ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


5 ขั้นตอนสร้าง Data-Driven กลยุทธ์การตลาดที่ใช้ข้อมูล

 Data driven

ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะธุรกิจประเภทใดก็ต่างพูดกันถึง Big Data แน่นอนว่าการทำตลาดก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันการทำตลาดของบริษัทใหญ่หลายบริษัทได้เปลี่ยนมาเป็นการทำตลาดด้วย Data-Driven ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตและสร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักและทำความเข้าใจกับ Data Driven Marketing, Data Driven Organization คืออะไร พร้อมทั้ง 5 ขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ข้อมูลเป็นหลัก ถ้าพร้อมแล้ว ไปลุยกันเลย 

Data-Driven คืออะไร

Data Driven คือ การขับเคลื่อนธุรกิจของคุณด้วยข้อมูล หรือ Big data ที่ธุรกิจของคุณได้เก็บรวบรวม โดยสามารถนำข้อมูลที่มีไปปรับใช้ได้กับทุกของธุรกิจเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การทำการตลาด การบริหารองค์กร การวางแผนกลยุทธ์ การทำคอนเทนต์ และแคมเปญต่างๆ

นอกจากนี้ Data Driven ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงการทำธุรกิจเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปปรับใช้กับหน่วยงานภาครัฐ เช่น การออกนโยบายเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของประชาชน หรือ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เหมาะสมอีกด้วย

Data-Driven Marketing คืออะไร
หลายคนน่าจะสงสัยกันใช่ไหม ว่า Data-Driven Marketing ที่หลายคนพูดถึงคืออะไร ? จริงๆ แล้ว Data-Driven Marketing เป็นการทำตลาดโดยใช้ข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งข้อมูลในที่นี้จะได้มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าตามแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์

เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนักการตลาดจะนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งคาดเดาแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าในอนาคต ซึ่งการทำ Data-Driven Marketing จะช่วยให้การทำการตลาดและการวางกลยุทธ์ของบริษัทมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ช่วยลดค่าเสียโอกาสต่างๆ ลดได้

5 ขั้นตอนการสร้าง Data-Driven

1. Data Driven Strategy
ขั้นตอนนี้เป็นการตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าจะใช้ Data driven ทำอะไร เพื่อให้ทีมงานทราบว่าเป้าหมายคืออะไร และจะนำข้อมูลไปใช้ทำอะไร พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับจุดวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้

2. Identify key areas
ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดที่มาของแหล่งข้อมูล โดยจะกำหนดว่า Data ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่มาจากช่องทางไหน ไม่ว่าจะเป็น ออฟไลน์ ออนไลน์ที่ได้มาจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยการเก็บ Data ต่างๆ บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค PDPA ที่จะช่วยให้ผู้บริโภคไม่โดยบริษัทและหน่วยงานต่างๆ นำข้อมูลไปใช้โดยไม่ผ่านการยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

3. Data targeting
หลังจากที่ได้ Big Data มาไว้ในมือแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้คุณจะมีข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในปริมาณมหาศาล ขั้นตอนต่อไป คือการคัดแยกและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ ว่าข้อมูลส่วนใดที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจหรือหน่วยงานของคุณ โดยคัดเลือก Data ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ที่ได้ตั้งไว้ตั้งแรกขั้นตอนแรก

4. Collecting and Analyzing Data
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลนับเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ โดยแนะนำให้ข้อมูลที่ได้มาจากทุกแพลตฟอร์มที่มีความเกี่ยวข้องมาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อช่วยให้สามารถนำไปใช้งานได้สะดวก พร้อมทั้งช่วยป้องกันการสับสนที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้การจัดเก็บข้อมูลที่มีระบบและได้มาตรฐานไม่ได้ส่งผลดีแค่เพียงกับนักการตลาดเท่านั้น แต่ส่งผลดีกับทุกฝ่ายในหน่วยงาน

5. Action Items

data driven marketing

ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ Insight ของข้อมูลที่มี โดยวิเคราะห์เพื่อหาว่าจะนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ใด หรือ นำไปวางกลยุทธ์การตลาดอย่างไร เช่น การทำ Data Driven Marketing ที่ใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำ แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคต เพื่อที่บริษัทจะได้สามารถออกสินค้าและบริการที่สามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าได้

