ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


กระจกตาบาง ทําเลสิคไม่ได้จริงหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร

กระจกตาบาง

ดวงตานั้นเป็นอวัยวะส่วนที่สำคัญมาก การดูแลถนอมสายตานั้นก็สำคัญเช่นกัน ในปัจจุบันผู้คนใช้สายตาไปกับหน้าจอมากขึ้น จึงมีปัญหาสายตามเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตาเอียง หรืองสายตายาวแต่กำเนิด ปัญหาสายตาเหล่านี้ล้วนแก้ไขด้วยการใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์

การทำเลสิค (LASIK) เป็นวิธีหนึ่งที่รักษาปัญหาสายตาให้กลับมีค่าสายตาปกติและกลับมามองเห็นชัดเจนอีกครั้ง บางคนสงสัยว่ากระจกตาบาง ทําเลสิคไม่ได้จริงหรือไม่ กระจกตาบางคืออะไร กระจกตาบาง สาเหตุเกิดจากอะไร แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเรานั้นกระจกตาบาง หากคุณสงสัยเรื่องกระจกตาในบทความนี้มีคำตอบค่ะ

รู้จัก ‘กระจกตา’

กระจกตาบาง สาเหตุ

กระจกตา (Cornea) คือ ส่วนที่อยู่หน้าสุดของดวงตา มีลักษณะโค้งและโปร่งใสไม่มีสี คลุมอยู่ด้านหน้าสุดบริเวณตาดำ ทำหน้าที่ช่วยในการหักเหแสง และช่วยทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ถือเป็นด่านแรกในการป้องกันเชื้อโรค โดยปกติแล้วกระจกตาจะมีความหนาอยู่ที่ 551 ไมครอน นอกจากนี้ความหนาของกระจกตาสามารถลดลงตามอายุได้หรือกระจกตาบางนั้นเอง

ปัญหากระจกตาบาง

กระจกตาบางเป็นยังไง? กระจกตาบาง คือ ความหนาของกระจกตามีไม่ถึง 520 ไมครอน โดยปกติแล้วกระจกตาจะมีความหนาอยู่ที่ 551 - 565 ไมครอน หรือ ประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งมักจะเกิดจากโรคกระจกตาโป่ง (Keratoconus) เพราะยิ่งกระจกตามีความนูนมาก ส่วนที่นูนออกมาก็จะยิ่งบางลง ซึ่งหากกระจกตาบาง อาการดังนี้

  • ค่าสายตามักเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ หรือค่าสายตาแย่ลง ซึ่งส่งผลให้เห็นภาพบิดเบี้ยว ใส่แว่นตาแล้วแต่ยังเห็นภาพไม่ชัด
  • กระจกตาบางทำให้ตาไม่สามารถสู้แสงได้
  • มีอาการตามัว
  • ค่าสายตาเอียงมากผิดปกติ
  • หากกระจกตาบางมากจนบวมน้ำและแตก จะทำให้เกิดเป็นแผลเป็นที่กระจกตา ส่งผลให้การมองเห็นแย่ลง

กระจกตาบาง เกิดจากสาเหตุใด

กระจกตาบาง เกิดจากสาเหตุหลักคือ “โรคกระจกตาโป่งพอง” หรือเรียกว่า Keratoconus คือ การที่กระจกตาบางส่วนมีการนูนตัวขึ้นมาทำให้เกิดความดันภายในตา ดันกระจกตาออกมา ทำให้กระจกตาบางส่วนมีการนูน

มีลักษณะเป็นทรงกรวย (ยอดแหลม) หากกระจกตานูนขึ้นมามีลักษณะเป็นทรงกลมเรียกว่า Keratoglobus หรือหากกระจกตานูนเฉพาะบริเวณขอบตาดำ เรียกว่า Pellucid Marginal Degeneration (PMD) สาเหตุการเกิดโรคกระจกตาโป่งพอง ที่เป็นต้นเหตุทำให้กระจกตาบาง มีหลายสาเหตุ ดังนี้

  • พันธุกรรม

หากภายในครอบครัว ของคุณมีคนเป็นโรคกระจกตาบาง ทำให้คุณมีโอกาสเป็นเช่นเดียวกัน แนะนำให้ตรวจหาโรคตั้งแต่อายุ 10 ขวบ

