บทความทั้งหมด    บทความแฟรนไชส์    การบริหารธุรกิจ    การทำการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์
42K
2 นาที
26 เมษายน 2560
อยากเปิด แฟรนไชส์คาเฟ่อเมซอน(Cafe Amazon)แบบเปิดนอกสถานีปั๊มน้ำมัน ปตท
 
 

ธุรกิจร้านกาแฟแบบที่เรียกว่ารู้จักกันเป็นอย่างดีเห็นจะไม่พ้นชื่อของ Cafe Amazon ที่ไม่ใช่แค่คอกาแฟเท่านั้นหากแต่เครื่องดื่มของ Cafe Amazon ยังมีความหลากหลายรองรับทุกความต้องการของคนทั่วไปได้เป็นอย่างดี จากตัวเลขของแฟรนไชส์ Cafe Amazon เมื่อปี 2559 มีทั้งหมด 1,470 สาขา โดยมียอดการจำหน่ายสูงกว่า 100 ล้านแก้ว/ปี โดยเฉลี่ยมีผู้เข้ามาใช้บริการวันละ 250,000 คนเป็นอย่างน้อย
 
แน่นอนว่าหลายคนคงนึกภาพของ Cafe Amazon  ที่เห็นจนชินตาในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และก็คงมีอีกหลายคนที่สนใจจะนำธุรกิจนี้มาเปิดกิจการนอกพื้นที่สถานีบริการน้ำมันซึ่งทางแฟรนไชส์เองเขาก็มองเห็นการเติบโตในส่วนนี้เช่นกันและแม้ว่าตัวเลขของสาขาที่อยู่นอกสถานีบริการในปัจจุบันจะมีประมาณ 300 สาขาทั่วประเทศ
 

โดยแบ่งเป็นร้านที่ ปตท. บริหารเองประมาณ 100 สาขา แต่ก็ทำให้มองเห็นภาพว่าการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจภายนอกปั๊มนี้ก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญในการผลักดันให้เกิดธุรกิจ SMEs ที่จะทำให้มีการจ้างงานและสร้างรายได้คืนกลับมาสู่แฟรนไชส์ได้อย่างน่าสนใจ
 
ซึ่ง www.ThaiFranchiseCenter.com ก็มีเรื่องราวน่าสนใจสำหรับคนที่อยากทำธุรกิจ Cafe Amazon แบบภายนอกสถานีบริการไว้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจงานนี้ขอบอกเลยว่าถ้าทำเลดี มาทุนพร้อม กำไรเน้นๆแน่นอน
 
หลักเกณฑ์สำคัญของผู้ที่สนใจธุรกิจคาเฟ่อเมซอนแบบนอกพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน


 
 
  1. ผู้ที่ลงทุนจะต้องมีสถานะเป็นนิติบุคคลจดทะเบียน
  2. มีพื้นที่ในการลงทุนตั้งแต่ 40 ตารางเมตรขึ้นไปซึ่งอาจจะเป็นเจ้าของพื้นที่เองหรือมีการเช่าพื้นที่ก็ได้
  3. มีความพร้อมด้านเงินลงทุนในธุรกิจ
  4. ผู้ลงทุนต้องเข้ารับการอบรมเพื่อเป็นผู้บริหารร้านกาแฟคาเฟ่อเมซอนได้
  5. ผู้ลงทุนต้องสามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขต่างๆและมาตรฐานของบริษัทแม่ได้อย่างเคร่งครัด
  6. มีความรักและความเข้าใจในงานบริการเป็นอย่างดี
  7. สามารถวางเงินสดค้ำประกันได้ตามเกณฑ์ที่บริษัทแม่กำหนด
  8. มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอในการทำธุรกิจเช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน เป็นต้น
รูปแบบแฟรนไชส์คาเฟอเมซอน แบบนอกสถานีบริการน้ำมัน
 