5 เหตุผลที่ธุรกิจควรใช้ Data-Driven Marketing ในการทำการตลาด 

1. Data-Driven กับการทำResearch Keyword เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล Insight

Data Driven กับการทำ Research Keyword

Data Driven กับการทำ Research Keyword เป็นการนำ Data ที่มีอยู่มาวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของธุรกิจต้องการสินค้า หรือ บริการด้านไหนมากที่สุด เป็นการตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ตรงจุด ทั้งนี้การใช้ Data Driven กับการทำ Research Keyword ยังช่วยให้เห็นพฤติกรรมแนวโน้มของกลุ่มเป้าหมายในอนาคต ซึ่งสามารถทำให้นักการตลาดวางกลยุทธ์ หรือ ทำคอนเทนต์แบบใดที่จะดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ 

2. Data-Driven กับ สัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ

เป็นการใช้ Data Driven เพื่อรักษาความสัมพันธ์ของธุรกิจกับลูกค้า หรือที่หลายคนเรียกสั้นๆว่า CRM (Customer Relationship Management) โดยนักการตลาดจะนำ Insight ที่มีมาวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ดูแลลูกค้าประจำให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ Data Driven จะช่วยให้นักการตลาดเห็นช่องทางการดูแลลูกค้าได้ตรงจุดมากที่สุด ไม่จำเป็นต้องคอยไปเสียเวลาทดลองใหม่ๆ

3. Data-Driven กับวางกลยุทธ์ในองค์กร
ในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่นำ Data Driven มาใช้เพื่อวางกลยุทธ์การทำธุรกิจ เพื่อให้เกิดความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ยิ่งนักการตลาดสามารถใช้ประโยชน์จาก Insight ที่มีอยู่ได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลดีกับธุรกิจมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการนำ Insight วิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ทางการตลาดจะช่วยให้เกิดความแม่นยำ และได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น

โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับการทำการตลาดที่ไร้ทิศทาง และไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย นอกจากนี้การนำ Data มาวิเคราะห์สร้างสินค้าและบริการที่เหนือกว่าคู่แข่ง จะทำให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดในยุคดิจิตอลในปัจจุบัน

4. Data-Driven กับ วัดผลการดำเนินงาน (Performance Tracking)

วัดผลด้วย data driven

นอกจากการนำ Data เพื่อวางกลยุทธ์แล้ว Data Driven สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวัดผลงานได้ด้วย ซึ่งการใช้ Data Driven จะทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนว่างาน กลยุทธ์ การตลาด หรือโปรโมชั่นที่ทำนั้นส่งผลดีต่อธุรกิจหรือไม่ โดยสามารถวัดได้จากตัวเลขและสถิติที่ได้เก็บรวบรวมไว้

5. Data-Driven กับการเข้าถึงความต้องการของลูกค้า
การใช้ Data Driven เป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด โดยที่นักการตลาดจำนำ Data ที่มีอยู่มาทำความเข้าใจกับพฤติกรรม และวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า และกลุ่มเป้าหมายที่จะกลายมาเป็นลูกค้าในอนาคต

โดยการใช้ Data Driven สามารถทำให้นักการตลาดนำมาต่อยอดทำการตลาดแบบ Personaliztion ได้ ช่วยให้องค์กรสร้างพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการและช่วยแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้ พร้อมทั้งทราบว่าสินค้าที่มีอยู่ควรปรับปรุงตรงไหน

เครื่องมือวิเคราะห์ Data-Driven ของธุรกิจในปัจจุบัน

หลังจากที่ได้รู้ประโยชน์ของ Data Driven ที่จะสามารถช่วยขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรของคุณให้อยู่รอดในยุคดิจิตอลได้แล้ว มาลองดูกันดีกว่า ว่าเครื่องมือวิเคราะห์ Data Driven มีอะไรบ้าง ?

Microsoft Excel

1. Microsoft Excel เป็นโปรแกรมสารพัดประโยชน์ที่สามารถใช้จดเก็บบันทึกข้อมูล และสามารถแสดงผลลัพธ์ด้วยฟังก์ชันต่างๆ ได้ นอกจากนี้ในโปรแกรมยังมีสูตรคำนวณพื้นฐานที่จะช่วยในการวิเคราะห์ Data และแสดงผลออกมาในรูปแบบ Data Visualization อย่างชาร์ต หรือกราฟต่างๆ