  • อายุ

กระจกตาบาง มักจะแสดงอาการตั้งแต่วัยรุ่น ไปจนถึงอายุ 30 ปี และยังสามารถเกิดกับคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีได้ แต่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

  • โรคบางชนิด

ผู้ที่เป็นกระจกตาบาง จะมีภาวะกระจกตาโก่งมากกว่าคนทั่วไป ได้แก่ ดาวน์ซินโดรม, โรคจอประสาทตามีสารสี, Osteogenesis Imperfecta, Ehlers Danlos syndrome

  • การขยี้ตา

การที่ขยี้ตาบ่อย ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะไปกระตุ้นให้กระจกตาบาง มีอาการแย่ลง

การใส่คอนแทคเลนส์ กระจกตาบางจริงหรือไม่? การใส่คอนแทคเลนส์ไม่ได้ทำให้กระจกตาบางลง แต่การใส่คอนแทคเลนส์อาจจะทำให้เกิดภาวะตาแห้งได้ ดังนั้นการเลิกใส่คอนแทคเลนส์จะช่วยได้แค่ทำให้อาการตาแห้งดีขึ้น ไม่เกี่ยวข้องกับความหนาของกระจกตา

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีกระจกตาบาง

กระจกตาบาง เกิดจาก

เราได้ทราบกันแล้วว่ากระจกตาบาง สาเหตุเกิดจากอะไรแล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเรามีกระจกตาบางหรือไม่ ส่วนใหญ่มักพบความผิดปกติของกระจกตาเมื่อ เข้ารับการตรวจประเมินสภาพตาเพื่อทำเลสิก ซึ่งมาจากขั้นตอนการวัดค่าความโค้งของกระจกตา (Keratometer Test)

ในการตรวจประเมินสภาพตาว่ากระจกตาบางหรือไม่แพทย์จะนำเครื่องมือที่มีชื่อว่า Keratometer ส่องแสงเข้าไปในลูกตา เพื่อตรวจวัดรูปร่างและความโค้งของกระจกตาที่แน่นอน รวมไปถึงการตรวจสอบค่าสายตาเอียงผ่านแสงสะท้อนที่ตกกระทบลงบนกระจกตา

ทั้งนี้หากต้องการทราบว่ากระจกตาบางจริงหรือไม่ ควรตรวจสายตากับจักษุแพทย์เพื่อความถูกต้องและแม่นยำ  และรักษากระจกตาบางได้ทันเวลา การสังเกตอาการด้วยตนเองเป็นเพียงการสันนิษฐานขั้นต้นเพียงเท่านั้น

กระจกตาบาง ทำเลสิคได้ไหม

กระจกตาบาง ทําเลสิคไม่ได้


กระจกตาบาง ทําเลสิคไม่ได้จริงหรือไม่? การทำเลสิก (LASIK) คือ การผ่าตัดแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์ ยิงไปบนชั้นกระจกตาชั้นกลาง เพื่อปรับเปลี่ยนความโค้ง แล้วจึงปิดกระจกตากลับลงไปโดยไม่ต้องเย็บ กระจกตาสามารถติดกันเองตามธรรมชาติ

กระจกตาบางทำเลสิค ได้ไหม? ผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง “สามารถทำเลสิคได้” แค่ 2 แบบเท่านั้น คือ PRK (Photorefractive Keratectomy) หรือ การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL เนื่องจากกระจกตาบาง prk วิธีนี้จะไม่แยกชั้นกระจกตาออก และ การทำ ICL เป็นการนำเลนส์เสริมมาใส่ในดวงตา จึงเป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง
 
ผู้ที่มีภาวะกระจกตาบาง relex Smile, Femto Lasik และ Microkeratome Lasik ไม่สามารถทำเลสิกแบบขั้นตอนดังกล่าวนี้ได้ เนื่องจากการทำเลสิกแบบที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการผ่าตัดที่ทำให้กระจกตาบางลง ผู้ที่มีปัญหากระจกตาบางอยู่แล้วอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระจกตาย้วยหลังทำเลสิก (Post Lasik Corneal Ectasia) หรือกระจกตาขุ่นได้

