บทความทั้งหมด    บทความ SMEs    การเริ่มต้นธุรกิจใหม่    ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจ
417
2 นาที
17 พฤษภาคม 2567
ยุคนี้ อยากรวยยาว! เซ็ทธุรกิจตัวเองให้เป็น Destination
 

Destination แปลตรงๆคือจุดหมายปลายทาง คำนี้มองผิวเผินไม่ได้เกี่ยวอะไรกับธุรกิจ แต่ความจริงแล้วเกี่ยวข้องมากถึงขนาดว่าเป็นหนึ่งในเคล็ดลับที่ช่วยให้ทำธุรกิจมีกำไรได้ในระยะยาว
 
ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเผยไตรมาสแรกปี 67 มีบริษัทตั้งใหม่ 25,003 ราย ยกเลิก 2,809 ราย ถ้านับเฉพาะในเดือนมีนาคม 67 มีธุรกิจใหม่ที่จำนวน 7,733 ราย เลิกกิจการจำนวน 911 ราย โดยธุรกิจที่เลิกกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจร้านอาหาร
 
 
ข้ามมาดูในส่วนของกลุ่มโรงงานตัวเลขน่าตกใจยิ่งกว่า เพราะแค่ไตรมาสแรกปี 67 มีโรงงานปิดกิจการพุ่งสูงถึง 367 แห่งพนักงานถูกเลิกจ้างมากถึง 10,066 คน และมีแนวโน้มว่าตัวเลขอาจไม่หยุดแค่นี้ด้วย
 
วิเคราะห์ว่าอะไรคือเหตุผลให้หลายธุรกิจ “ไปไม่รอด” เหตุผลหลักๆก็คือต้นทุนที่สูงขึ้นในทุกด้าน , การแข่งขันที่มากขึ้น , พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป คำถามคือ “แล้วจะมีวิธีไหนทำให้ธุรกิจอยู่รอดในยุคนี้” ทีนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ช่วงต้นที่เราพูดถึงคำว่า “Destination”
 
อธิบายกันตรงๆ Destination Marketing คือการตลาดแบบจุดหมายปลายทาง ใกล้เคียงกับคำว่า “สร้างจุดเด่นให้กับแบรนด์” เพื่อให้มี “ความแตกต่าง” และเพื่อให้กลุ่มลูกค้ามองเห็นความโดดเด่นจนนำไปสู่การซื้อสินค้าหรือบริการนั้นๆ
 
 
ซึ่งก็มีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องกันทั้ง ตราสินค้า , แพคเกจจิ้ง , คุณภาพสินค้าและบริการ หรือถ้าเป็นในส่วนของร้านอาหารเครื่องดื่ม อาจต้องเพิ่มในเรื่องบรรยากาศร้าน รวมถึงการตลาดที่ต้องสื่อสารให้คนเห็นภาพชัดเจนว่า เรามีอะไรที่เหนือกว่าน่าสนใจกว่าแบรนด์อื่น 
 
เมื่อธุรกิจมี Destination ที่ชัดเจนย่อมสร้างการจดจำและมีโอกาสเพิ่มยอดขายรวมถึงการสร้างฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว ยกตัวอย่างห้างสรรพสินค้าในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเซ็ทธุรกิจให้มี Destination Concepts ที่รวมบริการทุกรูปแบบไว้ในที่เดียว อย่างร้านอาหารก็ยังมีแยกย่อยทั้งแบบ Take Home, Supermarket และ Cooking Studio และห้างสรรพสินค้าบางแห่งยังมี Co-Workingspace , Sport club , พื้นที่สำหรับครอบครัว ไม่นับรวมบรรดาร้านค้าที่เน้นสินค้าน่าสนใจ 
 
 
หรือให้เห็นภาพชัดขึ้นอีกหน่อย “POP MART” ร้านของเล่นสัญชาติจีน น่าจะอธิบายถึงคำว่า Destination Marketing ได้แบบเป็นนามธรรม รูปแบบในการสร้างสรรค์ธุรกิจให้ลูกค้าต้องมาซื้อสินค้าคือ ใช้กลยุทธ์ในการกระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อมากขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกับศิลปินชื่อดัง ในการผลิตสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และออกแบบเป็นคอลเลกชัน เพื่อให้เหมาะแก่การสะสม มากไปกว่านั้น ในแต่ละคอลเลคชันที่ผ่านมาของ POP MART ยังมีของเล่นที่เป็นตัวหายากในคอลเลกชันนั้น ๆ ให้ค้นหากันอีกด้วย