google analytics

2.Google Analytics นับว่าเป็นแพลตฟอร์มยอดนิยมที่หลายๆ ธุรกิจใช้กัน ซึ่งสามารถใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้ กำหนดการเก็บ Data ได้ และสามารถวิเคราะห์ปริมาณข้อมูลจำนวนมากได้ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผ่านระบบ AI เพิ่มความสะดวกให้กับนักการตลาดทั้งหลาย

facebook insight

3.Facebook Insight เครื่องมือใหม่จาก Facebook ที่สามารถเข้าดู Insight หลังบ้านของ Page ตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนการเข้าถึง การมีส่วนร่วมของลูกค้า และผู้ที่พบเห็น ซึ่งล้วนสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ในอนาคตได้

amplitude

4.Amplitude มักใช้กับการสร้างแคมเปญโฆษณา โดยการทำการทดสอบ A/B สำหรับโฆษณาหรือคอนเทนต์ นอกจากนี้ยังมี Dashboard ที่สามารถปรับแต่งได้

adobe analytics

5.Adobe Analytics เป็นโปรแกรมที่มีฟีเจอร์ให้เลือกใช้หลากหลาย สามารถใช้ทำ Data Sciemtisis ได้ ทั้งนี้ Adobe Analytics เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ และไม่เหมาะกับการใช้วิเคราะห์ Data พื้นฐาน

โรงงานผลิตครีมทาผิวWoopra

6.Woopra โปรแกรมนี้สามารถทำให้นักการตลาดวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้แบบ Real Time  โดยจะแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการซื้อสินค้าและการใช้เว็บไซต์ของกลุ่มเป้าหมาย

ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data-Driven Strategy 

ในยุคที่หลายองค์กรและหลายธุรกิจเริ่มหันมาขับเคลื่อนธุรกิจด้วย Data เรามาลองดูการดีกว่ามามีอะไรที่จำเป็นต้องคำนึงในการทำ Data Driven Strategy บ้าง

  • คัดแยกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรหรือธุรกิจ และตรงกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมไปถึงการเลือกใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อนำไปต่อยอดให้กับองค์กรหรือธุรกิจของคุณ
  • นำ Data ที่มีอยู่วิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะมาเป็นลูกค้าในอนาคต เพื่อช่วยให้การวางกลยุทธ์ขององค์กรและธุรกิจแม่นยำมากขึ้น  ซึ่งการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ และแบบทดสอบต่างๆ เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ Data ที่มีอยู่จะทำให้การวิเคราะห์พฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • พัฒนาคนในองค์กร และปรับทัศนคติที่มีต่อ Data Driven พร้อมทั้งให้ข้อมูลและความรู้ที่บอกว่าการใช้ Data Driven เข้ามาใช้ในการทำงานดีอย่างไร และช่วยให้ได้เปรียบกว่าคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันอย่างไร และอย่าลืมที่จะให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างการสร้าง Data-Driven

 case study data driven

ยกตัวอย่าง Case Study ของ Google จากการใช้ Data Driven มาวิเคราะห์ Prosonliztion ของกลุ่มเป้าหมายโดยใช้กับการทดสอบ A/B Testing เฉดสีไหนที่จะทำให้ User คลิกโฆษณาบน Google มากที่สุด โดย Google ได้ทำการทดสอบเฉดสีน้ำเงินกว่า 41 เฉดสี ซึ่งบางเฉดสีการแยกด้วยตาเปล่ายังเป็นเรื่องยาก แต่ Google กลับให้ความสนใจกับ Data ตรงนี้

ซึ่งหลังจากการทดสอบ และเก็บ Data ตรงนี้สามารถทำให้ Google ได้เฉดสีน้ำเงินที่สามารถสร้างรายได้ให้ Google มากถึง 200ล้านบาท จากการคลิกโฆษณา

ข้อสรุปของ Data Driven

หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Data Driven และรู้ถึงประโยชน์ที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจ องค์กร หรือหน่วยงานต่างๆ ได้แล้ว ตอนนี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่าการทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้ Data Driven อีกต่อไป แน่นอนว่าถ้าหากอยากให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดต่อไป การมี Insight และ Data ต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องที่สำคัญที่ไม่สามารถมองข้ามได้อีกต่อไป

แต่ถ้ามีเพียง Data Driven แต่ไม่สามารถสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ได้ก็ไม่มีประโยชน์ อย่าลืมที่จะพัฒนาบุคลากรของคุณให้สามารถใช้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2022, 10:48:59 AM โดย พรสัก ส่องแสง »