ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


สารอาหารในนมแม่ หลัง 6 เดือน

สารอาหารในนมแม่ หลัง 6 เดือน
« เมื่อ: กันยายน 11, 2019, 10:58:01 AM »
สารอาหารในนมแม่ หลัง 6 เดือน[/b]

มีความเชื่อว่า หลัง 6 เดือนไปแล้วสารอาหารในนมแม่จะลดลง แต่ในความเป็นจริงแล้ว นมแม่หลัง 6 เดือน ยังมีสารอาหารครบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน ไขมัน และสารอาหารจำเป็นที่เด็กต้องการ มีสารต้านทานเชื้อโรคมากกว่า 6 เดือนแรก มีโกร๊ธแฟคเตอร์ช่วยทำให้ระบบลำไส้ สมอง และภูมิต้านทานทำงานเป็นปกติ จะเห็นได้ว่าเด็กที่กินนมแม่จะป่วยน้อยกว่าเด็กที่กินนมผงเพราะนมแม่มีภูมิต้านทานโรคและสารอื่น ๆ ที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคได้ และสารอาหารหลายชนิดที่อยู่ในนมแม่ก็ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของสมอง ขณะที่นมผงเลียนแบบไม่ได้ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าทารกที่กินนมแม่มีระดับสติปัญญาดีกว่า ธาตุเหล็กที่อยู่ในนมแม่เป็นชนิดที่ดูดซึมเข้าสู่ลำไส้ง่าย ขณะที่ธาตุเหล็กในนมผงเป็นชนิดที่ดูดซึมได้ยาก นอกจากนี้ในนมแม่ยังมี MFGM (Milk Fat Globule Membrane) อยู่ด้วย ซึ่งMFGM คือ “เยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนม” โดยเยื่อหุ้มนี้จะห่อหุ้มอนุภาคไขมันในนม ทำให้ไขมันสามารถคงรูปได้ ซึ่งประกอบด้วยสารอาหารสำคัญต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงไขมันกว่า 150 ชนิด มากไปกว่านั้น MFGM ยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้งในด้านสติปัญญา พัฒนาสมอง อารมณ์ และระบบภูมิคุ้มกัน ให้กับลูกน้อยอีกด้วย
สารอาหารในนมแม่ มีความผันแปรตามระยะการผลิตน้ำนม ซึ่งมี 3 ระยะ
ในระยะแรกมักมีสีเหลือง เรียกว่าน้ำนมเหลืองหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโคลอสตรุ้ม (Colostrum) โคลอสตรุ้มนี้จะถูกสร้างขึ้นเพียงระยะ 1-3 วันแรกภายหลังการคลอดบุตรเท่านั้น และเต็มไปด้วยสารสร้างภูมิต้านทาน เช่น IgA แลคโตเฟอริน เซลล์เม็ดเลือดขาว โปรตีนต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย น้ำนมในระยะนี้จะมีปริมาณน้ำตาลแลคโตสไม่สูงมากนัก มีปริมาณแร่ธาตุต่างๆ เช่น โซเดียม คลอไรด์ แมกนีเซียม ปริมาณสูง แต่มีปริมาณโพแทสเซียม และแคลเซียมต่ำกว่านมที่ผลิตระยะหลัง ถือได้ว่าน้ำนมระยะนี้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกายมากกว่าการเร่งการเจริญเติบโต
น้ำนมในระยะต่อมาจะมีลักษณะขาวขึ้น เรียกว่า ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน คือ ระยะการเปลี่ยนจากหัวน้ำนม เป็นน้ำนม จะหลั่งในช่วง 5 วันจนถึง 2 สัปดาห์หลังคลอด โดยมีส่วนประกอบที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต และพัฒนาการเพิ่มมากขึ้น
น้ำนมระยะที่ 3 เรียกว่า ระยะน้ำนมแม่ ระยะนี้น้ำนมจะมีสีขาว มีไขมันมากขึ้น ปริมาณน้ำนมที่ผลิตจะมีมากขึ้น ประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ และสารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย น้ำนมในระยะน้ำนมแม่นั้นจะประกอบไปด้วยธาตุอาหารหลัก ซึ่งได้แก่ โปรตีน ไขมัน น้ำตาลแลคโตส องค์ประกอบของน้ำนมภายหลังจาก 4 เดือนหลังคลอดพบว่าปริมาณของธาตุอาหารหลักในนมแม่ขึ้นอยู่ กับหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแม่ ได้แก่ น้ำหนักของแม่ ปริมาณโปรตีนที่แม่ได้รับ การมีประจำเดือน และความถี่ของการให้นมบุตร แม่ที่ผลิตน้ำนมในปริมาณมากจะมีความเข้มข้นของไขมันและโปรตีนในน้ำนมต่ำ แต่มีความเข้มข้นของแลคโตสสูงกว่าแม่ที่ผลิตน้ำนมได้น้อย ดังนั้นน้ำนมแม่จึงมีประโยชน์สูงสุดสำหรับลูกน้อยมากกว่าอาหารทุกชนิด