ เมื่อไปพบแพทย์หลังสังเกตพบความผิดปกติที่เป็นสัญญาณบ่งบอกอาการของอาการไส้เลื่อน แพทย์จะวินิจฉัยอาการของคนไข้จากการซักประวัติและการตรวจโดยให้ผู้ป่วยลุกขึ้นยืนและลองไอออกมา เพื่อให้เห็นอาการของไส้เลื่อนได้ชัดเจนขึ้น และ คนไข้บางรายอาจต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม เช่น การอัลตราซาวด์ หรือ การเอกซเรย์ ตามดุลพินิจของแพทย์

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อน 
การรักษาโรคไส้เลื่อน รักษาได้โดยการผ่าตัดแพทย์ที่ทำการรักษา อาจจะเสนอแนวทางการผ่าตัดให้กับผู้ป่วย  2 วิธี ดังนี้
การผ่าตัดแบบเปิด โดยแพทย์จะทำการผ่าที่บริเวณหน้าท้องแล้วดันส่วนที่เคลื่อนออกมากลับเข้าไปสู่ตำแหน่งเดิม วิธีนี้เป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐานมากที่สุด
การผ่าตัดผ่านกล้องด้วยเครื่องมือเฉพาะ วิธีนี้แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิดมาก และมีค่าใช้จ่ายสูง ส่วนข้อดีคือหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะฟื้นตัวเร็วแต่อาจกลับกลับมาเป็นไส้เลื่อนซ้ำที่บริเวณเดิมได้
การดูแลตนเองหลังผ่าตัดไส้เลื่อน
หลังการผ่าตัดไส้เลื่อย หมอจะกำหนดเวลาให้ผู้ป่วยนอนราบ เมื่อครบกำหนดแล้วผู้ป่วยควรลุกจากเตียงให้เร็วตามกำหนด
หากไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ให้รับประทานอาหารได้ตามปกติ
เมื่อกลับมาพักพื้นที่บ้านครบกำหนด 7 วันให้ตัดไหมได้ที่คลินิก อนามัย หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้าน
ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ แต่ถ้าแผลถูกน้ำให้เปิดทำแผลทุกวัน
แผลผ่าตัดที่ปิดสนิท ไม่ต้องเปิดทำแผลและห้ามแกะเกา
หลีกเลี่ยงการการยกของหนัก และงดการออกกำลังกายหนัก ๆ ในช่วง 2 เดือนแรกหลังการผ่าตัด
ไม่ควรเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ เพราะหากมีความดันในช่องท้องเพิ่มอาจทำให้รอยเย็บหรือตาข่ายที่ใส่ไว้มีการเคลื่อน จะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้มากขึ้น
 ไส้เลื่อน เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัยแต่อาจพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สาเหตุการเกิดโรคนี้มาจากหลายปัจจัย เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับไส้เลื่อนและอาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอกควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาได้ทันก่อนที่อาการจะรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนนะครับ 

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/hernia/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

85
ปวดหัว เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และลักษณะการปวดมีทั้งแบบไม่รุนแรงแต่ปวดเรื้อรัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต หรือปวดแบบรุนแรงที่ต้องบรรเทาและระงับอาการปวดด้วยการทานยา แต่ไม่ว่าจะมีอาการปวดที่รุนแรงหรือปวดแบบเรื้อรัง อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการเบื้องต้นของ โรคเนื้องอกในสมอง หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้ทั้งสิ้น

โรคเนื้องอกในสมอง คืออะไร ?
เนื้องอกในสมอง คือโรคทางระบบประสาทที่มีเนื้อเยื่อเจริญเติบโตผิดปกติในเซลล์สมองหรือบริเวณใกล้เคียงสมอง จนกระทบต่อระบบการทำงานของสมองเนื่องจากมีก้อนเนื้อไปเบียดและกระทบต่อสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เนื้องอกในสมองยังเป็นโรคนี้ยังเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย

สาเหตุของโรคเนื้องอกในสมอง
โรคเนื้องอกในสมอง มีสาเหตุของเนื้องอกในสมองเกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมในเซลล์สมองทำให้เซลล์มีการแบ่งตัวและเจริญเติบโตในอัตราที่ผิดปกติ โดยทั่วไปเนื้องอกในสมองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

เนื้องอกในสมองที่กำเนิดมาจากเซลล์สมอง เนื้องอกชนิดนี้จะแบ่งออกเป็นชนิดเนื้อร้ายกับชนิดที่ไม่ใช่เนื้อร้าย โดยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบมักไม่ใช่เนื้อร้าย
เนื้องอกที่ไม่ได้มาจากเซลล์สมอง แต่เป็นเนื้องอกในสมองที่กระจายมาจากส่วนอื่นของร่างกายและลุกลามมาที่สมอง
ความรุนแรงของโรคเนื้องอกในสมอง
ความรุนแรงของโรคเนื้องอกในสมอง ทั้งชนิดที่ไม่ได้มาจากเซลล์สมองและชนิดที่กำเนิดจากเซลล์สมอง ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นเนื้อร้ายและและไม่ใช่เนื้อราย จะแบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับ คือ

ระดับที่ 1 ก้อนเนื้อธรรมดา เนื้องอกในสมองระดับนี้เป็นเพียงก้อนเนื้อธรรมดา ที่มารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบได้เร็ว เพราะเติบโตช้าและยังไม่มีการแพร่กระจาย
ระดับที่ 2 ระดับปานกลาง เนื้องอกระดับที่ 2 นี้จะมีการแพร่กระจายอยู่ในเนื้อเยื่อสมองแต่ไม่เป็นเนื้อร้าย รักษาได้แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ระดับที่ 3  เป็นระยะที่ก้อนเนื้อคือเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจพัฒนามาจากก้อนเนื้องอกธรรมดาที่ขึ้นบริเวณสมอง หรืออาจลุกลามมาจากเซลล์มะเร็งในอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย  เนื้องอกในสมองระดับนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ
ระดับที่ 4  เป็นระยะที่เนื้องอกเจริญเติบโตและแพร่กระจายเร็ว ถือเป็นมะเร็งสมองชนิดร้ายแรงและทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันสั้น
ปวดหัว
ภาพโดย Anastasia Gepp จาก Pixabay

อาการเบื้องต้นของโรคเนื้องอกในสมอง
ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะบ่อย ๆ มีอาการปวดเรื้อรังและปวดรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และมีอาการง่วงซึม
มีอาการตามัว เห็นภาพเบลอ หรือภาพซ้อน
มีปัญหาในการทรงตัวหรือเดิน ค่อยๆสูญเสียความรู้สึก แขนขาอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตครึ่งซีก
มีปัญหาในการได้ยิน มีอาการหูอื้อ วิงเวียน สับสบ มึนงง สูญเสียความทรงจำ หรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป
ความบกพร่องทางการพูด การสื่อสาร มีความลำบากในการเข้าใจและแสดงออกทางภาษา
มีอาการชัก จากที่ไม่เคยมีประวัติการชักมาก่อน
พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว
การวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง
แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายสอบถามอาการ เมื่อพบอาการผิดปกติอาจตรวจสมองโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อถ่ายภาพรังสีให้เห็นสมองในส่วนต่าง ๆ อย่างละเอียด เพื่อนำมาประกอบการวินิจฉัย และหากพบว่ามีเนื้องงอกหรือเนื้อเยื่อผิดปกติแพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เพื่อวินิจฉัยอาการว่าอยู่ในขั้นรุนแรงระดับไหน  เป็นเนื้องอกชนิดใด และวางแผนการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

วิธีและขั้นตอนการรักษา
การผ่าตัด วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นแนวทางหลักของโรคเนื้องอกในสมอง โดยแพทย์จะผ่าเปิดกะโหลกของผู้ป่วยและนำเนื้องอกในสมองออกมาให้มากที่สุด และหากเป็นเนื้องอกระดับที่ไม่รุนแรง ไม่เป็นเนื้อร้าย ไม่แพร่กระจาย ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
การฉายแสง หากแพทย์ตรวจพบว่าการผ่าตัดไม่สามารถเอาก้อนเนื้องอกในสมองออกหมดได้ หรือเป็นก้อนเนื้อร้ายที่เป็นเซลล์มะเร็ง แพทย์จะใช้วิธีฉายแสง เช่นวิธีฉายรังสีแบบปรับความเข้ม วิธีฉายรังสีแบบระบบนำวิถี และวิธีฉายรังสีแบบหมุนรอบตัวผู้ป่วย เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
เคมีบำบัด การใช้ยาเคมีบำบัดรักษาเป็นการให้ยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยแพทย์จะพิจารณาว่าจะใช้ยาในรูปแบบใด อาจมีทั้งยารับประทาน และยาฉีดเข้าเส้นเลือด วิธีนี้อาจทำหลังจากผ่าตัดเนื้องอกในสมองออกไปบางส่วนแล้ว หรือในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไป
โรคเนื้องอกในสมองป้องกันได้หรือไม่
เนื้องอกในสมอง แม้จะเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และหากไม่อยู่ในระดับที่รุนแรง ไม่เป็นเนื้อร้ายก็รักษาให้หายขาดได้ด้วย แต่การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา สำหรับแนวทางการป้องกันและสิ่งที่อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดเนื้องอกในสมองรวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดเซลล์มะเร็งอื่น ๆ  เช่น

รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ไม่สูบบุหรี่ ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีรังสี หรือมีสารพิษสารเคมีที่เป็นอันตราย
รักษาสมดุลในการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็ง
เรียนรู้วิธีผ่อนคลายและลดความตึงเครียด
หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
ใช้ชีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุขและมองโลกในแง่บวก
อาการของเนื้องอกในสมอง อาจเริ่มต้นจากอาการปวดหัวที่เป็นลักษณะอาการของโรคอื่น ๆ หลายโรค ทำให้ผู้ป่วยขาดความระมัดระวังในการดูแลตนเอง เราหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์และช่วยให้ทุกคนดูแลตนเองให้ห่างไกลจากนี้นะครับ

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/brain-tumor/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

86
โรคนิ่วในไต เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจาก ไต เป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่หลักคือกรองของเสียที่อยู่ในเลือด และขับถ่ายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะ การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะยังส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การรู้ทันโรคนี้ช่วยให้เราป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคนิ่วในไตได้

โรคนิ่วในไต คืออะไร ?
นิ่วในไต คือ การตกผลึกของสารก่อนิ่วในไต เช่น แร่ธาตุ เกลือ แคลเซียม กรดออกซาลิก และกรดยูริก ในปัสสาวะจนเกิดการเกาะตัวเป็นก้อนมีขนาดที่แตกต่างกัน อาจเกิดขึ้นก้อนเดียวหรือหลาย ๆ ก้อน พบได้ตลอดระบบทางเดินปัสสาวะ และเป็นโรคที่พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ชายอาจมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้หญิง  

สาเหตุของโรคนิ่วในไต
นิ่วในไต เป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดทรมานให้ผู้ป่วยอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่จนไปปิดกั้นและเกิดแผลที่ท่อไต อาจส่งผลให้ปัสสาวะออกมาเป็นเลือดได้ ส่วนสาเหตุการเกิดนิ่วในไตยมีปัจจัยซึ่งส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น

การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น เกลือ น้ำตาล และ อาหารที่มีโปรตีนสูง
ดื่มน้ำน้อย หรือดื่มน้ำไม่มากพอในแต่ละวัน
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุเกิดจากโรคประจำตัวที่เป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น ความดัน เบาหวานโรคเกาท์ หรือไทรอยด์ ทำให้ต้องทานยาเป็นประจำ
อาหารบางชนิดทำให้เกิดนิ่วในกลุ่มที่เสี่ยง เช่น ก้อนนิ่วจากแคลเซียม เป็นสารที่มักพบในอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ส้ม  ผักใบเขียว ถั่ว เต้าหู้ น้ำนมเต้าหู้  โซดา ชา เบียร์ หรือ กาแฟ ก้อนนิ่วจากกรดยูริก พบในผู้ป่วยโรคเกาท์หรือผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการเคมีบำบัด  นิ่วสตรูไวท์ ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ และ ซีสทีน นิ่วชนิดนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิงที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมของซีสทีน
อาการของโรคนิ่วในไต
อาการของนิ่วในไตอาจไม่ปรากฏให้เห็น หากก้อนนิ่วนั้นมีขนาดเล็กมาก ๆ เพราะสามารถหลุดออกไปพร้อมกับการขับปัสสาวะ แต่หากก้อนนิ่วเคลื่อนตัวไปยังท่อไตซึ่งเป็นท่อเชื่อมต่อระหว่างไต และ กระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ได้ 

ปัสสาวะเป็นสีเข้ม อาจมีสีแดง ชมพู น้ำตาล หรือปัสสาวะเป็นเลือด
ปวดบริเวณหลังหรือช่องท้องด้านล่างข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดร้าวลงไปถึงบริเวณขาหนีบ มีอาการปวดบีบเป็นระยะ และปวดรุนแรงเป็นช่วง ๆ
ปวดปัสสาวะบ่อย แต่ปัสสาวะน้อยและเจ็บ
ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นแรง
อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น และมีไข้


การรักษาและทางเลือกในการรักษานิ่วในไต
การรักษา นิ่วในไต ทำได้หลายวิธี และสามารถรักษาให้หายได้ขึ้นอยู่กับชนิดของก้อนนิ่วและสาเหตุการเกิด สำหรับการรักษาและทางเลือกในการรักษานิ่วในไต ทำได้ดังนี้

