ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


วิธีคำนวณค่า BMI คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับร่างกายเรา

คํานวณค่า BMI

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า BMI หรือ คำนวณค่า BMI คือ การคํานวณดัชนีมวลกาย เป็นการประเมินสัดส่วนของร่างกายของมนุษย์ได้รับการยอมรับในระดับสากลโดยทุกสถาบันการรักษา ความงาม หรือฟิตเนส และสถาบันอื่น ๆ สามารถคำนวณได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป

โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าคือการคำนวณค่า BMI ต้องทำอย่างไรบ้าง วิธีคํานวณ BMI ทำอย่างไร แล้วเราจะนำค่า BMI นี้ไปใช้ประโยชน์อะไรได้ คํานวณดัชนีมวลกายผู้ชายกับคํานวณ BMI ผู้หญิงต่างกันอย่างไรบ้าง เราได้สรุปรวมรวบมาให้คุณแล้ว

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

คำนวณค่า BMI (Body Mass Index) คือ ค่าข้อมูลดัชนีทางคณิตศาตร์ เป็นการคํานวณมวลร่างกาย เพื่อวัดความสมดุลของน้ำหนักตัว มาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป

สามารถใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ค่า BMI สามารถบ่งบอกได้ถึงอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ อีกทั้งตรวจสอบภาวะไขมันและความอ้วน สุขภาพที่ดีคือควรอยู่ในเกณฑ์ปกติ

สูตรคำนวณค่า BMI

สูตรคำนวณค่า BMI หาค่าดัชนีมวลกาย =  น้ำหนักตัว [กิโลกรัม] ÷ ส่วนสูง [เมตร] ยกกำลังสอง
ตัวอย่างเช่น ผู้หญิง น้ำหนัก 50 กิโลกรัม , ส่วนสูง 160 เซนติเมตร
BMI =  50 (1.60*1.60)
BMI =  502.56
BMI =  19.5

เปรียบเทียบค่า BMI

คํานวณดัชนีมวลกาย

ค่าที่ได้จากการคํานวณ BMI สูตร หรือ เครื่องคํานวณ BMI ไม่ใช่ออกมาเพียงเป็นแค่ตัวเลขที่บ่งบอกแค่ว่าอ้วนหรือผอมเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถบ่งบอกได้ถึงโรคต่างๆที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ด้วย

หากคุณได้ใช้สูตรคํานวณ BMI แล้วพบว่ามีค่าสูงเกิน30.0 ขึ้นไป คุณอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคตับ นิ่วในถุงน้ำดี โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

เมื่อคุณคำนวณค่า BMIตามสูตรข้างต้น ได้ผลลัพธ์ออกมาแล้ว ให้นำตัวเลขนี้ไปเปรียบเทียบเกณฑ์ BMI ดังนี้

ค่า BMI น้อยกว่า 18.5 อยู่ในเกณฑ์ ผอมเกินไป
การที่คุณมีน้ำหนักน้อยเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องดี คุณอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่ายด้วย คุณควรรับประทานอาหารให้เพิ่มขึ้น อีกทั้งควรการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ค่า BMI 18.6 – 24 อยู่ในเกณฑ์ น้ำหนักปกติ
ค่า BMI 18.6 – 24 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ห่างไกลจากโรคที่เกิดจากความอ้วน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยที่สุด แต่ถึงแม้ว่าคุณจะอยู่ในเกณฑ์นี้ คุณก็ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ค่า BMI 25.0 - 29.9 อยู่ในเกณฑ์ อ้วน
คุณอยู่ในเกเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วน มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ของมัน ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน
 
เลือกรับประทานอาหารที่เน้นสุขภาพให้มากขึ้น ลดการทานของอาหารจุบจิบในยามท้องว่าง แล้วดื่มน้ำอย่างต่ำ 8 แก้วต่อวัน พักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนัก

ค่า BMI มากกว่า 30.0 ขึ้นไป อยู่ในเกณฑ์ อ้วนมาก
หากคุณมีค่า BMI มากกว่า 30.0 คุณเริ่มมีความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วน จัดอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างอันตราย คุณจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมการทานอาหาร หลีกเลี่ยงหรือลดการรับประทานอาหารไขมันหรือน้ำตาลสูง

