หน้างานวิ่ง    ฟัน รัน, มินิ มาราธอน | กรุงเทพฯ
676
โครงการวิ่งสร้างเมือง 2020 (RUN FOR BETTER CITY 2020)
 

หลักการและเหตุผล
 
โครงการ “วิ่งสร้างเมือง 2020 หรือ Run For Better City 2020” เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุน ส่งเสริม การ “สร้างเมือง” ด้วยการสร้าง “งานสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อม” ที่มีคุณประโยชน์ต่อเมืองเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้ดีขึ้นและมุ่งมั่นที่จะสร้างจิตสำนึก “สร้างเมือง” ให้กับประชาชนด้วยการเชิญชวนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง ร่วมมือกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นการสร้างพลังสังคมที่ช่วยกันผลักดันให้เกิดการพัฒนา “สร้างเมือง” ของเราให้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
 
โครงการ “วิ่งสร้างเมือง 2020 หรือ Run For Better City 2020” เล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่บางกระเจ้าจุดเริ่มต้นแห่งลมหายใจของคนเมือง เพื่อสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตระหว่างชุมชน ธรรมชาติและนักท่องเที่ยว โดยจะเริ่มต้นจากจุดมุ่งหมายแรกในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวเพื่อคงอยู่ถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในพื้นที่ลำพูบางกระสอบ โครงการนี้เป็นการดูแลบ้านของหิ่งห้อยในเนื้อที่ 41 ไร่เศษ เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นแหล่งที่หิ่งห้อยเลือกที่จะอยู่อาศัยและขยายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน 
 
“โครงการสะพานข้ามคลองลัดบางยอ” จึงถือกำเนิดเพื่อการสร้างจุดเชื่อมโยงแหล่งหิ่งห้อยทั้งสองฝั่งคลอง ที่ในปัจจุบันนี้เส้นทางสัญจรมีความยากลำบากในการเข้าถึง เป็นการต่อยอดเส้นทางเยี่ยมชมและเพิ่มพื้นที่เรียนรู้ทางธรรมชาติ เปิดโอกาสให้เข้าเยาวชนไปสัมผัสถึงความสงบร่มรื่นและความหลากหลายทางชีวภาพของการอยู่ร่วมกันด้วยการพึ่งพาอาศัยระหว่างคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเกื้อกูล ทั้งยังเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนเมืองสะพานกลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ในการนำพานักท่องเที่ยวหวนคืนสู่ความสวยงามทางธรรมชาติที่ไร้การปรุงแต่ง
 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เห็นความสำคัญในการสร้างประโยชน์เพื่อสังคม มีความตั้งใจและมุ่งมั่นเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่เมือง เพราะต้นไม้ล้วนหายใจออกมาเป็นออกซิเจน (O2) คืนกลับมาให้คนเมืองใช้หายใจ จึงใช้รายได้ส่วนหนึ่งจากโครงการวิ่งสร้างเมือง จัดทำโครงการออกแบบและดำเนินการสร้างสะพานคนเดินในพื้นที่บางกะเจ้า เพื่อให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสเรียนรู้ เกิดการเข้าถึงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่บางกะเจ้าในแนวทางที่ยั่งยืน การอนุรักษ์บางกะเจ้าเป็นตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันของคนเมืองและสิ่งแวดล้อม เอื้อเฟื้อและดูแลกันและกัน คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตของคนเมืองที่ดีด้วย คนไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากความเอื้อเฟื้อจากธรรมชาติที่อยู่คู่กัน อันเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองในทิศทางที่ดีขึ้นต่อไป
 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  จึงเห็นควรสนับสนุนมอบรายได้ส่วนหนึ่งจากโครงการ “วิ่งสร้างเมือง 2020 หรือ Run For Better City 2020” สำหรับการดำเนินงานก่อสร้างสะพานคนเดินข้ามคลองลัดบางยอ คลองที่มีกว้างประมาณ 12 เมตร และตัวสะพานมีความกว้างประมาณ 4.00 เมตร รวมทั้งดำเนินการขออนุญาต และสำรวจพัฒนาแบบในพื้นที่จริงจากแบบประกวดที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการ “ประกวดออกแบบสะพานคนเดินข้ามคลองหมู่บ้านหิ่งห้อย” จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2019 
 
ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสเรียนรู้ เกิดการเข้าถึงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่บางกะเจ้าในแนวทางที่ยั่งยืน การอนุรักษ์บางกะเจ้าเป็นตัวอย่างของการอยู่ร่วมกันของคนเมืองและสิ่งแวดล้อม เอื้อเฟื้อและดูแลกันและกัน คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตของคนเมืองที่ดีด้วย คนไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากความเอื้อเฟื้อจากธรรมชาติที่อยู่คู่กัน อันเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีที่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองในทิศทางที่ดีขึ้นต่อไป
 
วัตถุประสงค์ 
  1. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างจิตสำนึกสาธารณะให้กับประชาชนและผลักดันการพัฒนาเมืองให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น 
  2. สร้างการรับรู้ด้านบทบาทวิชาชีพสถาปัตยกรรมผ่านกิจกรรมการวิ่งเพื่อสุขภาพและการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสาธารณะ 
  3. สร้างสรรค์งานวิ่งเพื่อสุขภาพที่มุ่งเน้นการสร้างสุขภาวะ สร้างแรงบันดาลใจ ความสนุกสนาน และความปลอดภัยตลอดเส้นทางของผู้ร่วมกิจกรรม 
  4. สร้างความมีส่วนร่วมและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน คณาจารย์ ผู้สนับสนุนการจัดงาน ตลอดจนครอบครัวผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายผ่านกิจกรรมวิ่งเพื่อสุขภาพ 
วันวิ่งและสถานที่จัดงาน
 
วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563
 
ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย
 
กิจกรรมไฮไลท์ 
 
การประกวดแต่งชุดแฟนซีธีมหิ่งห้อยชิงรางวัล
 
วัตถุประสงค์
  1. สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างนักวิ่งและธีมงานจัดงานเพื่อตอกย้ำการสำนึกและเห็นความสำคัญของหิ่งห้อย
  2. เพื่อประชาสัมพันธ์งานและตอกย้ำวัตถุประสงค์ในการจัดทำโครงการ
  3. สร้างภาพจำและกระตุ้นความสนใจในการร่วมกิจกรรมในปี 2021
คณะกรรมการตัดสิน
 
ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
กติกาในการร่วมแข่งขัน
  1. ผู้แข่งขันแต่ละประเภทต้องมาลงทะเบียนและให้ทีมงานถ่ายรูปเพื่อที่เป็นข้อมูลประกอบการโหวต
  2. รางวัลความคิดสร้างสรรค์ ตอบโจทย์ความเป็นหิ่งห้อยในยุคอนาคตแต่ยังคงไม่ทิ้งเอกลักษณ์เดิม
  3. รางวัลความสวยงาม คล้ายคลึงกับความเป็นหิ่งห้อยมากที่สุด
  4. รางวัลขวัญใจช่างภาพ ร่วมโหวตหลังจบงานและจะประกาศผลผ่านทาง Facebook และส่งมอบรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศทางไปรณีย์
  5. รางวัลอื่นๆคณะกรรมการจะรวบรวมคะแนนและประกาศรางวัลหลังการแสดงคอนเสิร์ต
รางวัลการแข่งขัน
 
รางวัลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ รางวัลเดี่ยวและรางวัลหมู่
 
รางวัลเดี่ยว
  1. รางวัลความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 3 รางวัล
  2. รางวัลความสวยงาม จำนวน 3 รางวัล
  3. รางวัลขวัญใจนักวิ่ง จำนวน 1 รางวัล
  4. รางวัลขวัญใจช่างภาพ จำนวน 1 รางวัล
รางวัลหมู่
  1. รางวัลคู่รัก จำนวน 1 รางวัล
  2. รางวัลคู่เพื่อน จำนวน 1 รางวัล
  3. รางวัลครอบครัว จำนวน 1 รางวัล
  4. รางวัลกลุ่ม จำนวน 1 รางวัล
ระยะวิ่งและค่าสมัคร
  • ระยะมินิมาราธอน 10 กิโลเมตร/ราคา 800 บาท
  • ระยะไมโครมาราธอน 5 กิโลเมตร/ราคา 800 บาท
  • ระยะนาโนมาราธอน 2.5 กิโลเมตร/ราคา 800 บาท
  • บัตร VIP ทุกระยะ/ราคา 2,000 บาท
(พิเศษ! สำหรับ VIP จะได้รับกระเป๋าคาดเอวดีไซน์พิเศษจากร้าน GoodJob รุ่นลิมิเต็ทอิดิชั่น มูลค่า 890 บาท)
 
สิ่งที่นักวิ่งจะได้รับ
 
เสื้อ, เบอร์วิ่ง (บิบ), เหรียญรางวัล, คูปองอาหาร 

การบริการ
  1. บริการน้ำดื่มในเส้นทางวิ่ง
  2. บริการเครื่องดื่มเกลือแร่
  3. บริการอาหารและเครื่องดื่ม
  4. บริการหน่วยพยาบาลตลอดการแข่งขัน
  5. อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการจัดการจราจรบนเส้นทางวิ่ง
  6. บริการรับฝากสัมภาระนักวิ่ง
เส้นทางการวิ่ง
  • มินิมาราธอน 10 กิโลเมตร 
  • ไมโครมาราธอน  5 กิโลเมตร
  • นาโนมาราธอน  2.5 กิโลเมตร
อื่น ๆ 
  1. รูปแบบของซุ้ม Start-Finish ดีไซน์พิเศษโดยศิษย์เก่าสถาปัตย์ จุฬาฯ ซึ่งมีความพิเศษ แตกต่าง และโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
  2. อาหาร รวบรวมร้านอาหารชื่อดังจากโรงอาหารของทุกคณะภายในมหาวิทยาลัยมาไว้ในงานนี้ และยังมีเมนูพิเศษจากกลุ่มชาวบ้านบางกระเจ้าเพื่อสนับสนุนรายได้ชุมชนอีกช่องทางหนึ่ง
  3. การใช้วัสดุที่เป็น Upcycling คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในการออกแบบ Race kits ในครั้งนี้ เช่น การออกแบบเหรียญ, การออกแบบเสื้อ และของที่ระลึก
รายละเอียดงานเพิ่มเติม https://bit.ly/2PV3oNK
ปิดรับสมัคร
 
LOCAL TIME
Time Zone : Asia/Bangkok
2.5, 5, 10 กิโลเมตร
COST
2,000 บาท
ลงประกาศ คอร์สเรียน ฟรี! : Running Post
สมาชิกใหม่ ลำดับที่ 41,857  คุณโซเนีย สิงกาเนีย
สมัครสมาชิก
ตั้งกระทู้ใหม่
สถิติงานวิ่ง 18 กระทู้  7 หัวข้อ