บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์    ความรู้ทั่วไประบบแฟรนไชส์
2.5K
4 นาที
15 มีนาคม 2564
ทางเลือก-ทางรอด #ธุรกิจแฟรนไชส์ ปรับตัวอย่างไร ในยุค Covid-19 (FLA, The Pizza Company, ร้านใส่นม, บ้านรักภาษา)
 

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดโครงการยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ การบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ ประจำปี 2564 (Franchise Standard) เพื่อนำพาธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยให้ก้าวออกไปเติบโตในระดับสากล ผลักดันดันมูลค่าเศรษฐกิจไทยก้าวพ้นวิกฤติโควิด-19 โดยท่านมาได้มีธุรกิจแฟรนไชส์ไทยผ่านเกณฑ์ฯ กว่า 351 กิจการ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจแล้วกว่า 631.8 ล้านบาท

 
 
ภายในงานยังมีการเสวนา “ทางรอดธุรกิจแฟรนไชส์ในยุค Covid-19” โดยมีคุณเศรษฐพงศ์ ผดุงพิสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีโนซิส จำกัด (ผู้นำเสวนา), คุณบุญประเสริฐ พูพันธ์ นายกสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์, คุณภาณุศักดิ์ ซื่อสัตย์บุญ ผู้จัดการทั่วไป The Pizza Company บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), คุณสกลรัชต์ สีห์สินปิตากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ร้านใส่นม จำกัด และ ดร.มุขรินทร์ ปัณฑุยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บ้านรักภาษา จำกัด 

 
วันนี้ www.ThaiFranchiseCenter.com มีมุมมอง ข้อเสนอแนะ ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ มานำเสนอให้ทราบ

สิ่งแรกที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องมี คือ รักในแบรนด์ของตัวเอง!


 

คุณบุญประเสริฐ พูพันธ์ ได้เล่าในฐานะนายกสมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ และผู้บริหารแฟรนไชส์ N&B Pancake ถึงทางรอดธุรกิจแฟรนไชส์ในยุควิด-19 ว่า N&B เริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ ด้วยเงินทุน 40,000 บาท มาถึงวันนี้ธุรกิจก็อายุประมาณ 23 ปี ซึ่งโอกาสของ N&B ก็เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ในตอนนั้นค่าเช่าพื้นที่เปิดร้านถูกมากจากเดิม 80,000 บาท พอเกิดวิกฤติทำให้ค่าเช่าถูกลงเหลือแค่ 8,000 บาท นับว่าเป็นโอกาสสำหรับคนที่มีเงินทุนน้อย 
 
ธุรกิจ N&B เริ่มต้นด้วยยอดขาย 8 ล้านบาท จุดพลิกผันคือกลับมาโฟกัสธุรกิจของตัวเอง ประกอบกับสมัครเรียนแฟรนไชส์หลักสูตร B2B ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หลังจากนั้นกลับไปพัฒนาธุรกิจทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านบาทภายในระยะเวลา 3 ปี ตนเองอยากจะแนะนำว่าระบบแฟรนไชส์สามารถพลิกธุรกิจให้เติบโตได้จริงๆ แต่ว่าเราต้องหาข้อเท็จจริงให้ได้ ซึ่งวิกฤติโควิด-19 มีทั้งธุรกิจที่ได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ เพียงแต่ต้องมองหาโอกาสให้เจอ
 
ผู้ประกอบการต้องมองว่าวิกฤติเป็นโอกาสเสมอ ธุรกิจ N&B ได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะร้านส่วนใหญ่เปิดในห้าง โดน 2 เด้ง ทั้งค่าเช่า ยอดขาย ช่วงน้ำท่วมปิด 5 สาขา แต่มีรายได้เข้ามา แต่ช่วงโควิด-19 เปิดทุกสาขา แต่รายได้ลดลงเหลือแค่ 30-40% หลังจากนั้นเพิ่มช่องทางการขายเดลิเวอรี่ เปิดร้านนอกห้างมากขึ้น พบว่ายอดขายเพิ่มขึ้น ค่าเช่าถูกด้วย ค่าเช่านอกห้างเหลือแค่ 5,000 บาท ส่วนในห้าง 25,000 บาท ต่างกันเยอะ ยอดขายแม้จะไม่เท่าเดิม แต่กำไรเยอะกว่า
 
