ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Topics - ครูสุเทพ

หน้า: [1]
1


คำไวพจน์

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. คำพ้องรูป คือคำที่พ้องความหมาย ซึ่งจะเขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงแตกต่างกัน
2. คำพ้องเสียง คือคำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน และมีความหมายแตกต่างกัน
3. คำพ้องความ คือคำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนแตกต่างกัน ออกเสียงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น ช้าง กับกุญชร

คำไวพจน์ หรือ การหลากคำ เป็นชื่อเรียกคำในภาษาไทยจำพวกหนึ่ง มีความหมายต่างกันเป็น 2 แบบ

1. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ให้คำอธิบายว่า

คำไวพจน์ คือ "คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์ กับ คน บ้าน กับ เรือน รอ กับ คอย ป่า กับ ดง คำพ้องความ ก็ว่า" (พจนานุกรม 2542 หน้า 1091)

2. ความหมายที่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) กล่าวไว้ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ด้วยว่า

คำไวพจน์ หมายถึง "คำที่ออกเสียงเหมืมอนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส กับ ไส โจทก์ กับ โจทย์ พาน กับ พาล ปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง"

คำพ้องรูป

คำพ้องรูป คือคำที่มีรูปเขียนเหมือนกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้

ตัวอย่าง

คำว่า "เพลา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ ได้แก่

- เพลา : แกนสำหรับสอดดุมเกวียน
- เพ-ลา : กาล, เวลา, คราว

คำพ้องเสียง

คำพ้องเสียง คือคำที่เขียนต่างกัน มีความหมายต่างกัน ออกเสียงเหมือนกัน
*ตามนิยามคำไวพจน์ของพระยาศรีสุนทรโวหาร

ตัวอย่าง

- คำว่า "อิฐ" อ่านว่า อิด หมายถึง ดินเผาสำหรับก่อสร้าง
- คำว่า "อิด" อ่านว่า อิด หมายถึง เหนื่อยใจ, อ่อนใจ

คำพ้องความ

คำพ้องความ คือคำต่างรูป ต่างเสียง แต่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกัน
*ตามนิยามคำไวพจน์ของพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ

ตัวอย่าง

คำว่า "พระอาทิตย์" มีหลายคำที่มีความหมายสื่อถึงพระอาทิตย์ เช่น

- ตะวัน
- สุริยา

ประโยชน์ของคำไวพจน์

คำไวพจน์มีประโยชน์มากในแง่ของวรรณศิลป์ วรรณกรรม คือ ถ้าเรารู้จักนำคำไวพจน์มาใช้แทนคำทั่ว ๆ ไปและใช้ให้เหมาะกับบริบทเหมาะกับประเภทงานเขียน คำไวพจน์ก็จะช่วยให้งานเขียนของเราดูมีเสน่ห์ สละสลวยมากขึ้น โดยเฉพาะการแต่งกลอนที่คำไวพจน์จะช่วยให้แต่ละบทมีความคล้องจองกันโดยที่ความหมายที่จะสื่อยังคงตามบริบทเดิม

คำไวพจน์ ถือเป็นจำพวกหนึ่งของคำในภาษาไทยที่ทำให้ภาษาไทยมีความสละสลวยมาก พอไปประกอบกับการแต่งบทกลอนแล้วทำให้มีความลื่นไหลและคล้องจองกันแต่ยังคงความหมายที่จะสื่อสารไว้ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน เอาไว้บทความหน้าเรามาดูคำไวพจน์และวิธีใช้ในการแต่งกลอนกัน

หน้า: [1]