 
หรือแม้แต่ในธุรกิจแฟรนไชส์ที่ปัจจุบันมีการแข่งขันสูง ไหนจะปัจจัยเสี่ยงในด้านกำลังซื้อที่ผันผวน การเซ็ทธุรกิจให้มี Destination จึงสำคัญมาก ทั้งแฟรนไชส์ร้านอาหาร , ชานมไข่มุก, บริการ , ร้านค้าปลีก สามารถยกระดับตัวเองให้เป็นจุดหมายปลายทางที่ลูกค้าต้องการได้ ซึ่งก็ต้องไปวิเคราะห์ก่อนว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ คืออะไร จากนั้นจึงมาพัฒนาสินค้าและบริการให้เหมาะสม ผนวกรวมกับการพัฒนาสินค้าให้อัพเดทเทรนด์เสมอ มีคุณภาพดี บริการที่ดี เน้นความประทับใจ เมื่อเคยมาซื้อหรือใช้บริการครั้งแรกแล้วจะประทับใจไม่รู้ลืม ที่จะไปบอกต่อคนอื่นให้รับทราบ ก็เท่ากับเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ที่เหนือคู่แข่งมากขึ้นด้วย
 
 
แต่เชื่อเถอะว่าหลายคนมีความคิดย้อนแย้งว่าเรื่องนี้พูดง่ายทำยาก โดยเคล็ดลับสำคัญที่จะทำธุรกิจให้เป็น Destination ได้ต้องเริ่มจาก
  • มองหาโอกาสให้เจอ รู้ว่าลูกค้าต้องการสินค้าหรือบริการแบบไหน
  • พัฒนาต่อยอดธุรกิจเดิม สู่ธุรกิจใหม่ หรือสินค้าใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น
  • สร้างเครือข่าย เพื่อให้มีพันธมิตรในการทำธุรกิจที่จะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
  • อย่าลืมใส่ใจลูกค้า ไม่หยุดพัฒนาแม้ความต้องการลูกค้าจะเปลี่ยนไป
  • ธุรกิจต้องพร้อมเปลี่ยน เพราะโลกนี้ไม่มีสูตรสำเร็จแบบตายตัว
 

ด้วยกระแสสังคมและโลกยุคใหม่การทำธุรกิจใดๆ ย่อมมีความเสี่ยง แม้แต่การลงทุนแบบแฟรนไชส์ที่มีระบบบริหารจัดการมาให้พร้อม มีฐานลูกค้า มีทีมงานคอยให้คำปรึกษา มีการส่งเสริมด้านการตลาดเป็นอย่างดี ประเมินว่าเป็นการลงทุนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าการไปเริ่มทำธุรกิจเอง แต่หากเราไม่มีเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ชัดเจน ไม่รู้จักเซ็ทธุรกิจให้เป็น Destination ก็ไม่ต่างจากฝูงแกะที่มีแต่สีขาว ซึ่งหากเราทำตัวให้เด่นเป็นแกะดำให้ได้ ลูกค้าจะสนใจเรามาก นำไปสู่โอกาสในการสร้างรายได้ที่ดีมากขึ้น
 
 ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 
 
บทความเอสเอ็มอียอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
10 อาชีพหลังเกษียณ ทำแก้เหงา แถมได้เงิน
401
ถกไม่เถียง! ยุคนี้งานประจำทำ "เอกชน"เสี่ยงสูงกว่..
368
อย่างฮิต! รวมร้านชื่อ "ตี๋" มีดีที่ชื่อ
364
รู้จักประวัติศาสตร์: Birkenstock & Keds แบรนด์รอ..
363
20 ไอเดียธุรกิจใหญ่ ทำคนเดียวไม่ได้ ต้องมีหุ้นส่วน
356
สูตรบริหารเงิน เข้าถึงง่าย เงินสดย่อย (Petty Cas..
348
บทความเอสเอ็มอีมาใหม่
บทความอื่นในหมวด