การรักษานิ่วในไตที่มีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 5 มิลลิเมตร อาจทำได้โดยการดื่มน้ำมาก ๆ ในแต่ละวัน นอกจากทำให้ปัสสาวะเจือจางจนไม่มีเหลืองหรือสีน้ำตาล ยังช่วยขับก้อนนิ่วออกไปพร้อมกับปัสสาวะอีกด้วย
ก้อนนิ่วที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มิลลิเมตรขึ้นไป อาจทำให้เกิดแผลที่ท่อไตหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และไม่สามารถหลุดออกมาเองได้ การรักษาทำได้ ดังนี้
ใช้แรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงทำให้นิ่วแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ จนสามารถผ่านออกทางการขับปัสสาวะได้ วิธีนี้เหมาะสำหรับก้อนนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร
ก้อนนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กและเครื่องมือสอดเข้าไปบริเวณหลังของผู้ป่วย วิธีนี้ผู้ป่วยต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 1-2 วัน
สำหรับก้อนนิ่วที่มีขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตร อาจเลือกรักษาด้วยการส่องกล้อง เพื่อฉายลำแสงแคบผ่านหลอดปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ แล้วใช้เครื่องมือชนิดพิเศษจับหรือทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวเป็นชิ้นเล็กจนสามารถถูกขับออกมาทางเดินปัสสาวะได้


วิธีป้องกันตนเองจากโรคนิ่วในไต
ปกติร่างกายของคนเราต้องการน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ให้ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว หรือ ทำให้ปัสสาวะออกมากกว่าวันละ 2.5 ลิตร
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพของตัวเอง วิธีที่ทำได้ง่าย ๆ คือการดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ การดื่มน้ำที่ถูกต้องควรใช้วิธีจิบน้ำบ่อย ๆ 
การดื่มน้ำมะนาววันละแก้ว ช่วยป้องกันนิ่วในไต ที่เกิดจาก เกลือ และแคลเซียม ได้
หมั่นสังเกตความเข้มข้นและสีของปัสสาวะระหว่างวัน ยกเว้นช่วงเช้าหลังตื่นนอนใหม่ ๆ เพราะร่างกายมักขับของเสียออกมาอยู่แล้ว
การรับประทานอาหารก็เป็นส่วนหนึ่งที่อาจช่วยป้องกันการเกิดนิ่วในไตได้ โดยพยามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดออกซาลิกสูง เช่น ช็อกโกแลต นมถั่วเหลือง ชา มันฝรั่งหวาน บีทรูท กระเจี๊ยบเขียว หน่อไม้ฝรั่ง เบอร์รี่ ผักโขม ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ
นิ่วในไตเป็นปัญหาสุขภาพที่นอกจากสร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย ยังเป็นโรคที่ทำให้เจ็บปวดทรมาน การเรียนรู้วิธีป้องกันและดูแลรักษาสุขภาพตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดโรคนี้ จึงเป็นการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากนิ่วในไตที่ดีที่สุด


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/kidney-stones/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

87
“การมีลูก” สำหรับคู่สมรสคือส่วนที่เข้ามาเติมเต็มความเป็นครอบครัวให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเชื่อว่าคู่สมรสจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาหรือเคยประสบปัญหาการมีลูกยาก จนทำให้ต้องเสียเงินจำนวนไม่น้อยเพื่อรักษาภาวะการมีลูกยาก หรือใช้วิทยาการทางด้านการแพทย์ช่วยให้มีลูกซึ่งวิธีนี้ต้องใช้ทั้งเวลาและใช้เงินจำนวนมาก การมีลูกยากเกิดจากอะไร และมีปัจจัยด้านใดบ้างที่ส่งผลต่อภาวะมีลูกยาก บทความนี้มีคำตอบค่ะ

การมีลูกยาก คืออะไร ?
การมีลูกยากหรือภาวะการมีบุตรยาก หมายถึง ภาวะที่คู่สมรสไม่สามารถตั้งครรภ์หรือมีบุตรได้ โดยที่ไม่ได้คุมกำเนิดมาอย่างน้อย 1 ปีหรือ 6 เดือน ภาวการณ์มีบุตรแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่

ภาวะการมีบุตรยากชนิดปฐมภูมิ หมายถึง กรณีที่คู่สมรสมีบุตรยากโดยที่ยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน
ภาวะการมีบุตรยาก ชนิดทุติยภูมิ หมายถึง คู่สมรสที่เคยตั้งครรภ์หรือมีลูกมาก่อน รวมถึงคนที่เคยตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือแท้งซ้ำแต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกหลังจากเคยตั้งครรภ์มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
ภาวะการมีบุตรยากของคู่สมรสในปัจจุบัน
ภาวะการมีบุตรยากในวัยเจริญพันธุ์ มีผลงานการวิจัยระบุว่าปัญหาการมีลูกยากเกิดจากฝ่ายหญิงร้อยละ 45 – 55 มากกว่าฝ่ายชายซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 35 – 45 และปัญหาการมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุอีกร้อยละ 10 ปัจจุบันปัญหาการมีบุตรยากยังมีแนวโน้มสูงขึ้น จากภาวะต่าง ๆ ดังนี้

การมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงขึ้น โดยเฉพาะฝ่ายหญิงทำให้การแต่งงานช้าลง นอกจากนั้นการแต่งงานของคู่สมรสในปัจจุบันยังมุ่งสร้างฐานะให้มีความมั่นคงก่อนที่จะวางแผนมีบุตร จึงทำให้มีลูกยากเมื่อมีอายุมากขึ้น
ปัจจุบันแม้วิธีคุมกำเนิดจะมีประสิทธิภาพ แต่การคุมกำเนิดบางวิธีก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ เช่น การคุมกำเนิดด้วยการฉีดยาเป็นเวลานานเมื่อเลิกคุมกำเนิดอาจทำให้การตกไข่กลับคืนมาเป็นปกติได้ล่าช้า ส่งผลทำให้มีบุตรยาก เป็นต้น
เกิดจากพฤติกรรมทางเพศในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ ทำให้เกิดการอักเสบของระบบสืบพันธุ์ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะการมีบุตรยาก
การทำหมันทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เมื่อต้องการมีบุตรจึงต้องทำการผ่าตัดแก้หมัน ซึ่งบางครั้งการผ่าตัดแก้หมันก็ไม่สามารถทำให้ผู้ทำกลับมาตั้งครรภ์ได้อีก
6 ปัจจัย ที่ส่งเสริมการมีบุตรยาก
อายุของสามีภรรยา ฝ่ายชายอายุระหว่าง 24-25 ปี และฝ่ายหญิงอายุระหว่าง 21 – 25 ปี เป็นช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด หลังจากนั้นโอกาสการตั้งครรภ์จะค่อย ๆ ลดลง และมีแนวโน้มที่จะอยู่ในภาวะมีบุตรยากในที่สุด
ความถี่ของการมีเพศสัมพันธุ์ คู่สมรสที่มีความถี่ของการมีเพศสัมพันธุ์น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ถือว่ามีแนวโน้มที่จะมีภาวะมีบุตรยาก
ระยะเวลาของการสมรส โดยปกติผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์เมื่อแต่งงานนาน 3 เดือน ถึง 14 เดือน จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากถึงร้อยละ 90 แต่ในผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยาก หากระยะเวลาการสมรสยิ่งนานและไม่ได้รับการรักษาก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยลง
การขาดความรู้เรื่องเพศ เช่น การขาดความรู้ในการนับวันตกไข่ในรอบเดือน ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยลง และมีแนวโน้มที่จะอยู่ในภาวะมีบุตรยากมากขึ้น
บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม อาชีพ และอุปนิสัย ผู้หญิงที่ทำงานในสถานที่มีมลพิษจ่ากสารเคมี รวมทั้งอุปนิสัยในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ส่งผลต่อการมีบุตรยากเช่นเดียวกัน
อารมณ์ ความครียด มีผลโดยตรงต่อระบบสืบพันธุ์ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลง เช่น ผู้หญิงหากมีความเครียดจะส่งทำให้รอบเดือนมาไม่ปกติหรือไม่ตรงตามกำหนดเวลา หรือมาไม่สม่ำเสมอ สำหรับผู้ชายความเครียดส่งผลทำให้การสร้างอสุจิได้น้อยลง มีอารมณ์ทางเพศน้อยลงหรือไม่มีเลย


การรักษาภาวะมีลูกยาก
สำหรับคู่สมรสที่ประสบปัญหามีลูกยาก เมื่อพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุของการมีลูกยากว่าเกิดจากสาเหตุใด จากฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการรักษา ดังนี้

การรักษาภาวะมีลูกยากของฝ่ายหญิง โดยการใช้ยากระตุ้นการตกไข่ การฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูกโดยตรง และการผ่าตัด
การรักษาสำหรับผู้ชาย การปรับเปลี่ยนลักษณะการใช้ชีวิต แพทย์จะให้ยาเพิ่มจำนวนอสุจิที่จะส่งผลต่อคุณภาพและการผลิตอสุจิ การเก็บน้ำเชื้อ และการผ่าตัดกรณีมีปัญหาท่อนำอสุจิอุดตัน เพื่อช่วยให้มีลูกได้ตามปกติ
การบำรุงดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการมีลูกยาก
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้มีลูกยาก เช่น การสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดปริมาณการได้รับคาเฟอีน
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่หักโหมในการออกกำลังกายมากเกินไป
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย เพื่อลดความเครียดในชีวิตประจำวัน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งเลือกทานอาหารเสริมเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนสมดุล
หากมีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังควรพบแพทย์ ไม่ควรหยุดใช้ยาที่แพทย์สั่งจ่ายให้โดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
ปัจจุบันภาวะการมีลูกยากของคู่สมรส ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะมีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และวิธีการมากมายที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะมีลูกยาก เพียงบำรุงดูแลสุขภาพร่างกายทานอาหารเสริมที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยให้แข็งแรงและพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำปรึกษาเท่านั้น

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/6-factor-infertility/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

88
อาการเวียนศีรษะดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่ทุกคนอาจเคยประสบกันมาบ้างแล้ว ลักษณะอาการของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ทั้งอาการเวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้  มีอาการโคลง ๆ รู้สึกคล้ายบ้านหมุน และทรงตัวไม่ได้  อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดจากอะไร และเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงหรือไม่ วันนี้ aufarm.shop มีคำตอบมาให้ค่ะ
เวียนศีรษะบ้านหมุน โรคนี้อันตรายหรือไม่ ?
เวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการที่พบได้บ่อย ในคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ อาการเวียนศีรษะ มึนงงหรือมึนศีรษะ จะมีลักษณะอาการคล้าย ๆ กัน ส่วนอาการบ้านหมุนคือโรคเดียวกันหรือไม่และเกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่ ก่อนหาคำตอบเราต้องทำความเข้าใจกับอาการเวียนศีรษะและมึนศีรษะกันก่อน เพื่อทำให้เข้าใจอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ง่ายขึ้น
อาการบ้านหมุน คืออะไร ?
อาการบ้านหมุน คือลักษณะอาการเวียนศีรษะที่มีมากกว่าธรรมดา เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกเหมือนบ้านหรือสิ่งของรอบ ๆ ตัวที่มองเห็นหมุนได้ และมีอาการโคลงเคลงเสียการทรงตัวเหมือนจะล้มไปด้านใดด้านหนึ่ง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันเป็นช่วง ๆ อาการมักเป็นมากขึ้นเมื่อมีการขยับศีรษะ
สาเหตุ และอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ผลกระทบที่เกิดจากอาการเหล่านี้ก็คือ เมื่อมีอาการบ้านหมุนเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันจะไม่สามารถควบคุมการทรงตัวได้ซึ่งเสี่ยงต่อการล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ส่วนสาเหตุของโรค โดยทั่วไปการทรงตัวของมนุษย์จะเกิดจากการทำงานประสานกันของอวัยวะ 3 ส่วน คือสายตา ระบบประสาทรับความรู้สึก และประสาทหูชั้นใน อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนจึงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
1. โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน
เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นทันทีทันใด ในขณะกำลังล้มตัวลงนอนหรือลุกจากที่นอน เงยหน้า ก้มหยิบสิ่งของมักจะเป็นระยะสั้น ๆ เป็นแค่ช่วงวินาทีที่ขยับศีรษะ แล้วอาการจะค่อย ๆ หายไป อาการบ้านหมุนจากโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนมักมีอาการเป็นซ้ำเกือบทุกวัน ทำให้รู้สึกวิตกกังวลหรือเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิต แต่อาการของโรคนี้ จะไม่มีอาการหูอื้อ สูญเสียการได้ยิน หรือได้ยินเสียงผิดปกติในหู
2. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือน้ำในหูชั้นในผิดปกติ
เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ผู้ป่วยจะมีอาการบ้านหมุนอย่างรุนแรง บางรายอาจคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย อันตรายของโรคนี้ทำให้สูญเสียการทรงตัว เดินแล้วเซหรือล้มได้ง่าย  โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีอาการเป็นเวลานานทำให้อยู่นิ่ง ๆ ไม่สามารถขยับร่างกายเพราะอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัวเพิ่มขึ้นได้
3. โรคเวียนศีรษะจากไมเกรน
แม้ลักษณะอาการส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดศีรษะตุบ ๆ ข้างเดียวตามจังหวะการเต้นของหัวใจ แต่บางครั้งอาจมีเพียงอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนแทน ซึ่งอาการเวียนศีรษะจากไมเกรนจะเป็น ๆ หาย ๆ สลับกันไป และเมื่อมีอาการเกิดขึ้นมักมีอาการหูอื้อเห็นแสงวูบวาบร่วมด้วย บางครั้งผู้อาจอาจเข้าใจผิดว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
4. โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคโลหิตจาง หรือโรคความดันโลหิตสูง อาการของโรคเหล่านี้ทำให้มีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะบ้านหมุนได้
5. โรคที่เกิดจากความเครียด หรือโรคทางจิตเวช
อาการของโรคเหล่านี้เมื่อผู้ป่วยเกิดความเครียดเพิ่มมากขึ้น หรืออยู่ในที่แคบ ที่โล่ง ที่สูง หรือที่ชุมชน อาจมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน แต่จะหายไปเมื่อไม่อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว 