วิธีรักษาค่าสายตาสำหรับผู้มีกระจกตาบาง

ปัญหาสายตา ไม่ว่าจะเป็น สายตาสั้น หรือสายตาเอียงสำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง รักษาสายตาผิดปกติได้โดยการทำเลสิกด้วยวิธีการทำเลสิค 2 แบบได้แก่

1. การทำ PRK (Photorefractive Keratectomy)

กระจกตาบาง รักษา

กระจกตาบาง prk Lasik เป็นวิธีการรักษาสายตาสั้น และสายตาเอียงอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาค่าสายตาผิดปกติ การทำ PRK เป็นการแก้ไขกระจกตาชั้นบน โดยใช้สารละลาย ละลายเยื่อหุ้มที่กระจกตาด้านบนออก แล้วใช้เลเซอร์ปรับพื้นผิวกระจกตาให้เข้ากับค่าสายตาที่คำนวณไว้ หลังจากการผ่าตัดเสร็จแล้วจำเป็นต้องใส่คอนแทคเลนส์ไว้ประมาณ 5 - 7 วัน เพื่อให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อหุ้มครอบกระจกตาเหมือนเดิม

  • ข้อดีของการทำ PRK

การทำ PRK เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง อาการตาแห้ง และผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นได้มากถึง 500 และสายตาเอียงได้ถึง 300 แต่การทำ PRK นั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่าการทำเลสิคแบบอื่น ๆ  และมีโอกาสเกิดความระคายเคืองมากกว่าการทำ ICL

2. การผ่าตัดใส่เลนส์เสริม ICL

กระจกตาบาง อาการ

การทำ ICL (Implantable Collamer Lens) หรือ การผ่าตัดเลนส์เสริม เป็นการนำเลนส์เสริมชนิดถาวรมาใส่ในดวงตา โดยจักษุแพทย์จะเปิดแผลกระจกตา และนำเลนส์ที่มีลักษณะบาง พับได้ เข้าไปวางบริเวณหลังม่านตาและหน้าเลนส์แก้วตา เพื่อให้เลนส์เสริมทำงานร่วมกับเลนส์ธรรมชาติ เลนส์เสริมผลิตจากคอลลาเมอร์ (Collamer) ที่เป็นส่วนประกอบของคอลลาเจน (Collagen) และ โคพอลิเมอร์ (Copolymer) ที่มีคุณสมบัติคล้ายกับแก้วตาของมนุษย์ ซึ่งจะมีลักษณะใส บาง และยืดหยุ่นได้ดี

ซึ่งวิธี ICL จะไม่มีการเย็บแผล เนื่องจากบริเวณนั้นสามารถสมานได้ด้วยตัวเอง และจักษุแพทย์สามารถถอดเลนส์นี้ออกได้ โดยไม่เปลี่ยนโครงสร้างทางกายภาพของกระจกตา ไม่ทำให้กระจกตาบางลง

  • ข้อดีของการทำ ICL
การทำ ICL เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากระจกตาบาง และผู้ที่มีปัญหาค่าสายตาผิดปกติ สายตาสั้นไม่เกิน 1,800  และ สายตาเอียงไม่เกิน 600 แต่การทำ ICL อาจจะทำให้เกิดความดันลูกตาสูงขึ้นชั่วคราว ซึ่งอาจจะเกิดหลังจากผ่าตัดวันแรก โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดความดันลูกยาตามความเหมาะสม และการผ่าตัดเลนส์เสริม ICL มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าการทำ PRK

ข้อสรุป

ปัญหาสายตาไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาวแต่กำเนิด หรือสายตาเอียง ก็สามารถรักษาได้ด้วยการทำเลสิก แม้ว่าจะมีปัญหากระจกตาบางก็สามารถทำเลสิกได้ แต่จะทำได้แค่ 2 แบบเท่านั้น คือ PRK และ การผ่าตัดเลนส์เสริม ICL ทั้งนี้ผู้ที่มีภาวะกระจกตาบาง จำเป็นต้องผ่านการตรวจวัดและตรวจวิเคราะห์สภาพตาอย่างละเอียด โดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้จักษุแพทย์ประเมิน และแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2022, 08:42:02 AM โดย พรสัก ส่องแสง »