"อยากประสบความสำเร็จในการทำแฟรนไชส์ "ต้องรักในแบรนด์ของตัวเอง" เพราะจะได้เลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสมกับแบรนด์ เปรียบเสมือนลูกสาว ที่เราจะต้องเลือกผู้ชายที่ดีและเหมาะสมมาดูแลลูกสาวของเรา อย่าเลือกแฟรนไชส์ซีเพราะเงิน"

แฟรนไชส์ที่ดี! ต้องสร้างระบบให้เป็นมาตรฐาน
 

คุณภาณุศักดิ์ ซื่อสัตย์บุญ ผู้จัดการทั่วไป the Pizza Company บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในกลุ่มไมเนอร์ฯ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม และอาหาร แต่ธุรกิจอาหารกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว โดยช่วงวิกฤติโควิดได้มีการปรับตัวหลายอย่าง ทั้งค่าเช่า ระบบ พนักงาน ช่องทางการขาย ฯลฯ 
 
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการขายระบบ ไม่ใช่ขายแบรนด์ อย่างกรณีแบรนด์ใหญ่ๆ แมคโดนัลด์ เดอะพิซซ่าคอมพานี พนักงานไม่ต้องเป็นเชฟก็สามารถทำอาหารได้ เพราะแบรนด์เหล่านี้มีมาตรฐาน เพียงแค่ทำตามขั้นตอนที่กำหนดเอาไว้ จะสามารถบริหารจัดการได้ ทำอาหารออกมารสชาติอร่อย เหมือนกันทุกจาน ทำให้ผู้ประกอบการที่ซื้อแฟรนไชส์มีกำไร หากจะขายแฟรนไชส์ต้องคิดระบบขึ้นมา อย่าคิดเพียงว่าขายแบรนด์ย่างเดียว 
 
ธุรกิจอาหารของไมเนอร์ฯ ต้องมีระบบ QSC ควบคุมในการบริหารจัดการ เพื่อควบคุมมาตรฐาน ไม่ว่าใครจะซื้อไปก็ทำได้ ปัจจุบันเดอะพิซซ่าคอมพานีมี 426 สาขา โดยในช่วงวิกฤติโควิด-19 ได้รับผลกระทบมีการปิดสาขาบ้าง โดยเฉพาะสาขาในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพราะคนต่างชาติเข้ามาเมืองไทยไม่ได้ สาขาที่ขายได้เดือนละ 6 ล้านบาท ต้องปิดกิจการ 
 
นอกจากนี้ ช่วงวิกฤติควิด-19 เดอะพิซซ่าฯ มีวิธีการขายทุกช่องทางก่อนธุรกิจอื่นๆ ทั้งนั่งทานในร้าน ซื้อกลับบ้าน เดลิเวอรี่ โดยเฉพาะเดลิเวอรี่ส่งมากที่สุดในประเทศไทย ยอดขายสูงกว่า KFC ตอนเกิดวิกฤตินั่งกินในร้านปิด แต่ได้มุ่งเน้นเดลิเวอรี่ พบว่าธุรกิจเติบโต 25% ทั้งๆ ที่หน้าร้านปิด หากปรับถูกที่ถูกทางก็จะทำให้ธุรกิจโตขึ้น  
 
สำหรับผู้สนใจเปิดร้านเดอะพิซซ่าฯ  สามารถกู้เงินแบก์ได้มาบริหารธุรกิจได้ โดยผ่อนแบงก์ 5 ปีได้ร้านฟรี เพราะนโยบายของแฟรนไชส์เดอะพิซซ่าคอมพานี คือ กู้เงินแบงก์แล้วนำไปขยายสาขา แล้วบริหารให้ได้กำไร 5 ปี ก็ได้ร้านฟรี ใช้เงินลงทุนเปิดร้านประมาณ 12 ล้านบาท หากขายต่อก็จะได้ 20 ล้านบาทแล้วแต่ผลประกอบการของสาขา 
 
หากคิดจะทำแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะสร้างระบบแล้ว ก็ต้องหาพาร์ทเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ แลนด์ลอร์ด แฟรนไชส์ซี พนักงาน คัดเลือกแฟรนไชส์ซีต้องมีระบบในการคัดเลือกอย่างละเอียด อย่าเลือกเพราะเงิน
 