Heart photo created by diana.grytsku – www.freepik.com

การตรวจวินิจฉัยของแพทย์
ในการตรวจวินิจฉัยก่อนทำการรักษา แพทย์จะทำการวินิจฉัยแยกโรคเพื่อรักษาตามสาเหตุของโรค ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้
1. ตรวจวินิจฉัยจากประวัติการเวียนศีรษะ
แพทย์จะทำการซักประวัติที่อาจเป็นสาเหตุของโรค เช่น เคยมีประวัติเป็นโรคหูหรือไม่ เคยได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง  ทานยารักษาโรค หรือมีประวัติการเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมทั้งลักษณะการเวียนศีรษะบ้านหมุน อาการมึนงง หรืออาการเดินเซ
2. การตรวจร่างกาย
แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย โดยตรวจหู คอ และจมูกร่วมด้วย เพื่อตรวจหาความผิดปกติของร่างกายส่วนอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยแยกโรคซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของอาการเวียนศีรษะ ได้แก่
การตรวจการได้ยินแบบพิเศษ
ตรวจลักษณะการเดินและการทรงตัว
ตรวจประสาททรงตัวของหูชั้นในโดยการทำ Caloric test
การตรวจการทำงานของก้านสมอง
ตรวจความผิดปกติของตาด้วย VNG
การรักษาโรคเวียนศีรษะบ้านหมุน
การรักษาและวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเวียนศีรษะบ้านหมุน เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วจะทำการรักษาพร้อมคำแนะนำในการดูแลตัวเองตามแนวทางต่อไปนี้
1. การรักษาตามอาการของโรค 
ให้ทานยากดการรับรู้ของประสาททรงตัว เพื่อให้หายจากอาการเวียนศีรษะบ้านหมูน
ให้ยาสงบหรือยาระงับประสาท
ให้ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน
ให้ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงระบบประสาทรงตัว โดยการรักษาด้วยวิธีนี้เป็นการรักษาที่ปลายเหตุ
2. การรักษาตามสาเหตุของโรค  
ซึ่งการรักษาในข้อนี้แพทย์จะต้องทำการวินิจฉัย เพื่อให้รู้สาเหตุที่แท้จริงของโรคเสียก่อน เนื่องจากแต่ละสาเหตุความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกัน เช่น โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน โรคเวียนศีรษะจากไมเกรน โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต  โรคที่เกิดจากความเครียด
วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเวียนศีรษะบ้านหมุน
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องขณะเวียนศีรษะ มีดังนี้
เมื่อมีอาการเวียนศีรษะขณะเดิน ให้หยุดยืนนิ่ง ๆ และนั่งพัก เพื่อป้องกันการล้มหรือเกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ
พยายามหลีกเลี่ยงการทำท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เช่น การหมุนตัว การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาททรงตัว
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทานยาตามแพทย์สั่ง และพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
อาการบ้านหมุน หรือเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะในคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ เมื่อทราบสาเหตุของโรคหรือมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ ควรบำรุงดูแลตัวเองโดยหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ปัญหาสุขภาพการป้องกันย่อมดีกว่าการดูแลรักษา ทราบแล้วอย่าลืมดูแลตัวเองนะคะ

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/vertigo/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

89
เชื่อว่าหลาย ๆ คนเคยเกิดอาการเกร็งเป็นก้อนแข็งของกล้ามเนื้อ ที่เรียกกันว่า “ตะคริว” เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันทำให้รู้สึกเจ็บปวดทรมาน โดยเฉพาะบริเวณน่องและนิ้วเท้า และไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเกิดเมื่อใด มักเกิดขึ้นในขณะเล่นกีฬา เกิดขึ้นในเวลากลางคืน หรือช่วงตื่นนอนใหม่ ๆ อาการเหล่านี้เกิดจากอะไร มีวิธีปฐมพบาลเบื้องต้น รวมทั้งสามารถป้องกันตนเองจากตะคริวได้หรือไม่อย่างไร บทความนี้มีความรู้มาแนะนำค่ะ

สาเหตุของตะคริว
ตะคริว ส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้รู้สึกเจ็บปวดทรมาน เพราะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณน่อง นิ้วเท้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย สำหรับสาเหตุของการเป็นตะคริว มีหลายสาเหตุหลัก ๆ เกิดได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

1. การเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดและมีหลายสมมติฐาน
อาจเกิดจากความตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการออกกำลังกาย หรือใช้กำลังมากเกินไป ซึ่งตะคริวมักจะเกิดขึ้นขณะที่กำลังพักหลังจากการออกกำลังกายหรือทำงานหนัก
อาจเกิดจากการทำงานของประสาทที่ผิดปกติระหว่างนอนหลับ
อาจมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้ออ่อนร้าหรือได้รับบาดเจ็บ
การยับยั้งของเลือดอย่างฉับพลัน ขณะที่ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อ
อาจเกิดจากกล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น เพราะกล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
2. การเกิดตะคริวที่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้
เกิดจากภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบประสาท
การเกิดตะคริวของผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ เนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของตับ จะทำให้เกิดสารพิษไปยังกระแสเลือด ซึ่งสามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการกระตุกหรือหดเกร็งตัวได้
การเกิดตะคริวของผู้ป่วยที่เป็นโรคไต อาจทำให้มีเกลือแร่บางชนิดต่ำ และส่งผลให้มีตะคริวได้
เกิดจากภาวะเกลือแร่ในร่างกายต่ำ
เกิดจากโรคอื่น ๆ ที่มีภาวะทำให้แคลเซียมต่ำ
การติดเชื้อจากแบคทีเรียบางชนิด
เกิดจากการทานยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ กลุ่มยาสแตติน ยากรดนิโคตินิก ยาราโลซิฟีน และยาไนเฟดิปีน

People photo created by jcomp – www.freepik.com

ลักษณะอาการเมื่อเป็นตะคริว
การเกิดตะคริว อาการส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณขาโดยเฉพาะที่น่อง อาจเริ่มจากรู้สึกเกร็งกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย มีการเกร็งและปวดมาก โดยทั่วไปอาการตะคริวมักจะเกิดขึ้น ไม่เกิน 2 นาที แต่บางรายอาจเกิดได้นาน 5 – 15นาที แล้วอาการเกร็งก็จะหายไปเอง หลังจากกล้ามเนื้อหายเกร็งแล้ว จะมีอาการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้ออยู่นานเป็นชั่วโมง หรือบางรายเป็นวันก็ได้

ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดตะคริว
ผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับเส้นประสาท โรคตับหรือไทรอยด์ มีโอกาสสูงที่จะเกิดตะคริวได้
อายุ ผู้สูงอายุที่เสียมวลกล้ามเนื้อไปมากแล้ว ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเป็นตะคริวได้ง่าย
การเสียน้ำของร่างกาย นักกีฬาที่อ่อนล้าและเสียเหงื่อมากมักจะเกิดตะคริวได้ง่าย
การเกิดตะคริว จะพบได้บ่อยในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
วิธีป้องกันการเกิดตะคริว
หมั่นออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เคยเป็นตะคริว
ก่อนออกกำลังกายควร Warm – up หรืออบอุ่นร่างกาย รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บและการเกิดตะคริวได้
ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อทำให้ร่างกายชุ่มชื่นไม่มีภาวะขาดน้ำ
หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่ยาวจนถึงใต้ข้อเข่า โดยเฉพาะถุงเท้าที่คับหรือรัดแน่น จะยิ่งทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย
ปรึกษาแพทย์ในการรับประทานอาหารเสริมหรือวิตามินเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็น คือแนวทางหนึ่งที่จะป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวได้
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเป็นตะคริว
ตะคริว หรือการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณน่อง นิ้วเท้า หรือบริเวณส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เมื่อเป็นแล้วจะรู้สึกเจ็บปวดทรมาน ผู้ที่เป็นตะคริวสามารถรักษาอาการหรือปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ดังนี้

การประคบร้อน โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น หรือห่อกระเป๋าน้ำร้อนด้วยผ้านำมาประคบบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการเกร็งหรือกระตุก ประมาณ 20-30 นาที อาการจะเริ่มดีขึ้น
การประคบเย็น โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นจัด หรือห้อด้วยน้ำแข็งแล้วนำมาประคบบริเวณที่เป็นกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อที่หดเกร็ง หรือกล้ามเนื้อกระตุกให้ดีขึ้นได้
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยการนวดที่กล้ามเนื้อ ใช้นิ้วมือคลึงเบา ๆ บริเวณกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว อาจทำสลับกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อที่หดเกร็งคลายตัวได้เร็ว
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นง่าย ๆ ด้วยการยืดกล้ามเนื้อที่เกิดตะคริวให้คลายตัวช้า ๆ โดยการเกร็งปลายเท้าจิกลง แล้วดันปลายเท้าขึ้นช้า ๆ ทำค้างไว้ 2-3 นาที จนรู้สึกอาการดีขึ้น ทาด้วยครีมหรือยาแก้ปวดเมื่อย แล้วนวดคลึงเบา ๆ บริเวณกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวเพื่อกระตุ้นการไหวเวียนของเลือด ช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เร็วและลดอาการเจ็บปวด
อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งหรือเป็นตะคริว เมื่อเป็นแล้วแม้จะสามารถหายได้เอง แต่ก็ทำให้รู้สึกเจ็บปวดและทรมาน อาการส่วนใหญ่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือกะทันหัน เช่น ขณะออกกำลังกาย เล่นกีฬา หรือเมื่อกล้ามเนื้อตึงมีอาการเกร็งขณะขับรถเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งอาจเป็นอันตรายและทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย นอกจากเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเป็นตะคริวแล้ว วิธีป้องกันการเกิดตะคริวก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเรียนรู้โดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยง เราหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนนะคะ

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/cramp/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

90
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่มีโอกาสพบได้บ่อย ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีท่ออปัสสาวะที่สั้นกว่า ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าเพศชาย นอกจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแล้ว การใช้ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยหรือการทานยาบางชนิด ก็ทำให้มีอาการข้างเคียงหรือก่อให้เกิดการอักเสบของท่อปัสสาวะได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ในผู้ชายจะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยมาก เนื่องจากมีท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก ส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนัก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก นอกจากนั้นอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีน เช่น การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือการใช้ผลิตภัณฑ์บริเวณจุดซ่อนเร้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังนี้
การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
กระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง อาจเกิดจากการทำความสะอาดไม่ถูกวิธี ทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากช่องคลอด
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
ผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทาน
การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาปฏิชีวนะ ทำให้แบคทีเรียชนิดดีที่ทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคถูกกำจัดออกไป จึงเกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำอยู่แล้ว
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
การใส่สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
ปวดปัสสาวะ
Food photo created by jcomp – www.freepik.com

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ปัสสาวะกะปริดกระปรอย รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ และมีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด
บางรายอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยหรือบริเวณหัวหน่าวร่วมด้วย
ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน
ปัสสาวะบ่อย และกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม
ประเภทของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีทั้งเป็นแบบฉับพลันโดยจะมีอาการปรากฏในทันทีและแบบเรื้อรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบเรื้อรัง อาการจะปรากฏในระยะเวลาที่ยาวนาน สำหรับอาการกระเพราะปัสสาวะอักเสบ แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย คือ เชื้อแบคทีเรียเข้าไปสู่ทางเดินปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะและทำให้เกิดการติดเชื้อ เนื่องจากการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
กระเพาะปัสสาวะอักเสบที่เกิดจากยากระตุ้น เนื่องจากยาบางชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายและขับถ่ายผ่านทางระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินปัสสาวะได้
กระเพาะปัสสาวะอักเสบอันเนื่องมาจากรังสี เช่น การบำบัดโดยใช้รังสีวิทยาบริเวณใกล้เคียงกระดูกเชิงกราน สามารถส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบได้
กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากสิ่งแปลกปลอม เช่น การใช้ที่สวนทางเดินปัสสาวะ เพื่อปลดปล่อยปัสสาวะออกจากร่างกาย
กระเพาะปัสสาวะอักเสบจากเคมี เช่น สารเคมีช่วยการหล่อลื่นระหว่างมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิดโดยใช้ไดอะแฟรม หรือการใช้สเปรย์สำหรับสุขอนามัยในเพศหญิง และสารเคมีจากฟองสบู่ในอ่างอาบน้ำ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบอันเกิดจากปัญหาสุขภาพ และโรคเรื้อรัง เช่น โรคบาหวาน นิ่วในไต โรคเอดส์ (HIV) ต่อมลูกหมากโต หรือ กระดูกสันหลังอักเสบ
การตรวจวินิจฉัยอาการของโรค
แพทย์จะตรวจวินิจฉัยได้โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจปัสสาวะ เช่น มีอาการขัดเบาถ่ายปัสสาวะกะปริดกระปรอย หรือกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการของโรครุนแรงและเรื้อรัง อาจต้องตรวจอัลตราซาวด์หรือส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะเพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติในกระเพาะปัสสาวะหรือไม่
แนวทางและวิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
การรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้เวลารักษาประมาณ 3-5 วัน หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง อาจใช้เวลารักษานาน 7-10 วัน แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก ถ้ายังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เช่น
ดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน น้ำจะช่วยขับแบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่อยู่ในร่างกายออกมาได้
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่ม ประเภทน้ำชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์
ไม่ควรกลั้นปัสสาวะนาน ๆ เพราะอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะ
ปัสสาวะเจริญเติบโตเจริญเติบโตได้หลังมีเพศสัมพันธ์ควรทำความสะอาดร่างกาย และปัสสาวะทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย
ก่อนออกไปข้างนอก ควรเข้าห้องน้ำปัสสาวะให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการกลั้นปัสสาวะ หรือใช้ห้องน้ำจากบริการสาธารณะ ซึ่งบางแห่งอาจขาดการดูแลรักษาและความสะอาดที่ดีพอ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะได้เช่นกัน
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่มีโอกาสพบได้บ่อย และเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ถึงแม้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่เมื่อเป็นหรือมีอาการแล้วสามารถสร้างความรำคาญหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้แล้ว หากขาดการดูแลรักษาอย่างถูกวิธียังอาจเกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายและยากต่อการรักษาได้

