ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ยาพาราเซตามอลกินให้ถูกวิธี ปลอดภัยไม่ทำลายตับ

ยาพาราเซตามอลกินให้ถูกวิธี ปลอดภัยไม่ทำลายตับ

ไขข้อสงสัย ยาพาราเซตามอลที่หลายๆท่านรู้จักกันดี ว่าเป็นยาบรรเทาปวด ลดไข้  ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านของหลายๆคน ถ้าหากวันใดวันหนึ่ง เกิดรับประทานยาพาราติดต่อกันเป็นเวลานาน จะมีผลอย่างไรต่อสุขภาพหรือไม่ พร้อมมีอาการผิดปกติอะไรบ้างที่ควรสังเกตหากแพ้ยา และควรมีวิธีการกินยาพาราที่เหมาะสมปลอดภัยได้อย่างไร ทั้งข้อระมัดระวังในการกินยามีอะไรบ้าง มาหาคำตอบจากข้อมูลของยาพาราจากบทความนี้กัน

ยาพาราเซตามอล มีสรรพคุณอะไรบ้าง
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือทางการแพทย์เรียกว่า ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ซึ่งจัดเป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้ จากอาการปวดเช่น การปวดศีรษะ ปวดเมื่อย(ไข้หวัด) ปวดหลัง เป็นต้น มีฤทธ์บรรเทาอาการปวดน้อยถึงระดับปานกลางเท่านั้นไม่มีผลต่อการปวดชนิดรุนแรงได้

ในปัจจุบันจึงเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาได้ตามท้องตลาด ราคาถูก โดยที่ยาพาราเซตามอลนี้ มีด้วยกันหลากหลายยี่ห้อ ตามแต่ละขนาดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ซึ่งมีทั้งแบบน้ำและแบบเม็ดในการเลือกรับประทาน

ยาพาราเซตามอล จะออกฤทธิ์ภายในกี่นาที

ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์ภายในกี่นาที

หลายท่านคงสงสัยว่า การทานยาพาราออกฤทธิ์กี่นาทีกันนะ สามารถมีข้อมูลที่บอกได้ดังนี้

การทานยาพาราเซตามอล (Paracetamol) จะออกฤทธิ์ยาภายในเวลาประมาณ 10 – 30 นาที พร้อมทั้งมีฤทธิ์ยาต่อเนื่องไปจนถึง 4 – 6 ชั่วโมง ซึ่งท่านสามารถรับประทานยาพาราได้ตามอาการ โดยยาพาราจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) แบบชนิดเม็ด : เป็นยาพาราสำหรับใช้ในผู้ใหญ่ มีด้วยกัน 2 แบบ เป็นชนิดเม็ดขนาด 325 มก.  / ขนาด 500 มก.
  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) แบบชนิดน้ำ : เป็นยาพาราที่ใช้สำหรับเด็ก หรือทารกในการรับประทานตามขนาดน้ำหนักของร่างกายเด็กนั้นเอง

วิธีกินยาพาราเซตามอลที่ถูกต้องมีอะไรบ้าง
ท่านสามารถรับประทานยาพาราได้ตามขนาดของยาได้ดังนี้

  • ยาพาราเซตามอลแบบชนิดเม็ด เป็นชนิดเม็ดขนาด 325 มก.ต่อเม็ด  และขนาด 500 มก.ต่อเม็ด โดยทั่วไปแล้วนั้นผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวตั้งแต่ 55 กิโลกรัมขึ้น ท่านสามารถรับประทานได้ครั้งละไม่เกิน 1 – 2 เม็ด ( จะเท่ากับ 1,000 มก.) ควรเว้นระยะเวลารับประทานต่อห่างกัน 4 ชั่วโมง

  • ยาพาราเซตามอลแบบชนิดน้ำ ซึ่งภายใน 1 ช้อนชา มจะเท่ากับ 5 cc. จะประกอบด้วยยาพาราขนาด 120 มิลลิกรัม /160 มิลลิกรัม /250 มิลลิกรัม เป็นต้น ท่านควรได้คำแนะนำในการรับประทานจากแพทย์ หรือเภสัชกรในการคำนวณวิธีทานก่อนทุกครั้ง เพื่อให้สามารถรับประทานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อตับของบุตรท่านนั้นเอง