1.Stand Alone


คือรูปแบบร้านที่ตั้งขายอยู่นอกอาคาร โดยมีพื้นที่ตั้งแต่ 100-200 ตารางเมตร (รวมสวนหย่อม) โดยต้องเป็นพื้นที่ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่าย และพื้นที่จัดตั้งร้านไม่ขัดต่อกฎระเบียบต่างๆของทางราชการและไม่อยู่ในพื้นที่ถอยร่นตามกฏหมายควบคุมอาคาร
 
2.Shop


คือพื้นที่ร้านอเมซอนที่อยู่ภายในอาคารเช่น ห้างสรรพสินค้า  อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ ฯลฯ ซึ่งต้องมีพื้นที่ตั้งแต่ 40 ตารางเมตรขึ้นไป โดยพื้นที่จัดตั้งร้านในรูปแบบนี้มีข้อกำหนดที่สำคัญอีกประการคือต้องอยู่ในบริเวณที่คนพลุกพล่านมีคนผ่านไปมาไม่ต่ำกว่า 3,000 คนต่อวัน
 
งบประมาณเบื้องต้นในการลงทุนคาเฟ่อเมซอนแบบนอกสถานี
 

 
การลงทุนในส่วนนี้อย่างที่ทราบคือมี 2 รูปแบบสำคัญคือStand Alone และ Shop ความแตกต่างคือเรื่องลักษณะพื้นที่และการกำหนดขนาดพื้นที่ของแต่ละแบบ งบประมาณการลงทุนเบื้องต้นก็จะแตกต่างกันตามขนาดพื้นที่นั้นโดยแบบ Stand Alone ใช้งบประมาณเบื้องต้นประมาณ 1.5 – 3 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าก่อสร้าง งานตกแต่ง และงานระบบตามหลักเกณฑ์ที่ทางแฟรนไชส์กำหนดไว้

ส่วนแบบ Shop นั้นมีการลงทุนในส่วนนี้ประมาณ 1.2-2.5 ล้านบาท ในการลงทุนส่วนอื่นของทั้งสองแบบก็จะเหมือนกันคือแบ่งเป็นค่าออกแบบร้านประมาณ 80,000-120,000 บาท ค่าอุปกรณ์ภายในร้านประมาณ 800,000 บาท ค่าประกันแบรนด์ 100,000 บาท ค่าดำเนินการก่อนเปิดร้าน อันหมายถึงค่า Set up ร้าน อบรมพนักงาน และหลักสูตรผู้บริหารใหม่ ประมาณ 80,000 บาท

นอกจากนั้นก็เป็นค่า Franchise Fee , Royalty Fee , Marketing Fee , ค่าเช่าเครื่อง POS เป็นต้น ทั้งนี้ตลอดสัญญา 6 ปีกำหนดว่าจะต้องมีการรีโนเวทร้านทุกๆ 3 ปีเพื่อให้ดูทันสมัยอย่างต่อเนื่องด้วย
 
2 หัวใจสำคัญเริ่มทำธุรกิจ Cafe Amazon  

 
หลักการขายแฟรนไชส์จริงๆ มี 2 กรณีคือ ถ้าเป็นร้านแฟรนไชส์ในปั๊มนั้น เจ้าของปั๊มต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง แต่ถ้าเป็นนอกปั๊มบุคคลทั่วไปสนใจสามารถซื้อแฟรนไชส์ได้เข้าไปดูรายละเอียดได้ในเว็บไซต์คาเฟ่ อเมซอน www.cafe-amazon.com โดยหลักการคือ ต้องมีความพร้อมเรื่องทำเล และสำคัญที่สุดมีความตั้งใจ มีเวลาดูแลธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีการควบคุมมาตรฐานโดยทางแฟรนไชส์อีก 2 หลักการสำคัญคือ
 