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/preventing-cystitis/

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

91
หากพูดถึง “วัยทอง” คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่า เป็นอาการที่เกิดขึ้นเฉพาะในผู้หญิงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงผู้ชายก็สามารถเข้าสู่ภาวะของการเป็นวัยทองได้เช่นกัน เพียงแต่ผู้ชายจะไม่แสดงอาการที่เด่นชัดเหมือนกับผู้หญิง การเข้าสู่วัยทองของทั้งหญิงและชาย อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมถอยทั้งร่างกายและจิตใจ จากการลดลงของฮอร์โมนหรือร่างกายหยุดสร้างฮอร์โมน การกินวิตามินหรืออาหารเสริมจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง และทำไมต้องกินอาหารเสริมในวัยทอง คำถามนี้ aufarm.shop มีคำตอบค่ะ

ความหมายของวัยทอง
ก่อนที่จะมาหาคำตอบว่า ทำไมต้องกินอาหารเสริมในวัยทอง เราต้องทราบก่อนว่า วัยทองหมายถึงอะไร ? เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นอาการของผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนเท่านั้น แต่ความเป็นจริง วัยทอง หมายถึง วัยแห่งความสำเร็จในชีวิตการทำงาน แต่อาจเป็นช่วงวัยที่สุขภาพร่างกายมีความเปลี่ยนแปลง มีความบกพร่องของฮอร์โมนเพศจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุที่มากขึ้น ซึ่งความเสื่อมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย


ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay

อาการของคนที่อยู่ในช่วงวัยทอง
อาการของคนวัยทองทั้งหญิงและชายจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 40–65 ปี ความเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยทองขึ้นอยู่กับฮอร์โมน ซึ่งเป็นตัวกำหนดความเป็นหนุ่มสาว ในเพศหญิงคือฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่วนเพศชายได้แก่ แอนโดรเจน หรือ Testosterone ซึ่งสร้างจากฮอร์โมนเพศชายที่มีปริมาณมากที่สุดในช่วงอายุ 20ต้น ๆ และจะลดลงอย่างช้า ๆ เมื่ออายุมากขึ้น ทำให้อาการวัยทองของเพศชายไม่ชัดเจนและรุนแรงเหมือนเพศหญิง ที่รังไข่จะหยุดผลิตฮอร์โมนอย่างสิ้นเชิง ทำให้อาการวัยทองรุนแรงและชัดเจนกว่าเพศชาย ดังนี้

อาการวัยทองในเพศชาย
มีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น รู้สึกอ่อนเพลียง่าย อ้วนลงพุง กล้ามเนื้อที่เคยฟิตเริ่มลดขนาดลง และมีภาวะกระดูกพรุนหรือโรคเกี่ยวกับกระดูก
ความเปลี่ยนแปลงด้านสติปัญญาและอารมณ์ สมาธิเริ่มลดลง ความจำสั้น หงุดหงิดง่าย เฉื่อยชา และอาจมีอาการซึมเศร้า รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่มีแรงจูงใจในการทำอะไร
ด้านสุขภาพร่างกาย มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด ทำให้มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว
ด้านจิตใจและเพศสัมพันธ์ เช่น ความสนใจทางเพศลดลง และมีอาการนอนไม่หลับ
อาการวัยทองในเพศหญิง
อาการและความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ได้แก่

มีอาการร้อนวูบวาบตามตัวและใบหน้า เกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน จะเกิดบ่อยในช่วงปีแรกที่หมดประจำเดือน และอาจมีอาการต่อเนื่องยาวนานไปจนถึง 15 ปีหลังจากประจำเดือนหมด
กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะบ่อย
นอนไม่หลับ และอาจมีเหงื่อออกในตอนกลางคืน
ช่องคลอดแห้ง มีอาการคัน แสบร้อน ระคายเคืองบริเวณช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย
มีอาการปวดกระดูกหรือปวดตามข้อ ใจสั่น และบางรายอาจมีอาการปวดไมเกรนร่วมด้วย
ผมร่วงง่าย และเล็บมือเปราะบาง ฉีกขาดได้ง่าย ผิวแห้งกร้านมากขึ้นกว่าปกติ
มีภาวะกระดูกพรุน
อาการทางจิตใจ เช่น

ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยทอง ส่วนใหญ่อาการทางร่างกายและจิตใจจะเกิดร่วมกัน อาการทางจิตใจที่พบได้บ่อยและมีอาการแสดงออกอย่างชัดเจน คือ ภาวะซึมเศร้า หลงลืมง่าย สมาธิสั้นและหงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้ยังส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันของคนในครอบครัวหรือในสังคมมากที่สุด

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการต่าง ๆในคนวัยทอง
ความเปลี่ยนแปลงและอาการต่าง ๆ ที่เกิดในช่วงวัยทอง สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนหรือร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและแอนโดรเจนที่ส่งผลให้สภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงระบบต่าง ๆ ภายในก็ทำงานเสื่อมประสิทธิภาพลง มีภาวะกระดูกพรุนเนื่องจากร่างกายขาดแคลเซียม ทำให้ผู้ที่อยู่ในวัยทองจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนหรืออาหารเสริมและวิตามินต่าง ๆ เพิ่มเติม

วิธีและขั้นตอนการดูแลตนเองในช่วงวัยทอง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยเลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่มขึ้น เช่น ผักใบเขียวทุกชนิด งาขาว งาดำ นม ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ ถั่วแดง ฟักทอง กะหล่ำปลี บรอกโคลี แครอท ข้าวกล้อง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนและช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม ลดอาหารประเภท แป้ง อาหารมัน อาหารทอด
ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงกระแทก โดยเฉพาะข้อเข่า
นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 6–8 ชั่วโมง เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก รู้จักผ่อนคลายความเครียดอย่างเหมาะสม
กินวิตามินและอาหารเสริม เพื่อช่วยให้รางกายได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้นหรือได้รับสารอาหารทดแทน

Food photo created by xb100 – www.freepik.com

ความสำคัญของอาหารเสริมในวัยทอง
ปัญหาสุขภาพของผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง ทั้งผู้หญิงและผู้ชายก็คือสภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งมีสาเหตุมาจากระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายเสื่อมถอย เนื่องจากร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจนและแอนโดรเจน การกินอาหารที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ร่างกายต้องการอาจไม่เพียงพอ การกินอาหารเสริมจึงเป็นตัวช่วยที่สามารถเสริมฮอร์โมนส่วนที่ขาดให้สมดุลและเพียงพอเพื่อช่วยบรรเทาอาการวัยทองลงได้

การเลือกอาหารเสริมให้เหมาะกับคนวัยทอง
ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง นอกจากเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงแล้ว การเลือกอาหารเสริมให้เหมาะสมก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการรับมือกับอาการวัยทอง เช่น

อาหารเสริมที่มีไฟโตเอสโทรเจนสามารถบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนและหมดประจำเดือน บรรเทาอาการร้อนวูบวาบและช่องคลอดแห้งได้
อาหารเสริมประเภทวิตามินที่จำเป็นสำหรับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ชายวัยทอง  เช่นวิตามิน A วิตามิน B 1 ,2, 3, 5, 6, 9 และ12 ไบโอติน แมกนีเซียม และซีลิเนียม
อาหารเสริมประเภทแคลเซียม เพื่อเสริมแคลเซียมให้คนวัยทองป้องกันภาวะกระดูกพรุน เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียม
อาหารเสริมหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มเห็ดหลินจือ
อาหารเสริมบำรุงร่างกาย เช่น ถั่งเช่าทิเบต  เห็ดหลินจือแดงสกัด
วัยทอง คือช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงในชีวิต การรู้ทันอาการวัยทองทั้งเพศหญิงและเพศชาย ทำให้สามารถปรับตัวเพื่อสร้างความสมดุลทั้งสุขภาพกายและจิตใจ จากคำถาม “ทำไมต้องกินอาหารเสริมในวัยทอง” บทความนี้คงเป็นคำตอบที่ดีให้กับทุกท่านแล้วนะคะ


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/should-menopause-take-dietary-supplements/

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

92
ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารสามารถติดต่อถึงกันได้รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ ทำให้เราได้อ่านข่าวหรือพบเห็นการทำร้ายตัวเองของผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าหลากหลายรูปแบบ และสิ่งที่เป็นอันตรายหรือถือเป็นภัยเงียบที่คนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวอาจมองข้ามไป ก็คือภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้า ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นแล้วไม่รู้ตัว เพื่อเป็นความรู้ให้เรารู้ทันโรค วันนี้ aufarm.shop มีความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในแง่มุมต่าง ๆ มาแนะนำค่ะ

โรคซึมเศร้าคืออะไร ?
ในทางการแพทย์ “ซึมเศร้า” คือ ภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า โดยคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้น ในสมองจะมีสารเคมีที่มีชื่อว่า “เซโรโทนิน” ในปริมาณที่ลดลง ซึ่งสารเคมีที่อยู่ในสมองนี้เมื่อมีปริมาณลดลง จะส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน เช่น มีอาการเศร้า เหงาหงอย รู้สึกเบื่อหน่าย หรือท้อแท้ในชีวิต รวมทั้งมีปัญหาทางสุขภาพทางกายร่วมด้วย

สาเหตุของโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าถือเป็นโรคทางด้านจิตเวชที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ สาเหตุของโรคแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุหลัก ได้แก่

สาเหตุจากภายในร่างกาย เนื่องจากพบว่าผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าส่วนหนึ่งมาจากกรรมพันธุ์ คือการที่มีบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อแม่ ปู่ย่าหรือตายายเคยป่วยด้วยโรคซึมเศร้า
สาเหตุจากภายนอกร่างกาย คือความสามารถในการปรับตัวของมนุษย์ที่แต่ละบุคคลต่างมีไม่เท่ากันหรือที่มักเรียกว่าการแก้ปัญหา ในคนที่สามารถปรับตัวได้จากผลกระทบที่เข้ามาในชีวิต ย่อมที่จะสามารถอยู่หรือแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้ ในทางตรงกันข้ามบุคคลใดเจอผลกระทบ เช่น ความเครียดจากเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในครอบครัว หน้าที่การงาน การเงิน ความรักหรือแม้กระทั่งความสูญเสีย หากบุคคลนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็อาจกลายเป็นคนที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า

ภาพโดย Wolfgang Eckert จาก Pixabay

อาการหรือสัญญาณบ่งบอกภาวะซึมเศร้า
ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียวเงียบ ๆ
มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า โดดเดี่ยว และมีความรู้สึกผิดมักโทษตัวเองเมื่อทำสิ่งใดผิดพลาด
บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าว ยึดมั่นในความคิดของตนเองมากกว่ารับฟังคนอื่น
นอนไม่หลับ หรือนอนนาน นอนมากกว่าคนปกติ
มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย และทำร้ายตัวเอง
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า
การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง มีเกณฑ์การวินิจฉัย ดังนี้

มีอารมณ์ซึมเศร้า หรืออารมณ์หงุดหงิดแทบทั้งวัน
ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก และเป็นทั้งวัน
น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก มีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือมีพฤติกรรมเชื่องช้าลง
อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจ ในทุก ๆ เรื่อง
คิดเรื่องการตาย หรือคิดอยากตาย
สำหรับผู้ที่อยู่ในเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้า ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ อาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลาแทบทุกวัน ไม่ใช่เป็น ๆ หาย ๆ


Background photo created by pressfoto – www.freepik.com

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าโดยแพทย์ มีเกณฑ์การวินิจฉัย ดังนี้

แพทย์จะสอบถามอาการเพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่มีอาการครั้งแรกไล่มาตามลำดับจนปัจจุบัน
สอบถามอาการ เพื่อพิจารณาว่าผู้ป่วยมีอาการทางงจิตเวชอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับอาการของโรคซึมเศร้า
ถามประวัติการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคประจำตัว และยาที่ใช้ประจำ เพื่อดูว่าอาจเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้หรือไม่
สอบถามประวัติความเจ็บป่วยในญาติสายเลือดเดียวกัน
ตรวจร่างกาย และส่งตรวจพิเศษที่จำเป็น ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีโรคทางร่างกายอื่น
การรักษาและขั้นตอนการรักษาโรคซึมเศร้า
การรักษาที่สำคัญ คือการรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า โดยเฉพาะในรายที่มีอาการมาก ส่วนในรายที่มีอาการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ แนวทางในการปรับตัว หรือการหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง ร่วมกับการให้ยาแก้ซึมเศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจำเป็น

วิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า
หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และขณะออกกำลังกายร่างกายยังหลั่งสารเอ็นโดรฟิน (Endorphine) ออกมาทำให้สุขภาพจิตดี อารมณ์ดี ผ่อนคลาย และไม่เครียดง่าย
พยายามหากิจกรรมหรืองานอดิเรกทำยามว่าง อาจเป็นงานฝีมือที่ชื่นชอบ ทำอาหาร ทำขนม หรือปลูกพืชผักสวนครัว
หลีกเลี่ยงการเก็บตัวอยู่คนเดียวเงียบ ๆ ควรหากิจกรรมทำร่วมกับคนอื่น ๆ เช่น เข้าเป็นสมาชิกของชมรมต่าง ๆ หรือบริหารเวลาเพื่อท่องเที่ยวพักผ่อนบ้าง
พักผ่อนอย่างเพียงพอ ใช้ชีวิตอย่างเป็นระบบ เช่น เข้านอนเป็นเวลา ทานอาหารเป็นเวลา การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอทำให้ร่างกายสดชื่น ส่งผลต่อสุขภาพจิตด้วย
เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมวดหมู่อย่างพอเหมาะ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและสมดุล ดื่มน้ำอย่างน้อย 8–10 แก้วต่อวัน
โรคซึมเศร้าหรือภาวะซึมเศร้า เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศและทุกวัย ปัจจุบันยังพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมในสังคม ครอบครัว งานหรือการเงิน หรือแม้แต่เรื่องที่เราคิดว่าเล็กน้อยก็อาจเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้นการรู้ทันโรคและการให้ความรักความเข้าใจ การเอื้ออาทรต่อกันไม่ว่าจะในครอบครัวหรือคนรอบข้าง คือวิธีที่จะทำให้เราปลอดภัยจากโรคซึมเศร้า และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้อย่างมีความสุข


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/depressive-disorder/

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

93
โรคกระดูกพรุน คือภาวะของกระดูกที่มีอาการเปราะบาง ผิดรูป และแตกหักได้ง่าย อาการเหล่านี้ยังเป็นภัยเงียบเพราะไม่พบว่ามีอาการใด ๆ ที่เป็นสัญญาณบ่งบอกมาก่อนผู้ป่วยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองจะไม่รู้ว่าตัวเองว่ามีภาวะกระดูกพรุน นอกจากมีอาการเจ็บปวดจากรอยแตกร้าวภายในซึ่งเกิดจากการแตกหักของกระดูก
ภาวะกระดูกพรุน ภัยเงียบในช่วงวัยทอง
พูดถึงวัยทอง คือช่วงวัยที่มีความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นช่วงที่หมดประจำเดือน โดยเฉพาะวัยทองที่เป็นเพศหญิงที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงจะมีเนื้อกระดูกน้อยกว่าผู้ชาย ส่งผลให้เกิดปัญหากระดูกแตก ร้าว หรือหักได้ง่าย ๆ โดยที่ไม่รู้ ทำให้ไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก
โรคกระดูกพรุน คืออะไร ?
กระดูกพรุน คือ โรคที่ร่างกายมีความหนาแน่นและมีมวลกระดูกน้อย เนื่องจากการขาดแคลเซียม จนทำให้กระดูกเปราะ บาง เสื่อม แตกหักได้ง่าย เพราะกระดูกรับน้ำหนักมากไม่ได้ พบได้บ่อยที่บริเวณสะโพก กระดูกสันหลัง และยังสามารถเกิดได้กับกระดูกส่วนอื่น ๆ ได้ด้วย
อาการของโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการใด ๆ ผู้ที่เป็นมักจะไม่รู้ตัว จะพบก็ต่อเมื่อมีอุบัติเหตุ เช่น ล้ม กระดูกเกิดการแตกหัก เกิดความเจ็บปวดและได้เข้ารับการรักษา จึงตรวจพบว่าเป็นโรคนี้ โดยโรคกระดูกพรุนสามารถสังเกตอาการบ่งชี้ได้ ดังนี้
กระดูกตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น แขน ขา ข้อมือ สะโพก กระดูกสันหลังแตกหักง่าย
กระดูกสันหลังโค้งงอลง ปวดหลัง บางรายพบความสูงลดลงด้วย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
กระดูกพรุน มีสาเหตุมาจากการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกกับเซลล์สลายเนื้อกระดูกเก่าทำงานไม่สมดุลกัน ทำให้มีการสลายเซลล์มากกว่าการสร้างเซลล์กระดูก ซึ่งอาจเกิดจากการที่ร่างกายมีปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างกระดูกหรือเซลล์ของกระดูกมีความผิดปกติ โดยมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนมี ดังนี้
อายุมาก ทำให้การสร้างเซลล์กระดูกทดแทนเป็นไปได้ช้า หากร่างกายขาดแคลเซียมและไม่ได้ทานอาหารเสริมเพื่อไห้ร่างกายได้รับแคลเซียมที่เพียงพอต่อการสร้างกระดูก และยิ่งอายุมากการสูญเสียมวลกระดูกยิ่งเพิ่มมากขึ้น เสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ได้สูง
เพศ พบว่า เพศหญิงที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าเพศชาย
กรรมพันธุ์ พบว่าครอบครัวที่มีญาติหรือพี่น้องหรือพ่อแม่ ที่เป็นโรคนี้มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนสูง เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
ฮอร์โมนเพศลดน้อย โดยเฉพาะในผู้หญิงและผู้ชายในช่วงวัยทองที่มีการผลิตฮอร์โมนเพศลดลง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้สูง
การทำงานของอวัยวะหรือต่อมต่าง ๆ ผิดปกติ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไตหรือไต และตับทำงานผิดปกติ
เกิดจากโรคบางชนิด เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคตับ ไต โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งกระดูก
พฤติกรรมการบริโภค เช่น กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือการสูบบุหรี่ที่มีสารนิโคติน ที่เป็นตัวทำร้ายเซลล์สร้างกระดูก
พฤติกรรมประจำวัน เช่น การทำงานที่ใช้ร่างกายหนัก การอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ เป็นเวลานาน ๆ
ใช้ยาบางชนิดรบกวนการสร้างกระดูก เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยารักษาการอักเสบ
กระดูกพรุน
Photo by German Tenorio on Foter.com / CC BY-SA

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน
ภาวะแทรกซ้อนมักเกิดจากความเจ็บปวดจากการที่กระดูกทรุดตัว การเคลื่อนไหวและการใช้ชีวิตประจำวันทำได้ไม่ปกติหรือทำได้น้อยลง ทำให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำได้อย่างจำกัด บางรายต้องแยกตัวจากสังคม ไม่สามารถทำกิจกรรมร่วมกับคนอื่น ๆ นอกบ้านได้ นานวันอาจส่งผลกระทบทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ หรือบางรายกระดูกสะโพกหัก ทำให้ต้องนั่งนอนอยู่กับที่จนเกิดเป็นแผลกดทับ หรือเป็นโรคติดเชื้อในกระเพาะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การวินิจฉัยโรคของแพทย์ก่อนการรักษา
การวินิจฉัยว่าเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่นั้น ทำได้โดยการตรวจหาความหนาแน่นของกระดูกด้วยการฉายภาพรังสี DEXA Scan ซึ่งเป็นเครื่องสแกนที่ใช้เวลาไม่เกินครึ่งชั่วโมง และให้ประสิทธิภาพในการประเมินสูง การนำรังสีเข้าสู่ร่างกายต่ำ โดยไม่สร้างความเจ็บปวดให้คนไข้ เมื่อทราบผลการตรวจแน่ชัดว่าผู้ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน แพทย์ก็จะวางแผนเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาต่อไป
ขั้นตอนการรักษาโรคกระดูกพรุน
การรักษาจะเน้นการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และลดการทำลายเซลล์กระดูกด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
การบำรุงกระดูก รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง หรือทานยาเม็ดเสริมแคลเซียมและวิตามินดี และออกไปรับแสงแดดในตอนเช้า
การใช้ยายับยั้งการทำลายเซลล์กระดูก เช่น ยาอะเลนโดรเนท ช่วยลดการสลายตัวของกระดูก และเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
ฉีดยาเพิ่มฮอร์โมน เช่น ผู้หญิงวัยทอง วัยหมดประจำเดือน
การบำรุงดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคกระดูกพรุน
ออกกำลังกายเป็นประจำตามความเหมาะสมของอายุ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และงดสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันการทำลายกระดูก
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินให้เพียงพอ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกเช่น น้ำส้ม เต้าหู้ งา ผักใบเขียว กุ้งฝอย ปลาเล็กปลาน้อย ตับ ไข่แดง เนื้อ ปลาทู ฟักทอง เห็ด
ตรวจสุขภาพเป็นประจำโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง ที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเป็นประจำทุกปี
การตรวจสุขภาพหาความหนาแน่นของมวลกระดูก โดยเฉพาะผู้ที่จัดว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรกระทำตั้งแต่ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยควรตรวจหาทั้งผู้ที่มีอาการและไม่มีอาการ พร้อม ๆ ไปกับการปฏิบัติตนตามหลักการดูแลตนเอง ถึงแม้โรคกระดูกพรุนจะเป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการใด ๆ มาก่อน แต่ก็จะเป็นโรคที่สามารถป้องกันการเกิดได้เช่นกัน

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/osteoporosis/

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

94
“ตาแดง” คืออาการของโรคที่ทุกคนมีความเสี่ยงและมีโอกาสเป็นกันได้ง่ายทุกช่วงวัย จากการติดต่อหรือสัมผัสกับผู้ป่วย และโรคตาแดงยังพบมากในช่วงฤดูฝนที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรค เพื่อป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคตาแดงในช่วงหน้าฝนนี้ aufarm.shop มีความรู้เรื่องโรคตาแดงและวิธีดูแลสุขภาพมาแนะนำค่ะ

โรคตาแดง คืออะไร ?
โรคตาแดง (Conjunctivitis) คือโรคที่เนื้อเยื่อบางใสที่คลุมอยู่บนตาขาวเกิดการอักเสบและเส้นเลือดฝอยเกิดการขยายตัว โดยบริเวณตาจะมีสีแดงอ่อนถึงแดงจัดขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ ลักษณะของโรคตาแดงอาจเป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลันหรือแบบเรื้อรัง และตาแดงยังเป็นโรคที่พบได้ตลอดปี มักแพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน

สาเหตุของโรคตาแดง
โรคตาแดงเกิดจากการติดเชื้อส่วนใหญ่มักเป็นเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเกิดพร้อมกับโรคหวัดหรือการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ นอกจากนั้นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคตาแดง เช่น

เกิดจากการเป็นโรคภูมิแพ้ ทำให้ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย
การเจ็บป่วยที่ทำให้เกิดความเสียหายที่เส้นประสาทตา หรือมีเลือดออกที่ใต้เยื่อบุตา
เกิดจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยตาแดง เช่น น้ำตาหรือขี้ตาที่ติดอยู่ตามสิ่งของหรือในน้ำ แล้วมาสัมผัสที่ตา
การเล่นน้ำในที่แหล่งน้ำท่วมขังและสกปรก
การได้รับเชื้อโรคจากพาหะ เช่น แมลงหวี่ หรือแมลงวัน

ภาพโดย Free-Photos จาก Pixabay

การติดต่อของโรคตาแดง
การติดต่อของโรคตาแดง สามารถติดต่อหรือระบาดกันได้ง่าย โดยเชื้อสามารถแพร่กระจายได้ตามสถานที่ ที่มีหมู่คนอยู่รวมกันมาก ๆ เช่น รถโดยสาร รถไฟฟ้า ตามสถานที่สาธารณะที่ใช้ร่วมกันเช่น ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงพยาบาล และมักพบมากในเด็กอีกด้วย การติดต่อของโรคตาแดง ติดต่อได้หลายทาง เช่น การสัมผัสน้ำตาหรือขี้ตาของผู้ป่วยโดยตรง และการใช้ของส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แว่นตา หรือเครื่องสำอางร่วมกันกับผู้ป่วย

อาการของโรคตาแดงและการวินิจฉัย
อาการของโรคตาแดงมักเกิดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน โดยจะมีอาการน้ำตาไหล ปวดตา แสบตา มีอาการคันเปลือกตา เปลือกตาบวมแดง อักเสบ มีขี้ตา ขนตาร่วง มองภาพไม่ชัด บางรายอาจมีไข้และไอร่วมด้วย ลักษณะและอาการตาแดงที่ต้องรีบพบแพทย์ ได้แก่ มีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้

สำหรับการวินิจฉัยของแพทย์ เนื่องจากตาแดงเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ การวินิจฉัยด้วยลักษณะภายนอกและการมองด้วยตาเปล่าจึงอาจไม่ละเอียดพอ แพทย์อาจจะทำการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น

การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ โดยการทำ patch test
การขูดเยื่อตาเพื่อนำไปหาเชื้อราหรือเชื้อ Chlamydia เพื่อดูความผิดปกติของเซลล์
การตัดเอาเยื่อตาออกมาตรวจเพื่อหากลุ่มของโรค
การรักษาโรคตาแดง
ตาแดง เป็นโรคที่สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ผู้ที่ป่วยเป็นตาแดงควรพักผ่อนอยู่กับบ้านอย่างน้อย 3 วัน ส่วนการรักษาโรคตาแดงส่วนใหญ่ แพทย์จะทำการรักษาโรคนี้ตามสาเหตุที่พบ ดังนี้

