ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ตาปลาที่เท้า เกิดจากสาเหตุอะไร

ตาปลาที่เท้า เกิดจากสาเหตุอะไร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2022, 06:52:29 AM »
ตาปลา คือผิวหนังที่ได้รับการเสียดสีบ่อย ๆ หรือกดทับเป็นเวลานาน ซ้ำ ๆ ณ จุดเดิม ๆ  มักจะเกิดขึ้นบริเวณที่มีการรับน้ำหนัก เช่นการนั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาด เป็นประจำ บางทีก็เกิดจากการใส่รองเท้าที่คับเกินไป มักจะเจอบริเวณที่เป็นบ่อยก็คือ ฝ่าเท้า ใต้นิ้วเท้า ด้านข้างของเท้า ตาปลา ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค หรือเป็นโรค ไม่มีการติดต่อกัน ไม่มีอาการแทรกซ้อน ยกเว้นผู้ป่วยเบาหวาน
ถ้าหากเป็นตาปลาแล้วไม่รักษาอาจมีอาการอักเสบที่รุนแรง จนทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรัง  หากมีขนาดที่ใหญ่อาจทำให้มีอาการเจ็บปวดได้ หรือแตกเป็นแผล ถ้าหากเป็นที่ฝ่าเท้า เวลาใส่รองเท้า เกิดการกดทับ จะทำให้เวลาเดิน จะเจ็บมาก  อีกอย่าง การเป็นตาปลา จะทำให้ผู้ที่เป็นเกิดความรำคาญเวลาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพราะถ้าหากมีการกระทบหรือกดทับ มีแผลแตก ก็จะทำให้เจ็บจี๊ด จนรำคาญ
ตาปลาเกิดจากอะไร
สาเหตุของการเกิดตาปลานั้น ที่พบได้บ่อยก็คือการที่ใส่รองเท้าที่ไม่ได้ขนาด คับมากไป ไม่พอดีกับเท้า หรือการเดินที่ผิดท่าบ่อย ๆ การลงน้ำหนักที่ไม่ได้สัดส่วนในการเดิน ทำให้เกิดการกดทับบริเวณใต้ฝ่าเท้า หรือนิ้วเท้านาน ๆ หรือการนั่งในท่าเดิมนาน ๆ ก็จะทำให้เกิด การสร้างเนื้อเยื่อที่เป็นพังผืดแข็ง ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับพื้นที่นั้นแทนผิวหนังหรือเนื้อ จึงทำให้เกิดการเป็นก้อนแข็ง เวลาเกิดการกดทับ ก็จะเกิดอาการเจ็บ หรือถ้าเกิดตรงบริเวณข้างเท้าก็จะทำให้เท้าไม่สวย ไม่มีความมั่นใจในรูปเท้าของเจ้าของ ซึ่งก็จะสร้างความรำคาญใจเป็นอันมาก
การรักษาตาปลา
การรักษาตาปลา นั้นขั้นตอนแรกก็ต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นก่อน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ในการเดิน นั่ง ต้องเดินให้ถูกท่าทางลักษณะที่เหมาะสม ไม่เดินแบบลงน้ำหนักจุดเดียวเป็นเวลานาน หรือนั่งในท่าพับเพียบหรือท่าขัดสมาดเป็นเวลานานจนเกินไป
ถ้าเป็นตาปลาที่ฝ่าเท้า นิ้วเท้า เวลาหารองเท้ามาใส่ก็ต้องเลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับเท้า ไม่คับแน่นจนเกินไป จนเกิดการบีบรัดนิ้วเท้า ซึ่งก็จะทำให้เกิดตาปลาที่นิ้วเท้าได้ ถ้าเป็นรองเท้าที่หลวมเกินไป ก็จะทำให้เกิดการเสียดสีในเวลาที่เราเดิน ควรใช้แผ่นรองเท้ารองรับส่วนที่เป็นตาปลาเอาไว้เพื่อป้องกันแรงกดทับ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดทับมากในบางจุดของเท้า  ควรอย่างยิ่งที่จะใส่รองเท้าพื้นเรียบ และพื้นของรองเท้าที่นุ่มพอดี ๆ ในการรักษาอีกวิธีหนึ่งก็คือ ให้ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิก 40% ปิดผิวหนังที่เป็นตาปลาทิ้งไว้ 2-3 วัน แล้วแกะพลาสเตอร์ออก เอาเท้าแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาทีแล้วขัดถูเบา ๆ ตาปลาก็จะค่อย ๆ ลอกหลุดออกไป ถ้ายังไม่หายหมดก็ให้ทำซ้ำอีก จนกว่าตาปลาบริเวณนั้นจะหาย 
