สื่อสารกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุอย่างไรให้ราบรื่น?การสื่อสารกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นเรื่องยากสำหรับหลายคน โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอยู่ตลอด เนื่องจากโรคสมองเสื่อมอาการคือการสูญเสียความทรงจำและการรับรู้สิ่งรอบตัวไป ทำให้หลายครั้งผู้ป่วยที่เป็นสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมักจะมีพฤติกรรมและการสื่อสารที่เปลี่ยนไป ผู้ป่วยบางคนจากที่เคยเป็นคนพูดเก่ง ก็อาจกลายเป็นคนที่ไม่สามารถรับรู้ จดจำ หรือสื่อสารสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ ดังนั้นเพื่อให้ผู้ป่วย
โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุไม่ได้รู้สึกว่าพวกเขาถูกทิ้งไว้ข้างหลัง บทความนี้จะชวนคุณไปดูเทคนิคการพูดคุยและการสื่อสารกับผู้ป่วย เพื่อให้คุณเข้าใจผู้ป่วยได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
7 เทคนิคดี ๆ ในการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ เป็นภาวะที่สมองเกิดการเสื่อมความสามารถในการทำงาน ส่งผลกระทบให้การการจำ การคิด และการตัดสินใจของผู้ถดถอยลง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมและการสื่อสาร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุทุกคนและโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดก็คือโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นเมื่อคุณต้องดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม การเข้าใจเทคนิคการพูดคุยและการสื่อสารจึงเป็นสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกยอมรับและทำให้บทสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด โดยคุณสามารถเริ่มต้นพูดคุยกับผู้ป่วยสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้ด้วยวิธีการดังนี้
1. เป็นผู้ฟังที่ดี
การสื่อสารที่ดีกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุสามารถเริ่มได้ด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังอย่างอดทน ใส่ใจ และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างแท้จริง เพราะแม้ว่าผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการจดจำ แต่พวกเขาก็ยังเป็นบุคคลที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียวกับคนทั่วไป การรับฟังพวกเขาอย่างตั้งใจจึงจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยรู้สึกดีและรู้สึกได้รับการยอมรับมากขึ้น
2. สร้างความคุ้นเคยด้วยการเรียกชื่อผู้ป่วย
สำหรับการเริ่มต้นสนทนากับผู้ป่วย ให้เริ่มต้นด้วยการเรียกชื่อของผู้ป่วย เพราะการเรียกชื่อสามารถช่วยกระตุ้นความทรงจำให้ผู้ป่วยรู้สึกคุ้นเคยกับสิ่งรอบตัวได้ นอกจากนี้ยังทำให้พวกเขารู้สึกได้ว่ายังมีผู้คนที่ให้ความสนใจพวกเขาอยู่
3. เล่าเรื่องในอดีตเพื่อสร้างความทรงจำใหม่
แม้ว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจะสูญเสียความทรงจำในระยะสั้นและระยะยาวไป แต่การเล่าเรื่องในอดีต ไม่ว่าจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว เพื่อน กิจกรรมที่เขาชอบทำ หรือสถานที่ที่เขาเคยพวก สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นความทรงจำและทำให้ผู้ป่วยมีความสุข มีความมั่นใจในการชีวิตยิ่งขึ้น
4. หลีกเลี่ยงการโต้เถียงและวิจารณ์ผู้ป่วย
ควรหลีกเลี่ยงการโต้เถียงและวิจารณ์ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เพราะไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยเสียความรู้สึก แต่ยังอาจส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจในการสื่อสารอีกด้วย ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการพูดด้วยคำพูดที่ดี รวมถึงให้กำลังใจและให้การสนับสนุนผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีระหว่างกัน
5. ใช้คำพูดสั้น ๆ และประโยคที่เข้าใจง่าย
เมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมีอาการเข้าสู่ระยะกลางของโรค อาการอาจทวีความรุนแรงขึ้น การพูด ตลอดถึงการใช้ภาษาอาจแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด การใช้คำพูดสั้น ๆ ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ใช้ประโยคซับซ้อนจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจง่ายขึ้น
6. สร้างบรรยากาศเป็นกันเองและผ่อนคลาย
นอกจากการพูดด้วยประโยคที่เข้าใจง่ายแล้ว การสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและผ่อนคลายก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยคุณควรพูดด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล ประกอบด้วยการใช้ท่าทางที่อบอุ่น เพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกกดดันและลดความวิตกกังวลลง เมื่อความกังวลลดลงแล้ว การสนทนาก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น
7. ให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ
แน่นอนว่าหนึ่งในสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมในผู้สูงอายุคือกำลังใจ ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกหมดหวังและรู้สึกท้อแท้กับอาการที่เป็นอยู่ แต่การได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างที่ให้การสนับสนุนเขาอยู่เสมอจะช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าตัวเองยังมีความสำคัญและยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
การสื่อสารกับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้ผู้ดูแลเข้าใจผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมากขึ้น แต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมโยงให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยสมองเสื่อมในผู้สูงอายุแน่นแฟ้นอีกด้วย เพราะเมื่อการสื่อสารเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็จะดียิ่งขึ้น แม้ในช่วงเวลาที่โรคสมองเสื่อมอาการมีการเสื่อมถอยขึ้นเรื่อย ๆ แต่การได้รับความเข้าใจ ได้รับการสนับสนุน และการได้รับความรักคือสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วย
สมองเสื่อมในผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีความสุขและเต็มไปด้วยความหมายจากความใส่ใจที่พวกเขาได้รับ