โรคตาแดงที่เกิดจากเชื้อไวรัส ในกรณีนี้ผู้ป่วยมักหายได้เอง แต่ถ้าหากเป็นเชื้อพิเศษรุนแรง แพทย์จะใช้ยาต้านไวรัส หรือรักษาตามอาการ เช่น มีอาการคันก็จะให้ยาแก้คัน หากมีอาการปวดตาจะใช้ยาลดปวด
อาการตาแดงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ เช่น ยาหยอดตา ยาป้ายตา ร่วมกับการใช้ยากินหรือยาฉีด
ตาแดงที่เกิดจากการเป็นภูมิแพ้ ก็จะรักษาด้วยการประคบเย็น การหยอดน้ำตาเทียม และการใช้ยาร่วมกับการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ด้วย
อาการตาแดง จากการสัมผัสสารเคมีหรือสารพิษ รักษาได้ด้วยการล้างตาและร่วมกับการใช้ยารักษาตามอาการและขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็นและความรุนแรงของโรค
วิธีป้องกันตนเองจากโรคตาแดง
ตาแดง แม้จะเป็นโรคที่สามารถหายได้เอง แต่ก็เป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุและติดต่อได้ง่าย เมื่อป่วยเป็นตาแดง จึงต้องระวังการแพร่เชื้อและต้องพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน การป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคตาแดง จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดและทำได้ไม่ยาก ดังนี้

หลีกเลี่ยงการสัมผัสของใช้ที่อาจโดนสารคัดหลั่ง รวมทั้งไม่ใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วยเช่น เครื่องสำอาง แว่นตา รวมทั้งไม่ใช้ยาหยอดตาร่วมกันกับผู้อื่น
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ สบู่ หรือแอลกอฮอล์ และไม่ควรใช้มือขยี้ตาหรือหลีกเลี่ยงมือมาสัมผัสดวงตา
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง น้ำสกปรก หากจำเป็นก็ควรอาบน้ำทันที
กรณีเป็นผู้ป่วยควรป้องกันการเผยแพร่ไปสู่ผู้อื่นด้วยการงดใช้ของสาธารณะ เช่น เดินในห้างสรรพสินค้า การใช้รถโดยสาร การใช้สระว่ายน้ำ หากเป็นเด็กเล็กก็ควรหยุดเรียนเพราะผู้ที่เป็นตาแดงมักมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ถึง 15 วัน
โรคตาแดง ถึงแม้เป็นโรคที่สามารถหายได้เอง เมื่อเป็นแล้วควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม ไม่ควรซื้อยามาใช้เองเพื่อป้องกันจากภาวะแทรกซ้อน เช่น การเกิดแผลในดวงตา เป็นโรคตาชนิดอื่น ๆ หรือการติดเชื้อลุกลามจนการสูญเสียการมองเห็น ซึ่งอาจส่งผลเกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/rain-comes-conjunctivitis/

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

95
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคที่เซลล์ผิวหนังเกิดการแบ่งตัวแบบผิดปกติอย่างรวดเร็ว ซึ่งมาจากการกระตุ้นของสารเคมีลิมโฟไซต์ ที่อยู่ในเม็ดเลือดขาว ทำให้เกิดการอักเสบเป็นผื่นขนาดใหญ่ไปทั่วผิวหนัง โดยบริเวณผิวที่เป็นอักเสบนี้จะมีสีเงินและสีแดง โดยสาเหตุของโรคยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด แต่ก็คาดว่าเกิดจาก

ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง เนื่องจากเซลเม็ดเลือดขาวเกิดความผิดปกติ ได้เข้าไปทำลายเซลล์ผิวหนังเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกาย
เกิดมาจากกรรมพันธุ์ ซึ่งหากพบว่ามีญาติพี่น้องคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ก็อาจมีโอกาสเป็นโรคสะเก็ดเงินได้สูงเช่นกัน
เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่กระตุ้นทำให้เกิดโรค เช่น การติดเชื้อเอชไอวี การบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง ภาวะความเครียด การใช้ยาบางชนิดเช่นยาโรคหัวใจ ยาโรคความดันสูง การดื่มแอลกอฮอล์
อาการของโรคสะเก็ดเงินที่พบได้บ่อย
โรคสะเก็ดเงิน อาการมักแตกต่างกันไปตามชนิดของผื่นที่ผิวหนัง แต่อาการโดยส่วนใหญ่จะคล้ายกัน เมื่อเป็นผื่นที่ผิวหนังจะมีอาการอยู่หลายสัปดาห์ จากนั้นอาการจะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ นอกจากจะมีปัจจัยภายนอกมากระตุ้น จึงจะทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบขึ้นอีกครั้ง และอาการที่พบได้บ่อย คือ ผิวหนังแดงนูน ตกสะเก็ด มีขุยสีขาว เจ็บ คัน แสบร้อน เล็บหนามีรอยบุ๋มผิดรูปทรง บางรายปวดตามข้อต่อต่าง ๆ หรืออาจมีอาการบวมร่วมด้วย

สะเก็ดเงิน
Photo by mysiana on Foter.com / CC BY-SA

ลักษณะผื่นของโรคสะเก็ดเงิน
ชนิดผื่นขึ้นหนาเป็นปื้น (Plaque Psoriasis/Psoriasis Vulgaris) เป็นชนิดที่พบมากที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นหนาคลุมด้วยสีเงิน มักเกิดที่หนังศีรษะ หัวข้อศอกและเข่า
ชนิดเป็นผื่นเล็ก (Guttate Psoriasis) มีลักษณะเป็นผื่นหนาจุดขนาดเล็ก ๆ สีชมพูหรือสีแดง มักเกิดขึ้นกับเด็กหรือวัยรุ่น พบมากที่ขา แขนและลำตัว
ชนิดเป็นตุ่มหนอง (Pustular Psoriassis) มีลักษณะผิวหนังเป็นตุ่มหนองกระจาย อักเสบแดง พบตามแขน ขาหรือลำตัว บางรายพบมีไข้ คัน เบื่ออาหาร
ชนิดเกิดตามข้อพับ (Inverse Psoriasis/Intertriginous Psoriasis) มีลักษณะเป็นผื่นแดง เงา เรียบ เกิดตามข้อพับต่าง ๆ ในร่างกายเช่น ขาหนีบ รักแร้ รอบอวัยวะเพศ
ชนิดผื่นลอกทั่วตัว (Erythrodermic Psoriasis) เป็นชนิดที่รุนแรงแต่ก็พบได้น้อยที่สุด มีลักษณะเป็นผื่นแดงขนาดใหญ่ลอกแบบรุนแรง มักมีอาการเจ็บและคันร่วมด้วย
การวินิจฉัยโรคและการรักษาโรคสะเก็ดเงิน
สำหรับการวินิจฉัยและการรักษาโรคสะเก็ดเงิน แพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวของผู้ป่วย รวมไปถึงการตรวจร่างกายและบริเวณผิวหนังที่เกิดความผิดปกติเพื่อวินิจฉัยโรคเบื้องต้น กรณีอาการของผู้ป่วยไม่ชัดเจน แพทย์อาจมีการเก็บตัวอย่างจากผิวหนังไปตรวจวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติการ จะทำให้รู้ถึงสาเหตุการเกิดของโรคที่ชัดเจนมากขึ้น ส่วนการรักษา รักษาอย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไปตามความรุนแรงของโรค เนื่องจากโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด และมีขั้นตอนการรักษา 2 แนวทาง ดังนี้

การรักษาด้วยยาทา ซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสูง แพทย์ทั่วไปนิยมใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินมากที่สุด หรือยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor อาจนำมาใช้ในการรักษาผื่นสะเก็ดเงินบริเวณหน้าหรือตามซอกพับ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากยาทาคอติโคสเตียรอยด์ รักษาด้วยการทานยา นิยมรักษาในรายที่มีอาการรุนแรงปานกลางถึงมาก และควรรับประทานภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
รักษาด้วยการฉายแสงอาทิตย์เทียม ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้ คือผู้ป่วยจะกลับมาเป็นซ้ำน้อยกว่าการรักษาโดยใช้ยาทาหรือยารับประทาน
ภาวะแทรกซ้อนของโรคสะเก็ดเงิน
โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคที่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด การรักษายังรักษาไม่หายขาด ทำได้ก็เพียงรักษาไปตามอาการเท่านั้น และผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคสะเก็ดเงินแบบชนิดรุนแรง เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคหัวใจและหลอดเลือด

ผลกระทบต่อผู้ป่วยในด้านต่าง ๆ
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน มักประสบปัญหาต่าง ๆ จนบางรายไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากมีผลกระทบในด้านต่าง ๆ ดังนี้

ผลกระทบทางด้านร่างกาย ผู้ป่วยโรคนี้เมื่อเกิดเป็นผื่นสะเก็ดกระจายเต็มตัว หรือเป็นตุ่มหนองกระจาย บางรายพบว่าเป็นที่ผื่นที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ทำให้ทำงานไม่ได้จนเกิดปัญหาในด้านอื่นตามมา
ผลกระทบทางด้านสังคม หากคนในสังคมแสดงอาการรังเกียจ ย่อมทำให้ผู้ป่วยมีภาวะเครียด และเป็นทุกข์ ไม่สามารถเข้าสังคมร่วมกับคนหมู่มากได้ บางรายต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน
ผลกระทบทางด้านครอบครัว หากคนในครอบครัวแสดงอาการรังเกียจย่อมทำให้ผู้ป่วยเกิดผลกระทบทางจิตใจ อาจทำให้โรคกำเริบและยากต่อการควบคุมหรือรักษา
ผลกระทบทางด้านจิตใจ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคสะเก็ดเงิน มักมีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น อับอาย เป็นซึมเศร้า ขาดความมั่นใจ
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น เลือกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน และหากพบอาการผิดปกติที่ผิวหนัง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป



ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/psoriasis/

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/


96
ท่านเป็นคนหนึ่งหรือไม่ ที่มีอาการนอนกรน เชื่อว่าหลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการนอนกรน โดยเฉพาะคนที่อาการนอนกรนยังไม่รุนแรงมากนัก

“นอนกรน” เป็นอาการที่พบได้มากในขณะนอนหลับสนิทและเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยรวมถึงเด็กเล็ก ๆ อาการนอนกรนที่มีความรุนแรงและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่จำเป็นจะต้องทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด เพื่อลดความรุนแรงของอาการนอนกรนเกิดจากอะไร ? รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดได้หรือไม่ ? บทความนี้มีคำตอบค่ะ

นอนกรนและสาเหตุของการนอนกรน
นอนกรน คือความผิดปรกติของการหายใจขณะหลับในช่วงของการหลับลึกหรือหลับสนิท มีสาเหตุมาจากการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงจนทำให้เนื้อเยื่อในทางเดินหายใจส่วนบนสั่นสะเทือนจนทำให้เกิดเสียงดังหรือเสียงการกรน ซึ่งเกิดจากการที่อากาศเคลื่อนผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง และเสียงกรนจะดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย พบได้ในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง อาการนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. อาการนอนกรนแบบธรรมดา
นอนกรนแบบธรรมดา เป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดไม่อันตรายและไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพมากนัก ลักษณะการนอนกรน เกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อยเพราะช่วงหลับสนิท กล้ามเนื้อบริเวณช่องคอจะคลายตัว ทำให้ลิ้นและลิ้นไก่ตกไปทางด้านหลัง เวลาหายใจเข้าผ่านตำแหน่งที่แคบ จะทำให้มีการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อนหรือโคนลิ้น ทำให้เกิดเสียงกรนขึ้น อาการนอนกรนแบบธรรมดาไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพมากนัก นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด และอาจมีผลกระทบทางอ้อมเช่นทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง เมื่อต้องทำงานหรือพักร่วมห้องกับผู้อื่น

2.อาการนอนกรนแบบอันตราย
อาการนอนกรนแบบอันตราย เกิดจากการที่มีทางเดินหายใจแคบมากเวลานอนหลับ เมื่อหายใจลำบากจะทำให้มีเสียงกรนดังและเบาไม่สม่ำเสมอ และจะสลับกันเป็นช่วง ๆ เป็นลักษณะที่เป็นอันตราย เนื่องจากมีภาวะของการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดแดงลดต่ำลง จนอาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด หัวใจ และสมอง

ผลกระทบต่อการใช้ชีวิต อาการนอนกรนแบบอันตรายนอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เช่น ภาวะหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ ทำให้นอนหลับไม่สนิทหรือนอนหลับไม่เต็มตื่น พักผ่อนไม่เพียงพอทำให้มีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ส่งผลกระทบทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงานแย่ลง และก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ในสถานที่ทำงานได้มากกว่าคนปรกติถึง 2-3 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคอื่น ๆ

การวินิจฉัยอาการนอนกรน
อาการนอนกรนนอกจากแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ อาการนอนกรนแบบธรรมดา และอาการนอนกรนแบบอันตรายแล้ว ความรุนแรงของการนอนกรนยังแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

