ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ต้อหิน ภัยร้ายที่แฝงเงียบ ยิ่งรู้เร็วก็ยิ่งดีกับตัวคุณ

ต้อหิน

ต้อหินเป็นกลุ่มโรคทางตาที่เกิดจากการเสื่อมของขั้วประสาทตา ส่งผลให้เกิดการสูญเสียลานสายตาและการมองเห็น โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะตาบอดถาวรในประชากรทั่วโลก พบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ในบทความนี้จะมาให้ความกระจ่างเกี่ยวกับโรคต้อหิน เกิดจากอะไร ใครมีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรค และเกิดแล้วต้องรักษาอย่างไร  มาดูรายละเอียดกันเลย

ต้อหิน

ต้อหิน (Glaucoma) คือ โรคที่ลูกตามีภาวะความดันลูกตาสูงขึ้นจนทำให้ขั้วประสาทตามีการเสื่อมสภาพจนไปทำลายเส้นประสาทตา ซึ่งขั้วประสาทตานั้นเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นประสาทตาที่ทำการรับและส่งภาพไปสมองเพื่อไปแปลผล การที่เส้นประสาทตาถูกทำลายก็จะส่งผลทำให้การมองเห็นแย่ลงจนถึงขั้นมองอะไรไม่เห็นอย่างถาวร

ต้อหินเกิดจากอะไร

ต้อหิน อาการ

ต้อหิน หรือ Glaucoma เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา หรือประสาทตาถูกทำลาย มีปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ มาจากการที่ความดันลูกตาสูงเกิดการกดทับขั้วประสาทตา จนทำลายประสาทตา หรืออาจเกิดจากโรคบางชนิด เช่นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคต้อหิน และเคยมีอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา เป็นต้น หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นในที่สุด
 
1. ต้อหินปฐมภูมิ

ต้อหินปฐมภูมิ (Primary glaucoma) แยกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ     
         
1. ต้อหิน มุมเปิด (Primary open-angle glaucoma) เป็นต้อหินที่พบบ่อย แบ่งเป็น 2  ประเภท คือ ความดันตาสูง และ ความดันตาปกติ ทั้ง 2 ประเภท จะไม่มีอาการปวดตา หรือตาแดง ผู้ป่วยเองมักจะไม่ทราบว่าเป็นต้อหิน แต่สายตาจะค่อย ๆ มัวลง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะทำให้ตาบอดได้ แต่หากได้รับการรักษาถูกวิธีและรวดเร็วก็จะรักษาสายตาไว้ได้

2. ต้อหิน มุมปิด (Primary angle-closure glaucoma) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  • ต้อหินชนิดเฉียบพลัน เกิดจากความดันลูกตาสูงโดยทันที ทำให้ตามัวลงอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดตาอย่างรุนแรง ตาแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อาการนี้จะไม่หายจากการรับประทานยาแก้ปวด ต้องรักษาให้ทันท่วงที ถ้ารักษาช้าจะทำให้ตาบอดได้เร็วขึ้น
  • ต้อหินชนิดเรื้อรัง เกิดจากความดันลูกตาที่ขึ้นช้า ๆ มีอาการปวดตา ปวดศีรษะเล็กน้อยหรืออาจจะไม่ปวดเลย แต่ตาจะค่อย ๆ มองเห็นแคบหรือมัวลงทีละน้อย อาจจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น และปล่อยไว้จนประสาทตาเสียไปมาก ค่อยมาพบแพทย์ อาจสายเกินไปที่จะรักษาให้ตากลับมาเห็นได้ดีเหมือนเดิม

2. ต้อหินทุติยภูมิ

ต้อหินทุติยภูมิ (secondary glaucoma) ต้อหินกลุ่มนี้เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากโรคทางตาอื่น ๆ หรือโรคทางร่างกาย เช่น จากต้อกระจกที่เป็นมาก ม่านตาอักเสบ อุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา การอักเสบในลูกตา เนื้องอกในตา หรือเบาหวานขึ้นจอตา  เส้นเลือดที่จอประสาทตาอุดตัน หรือหลังการผ่าตัดโรคตาบางอย่าง รวมถึงการใช้ยาหยอดตาพวกสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
 
3. ต้อหินโดยกำเนิด

ต้อหินแต่กำเนิด (congenital glaucoma) เป็นต้อหินที่พบในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ขวบ สาเหตุอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น มารดาเป็นหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ อาการของต้อหินชนิดนี้คือเด็กจะมีน้ำตาไหล สู้แสงไม่ค่อยได้ ไม่ยอมลืมตา หรือ กระจกตาดำขาวขุ่น พบได้น้อยแต่อาการมักค่อนข้างรุนแรงและควบคุมโรคได้ยาก หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก มักจะตาบอดในที่สุด

ต้อหิน อาการเป็นอย่างไร

โรคต้อหินส่วนใหญ่แล้ว ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยต้อหิน อาการยังไม่ผิดปกติ  หากมีอาการตามัวหรือการมองเห็นแคบลง แสดงว่าโรคอยู่ในระยะรุนแรงแล้ว การดำเนินของโรคจากเริ่มเป็น จนถึงการสูญเสียการมองเห็น ใช้เวลานานเป็นปี ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้อหินที่เกิดจากความเสื่อม ซึ่งไม่มีอาการใด ๆ จนกระทั่งสูญเสียการมองเห็น