ซึ่งสามารถคำนวณการกินยาได้ดังนี้

1.ชนิดน้ำที่บรรจุด้วยหยดหลอดแบบดรอป จะมีความเข้มข้น 60 มิลลิกรัม ต่อยา 0.6 ซีซี. ควรทานครั้งละ 1 -1.5 ซีซี. โดยวิธีทานคือจากน้ำหนักตัวของเด็กหารด้วย 10 เป็น ซีซี

2.ชนิดที่ทานด้วยช้อน ความเข้มข้นของยา 120 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี. (ปริมาณ 5 cc.จะเท่ากันหนึ่งช้อนชา) โดยวิธีทานคือจากน้ำหนักตัวของเด็กหารด้วย 2 เป็นซีซี

3.ชนิดที่ทานด้วยช้อน ความเข้มข้นของยา 250 มิลลิกรัม ต่อยา 5 ซีซี. โดยวิธีทานคือจากน้ำหนักตัวของเด็กหารด้วย 4 เป็นซีซี

ห้ามกินยาพาราเกินกี่เม็ด ?

ข้อห้ามในการกินยาพาราเกินขนาด

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) มีด้วยกันหลายรูปแบบในการทาน จะมีทั้งแบบชนิดน้ำ แบบชนิดเม็ด ซึ่งมีข้อควรห้ามในการกินดังนี้ 

  • ยาพาราเซตามอลแบบชนิดเม็ด ไม่ควรทานเกินวันละ 8 เม็ด (จะเท่ากับจะเท่ากับ 4,000 มก.) ต่อวัน พร้อมทั้งไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วัน หากมีความจำเป็นให้ต้องทานนานกว่านี้ควรปรึกษาแพทย์ทันที

  • ยาพาราเซตามอลแบบชนิดน้ำ ควรได้คำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกรในการคำนวณวิธีทานก่อนทุกครั้ง

จากที่กล่าวข้างต้นไปแล้วนั้น หากท่านทานยาพารามากเกินขนาด อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการซึม คลื่นไส้ อาเจียน ความดันลดลง หากบางรายอาจจะส่งผลให้การทำงานของตับวาย ไตเสียได้นั้นเอง

ควรกินยาพารายี่ห้อไหนดี ?
ในปัจจุบันยาพาราเซตามอลมีด้วยกันหลากหลายยี่ห้อที่ท่านสามารถเลือกมาอยู่คู่บ้าน เพื่อสามารถช่วยท่านบรรเทาอาการปวดหัว ปวดตัว ลดไข้ได้ในกรณีฉุกเฉินอย่างทันท่วงที วันนี้จะขอแนะนำยาพาราทั้ง 4 ยี่ห้อที่ได้รับความนิยมเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน  พร้อมเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย จะมียี่ห้อไหนบ้าง ไปดูกันเลย

1. Bakamol

ยาพารายี่ห้อBakamol

ชื่อยา : Bakamol 500 มก. (แบบกระปุก 100 เม็ด)

ส่วนประกอบ : ประกอบด้วยยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ต่อ 1 เม็ด
สรรพคุณ :  ยาบรรเทาอาการปวด ปวดศีรษะ ลดไข้ ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านที่เหมาะกับอาการปวดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง ท่านสามารถไว้วางใจในคุณภาพของยาพารานี้ได้โดยเฉพาะ เนื่องจากโรงพยาบาลกรุงเทพฯที่เป็นผู้ผลิตได้ให้ความสำคัญกับยาที่คุณจะได้รับนั้นเอง

การรับประทาน : ควรทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด ในทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง
คำเตือน : ห้ามทานเกิน 8 เม็ดต่อวัน และติดต่อกันเกิน 5 วัน

2. Tylenol

ยาพารายี่ห้อTylenol

ชื่อยา : Tylenol  500 มก. (แบบแผง 10 เม็ด )