ความรุนแรงระดับที่ 1 คือลักษณะการนอนกรนทั่วไป อาการกรนเกิดขึ้นไม่บ่อย เสียงไม่ดัง และการนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ แต่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของบุคคลที่นอนข้าง ๆ
ความรุนแรงระดับที่ 2 คือการนอนกรนที่เกิดขึ้นมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้เป็นปัญหาต่อสุขภาพ เพราะส่งผลต่อการหายใจในในขณะนอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่สนิทพักผ่อนไม่เพียงพอในช่วงเวลากลางคืนและส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน
ความรุนแรงระดับที่ 3 คือการนอนกรนเป็นประจำทุกวันและกรนเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะมีภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย อาจทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมด หากปิดกั้นเป็นเวลานานไม่น้อยกว่า 10 วินาที จะส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในหลาย ๆ ด้าน
ก่อนการรักษา แพทย์จึงต้องทำการวินิจฉัยอาการนอนกรน เพื่อให้สามารถวางแผนและตัดสินใจในการรักษาได้อย่างถูกต้อง เช่น วินิจฉัยจากอาการของผู้ที่นอนกรน การตรวจร่างกาย และแนวทางอื่น ๆ ได้แก่ การเอกซเรย์ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า


People photo created by yanalya – www.freepik.com

การรักษาอาการนอนกรน
ปัจจุบันการรักษาอาการนอนกรน ทำได้ 2 แนวทาง คือ การรักษาด้วยการผ่าตัดและการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกได้ สำหรับการนอนกรนในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือมีภาวะภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นการนอนกรนในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากแพทย์วินิจฉัยว่าไม่สามารถบรรเทาการนอนกรนได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรนได้ ก็จะทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

สำหรับการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นวิธีที่แพทย์มักแนะนำเป็นอันดับแรก และการรักษาอาการนอนกรนหรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะปัจจุบันการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดมีหลายแนวทาง ดังนี้

การใช้ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) ในการบรรเทาอาการบวมและระคายเคืองในจมูกของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือยาแก้คัดจมูก เพื่อรักษาที่ต้นเหตุของการนอนกรน
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนอน พยายามนอนในท่าตะแคง เพราะการนอนหงายจะทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจง่ายขึ้น
ใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งเป็นเครื่องช่วยเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน หรือ CPAP โดยนำหน้ากากมาครอบจมูกให้แนบสนิทไม่ให้อากาศไหลเข้าออกได้ ตัวเครื่องจะต่อกับอุปกรณ์ที่จะขับลมเข้าไปในปอดแทนการหายใจปรกติ ช่วยไม่ให้ทางเดินหายใจถูกอุดกั้นลดอาการนอนกรน ทำให้ผู้ป่วยหลับสนิทไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
นอนกรน เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งตรงและทางอ้อม หากพบว่ามีอาการอ่อนเพลีย ตื่นบ่อยและนอนหลับไม่สนิท มีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน อาจเกิดจากการนอนกรนก่อนที่อาการนอนกรนจะอยู่ในขั้นรุนแรง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/snoring/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

97
โรคกระเพาะ เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้มากในกลุ่มคนวัยทำงาน และกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เป็นเวลา รวมทั้งคนที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคเรื้อรังทำให้ต้องทานยาที่อาจกัดกระเพาะได้หากทานยาไม่ถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ การรู้ทันโรคช่วยให้เราดูแลตนเองทำให้ห่างไกลโรคกระเพาะได้ไม่ยาก เพื่อรู้ทันโรคและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธี วันนี้มีความรู้เกี่ยวกับโรคกระเพราะมาแนะนำค่ะโรคกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร ?


โรคกระเพาะอาหาร หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร สาเหตุหลักของโรคเพาะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

- โรคกระเพาะอาหาร ที่เกิดจากการเสียสมดุลของกรดที่หลั่งออกมาไปทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากผิดปกตินี้ อาจเกิดจากความเครียด ความกังวล อารมณ์แปรปรวน การรับประทานอาหารรสจัด การดื่มแอลกอฮอลล์ ชา กาแฟ และสูบบุหรี่เป็นประจำ
- มีสาเหตุจากเยื่อบุกระเพาะอาหารถูกทำลาย เกิดได้จาก การทานยาแก้ปวด ยาลดไข้ หรือยารักษาโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ที่อาจส่งผลระคายกระเพาะอาหาร หรือเกิดจากการกินอาหารไม่เป็นเวลา
- ติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ H.pylori (Helicobactor Pylori) เชื้อนี้เกิดจากการรับประทานอาหาร และเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดการอักเสบในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร





อาการและสัญญาณบ่งบอกของโรคกระเพาะอาหาร
สัญญาณบ่งบอกของโรคกระเพาะอาหาร จะมีอาการปวดท้อง เป็น ๆ หาย ๆ และ จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรืออาการต่าง ๆ ต่อไปนี้มีอาการแสบท้อง ร่วมกับอาการปวดท้องแบบเป็นๆ หาย ๆอาจมีอาการปวดท้องมาก เมื่อรับประทานอาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด หรือดื่มน้ำอัดลม
- มีอาการปวดแน่น ท้องอืด มีลมในท้องมาก หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังมื้ออาหารทำให้อิ่มง่ายกว่าปกติ
- มีอาการเบื่ออาหาร หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
- มีอาการปวดท้องเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานานหรือนานเป็นปี



อาการแทรกซ้อนของโรคกระเพาะอาหาร
โรคกระเพาะอาหารส่วนใหญ่มักจะไม่มีโรคแทรกซ้อน แต่ถ้าเป็นแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องจนมีอาการมากและเรื้อรังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เช่น

- เลือดออกทางเดินอาหาร อาการที่สังเกตได้ อาจมีถ่ายอุจจาระสีดำหรืออาเจียนเป็นเลือด
- กระเพาะทะลุ หรือลำไส้เป็นแผล สังเกตได้จากมีอาการปวดท้องรุนแรงทันทีทันใด หน้าท้องแข็ง กดเจ็บ
- ลำไส้อุดตัน หรือลำไส้ตีบตัน สังเกตได้จากอาการปวดท้อง การรับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็วและมักอาเจียนเป็นอาหารที่ไม่ย่อยหลังรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง





การวินิจฉัยโรคกระเพาะของแพทย์
การวินิจฉัยโรค แพทย์จะสอบถามประวัติอาการเบื้องต้น และการตรวจร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุที่แน่ชัด รวมไปถึงการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น

- ตรวจด้วยวิธีกลืนแป้งแบเรียม แล้ว x-ray เป็นวิธีที่ทำง่ายตรวจเสร็จแล้วกลับบ้านได้เลย
- ตรวจด้วยการส่องกล้อง เป็นวิธีการตรวจที่สำคัญในการรักษา สามารถมองเห็นด้วยตา ถ่ายรูปเก็บภาพไว้วินิจฉัยโรคได้ และนำเนื้อเยื่อไปตรวจ
- การตรวจเลือด การตรวจอุจจาระ หรือการตรวจด้วยวิธีการพ่นลมหายใจ





วิธีการและขั้นตอนการรักษาโรคกระเพาะอาหาร
การรักษาด้วยยา

โดยจะรักษาตามอาหารหรือตามสาเหตุของโรค เช่น โรคกระเพาะอาหารที่มีการติดเชื้อแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะที่เกิดจากการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารมากผิดปกต แพทย์จะให้ยาลดอาการของโรคกระเพาะ


การรักษาโดยไม่ใช้ยา

ได้แก่ การผ่าตัดกรณีที่มีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เช่น

– หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด เปรี้ยว รสจัด

– งดเครื่องดื่มแอลกฮอล์ บุหรี่ น้ำอัดลม

– หลีกเลี่ยงการทานอาหารหมักดอง เช่น ผลไม้ดอง ผักดอง

– เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักมากขึ้น





วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
- รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
- หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยาชุด ยาแก้ปวดข้อ ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาที่มีสเตียรอยด์ น้ำอัดลม อาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหาร หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- ไม่รับประทานจนอิ่มเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะขยายตัวกระตุ้นให้เจ็บ และปวดท้องมากขึ้น
- ลดปริมาณอาหารมื้อหลักและเสริมในมื้ออาหารว่าง เพื่อไม่กระตุ้นให้เกิดการปวดท้อง
- รักษาความสะอาดและสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร
- เลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
- หลีกเลี่ยงการซื้อยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหารหรือยาในกลุ่มลดอาการปวด มาทานเอง หากจำเป็นต้องทานยาเหล่านี้ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร


- หากมีอาการควรไปพบแพทย์ หรือตรวจเช็คร่างกายประจำปี เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ





โรคกระเพาะอาหาร เป็นปัญหาสุขภาพที่มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการบริโภค และการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การทานอาหารไม่ตรงเวลา ภาวะเครียด การทานอาหารรสจัด และการทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของโรค บำรุงดูแลตนเอง ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็ป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคกระเพาะอาหารได้แล้วค่ะ




ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/gastritis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

98
โรคข้อเข่าเสื่อม คือ โรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งเป็นความผิดปกติของข้อ พบได้บ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวเข่าที่ช่วยในการพยุงหัวเข่าอ่อนแอลง ภาระการรับน้ำหนักจึงตกไปอยู่ที่ข้อเข่า เป็นสาเหตุสำคัญทำให้กระดูกข้อต่อและกระดูกอ่อนของหัวเข่าเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม
- มีปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น ครอบครัวที่มีประวัติข้อและกระดูกอ่อนผิวข้ออ่อนแอ หรือเกิดจากขาหรือเข่าผิดรูป ซึ่งเป็นอาการผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- เมื่อมีอายุมากขึ้น เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมแซมของกระดูกอ่อนก็อาจลดลง แนวโน้มการเกิดข้อเข่าเสื่อมจึงมีมากขึ้น และมักพบในช่วงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
- เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักตัว การที่มีน้ำหนักตัวมากจะส่งผลให้เกิดแรงกดภายในข้อที่จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น
- มีประวัติเคยบาดเจ็บที่ข้อเข่า ทำให้มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมได้สูง โดยอาจเป็นผลจากการบาดเจ็บ ถึงแม้ร่างกายจะมีการซ่อมแซมหลังจากการบาดเจ็บ โครงสร้างข้อเข่าก็อาจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม
กิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้ข้อต้องรับแรงกดมากจนเกินไป หรือการใช้ข้อเข่าหักโหมซ้ำ ๆ ท่าทางบางอย่างที่ต้องงอเข่ามากเกินไป เช่น การคุกเข่า หรือ นั่งยอง ๆ ทำให้เข่าต้องรับแรงกดสูงกว่าปกติ

5 สัญญาณบ่งบอกอาการข้อเข่าเสื่อม
1.ได้ยินเสียงกรอบแกรบในข้อเข่า ซึ่งเกิดจากหมอนรองกระดูกบางหรือสึกกร่อนทำให้ผิวกระดูกเสียดสีกันจนเกิดเสียงดังกรอบแกรบขึ้น
2. ข้อเข่าฝืดแข็ง สังเกตได้จากการนอนหรือนั่งในท่าเดิมนาน ๆ เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ จะต้องใช้เวลาซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าลดน้อยลง ทำให้การเคลื่อนไหวของหัวเข่าทำได้ยากลำบาก และมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังตื่นนอน
3. มีอาการปวดเสียวภายในข้อเข่า ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อรอบ ๆ เข่ามีความตึงตัวสูง และเกิดจากผิวกระดูกเสียดสีกันทำให้เกิดอาการปวด
4. มีอาการตึงน่อง ปวดเมื่อยน่อง และมีอาการเข่าบวม
5. เคลื่อนไหวแล้วไม่มั่นคง เหมือนเข่าหลวม และงอเข่า เหยียดข้อได้ไม่สุดเหมือนเคย

อาการโรคข้อเข่าเสื่อมระยะแรก
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม ระยะแรกอาจไม่มีอาการบ่งบอกหรืออาการยังไม่รุนแรง หรืออาจมีอาการปวดเมื่อยเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรม เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นบันได แต่อาการจะหายไปเอง แต่บางคนอาจจะมีอาการเสียวหัวเข่า ข้อฝืด เมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ




อาการโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง อาการปวดเข่าเจ็บเข่าจะรุนแรงมากขึ้น อาจมีอาการปวดในเวลากลางคืนเมื่อเกร็งกล้ามเนื้อ เมื่อมีการอักเสบจะมีข้อบวมร้อนและตรวจพบน้ำในช่องข้อ ลักษณะอาการข้อเสื่อมที่เป็นมานาน จะพบว่าเหยียด หรือ งอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่งหลวม หรือ บิดเบี้ยวผิดรูปทำให้มีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับเดิน ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันมีความ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ใช้ยา
ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จะต้องทำกายภาพบำบัด เช่น ใช้ความร้อนลึก และบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า นอกจากนั้นผู้ที่มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนั่ง การยืน การเดิน ลดการกดที่ข้อเข่า การใช้ประคบร้อน ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยการใช้ยา
- ทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล
- รักษาด้วยยาต้านการอักเสบแบบไม่มีสเตียรอยด์ในรูปของยาฉีดและ ยาลดการอักเสบ
- ยาทาเฉพาะที่ประเภทยาแก้ปวด และ ต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ใช้ทานวดซึ่งจะ
- กระตุ้นให้เกิดความร้อนเฉพาะที่
- ยาคลายกล้ามเนื้อ
- ฉีดสารน้ำเลี้ยงไขข้อ

รักษาด้วยการผ่าตัด
วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อปวดมากและรักษาด้วยยาหรือทำกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น หรือข้อเข่าผิดรูปจนใช้งานไม่ได้