ส่วนอาการของโรคต้อหิน เฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้

  • อาการปวดตาอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
  • มองดวงไฟจะเห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ
  • ตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ ตามัว
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดศีรษะ
  • ความดันตาเพิ่มขึ้นอย่างทันทีทันใด

ผู้ที่เสี่ยงเป็นต้อหิน

โรคต้อหิน

ในที่จริงแล้วโรคต้อหินเป็นโรคที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย โดยมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเนื่องจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ ตามร่างกายรวมถึงเส้นประสาทตาของผู้สูงอายุเกิดการเสื่อมสภาพลง นอกจากนี้ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติการเป็นต้อหิน หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไมเกรน ไทรอยด์ เป็นต้น

ต้อหินอันตรายไหม

โรคต้อหินเป็นโรคตาที่พบได้บ่อยไม่เป็นโรคที่อันตรายมากหากทำการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ หรือตรวจพบในระยะแรก ๆ แต่จะอันตรายอย่างมากถึงขั้นตาบอดสนิท ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หรือเป็นต้อหิน รักษาไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ลานสายตาหรือความกว้างของการมองเห็นแคบเข้า จนกระทั่งตาบอดในที่สุด ไม่ช้าก็เร็ว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในแต่ละบุคคลจะแก้ไขให้กลับคืนมาได้ และในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถรักษาต้อหิน หายขาดได้

รักษาต้อหินหายขาดไหม

เนื่องจากโรคต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากการทำลายเส้นประสาทตาอย่างถาวร ยังไม่มีวิธีการใด ๆ ที่จะรักษาต้อหิน หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียการมองเห็นได้  ซึ่งในปัจจุบันการรักษาจะเป็นการประคับประคองเพื่อไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายมากขึ้น และเพื่อยืดการมองเห็นที่มีอยู่ให้นานที่สุด โดยการใช้ยาหยอดตา ต้อหินก็อาจจะทุเลาลง

วิธีตรวจวินิจฉัยต้อหิน

ยาหยอดตา ต้อหิน

ในเริ่มแรกจะทำการตรวจวินิจฉัยโรคต้อหินโดยซักประวัติทางการแพทย์ และทำการตรวจสุขภาพตาอย่างละเอียด จากนั้นจะทำการตรวจ ดังนี้

1. การตรวจวัดความดันลูกตา

แพทย์จะนำยาชาหยอดที่ดวงตา แล้วนำเครื่องโทโนมิเตอร์วัดความดันลูกตา ซึ่งความดันลูกตาปกติมีค่า 12-20 มิลลิเมตรปรอท แต่ในกรณีที่มีค่าความดันลูกตา 21 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปถือว่ามีความดันลูกตาผิดปกติ

2. ตรวจประสาทตาและจอรับภาพ

แพทย์จะนำเครื่องตรวจนัยน์ตาออพธัลโมสโคปส่องภายในลูกตา ซึ่งจะเห็นรูปร่าง สีของจอประสาทตาทำให้สามารถวินิจฉัยความเสียหายหรือความเสื่อมของจอประสาทตาได้ 

3. ตรวจประสิทธิภาพของลานสายตา

แพทย์จะนำเครื่องตรวจวัดลานสายตาการฉายแสงเป็นจุดตามตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งตัวเครื่องตรวจวัดลานสายตาจะทำการดูการเคลื่อนไหวของตา วิเคราะห์ข้อมูลภายในเครื่อง ซึ่งผลการตรวจจะสามารถวินิจฉัยการเกิดต้อหินได้อย่างแม่นยำ

4. ตรวจความหนาของกระจกตา

แพทย์จะนำเครื่อง Corneal Pachymetry มาวัดความหนาของกระจกตา เพราะความหนาของกระจกตามีผลต่อการวัดความดันกระจกตา ซึ่งเมื่อวัดแล้วจะช่วยตีค่าความดันตาได้อย่างแม่นยำ

5. ตรวจช่องทางการไหลของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตา
 
แพทย์จะนำเครื่อง Gonioscopy ตรวจดูมุมระบายของเหลวของตาและพื้นที่ส่วนที่ทำหน้าที่ระบายของเหลวจากดวงตา เพื่อทำการวินิจฉัยว่าดวงตามีต้อลักษณะมุมปิดหรือมุมเปิด

วิธีรักษาโรคต้อหิน

ต้อหิน รักษา

ต้อหิน รักษาด้วยหลักการง่าย ๆ  แค่ลดความดันลูกตาให้ได้ และไม่ปฏิบัติตัวที่ทำให้เสี่ยงต่อการขาดเลือดไปเลี้ยงที่เส้นประสาทตา  ก็สามารถป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียการมองเห็นได้ แต่ถ้าเกิดโรคต้อหินขึ้นมาจริง ๆ  จะต้องรักษาอย่างไร มีวิธีการรักษาแบบไหน ทำการรักษาต้อหินแล้ว จะหายขาดไหม หัวข้อนี้มีคำตอบ 