อีกหนึ่งวิธีอาจจะใช้ยากัดตาปลา ซึ่งมีกรดซาลิไซลิกผสม เช่น Collomack, Duofilm และ Free zone ก่อนใช้ยาทานั้นต้องแช่เท้าในน้ำอุ่น ๆ ก่อน สัก 15-20 นาที แล้วซับให้แห้ง ขัดถูบริเวณตาปลาเบา ๆ ให้ผิวหนังหลุดออกไป แล้วหาวาสลินมาทารอบ ๆ ผิวหนังที่เป็นตาปลา เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ยาทาไปกัดผิวหนังที่เป็นปกติ ให้ทาวันละ 1-2 ครั้ง ตาปลาก็จะหายไป 
ข้อดีของการทายาเพื่อรักษาก็คือ 
ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่มีแผลเป็น แต่ข้อเสียคือต้องขยันทำ ถ้าไม่ขยันทำ ก็จะไม่หาย  หรือจะรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งต้องทำโดยแพทย์ที่ชำนาญในการรักษาตาปลาเท่านั้น เราจะใช้มีดมากรีดเอง หรือจี้ด้วยธูปนั้นไม่ได้โดยเด็ดขาด อาจทำให้แผลติดเชื้อเกิดการอักเสบ
นอกนั้นยังมีวิธีในการรักษา โดยการจี้ด้วยไฟฟ้าหรือการใช้เลเซอร์ในการรักษา ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษาซับซ้อน และมีการดูแลแผลเพื่อป้องกันการอักเสบหรือติดเชื้อ จึงต้องทำการรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเช่นเดียวกัน
ตาปลาที่นิ้วมือเกิดจากอะไร
ตาปลาที่นิ้วมือ มักจะพบบ่อยด้วยการเกิดจากผิวหนังที่นิ้วมือมีการเสียดสีบ่อย ๆ   จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้น แข็งเป็นตุ่มนูน ตาปลาที่นิ้วมืออาจเกิดจากการเขียนหนังสือเพราะมีการจับปากกาหรือดินสอเป็นเวลานาน ทำให้เกิดการเสียดสีหรือกดทับ การใช้นิ้วหิ้วของหนักอยู่เป็นประจำ ผู้ที่มีการใช้มือ นิ้วมืออย่างต่อเนื่องเป็นประจำ อย่างเช่น ช่างกล ชาวนา ชาวสวน คนงานก่อสร้าง นักกีฬา นักดนตรี  ฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีโอกาสที่จะเกิดตาปลาที่มือ หรือนิ้วมือมากยิ่งขึ้น
ตาปลาที่นิ้วมือและมือเมื่อกดดูก็จะทำให้เจ็บ ตาปลาที่นิ้วมือไม่มีอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย แต่อาจมีผลต่อสุขภาพจิต ที่มองมือแล้วไม่สวย และยังทำให้เกิดการระคายเคืองหรือเจ็บเมื่อเวลาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ตาปลาที่มือก็จะหายไปในเวลาไม่นาน
การรักษา ตาปลาที่นิ้วมือ
เริ่มด้วยการรักษาตาปลาด้วยตัวเอง โดยเอามือหรือนิ้วมือที่เป็นตาปลาแช่ลงในน้ำอุ่น ๆ  สัก 5-10 นาที หรือสังเกตว่าตุ่มตาปลาอ่อนหรือนุ่มลง ให้ใช้ผ้านุ่ม ๆ ขัดผิวหนังบริเวณตาปลาให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วออกไป ต้องขัดด้วยความเบามือ อย่าทำให้เกิดแผล เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้ และทามอยส์เจอไรเซอร์หรือครีมที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) แอมโมเนียม แลคเตท (ammonium lactate) หรือยูเรีย (Urea) ซึ่งจะทำให้ผิวหนังตุ่มตาปลาหลุดออกไป ควรทาเป็นประจำเพื่อการรักษาตาปลาที่นิ้วให้หายขาด เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดตาปลาที่นิ้วหรือมือ
อีกวิธีที่แนะนำคือสวมใส่ถุงมือเวลาทำงาน เพื่อป้องกันการเสียดสีจากการที่ใช้อุปกรณ์ในการทำงาน ใช้ผ้าพันแผลหรือแผ่นรองปิดตาปลาเพื่อป้องกันและลดการระคายเคืองหรืออาการเจ็บ หากต้องมีการกดทับหรือเสียดสีขึ้น และหมั่นทามอยส์เจอไรเซอร์หรือครีมบำรุงผิว ให้ผิวได้รับความชุ่มชื้นอยู่เสมอ  แต่ถ้าต้องการรักษาที่ใช้เวลาไม่นานและมีความปลอดภัย ก็ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยเลเซอร์หรือผ่าตัดเอาออกก็ได้