วิธีป้องกันตนเองจากโรคข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเสื่อม คืออาการของโรคที่เป็นแล้วนอกจากรักษาให้หายเป็นปกติได้ยาก ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ดังนั้นการป้องกันตนเองจากอาการข้อเข่าเสื่อมจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดและสามารถทำได้ ดังนี้

- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินมาตรฐาน การมีน้ำหนักตัวมาก ๆ ทำให้ข้อเข่าต้องทำงานหนักเพราะรองรับน้ำหนักมาก มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก ๆ การนั่งขัดสมาธิ คุกเข่า หรือพับเพียบเป็นเวลานาน ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อเข่าทำงานหนักเกินไป
- หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และไม่หักโหมเกินไป
- ทานอาหารเสริมบำรุงกระดูก

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวัย รวมทั้งความเสื่อมถอยของเซลล์และกระดูกเราอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาการข้อเข่าเสื่อม ก็เช่นเดียวกันเป็นอาการของโรคที่เกิดขึ้นตามวัยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราบำรุงดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ เลือกทานอาหารเสริมบำรุงกระดูก ช่วยเสริมสร้างให้กระดูดแข็งแรงขึ้น เพียงเท่านี้ก็สามารถรับมือกับโรคข้อเข่าเสื่อมได้แล้ว


ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/5-signal-knee-osteoarthritis/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

99
อาการปวดหลัง เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบได้บ่อยในโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการปวดหลังส่วนใหญ่เป็น ๆ หาย ๆ และเมื่อมีอาการปวดยังส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกายและการดำเนินชีวิต ทำให้ผู้ป่วยมีความยากลำบากในการประกอบกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากต้องลดการเคลื่อนไหวลง เพื่อช่วยระงับอาการปวด หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นหนึ่งในโรคระบบกล้ามเนื้อที่เริ่มจากมีอาการปวดหลัง แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นอาการของโรคหมอนรองกระดูก วันนี้ aufarm.shop มีคำแนะนำค่ะ

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท คืออะไร ?
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือที่คนทั่วไปมักเรียกอาการของโรคนี้ว่า “กระดูกทับเส้น” คือ อาการของหมอนรองกระดูก ที่อาจเสื่อมจากการใช้งานมานาน การเกิดโรคนี้หลักๆแล้วเกิดจากการทำงานที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังโดยตรง เช่น การยกของหนักเกินไป การก้มหลังยกของหนัก การนั่งขับรถนาน ๆ การทำกิจกรรมที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ หลังเป็นประจำ หรือเกิดจากการประสบอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อกระดูกสันหลังโดยตรง และการเคลื่อนไหวผิดท่าทาง ซึ่งเกิดอย่างเฉียบพลัน

อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
สำหรับอาการหมอนรองกระดูกหรือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท มักมีอาการปวดหลัง ลักษณะปวดร้าวลงไปถึงขา โดยจะร้าวตั้งแต่สะโพกลงไป ในบางรายอาจมีอาการชา และอาการอ่อนแรงร่วมด้วย อาการปวดสามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้ และถ้าหากมีอาการปวดเรื้อรังเกินกว่า 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและหาแนวทางการรักษา

ปวดหลัง-นั่งทำงาน Business photo created by yanalya – //www.freepik.com

คนกลุ่มไหนที่เสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
หมอนรองกระดูกเคลื่อน เป็นภาวะที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังโดยมักพบมากในผู้ชายซึ่งเป็นมากกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า ส่วนกลุ่มคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคหมอนรองกระดูก มักพบในคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 – 40 ปี โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงาน เช่น

กลุ่มคนทำงานที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ คนที่แบกของหนัก หรือยกของหนักมากและยกในท่าที่ไม่ถูกต้อง ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมหรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
คนที่นั่งทำงานในออฟฟิศ นั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ และนั่งในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง เสี่ยงต่อโรคหมอนรองกระดูกได้
คนที่ขับรถทางไกล หรือต้องนั่งขับรถเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลต่อร่างกายทำให้ร่างกายอ่อนล้า มีความเสี่ยงต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง และกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก การบิดตัวหรือขยับร่างกายเพื่อผ่อนคลายความอ่อนล้า ก็ส่งผลต่อโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทได้
อันตรายของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
อาการหมอนรองกระดูกเคลื่อน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังและปวดขาเรื้อรัง ซึ่งสร้างความรำคาญให้แก่ผู้ที่ปวด แต่โดยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการร้ายแรง และสามารถดูแลรักษาให้อาการทุเลาลงแล้วกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นปกติได้ แต่หากปล่อยเรื้อรังขาดการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง หรือเป็นอาการปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลังและเส้นประสาท อันตรายของโรคหมอนรองกระดูกก็จะมีความรุนแรงมากขึ้น

การรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท
การรักษาโรคหมอนรองกระดูก ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย การรักษาจึงขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ โดยมีแนวทางการรักษา 2 รูปแบบ ได้แก่

การรักษารูปแบบที่ 1 โดยการฉีดยา
ฉีดยาลดการอักเสบในโพรงไขสันหลัง (ESL) เพื่อทำการรักษาหมอนรองกระดูก หรือกระดูกทับเส้นประสาท
ฉีดยาเฉพาะที่ในโพรงรากประสาท (SNRB) เพื่อลดอาการอักเสบ และ อาการปวด
ฉีดสารซีเมนต์เหลวในปล้องกระดูกสันหลัง (VERTEBROPLASTY) เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุน
การรักษารูปแบบที่ 2 โดยการผ่าตัด
การผ่าตัดแบบเปิด การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะต้องเลาะกล้ามเนื้อของกระดูก และตัดกระดูกออกส่วนหนึ่ง เพื่อที่จะให้เครื่องมือเข้าไปถึงหมอนรองกระดูกได้สะดวก
การผ่าตัดส่องกล้อง วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเลาะกล้ามเนื้อออก เพียงใช้การขยายกล้ามเนื้อแล้วสอดกล้องเข้าไปที่หมอนรองกระดูก จากนั้นคีบส่วนที่อักเสบออก เช่วยให้อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อลดน้อยลง และฟื้นตัวเร็ว
การดูแลตนเอง หลังการผ่าตัด
การผ่าตัดแบบแผลเปิดเพื่อทำการรักษา หลังผ่าตัดจะต้องนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 2-3 วัน แล้วกลับมาพักพื้นเพื่อดูแลตนเองที่บ้าน
การผ่าตัดแบบส่องกล้อง หลังผ่าตัดนอนโรงพยาบาลเพียงคืนเดียว ก็สามารถกลับมาดูแลตนเองที่บ้านได้
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด ห้ามบิดตัวหรือเอี้ยวตัว และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมก้ม ๆ เงย ๆ ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด จะต้องใส่เครื่องมือซัพพอร์ตหลัง เนื่องจากหมอนรอง
กระดูกมีโอกาสปลิ้นซ้ำออกมาได้ เมื่อผ่าน 6 สัปดาห์ไปแล้วสามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้มากขึ้น และหลังจาก 3 เดือนไปแล้ว ก็จะใช้ชีวิตได้ตามปกติ
โรคหมอนรองกระดูก หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท สาเหตุการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น คนที่มีน้ำหนักตัวมาก มีภาวะเครียด นั่งทำงานนาน ๆ โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ และพบมากในช่วงอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงของคนวัยทำงาน การดูแลสุขภาพ เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนอย่างเพียงพอ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค คือวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทได้ดีที่สุด

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/herniated-nucleus-pulpous/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

100
ปัจจุบันการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปตามความทันสมัยของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการบริโภค การทานอาหารซ้ำ ๆ หรือทานเมนูเดิม ๆ จากอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารตามร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพเพราะร่างขาดสารอาหารหรือได้รีบสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ต้องทานอาหารเสริมเพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างสมดุล ทำให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานที่ดี นอกจากนั้นการทานอาหารมัน ๆ หวานจัด เผ็ดจัด หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหารแล้วนอน ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกรดไหลย้อน อีกด้วย

โรคกรดไหลย้อน คืออะไรกรดไหลย้อน คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปอยู่ในหลอดอาหาร เมื่อเกิดอาการอักเสบของหลอดอาหาร ก็จะทำให้มีอาการแสบร้อนกลางกลางอก หรือมีอาการเรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ โรคกรดไหลย้อนที่อาการยังไม่รุนแรงอาจเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตทำให้รู้สึกรำคาญเมื่อมีอาการเรอเปรี้ยวหรือปวดร้อนบริเวณกลางอกเป็นครั้งคราวเท่านั้น

อันตรายของโรคกรดไหลย้อน
ผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อน หากอาการไม่รุนแรงแต่ขาดการดูแลตนเอง ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปล่อยละเลยจนกลายเป็นผู้ป่วยเรื้อรัง อาจเป็นอันตรายที่ยากต่อการรักษาจากภาวะแทรกซ้อน เพราะภาวะอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหารที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหารส่วนปลาย มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้มากที่สุด

สาเหตุของอาการกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน เป็นภาวะของโรคที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง วิถีการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ หรือโรคบางชนิดก็มีส่วนกระตุ้นการทำงานของหลอดอาหารให้เกิดความผิดปกติได้ ส่วนสาเหตุหลัก ๆ ของอาการกรดไหลย้อน ได้แก่

เกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง หรือหูรูดของหลอดอาหารอาจเสื่อมสภาพ กรณีนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือเสื่อมสภาพ เมื่อรับประทานอาหารน้ำย่อยและอาหารในกระเพาะจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก
เกิดจากการบีบตัวของหลอดอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานขึ้น
เกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหาร เช่น หูรูดกระเพาะอาหารปิดไม่สนิท หรือมีการเลื่อนของหูรูดกระเพาะไปจากส่วนที่ควรจะเป็นกระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จนไม่สามารถนำอาหารที่ย่อยแล้วลงสู่ลำไส้ได้หมด อาหารจึงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน เกิดแรงดันในกระเพาะอาหารจนไปดันให้หูรูดเปิดออก อาหารและน้ำย่อยจึงย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร กรณีนี้มักทำให้มีอาการเรอเปรี้ยว
เกิดจากปัจจัยเสริมอื่น ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น
รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
เร่งรีบในการทานอาหาร
เข้านอนหลังรับประทานอาหารทันที
ชอบอาหารมัน และอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เผ็ดจัด
ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ที่อาจส่งผลให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัวและเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อน
ความอ้วน หรือการตั้งครรภ์ เพราะมีความดันในช่องท้องมากกว่าคนทั่วไป จึงมีเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อน
รู้ได้อย่างไร ว่าเป็นกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน เมื่อมีอาการเริ่มแรกบางครั้งอาจพบอาการนี้ไม่ชัดเจน หรือมีอาการใกล้เคียงกับโรคอื่น ๆ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เรอเปรี้ยวและมีอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ แล้วลามมาที่บริเวณหน้าอกหรือคอ หากต้องการรู้ว่าเป็นกรดไหลย้อนหรือไม่ ทำได้ 2 วิธี คือ

วินิจฉัยจากแพทย์จากการชักประวัติ และอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก หรืออาจพิจารณาตรวจพิเศษด้านอื่นเพิ่มเติม หากไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดหรืออาการไม่ชัดเจน เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร หรือการตรวจระบบทางเดินอาหาร
การเช็กอาการของกรดไหลย้อนด้วยตัวเอง เช่น สังเกตอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ มีน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาจนรู้สึกขมที่คอ มีอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด เหมือนอาหารไม่ย่อย และเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงหลังรับประทานอาหาร และอาจมีอาการเสียงแหบในช่วงเช้า หรือแหบเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาทำให้กล่องเสียงอักเสบ

Hand photo created by freepik – www.freepik.com

การรักษา อาการกรดไหลย้อน
เมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าอาการแสดงเสี่ยงต่อโรคกรดไหลย้อน เริ่มต้นจะรักษาด้วยการกินยาปรับการหลั่งน้ำย่อยก่อนประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ การรับประทานยาเป็นทั้งการรักษาและวินิจฉัย
กินยาลดกรด ช่วยลดการหลั่งกรดในกระเพาะทั้งนี้ต้องกินตามแพทย์สั่งเท่านั้น
รักษาด้วยวิธีผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ที่ไม่สามารถรักษาด้วยการยา หรือได้รับผลข้างเคียงจากยา
วิธีป้องกันตนเองจากโรคกรดไหลย้อน
ปรับพฤติกรรมการบริโภค หลีกเลี่ยงอาหารมัน และอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดออกมามากเกินไป
หลีกเลี่ยงการประทานอาหารแล้วนอนทันที ป้องกันภาวะกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปอยู่ในหลอดอาหาร
ควบคุมน้ำหนัก โดยการควบคุมอาหารและหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ควรรอให้อาหารย่อยประมาณ 2-3 ชั่วโมง ก่อนทำงานหนักหรือเป็นงานที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ
หลีกเลี่ยงความเครียด เพราะส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากเกินไป จนเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน อาจเป็นภาวะของโรคที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เสียบุคลิกภาพ และขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่เป็นโรคที่อันตรายร้ายแรง แต่หากเป็นแล้วไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนหรือปล่อยไว้เรื้อรังอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารที่ทำให้ยากต่อการรักษาได้ การดูแลสุขภาพด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทุกหมวดหมู่ หมั่นออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน ก็ทำให้เราห่างไกลโรคได้แล้ว สุขภาพดีเริ่มต้นได้จากตัวเราค่ะ

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/gastroesophageal-reflux-disease/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/

หน้า: 1 [2] 3