เริ่มออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายอย่างน้อย 150 – 300 นาที ต่อ สัปดาห์ ด้วยการเดิน วิ่ง เต้นแอโรบิก ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ

ข้อจำกัดของค่า BMI

การคำนวณค่า BMI แม้ว่าสูตรที่ใช้จะได้มาจากความสัมพันธ์เกี่ยวกับปริมาณไขมันในมวลร่างกาย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดทางด้านเพศ อายุ รวมถึงปริมาณกล้ามเนื้อของบุคคล ทำให้ผลการคำนวณค่า BMI มีผลที่แตกต่างออกไป ดังต่อไปนี้

1. คนที่อายุมากกว่ามีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า
2. ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงที่เร่งสารอาหารให้เป็นไขมันได้ง่ายกว่าผู้ชาย
3. นักกีฬาที่ฝึกฝนมาอย่างดี จะมีดัชนีมวลกายสูงเนื่องจากมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่า จึงส่งผลให้น้ำหนักตัวที่นั้นมาจากมวลกล้ามเนื้อ ไม่ใช่ไขมัน

ความเสี่ยงเมื่อมีค่า BMI สูงเกินไป

คํานวณดัชนีมวลกาย

หากคุณได้ทำการคำนวณค่า BMI แล้วพบว่าตัวเองอยู่ในเกณฑ์ที่ค่า BMIสูง คุณมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคต่างๆได้ มีดังนี้
  • โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันเกาะตับ
  • โรคหัวใจ
  • โรคมะเร็งต่างๆ
  • โรคหยุดหายใจขณะหลับ

วิธีควบคุมค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม

1. การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ

วิธีคํานวณ BMI

ผู้ที่มีค่า BMI สูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่นั้นมีผลมาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารบุฟเฟ่ต์ อาหารที่มีน้ำตาลสูง ของมัน ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน

เมื่อร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป จึงทำให้ค่า BMI สูงตามไปด้วย ควรปรับเปลี่ยนมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและทานผักผลไม้ให้มากขึ้นด้วย

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

สูตรคํานวณ BMI

การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพดีทั้งฟื้นฟู ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เนื่องจากช่วงเวลาพักผ่อน อวัยวะภายในจะทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ที่ได้รับภาระการทำกิจกรรมหนัก ๆ มาในแต่ละวัน นอกจากนี้ยังช่วยในแง่ของการเผาผลาญพลังงานที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ

3. การออกกำลังกาย

คํานวณ BMI สูตร

แน่นอนว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรง รูปร่างสมส่วน กระชับ และเปลี่ยนปริมาณไขมันบางส่วนให้เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

นอกจากได้ร่างกายที่แข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้สภาพจิตใจเบิกบานแจ่มใส ลดความเครียด ชะลออายุอวัยวะภายในให้มีการใช้งานที่ยืนยาว และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายป้องกันจากโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนอีกด้วย

4. ปากกาลดน้ำหนัก

คํานวณ BMI ผู้หญิง

หากคุณอยากได้ตัวช่วยในการลดน้ำหนัก เราขอแนะนำ ปากกาลดน้ำหนัก ซึ่งปากกาลดน้ำหนัก คือ แท่งปากกาที่ภายในบรรจุยาสำหรับฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (สามารถฉีดยาเองที่บ้านได้)

ซึ่งเป็นตัวยา Liraglutide (ลิรากลูไทด์) โดยสารชนิดนี้เป็นเปปไทด์โปรตีนที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งมีอยู่แล้วในร่างกายที่จะหลั่งออกมาจากลำไส้หลังรับประทานอาหารเสร็จ

นอกจากนี้ปากกาลดน้ำหนักยังมีคุณสมบัติยับยั้งความอยากอาหารที่ส่งไปทางสมอง มีความหิวที่น้อยลง พร้อมลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร

แต่การรักษาด้วยปากกาลดน้ำหนักจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายควบคู่กันไป หากคุณสนใจปากกาลดน้ำหนักสามารถสอบถามได้ที่สมิติเวช

ข้อสรุป

การคำนวณค่า BMI ทำให้คุณได้ประเมินลักษณะร่างกายตัวเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ได้รับการยอมรับในระดับสากล หากคุณพบว่าอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ หรือมากกว่าเกณฑ์ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารให้เป็นไปตามปริมาณที่เหมาะสม ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้มากขึ้น การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อคุณจะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อนตามมานั้นเอง