1.เทรนนิ่ง ณ ศูนย์ฝึกอบรม Cafe Amazon Coaching Academy: CACA 

 
ถือเป็นสิ่งที่แฟรนไชส์ให้ความสำคัญมากกับการพัฒนาคุณภาพของบาริสต้าโดยแฟรนไชส์จะสอนจนจบกระบวนการ โดยก่อนเปิดกิจการผู้ลงทุนจะต้องมาอบรมประมาณ 10 วัน จะสอนตั้งแต่ภาคทฤษฎี ปฏิบัติ และทุกๆ อย่างเบ็ดเสร็จ 10 วัน นอกจากนั้น ก่อนเปิดร้านจะมีทีมงานไปเซตอัพให้อีก และมีการดูแลระหว่างทางตลอดเวลาอีกด้วย
 
2.การตรวจสอบมาตรฐานทำเดือนละครั้ง 

 
ถือเป็นความเข้มงวดที่ต้องการให้ทุกแฟรนไชส์นั้นมีมาตรฐานตอบสนองผู้บริโภคได้ดีที่สุดโดยจะมีการตรวจสอบเดือนละ 1 ครั้งทุกสาขา การตรวจสอบตรงนี้เพื่อดูความเป็นมาตรฐาน เป้าหมายคือ ต้องการให้ทุกๆ ร้าน มาตรฐานเหมือนกันทุกสาขา และเพื่อให้ทุกสาขาได้มีการปรับปรุงพัฒนางานตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานต่อเนื่อง เพราะนี่คือหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจที่  Cafe Amazon ยึดถือมาโดยตลอด
 
 
จะเห็นได้ว่าธุรกิจของ Cafe Amazon มีทางเลือกให้ผู้ที่สนใจเลือกลงทุนได้ทั้งในสถานีบริการน้ำมันและในพื้นที่ภายนอก นับเป็นการเติบโตของธุรกิจที่มีอนาคตสดใสและดูว่าในฐานะของคนที่มีเงินทุนการลงทุนใน Cafe Amazon จะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเพราะด้วยประสบการณ์และการทำงานอย่างมืออาชีพล้วนแต่ส่งผลดีต่อผู้ลงทุนทุกคนที่ทำให้มีโอกาสสร้างกำไรได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น

อยากเปิดร้านกาแฟอเมซอน Cafe Amazon  goo.gl/7SmCr3


 
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมายไว้ให้ทุกท่านพิจารณากันตามความเหมาะสม ดูรายละเอียด goo.gl/Io5k2S
 
ขอบคุณรูปภาพจาก  facebook.com/cafeamazonthewalkratphruek

ร้านกาแฟ Cafe Amazon ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี 2545 จากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่เล็งเห็นถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จึงได้วางแนวคิดให้เป็นธุรกิจหนึ่งในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่สร้างรายได้ให้กับสถานีฯ และตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บ..
87months ago   30,453  5 นาที
หากพูดถึงร้านกาแฟ Cafe Amazon เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก เพราะเป็นแบรนด์กาแฟของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งแต่ก่อนเราจะเฉพาะในปั้มน้ำมันปตท.เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถเปิดร้านนอกปั้มน้ำมันได้แล้ว 
..
76months ago   14,889  6 นาที
บทความแฟรนไชส์ยอดนิยม Read more
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
ผู้สนับสนุน (Sponsor)
6 แฟรนไชส์มาใหม่! น่าลงทุนประจำเดือนพฤษภาคม 2567..
18,302
จริงมั้ย? กำเงิน 15 ล้านบาท ถึงจะซื้อแฟรนไชส์ DQ..
1,388
“มูฟ อีวี เอกซ์” สร้างรายได้ดีแค่ไหน! ทำไมถึงน่า..
1,219
จริงมั้ย? 7-Eleven เห็นทำเลไหนดี เปิดเองแข่งสาขา..
1,042
10 แฟรนไชส์ไก่เกาหลี คึกเตรียมเข้าไทย!
984
เลือกแฟรนไชส์ที่ชอบ ทำแฟรนไชส์ที่ใช่ ให้ระบบทำงา..
880
บทความแฟรนไชส์มาใหม่
บทความอื่นในหมวด