ส่วนประกอบ : ประกอบด้วยยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ต่อ 1 เม็ด
สรรพคุณ :  ยาบรรเทาอาการ แก้ปวดขั้นพื้นฐาน ปวดศีรษะ ลดไข้ ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านที่เหมาะกับอาการปวดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง

การรับประทาน : ควรทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด ในทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง
คำเตือน : ห้ามทานเกิน 8 เม็ดต่อวัน และติดต่อกันเกิน 5 วัน

3. Sara

ยาพารายี่ห้อsara

ชื่อยา : Sara  500 มก. (แบบแผง 10 เม็ด)

ส่วนประกอบ : ประกอบด้วยยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ต่อ 1 เม็ด
สรรพคุณ :  ยาบรรเทาอาการ แก้ปวดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ลดไข้ ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้านเช่นเดียวกัน

การรับประทาน : ควรทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด ในทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง
คำเตือน : ห้ามทานเกิน 8 เม็ดต่อวัน และติดต่อกันเกิน 5 วัน

4. Cemol

ยาพารายี่ห้อcemol

ชื่อยา : cemol 500 มก. (แบบกระปุก 100 เม็ด)

ส่วนประกอบ : ประกอบด้วยยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ต่อ 1 เม็ด
สรรพคุณ :  เป็นยาสามัญประจำบ้านที่เหมาะกับอาการแก้ปวดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง เช่นการปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดเมื่อยจากไข้หวัด ลดไข้ แก้ตัวร้อน  เป็นต้น

การรับประทาน : ควรทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด ในทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง
คำเตือน : ห้ามทานเกิน 8 เม็ดต่อวัน และติดต่อกันเกิน 5 วัน

กินยาพาราอันตรายไหม มีผลข้างเคียงหรือไม่ ?
ข้อควรรู้ก่อนการทานยาพารา พร้อมทั้งความอันตรายที่ท่านไม่ควรมองข้าม คือ

1.ห้ามใช้กับผู้มีประวัติแพ้ยาพาราเซตามอลที่หากทานจะเกิดอาการดังเช่น ผื่น ลมพิษ บวมตามหน้า – ริมฝีปาก หน้ามืดหายใจลำบาก แน่นอก ผื่นแดง ผิวหนังลอก รวมถึงท่านที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับตับ ทั้งสตรีมีครรภ์ ควรหยุดยาทันทีแล้วรีบพบแพทย์เพื่อหาแนวทางทานยารักษาวิธีอื่น

2.ห้ามทานยาเกินขนาดจากฉลากยาที่แนะนำ ควรหลีกเลี่ยงการทานยาพาราร่วมกับยาชนิดอื่นที่ส่วนประกอบเป็นยาพาราเซตามอลเช่นเดียวกันจะถือว่าท่านกินยาเกินขนาด หรือรวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย จนส่งผลให้ตับเกิดการทำงานบกพร่องจนเข้าสู่ภาวะตับวายได้นั้นเอง

3.สามารถทานยาตามอาการได้ โดยกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่หากท่านมีไข้สูงเกินมากกว่า 39.5 องศาเซลเซียสควรรีบพบแพทย์ทันที

สรุป
หลายท่านคงจะรู้ถึงคุณสมบัติของยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ที่ช่วยแก้ไขบรรเทาอาการปวดต่างๆได้ แต่ถ้าท่านทานยาพาราโดยที่ไม่มีอาการก่อน ที่พูดในกันว่ากินยาดักไว้ก่อน ป้องกันอาการปวดไข้นั้น จึงจะถือว่าเป็นการใช้ยาโดยไม่สมเหตุสมผล ที่อาจจะส่งผลข้างเคียงจากตัวยาเข้าสู่ร่างกายท่านได้ หวังว่าข้อมูลดังกล่าวจะสามารถช่วยให้ท่านสามารถรับประทานยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พร้อมทั้งปลอดภัยต่อตัวท่าน รวมถึงบุตรของท่านได้นะคะ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 07, 2023, 04:23:53 AM โดย พรสัก ส่องแสง »