การใช้ยาหยอดตา

โรคต้อหิน รักษาโดยการใช้ยา เป็นการรักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด สำหรับผู้ที่เป็นต้อหินระยะเริ่มแรกที่ความดันลูกตายังไม่สูงมาก มีความสะดวก ปลอดภัย ผู้ป่วยต้องใช้ยาหยอดตา ต้อหินอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ควรแจ้งแพทย์ถึงโรคประจำตัวของผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคหอบหืด เพราะยาบางตัวอาจทำให้โรคแย่ลงได้ นอกจากนี้หากเกิดภาวะที่สงสัยจะเป็นภาวะแทรกซ้อนจากยา ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบเพื่อจะได้ปรับยา และหยอดยา ได้อย่างปลอดภัย

การใช้แสงเลเซอร์

โรคต้อหิน รักษาโดยการใช้แสงเลเซอร์ เป็นแนวทางการรักษาต้อหินที่ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยาหยอดตา ด้วยการใช้แสงเลเซอร์เจาะรูที่ม่านตาเพื่อช่วยทำให้มุมม่านตาระบายน้ำออกจากลูกตาได้ดีขึ้น ทำให้ความดันตาลดลง และในผู้ป่วยที่มีมุมตาแคบ เพื่อเปิดมุมตาให้กว้างขึ้น

การผ่าตัด

โรคต้อหิน รักษาโดยการผ่าตัด  เน้นการทำช่องระบายน้ำภายในลูกตา เพื่อช่วยลดความดันในตา มักใช้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมความดันตาได้ด้วยยาหยอดตา หรือเลเซอร์ได้ การผ่าตัดรักษาต้อหินมีหลายวิธี เช่น  การผ่าตัด Trabeculectomy การผ่าตัดใส่อุปกรณ์ระบายน้ำสำหรับต้อหิน (Glaucoma  drainage devices) การผ่าตัดสามารถใช้ในการรักษาต้อหินได้ แต่ไม่สามารถนำการมองเห็นที่เสียไปแล้วกลับมาได้  มักจะเลือกเป็นวิธีสุดท้าย

ซึ่งทั้ง 3 วิธีเป็นการรักษาต้อหิน ที่มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการสูญเสียลานสายตาและการมองเห็น โดยลดความดันตาลงมาในระดับที่ปลอดภัยไม่ทำลายขั้วประสาทตา ซึ่งการรักษาอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ผู้ป่วยจึงต้องมารับการตรวจวัดความดันตาและตรวจลานตาเป็นระยะ แต่ทั้งนี้ ก็ยังไม่มีวิธีที่จะรักษาต้อหิน หายขาดได้

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคต้อหิน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อหินที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาได้ไม่ดีพออาจทำให้อาการแย่ลงจนสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ป่วยโรคต้อหินจะได้รับการรักษาแล้ว แต่ก็อาจเสี่ยงต่ออาการตาบอดได้เช่นกัน โดย 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับการรักษามีโอกาสสูญเสียการมองเห็นอย่างน้อยที่ดวงตา 1 ข้างภายในเวลา 20 ปี 

นอกจากนี้การรักษาต้อหินด้วยการผ่าตัด พบภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน อาจมีอาการเลือดออกในตาหรือเกิดการติดเชื้อในดวงตาได้ หรือแม้แต่การใช้ยาหยอดตาที่ซื้อมาใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยจึงไม่ควรซื้อยามาใช้เอง แต่ควรปรึกษาแพทย์และใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น

วิธีป้องกันโรคต้อหิน

เนื่องจากโรคต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกายตามอายุ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถป้องกันอาการของโรคไม่ให้มีความรุนแรงได้ ดังนี้

  • เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจตาทุก 2 ปี และอายุ 50 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจตาเป็นประจำทุกปี แม้ว่าดวงตาจะไม่มีความผิดปกติใด ๆ
  • เมื่อร่างกายมีอาการตามัว ตาแดง เห็นรัศมีรอบดวงไฟ ไม่ควรซื้อยาหยอดตามาหยอดเอง แต่ให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาสเตรียลอยด์เป็นระยะเวลานาน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการทานเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะทำให้ความดันตาเพิ่ม

ข้อสรุป

โรคต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากเส้นประสาทตาเกิดการเสื่อมสภาพหรือถูกทำลายจนส่งผลต่อการมองเห็น ซึ่งการเสื่อมสภาพของอวัยวะในร่างกายไม่ใช่สิ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้อหินด้วยก็เช่นกัน แม้ว่าจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็สามารถเข้ารับการรักษาเพื่อควบคุมอาการของโรคก็จะทำให้ดวงตาสูญเสียการมองเห็นเร็วขึ้น ดังนั้นจึงแนะนำให้เข้ารับการรักษาโรคต้อหินเพื่อช่วยชะลออาการของโรคและทำให้ดวงตามีการมองเห็นยาวนานขึ้น