ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


Design Thinking for Innovation 5 ขั้นสู่นวัตกรรมใหม่ที่ใครก็ทำได้


   เชื่อว่าคนที่ติดตามข่าวสารในวงการธุรกิจ Start-up น่าจะคุ้นเคยกับคำว่า Design Thinking กันมาบ้าง เพราะเป็นแนวคิดสำคัญที่จะทำให้เกิดการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการ จนนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากที่สุด แต่กระบวนการคิดอย่าง Design Thinking for Innovation นั้นใช้ได้แค่ในวงการ Start-up เท่านั้นหรือไม่ และจะก่อให้เกิดแค่เทคโนโลยีหรือแอปพลิเคชันใหม่จริงหรือ วันนี้ เราจะมาหาคำตอบไปด้วยกัน พร้อมเรียนรู้ 5 ขั้นสำคัญซึ่งจะเป็นบันไดไปสู่ผลลัพธ์ของกระบวนการคิดแบบนี้


Design Thinking คืออะไร แล้วทำไมต้อง Design?   
        Design Thinking for Innovation ไม่ใช่การดีไซน์หรือออกแบบแบบนักออกแบบ แต่เป็นการเอากระบวนการของการทำงานออกแบบที่ต้องมีการศึกษาความต้องการของผู้ใช้งานแล้วนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์มาใช้ Design Thinking for Innovation ก็คือกระบวนการการคิดที่พยายามทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ เพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์และตอบโจทย์ที่สุด ซึ่งอาจนำมาสู่นวัตกรรมใหม่ๆ หรือการบริการในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

หลักสำคัญของ Design Thinking for Innovation
หลักการสำคัญของ Design Thinking ในการสร้างนวัตกรรมหรือไอเดียใหม่ๆ มีอยู่ด้วยกัน 5 ขั้นตอน ซึ่งจะเริ่มจากการวิเคราะห์ปัญหาโดยมีผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางและนำไปสู่ทางแก้ที่มีประสิทธิภาพในที่สุด 5 ขั้นตอนที่ว่า มีดังนี้

Empathize: ขั้นตอนแรกคือการทำความเข้าใจปัญหาหรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่เราได้ตั้งไว้ เพื่อจะทำให้ได้ไอเดียในการสร้างสรรค์
Define: หลังจากทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายแล้ว ต่อมาก็คือการวิเคราะห์และกำหนดทิศทางหรือกรอบของการแก้ไขปัญหานั้นเพื่อความชัดเจน แล้วจึงสรุปว่ามีวิธีการใดบ้างที่เป็นไปได้
Ideate: ขั้นตอนที่สามคือการสร้างไอเดีย ระดมความคิดเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาที่วิเคราะห์ออกมาได้ โดยหากต้องการแนวทางที่สร้างสรรค์ ความระดมสมองกันภายในทีม เปิดรับความคิดเห็นที่แตกต่างและไม่ปิดกั้นความคิดเห็นที่ไม่ถูกใจ เพื่อให้ได้แนวทางดีๆ ที่หลากหลาย และสามารถนำมาปรับใช้ได้มากที่สุด
Prototype: เมื่อได้ระดมความคิดกันไปแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการทำต้นแบบหรือแบบจำลองของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้คิดค้นขึ้น เพื่อที่จะได้มีโอกาสเห็นของจริงและแสดงความคิดเห็นกันภายในทีมว่ามีส่วนใดยังขาดหรือยังผิดพลาดอยู่
Test: เมื่อได้แบบจำลองแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ Design Thinking ก็คือการนำ Prototype หรือแบบจำลองที่เราสร้างขึ้นมานั้นไปให้กลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสทดลองใช้งานจริง แล้วสอบถามความคิดเห็นหรือความพึงพอใจ เพื่อที่ผู้ผลิตชิ้นงานนั้นจะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาให้ตรงกับความต้องการมากที่สุด


กระบวนการ Design Thinking for Innovation นั้นไม่ได้มีประโยชน์แค่กับธุรกิจ Start-up ตามที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นกระบวนการทำงานพื้นฐานสำหรับทุกธุรกิจหรือแม้กระทั่งการทำรายงานหรือวิจัยก็ตาม เพราะหากเราใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นศูนย์กลางของไอเดียแล้ว นวัตกรรมที่เราคิดค้นออกมา ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสินค้าหรือบริการ ก็จะตอบสนองความต้องการคนเหล่านั้นได้ดีที่สุด