ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


เทคนิคการเขียน บทความ SEO พร้อมทำความรู้จักว่าบทความ SEO คือ อะไร

เมื่อพูดถึง Search Engine ที่เป็นที่นิยมอย่าง Google หลายคนก็มักจะนึกถึงการทำ Search Engine Optimization หรือ SEO ให้บทความติดหน้าแรกหรืออันดับหนึ่งของ Search Engine ซึ่งการเขียนบทความให้ติดหน้าแรกและเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักว่า บทความ SEO คือ อะไร และมีเทคนิค การเขียนบทความ SEO อย่างไรบ้าง

บทนำ
งานเขียนคือสิ่งสำคัญของการทำ SEO เว็บไซต์ ให้ขึ้นหน้าหนึ่งของ Google เพราะคอนเทนต์หรือบทความคือสิ่งที่ผู้คนมองหา เพราะบทความจะให้ข้อมูลหรือคำตอบที่พวกเขากำลังตามหาอยู่ โดย บทความ SEO (SEO Content) คือ บทความที่ถูกปรับแต่งให้สอดคล้องกับ Search Engine Algorithm ทำให้ Search Engine เข้าใจว่า เนื้อหาของบทความที่เราทำนั้นเกี่ยวกับอะไร จึงส่งผลให้มีโอกาสติดอันดับดี ๆ หรือนำมาแสดงผลในผลการค้นหา

การเขียน บทความ SEO เริ่มต้นยังไง
Keyword เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง โดยทุก ๆ บทความต้องมี Keyword ที่เราต้องการเน้น โดยการเขียนบทความออนไลน์ เราควรตั้งต้นว่าเราเขียน บทความ เพื่อใคร แล้วเรื่องที่เราจะเขียน เขาจะค้นหาด้วย Keyword อะไร ซึ่งเราควรเขียนเนื้อเรื่องที่ตอบโจทย์การค้นหานั้น ๆ เช่น คนที่ปวดหัวไมเกรนจะค้นหาว่า “ปวดหัวไมเกรน วิธีแก้” ดังนั้นบทความเรื่องไมเกรนของเราจึงควรมีเรื่องวิธีแก้ปวดหัวไมเกรน ทั้งในตัวเนื้อหาและหัวข้อของบทความ

เทคนิคการเขียน บทความ SEO
เลือกหัวข้อที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย
หัวข้อบทความควรเป็นหัวข้อที่กลุ่มเป้าหมายสนใจและค้นหาบ่อย ๆ เราสามารถหาข้อมูลและหัวข้อที่น่าสนใจได้จากเครื่องมือ Keyword Research ต่าง ๆ เช่น Google Keyword Planner, Ubersuggest, Ahrefs, Google Trend เป็นต้น
เขียนเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และมีคุณภาพ
เนื้อหา บทความ ควรมีความถูกต้อง ครบถ้วน เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
ใช้คีย์เวิร์ดอย่างเหมาะสม
ควรกระจายคีย์เวิร์ดให้ทั่วทั้งบทความอย่างเหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงการใส่คีย์เวิร์ดซ้ำ ๆ มากเกินไป
ใส่ภาพประกอบและ Alt Text
ภาพประกอบสามารถช่วยดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและทำให้ผู้อ่านไม่รู้สึกเบื่อเมื่อเวลาอ่านแล้วมีแต่ตัวหนังสือมากเกินไป รวมถึงการใส่ Alt text เพื่ออธิบายรูปภาพ ที่ช่วยให้ Google รู้ว่า รูปที่เราใส่คืออะไร เมื่อมีคนเสิร์ชรูปภาพใน Google รูปภาพของเราก็จะถูกนำมาแสดงเช่นกัน
กระตุ้นให้ผู้อ่านมีส่วนร่วม
คุณสามารถกระตุ้นให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับบทความได้ เช่น การตั้งคำถาม การขอให้แสดงความคิดเห็น เป็นต้น
แชร์บทความบนโซเชียลมีเดีย
การแชร์บทความบนโซเชียลมีเดียสามารถช่วยให้บทความของคุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นและเพิ่มผู้เข้าชมจากโซเซียลมีเดียด้วย
โดยหลัก ๆ แล้วเราควรคิดในมุมผู้ใช้ คนที่สนใจบทความนี้ น่าจะสนใจอะไร หรือต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับอะไร ซึ่งนอกจากเราหา Keyword ในมุมของเราแล้ว เราต้องลองคิดเพิ่มว่าในมุมของคนที่จะเสิร์ชเข้ามา จริง ๆ แล้วเขาต้องการอะไร เช่น ถ้าเราจะเขียนบทความเกี่ยวกับ ชานมไข่มุก ผู้คนก็จะค้นเกี่ยวกับ ชานมไข่มุกอร่อย ชานมไข่มุกใกล้ฉัน อีกทั้งเราสามารถเลือกใช้ Keyword ที่เราต้องการร่วมกับ Keyword อื่น ๆ ที่คิดว่าคนน่าจะเสิร์ชมาใช้ร่วมกันได้ ไม่จำเป็นต้องมุ่งโฟกัสแค่ Keyword คำเดียว ก็จะเพิ่มโอกาสที่คนจะเจอบทความของเรา โดยเรียก Keyword อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่า Related Keyword ซึ่งคีย์เวิร์ดเป็นสิ่งสำคัญของการเขียน บทความ SEO เลย เพราะว่ามันเป็นสิ่งสำคัญในการที่มอบข้อมูลที่ถูกต้องแก่คนที่กำลังจะเข้ามาหาข้อมูลในเว็บไซต์เรา

นอกจากนี้อีกสิ่งที่ช่วยได้นั่นคือ SEO Plugins ที่เป็นตัวช่วยในการตรวจบทความที่เรากำลังจะลงว่า บทความของเรานั้นถูกต้องตามหลัก SEO หรือไม่ ถ้าหากยังไม่ถูกต้องจะต้องปรับตรงไหนบ้าง โดยเราจะต้องติดตั้ง Plugins ในหลังบ้านของ WordPress และเมื่อเราเขียนบทความ ก็จะสามารถตรวจสอบบทความก่อน Publish ได้ ซึ่ง SEO Plugins นั้นมีหลากหลายแบรนด์ แต่แบรนด์ที่เป็นที่นิยมใช้จะมีอยู่ 2 แบรนด์ นั่นคือ Yoast และ Rank Math ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

หวังว่าบทความนี้จะช่วยในการเเขียนบทความไม่มากก็น้อย ถ้าหากต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราเพื่อรับคำปรึกษาทางด้าน SEO ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 10, 2024, 07:59:32 AM โดย เศรษฐวุฒิ ธรรมวรานนท์ »