"หากขายแฟรนไชส์ต้องสร้างระบบที่เป็นมาตรฐาน อย่าคิดเพียงแค่ขายแบรนด์ เมื่อไหร่ที่แบรนด์มีมาตรฐาน พนักงานที่ไม่ใช่เชฟก็สามารถทำอาหารได้ เพียงทำตามขั้นตอนที่แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเอาไว้"
 
แฟรนไชส์ซอร์ต้องตั้งสติ! ช่วยให้แฟรนไชส์ซีอยู่รอด
 

คุณสกลรัชต์ สีห์สินปิตากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ร้านใส่นม จำกัด เล่าว่า แฟรนไชส์ร้านใส่นมเริ่มต้นจากธุรกิจร้านนมสดรถเข็นเล็กๆ แถวๆ ท่าน้ำนนท์ เริ่มต้นด้วยเงินทุน 70,000 บาท หลังจากนั้นได้พัฒนาแบรนด์ ทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย จึงทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ขยายสาขาถึง 8 สาขา แต่มาเจออุปสรรคครั้งใหญ่ คือ ไฟไหม้ ซึ่งเป็นร้านสาขาแรก แต่ยังมีความโชคดีในความโชคร้าย คือ ไฟกองนั้นทำให้แบรนด์มีความโชติช่วง ทำให้คนรู้จักมากขึ้นจากไฟไหม้
 
พอธุรกิจมีคนรู้จักมากขึ้น คนมาขอซื้อแฟรนไชส์วันละ 3-4 คน แต่ตนเองไม่คิดขายแฟรนไชส์เป็นเวลากว่า 2 เดือน แต่ได้เก็บรวบรวมรายชื่อคนเหล่านั้นไว้ หลังจากนั้นได้ไปเรียนรู้เกี่ยวกับระบบแฟรนไชส์ ปัจจุบันเริ่มขายแฟรนไชส์มาแล้ว 4 ปี ปัจจุบันมี 50 สาขา ควบคุมมาตรฐานด้วยระบบ QSC เมนูหลักๆ เครื่องดื่มนมสด ขนมปังปิ้ง สังขยา และอื่นๆ 
 
ช่วงเกิดวิกฤติโควิด-19 ครั้งแรก สาขาในห้างกว่า 10 สาขาได้รับผลกระทบเยอะ วิธีการการปรับตัว ก็คือ เปลี่ยนช่องทางการขายเป็น “เดลิเวอรี่” มีการสร้างเว็บไซต์ ปรับเดลิเวอรี่ เพื่อซัพพอร์ตแฟรนไชส์ซี ช่วงนั้นสาขาบริษัทเปิดอยู่แค่ 4 สาขา ที่เหลืออีก 50 สาขาเป็นของแฟรนไชส์ซี โดยใช้ชื่อว่า “เดลิเวอรี่กองโจร” เพื่อฉกยอดขายจากแอปเดลิเวอรี่ มีการโฆษณาทางออนไลน์ต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ามีบริการเดลิเวอรี่ ให้บริการลูกค้ารัศมี 5-7 กิโลเมตร 
 
“ช่วงการเกิดวิกฤติโควิด-19 สิ่งแรกที่คิด คือ การหาวิธีช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีให้อยู่รอดได้ เพราะแฟรนไชส์ซียังจ่ายค่า Fee ทั้งการตลาด โฆษณา ให้กับเรา โดยปรับปรุงการทำงาน พัฒนาบุคลากร และนำเดลิเวอรี่มาให้บริการลูกค้า"    
 
คุณสกลรัชต์ เล่าต่อว่า พอเกิดโควิดครั้ง 2 ตนเองเริ่มนิ่งมากขึ้น เหมือนมีประสบการณ์มาก่อน และระบบต่างๆ ที่สร้างขึ้นในช่วงวิกฤติครั้งแรกก็ประสบความสำเร็จ โดยได้ปรับปรุงกระบวนการทำงานทั้งหมด ปรับปรุงรูปแบบการทำงานที่จะนำไปสู่การทำงานของแฟรนไชส์ซี เพื่อผลรับด้านการเงินด้วย ซึ่งความสำเร็จมาจากโครงการมาตรฐานแฟรนไชส์ 
 
“กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ดีที่สุดสำหรับผม คือ เลือกว่าจะไม่ทำอะไร แล้วเอาเวลาไปโฟกัสในสิ่งที่ควรทำมากกว่า และเชื่อว่าอะไรที่วัดผลได้ ผมจัดการได้และมักจะเติบโตขึ้น พอปรับปรุงกระบวนการทำงานเสร็จ ก็มุ่งเน้นไปที่ตัวบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ ทุกคนสามารถทำหน้าที่แทนกันได้ เพื่อช่วยเหลือแฟรนไชส์ซี และสร้างความสุขให้ลูกค้า” 

ผลิตภัณฑ์แค่ดียังไม่พอ ทีมงานต้องแข็งแกร่ง!


