ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


3 วิธี รับมือกับอาการปวดท้องประจำเดือนได้อย่างเห็นผล


เชื่อว่าผู้หญิงเกือบทุกคนเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดท้องประจำเดือนมาแล้ว แต่อาการปวดอาจรุนแรงแตกต่างกัน อาการปวดท้องประจำเดือน ถือเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งโดยเฉพาะคนที่มีอาการปวดอย่างรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ต้องหยุดงาน หยุดเรียน หรือทำภารกิจต่าง ๆในชีวิตประจำวันได้ไม่เต็มที่ ใครที่มีปัญหาปวดท้องเป็นประจำทุกเดือน เรามี 3 วิธี รับมือกับอาการปวดมาแนะนำ
ปวดท้องประจำเดือน คืออะไร?
อาการปวดประจำเดือน คือ อาการปวดท้องน้อยในช่วงที่มีรอบเดือนอาจมีอาการปวดก่อนมีรอบเดือน 1-2 วัน หรือปวดระหว่างมีรอบ และอาการปวดจะพบได้ในรอบเดือนที่มีการตกไข่เท่านั้น ดังนั้นจึงไม่พบว่ามีอาการปวดท้องประจำเดือนในเด็กหญิงที่มีประจำเดือนในครั้งแรก เนื่องจากช่วงแรกของการมีประจำเดือน การทำงานของรังไข่ยังทำไม่เป็นเป็นปกติ โดยทั่วไปมักพบอาการปวดครั้งแรก เมื่อเริ่มเป็นประจำเดือนแล้วเป็นเวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 3 ปี
สาเหตุและอาการปวดท้องประจำเดือน
อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือท้องน้อย (อาการปวดแบบปฐมภูมิ) ที่สัมพันธ์กับการมีประจำเดือน เป็นอาการปวดแบบทั่วไป โดยพบได้บ่อยที่สุดมักมีสาเหตุมาจาก เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดินมากจนเกินไป ลักษณะอาการปวดแบบบีบ ๆ บิดเกร็ง ในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ต้นขาและหลัง อาการปวดชนิดนี้ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมบางรายมีอาการปวด ส่วนบางรายไม่มีอาการปวด
อาการปวดประเภทนี้มีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ ภาวะผิดปกติของมดลูก (ปวดแบบทุติยะภูมิ) เช่น
ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง มักเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยจะติดเชื้อที่มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ หากไม่ได้รับการรักษาให้หายขาด จะส่งผลให้เกิดการอักเสบและมีอาการปวดท้องในขณะที่มีประจำเดือนได้
การมีเนื้องอกมดลูก ทำให้มีการบีบตัวเพื่อขจัดสิ่งขัดขวางการหดรัดตัวในโพรงมดลูกออก ทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อย ๆ
การมีพังผืดในช่องท้อง หรือจากการที่เคยมีการอักเสบในอุ้งเชิงกรานมาก่อน
การไม่มีบุตร ทำให้รังไข่ต้องทำงานตลอดเวลาและมีรอบประจำเดือนมากกว่าคนที่มีลูก
ปากมดลูกตีบ ภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก เกิดขึ้นจากการที่ปากมดลูกตีบแคบเกินไป ส่งผลให้เลือดประจำเดือนไหลได้ช้า ก่อให้เกิดแรงกดภายในมดลูกเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดท้องรุนแรงและเรื้อรัง

วิธีรับมือกับอาการปวดท้องประจำเดือน
อาการปวดท้องประจำเดือน เป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับผู้หญิงที่ต้องเผชิญ การรับรู้สาเหตุและลักษณะอาการปวดท้อง จึงมีความสำคัญสำหรับการดูแลตัวเองและมีแนวทางหรือวิธีรับมือกับอาการประจำเดือนได้ โดยการจัดการกับอาการปวดท้องทำได้หลากหลายวิธี เช่น การรับประทานอาหารเสริมและวิตามิน การบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนด้วยการใช้ยา และการรักษาทางเลือก ดังนี้
การรับประทานอาหารเสริมและวิตามิน
กรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 มีผลงานการวิจัยระบุว่า อาหารเสริมที่มีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 สามารถลดอาการลงได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยที่ไม่เป็นอันตราย เช่น เป็นสิว หรือมีอาการคลื่นไส้
วิตามิน ช่วยยับยั้งการหลั่งกรดไขมันชนิดอะราชิโนนิค ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารโพรสตาแกลนดิน
วิตามินบี 1 มีส่วนช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือน โดยใช้หลักการเดียวกับการแก้ไขอาการขาดวิตามิน 1 ในคนที่เป็นตะคริว มีอาการอ่อนล้าและทนต่อการเจ็บปวดได้น้อยลง จากงานวิจัยระบุว่า เมื่อร่างกายได้รับวิตามินบี 1 ขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ด เป็นเวลา 90 วัน ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้
แม็คนีเซียม ช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ โดยการลดการหดตัวของกล้ามเนื้อ
บรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนด้วยการใช้ยา
ยาแก้ปวดท้อง มีหลายชนิดที่ใช้รักษาอาการปวดท้องประจำเดือน แต่ยาที่ให้ผลทางการรักษาได้ดี  ได้แก่ ยาที่ยับยั้งการผลิตสารโพรสตาแกลนดิน ยากลุ่มนี้เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตรอยด์ และยาคุมกำเนิด ก็เป็นอีกหนึ่งตัวยาที่ช่วยรักษาอาการปวดท้องประจำเดือนได้
การรักษาทางเลือก
การรักษาทางเลือกเพื่อบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน ได้แก่ การกดจุด การฝังเข็ม การกระตุ้นระบบประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง การประคบร้อนและการรักษาด้วยการใช้สมุนไพร
การกดจุดและการฝังเข็ม วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความสมดุลของร่างกาย วิธีนี้สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้
การกระตุ้นระบบประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง ช่วยลดอาการปวดด้วยการเพิ่มความทนต่อการรับความรู้สึกเจ็บปวด
การประคบร้อนบริเวณที่มีความปวด สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว เช่น การทับท้องหรือบริเวณปวดด้วยกระเป๋าน้ำร้อน
การรักษาด้วยการใช่สมุนไพร การรักษาอาการปวดท้องประจำเดือน ด้วยสมุนไพรสามารถทำได้หลายวิธี โดยใช้ใบแห้งของสมุนไพร เช่น ใบช่อยคั่วแห้งแล้วนำมาชงดื่ม หรือนำต้นตะไคร้สดต้มแล้วดื่มน้ำ หรือใช้ต้นและใบบัวบกคั้นน้ำดื่มก่อนอาหาร เป็นต้น
การจัดการหรือรับมือกับอาการปวดท้องประจำเดือน ทำได้หลากหลายวิธี ส่วนใหญ่มักนำหลาย ๆ แนวทางมาผสมผสานร่วมกัน อาการปวดท้องประจำเดือนเป็นสิ่งที่ผู้หญิงเกือบทุกคนต้องเผชิญอยู่แล้ว การรับรู้สาเหตุและแนวทางการรับมือกับอาการปวด เป็นการดูแลสุขภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งเริ่มต้นได้จากตัวเราเอง

ขอบคุณบทความจาก https://aufarm.shop/3-ways-to-stop-period-cramps/
ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://aufarm.shop/