ดร.มุขรินทร์ ปัณฑุยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท บ้านรักภาษา จำกัด เล่าว่า ธุรกิจโรงเรียนบ้านรักภาษาเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2003 ปัจจุบันดำเนินธุรกิจมาเกือบ 20 ปี เปิดสอนภาษาจีนและอังกฤษ ซึ่งหลังจากเปิดได้ 2 ปี มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์โรงเรียนสอนภาษา แต่ตอนนั้นบ้านรักภาษายังไม่มีความพร้อม เนื่องจากแฟรนไชส์เป็นการขายระบบ ไม่ใช่สินค้า 
 
ในช่วงเวลานั้น แม้จะมีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก แต่ตนเองยังไม่คิดจะขายแฟรนไชส์ แม้จะมีคนกำเงินมาซื้อหลายแสนบาทก็ตาม หลังจากนั้นได้หาความรู้เพิ่มเติม และพัฒนาธุรกิจมาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงปีที่ 13 จึงเริ่มขายแฟรนไชส์ โดยในปี 2558 โรงเรียนบ้านรักภาษาได้เข้าสู่การยกระดับมาตรฐานแฟรนไชส์ สร้างทีมงานให้แข็งแกร่ง เพราะการทำแฟรนไชส์นั้น นอกจกระบบที่เป็นมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ดี ต้องมีทีมงานที่แข็งแกร่งอีกด้วย   
 
ช่วงวิกฤติโควิด- 19 รอบแรก ตั้งแต่ต้นปี 2563 แฟรนไชส์โรงเรียนบ้านรักภาษาได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลสั่งปิดโรงเรียน 3 เดือน หลังจากนั้นแฟรนไชส์โรงเรียนบ้านรักภาษา ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนมาเป็นออนไลน์ ผลปรากฏว่าผลการตอบรับจากลูกค้าดีมาก ขณะเดียวกันบ้านรักภาษาได้ทำการจัดระบบการเรียนการสอนออกเป็น 5 ช่วงวัยตอบโจทย์ผู้เรียน พอโควิดมาก็นำเอาโมดลที่ได้วางระบบเอาไว้มาสอนเด็กๆ ได้เลย 
 
โควิดรอบแรกได้รับกระทบประมาณ 3 เดือน รายได้หายไปครึ่ง เนื่องจากเรียนออนไลน์อย่างเดียว แต่ข้อดีคือ นักเรียนที่สมัครเรียนออนไลน์พอเรียนเสร็จ ได้มีการบอกต่อกันไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็เรียนได้ อีกทั้งนักเรียนอยากพัฒนาตัวเองให้เก่งมากขึ้น ยิ่งมีโควิดคนที่เก่งภาษาจะได้เปรียบ และยังมีหน่วยงานองค์กรต่างๆ สมัครเรียนออนไลน์มากขึ้น 
 
"ช่วง 3 เดือนหลังเกิดวิกฤติโควิด-19 ครั้งแรก โรงเรียนบ้านรักภาษาได้ปรับตัวอย่างรวดเร็ว เปิดเรียนแบบออนไลน์ จัดระบบการเรียนให้เหมาะกับช่วงวัย พัฒนาบุคลากรให้แข็งแกร่ง สามารถเพิ่มยอดขายจาก 100% เป็น 120%"  
 
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
 
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
 

 
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
 
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
7 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567
6,584
รวม 10 แฟรนไชส์ขายดี หน้าร้อน เป็นเจ้าของร้านได้..
927
แฟรนไชส์ธุรกิจยานยนต์ ยอดขายโต ยอดบริการโตกว่า!
554
จริงมั้ย? ลงทุนแฟรนไชส์ ไก่ย่าง 5 ดาว ได้ไม่คุ้ม..
513
เจาะใจ! แฟรนไชส์ซี “คาเฟ่ อเมซอน” พร้อมเทคนิคสมั..
509
แฉ! ทุกข์แฟรนไชส์ซี ทำไมเลิกสัญญาแฟรนไชส์ ยากกว่..
498
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด