ThaiFranchiseCenter Webboard

ThaiFranchiseCenter Webboard - Info Center

* สมัครสมาชิกเว็บบอร์ด ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ฟรี! *
หน้าแรก | เปิดร้านค้าฟรี! | โปรโมชั่นแฟรนไชส์ | ร้านหนังสือออนไลน์ | สนใจลงโฆษณา

ทางเว็บไซต์ ThaiFranchiseCenter.com ไม่มีส่วนรับผิดชอบกับข้อความต่างๆในเว็บบอร์ดแต่อย่างใด
    ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขาย-เช่า-เซ้ง หรือ อื่นๆ (ผู้ซื้อ หรือ ผู้ขาย กรุณาใช้วิจารณญาณในการติดต่อทางธุรกิจ)


ลองโควิด (Long COVID) เป็นแล้วดูแลอย่างไร เทคนิคควรรู้หลังหายป่วยโควิด

ลองโควิด Long COVID เป็นแล้วดูแลอย่างไร

หากคุณเป็นหนึ่งคนที่เคยป่วยเพราะติดเชื้อโควิด-19 คุณเคยสังเกตมั้ยว่าสภาพร่างกายหลังจากหายป่วยนั้นต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหน การฟื้นฟูร่างกายในแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะกลับมาปกติแต่ยังรู้สึกได้ถึงภาวะของสุขภาพที่ไม่แข็งแรงดังเดิมต่อเนื่องเป็นระยะยาว อาการเหล่านี้เองคือผลกระทบจากการติดเชื้อโควิด หรือที่เรียกว่าลองโควิด ‘Long COVID’

ซึ่งหากคุณหายจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้วแต่ยังมีอาการผิดปกติอย่างหายโควิดแล้วเหนื่อยง่ายหรือ หายโควิดแล้วยังไอแสดงว่าเข้าข่ายอาการลองโควิด โดยในบทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการ long covid คืออะไร อาการลองโควิดรักษายังไง อาการลองโควิดมีอะไรบ้าง และอาการลองโควิดกี่วันหาย รวมถึงแนวทางปฏิบัติและวิธีการรักษาตนเองอย่างถูกวิธี


ลองโควิด (Long COVID)
อาการลองโควิด (Long COVID) หรือโพสต์โควิด (Post-COVID 19 Condition) เป็นภาวะจิตใจและอาการทางร่างกายที่หลงเหลืออยู่หลังจากหายติดเชื้อซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด-19 ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถพบได้ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร รวมไปถึงหัวใจและหลอดเลือด โดยอาการอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ภาวะลองโควิดอาการส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ช่วง 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป มีการอ้างอิงจากสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติอังกฤษว่ามักพบผู้ป่วยอายุระหว่าง 35-69 ปี และจากการวิจัยหลายฉบับได้ระบุไว้ว่าอาการที่พบโดยส่วนมากผู้ป่วยมักรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดตามตัว มีผมร่วงและหายใจไม่อิ่ม คุณสามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับ Long COVID ได้เพิ่มเติมจากบทความ ลองโควิด คลิกได้เลย


สาเหตุของลองโควิด
สาเหตุของอาการลองโควิด (Long COVID) นั้นยังมีข้อสรุปที่ไม่ชัดเจน แต่มีข้อสันนิษฐานถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ต่อร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งผู้ที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้วควรหมั่นประเมินอาการตนเองอยู่เสมอ เพื่อรับการรักษาและดูแลร่างกายได้อย่างถูกต้องเหมาะสมหากพบอาการผิดปกติ

โดยเชื้อโควิด-19 สามารถทิ้งร่องรอยความเสียหายแก่อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างการทำงานที่ผิดปกติของปอด เช่น หายใจถี่ หายใจไม่อิ่ม หรือเหนื่อยหอบง่าย ตลอดจนการทำงานที่ผิดปกติไปในด้านภูมิคุ้มกันหลังจากหายโควิด-19 รวมไปถึงการหลงเหลือชิ้นส่วนของไวรัสในร่างกาย ซึ่งอาจไปกระตุ้นภูมิให้ต่อต้านจนเกิดอาการป่วยขึ้นได้ง่าย


กลุ่มเสี่ยงภาวะลองโควิด

 กลุ่มเสี่ยงภาวะลองโควิด

กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะลองโควิด (Long COVID) ได้แก่

  • ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิด-19 และมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง เสี่ยงต่ออาการลองโควิดได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • เพศหญิงมีความเสี่ยงภาวะ Long COVID มากกว่าเพศชาย


อาการลองโควิด มีอะไรบ้าง
จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) อธิบายว่าภาวะลองโควิด คือ อาการหลังติดโควิดนั้นเป็นไปได้หลากหลายแบบด้วยกัน ซึ่งอาจจะคล้ายกับช่วงที่ยังติดเชื้อโควิด-19 หรืออาการอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย โดยสามารถแบ่งกลุ่มอาการออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่

1. อาการลองโควิดที่พบได้ทั่วไป
อาการลองโควิดที่พบได้ทั่วไปจากผู้ป่วยคือมีอาการเหนื่อยล้า หายใจไม่อิ่ม ไอ มีการปวดตามกล้ามเนื้อ การรับรู้กลิ่นและรสเปลี่ยนไป รวมไปถึงอาการท้องร่วง นอกจากนี้แล้วยังอาจมีอาการที่ไม่สัมพันธ์กับเชื้อโควิด-19 ร่วมด้วย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการควบคุมของการหลั่งสารในระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดไป อย่างเช่น อาการผมร่วง เป็นผื่นคัน ต่อมน้ำเหลืองโต ความจำสั้นและสมาธิสั้น

อาการลองโควิดที่พบได้ทั่วไป

2. ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโควิด
ภาวะแทรกซ้อนทางร่างกายที่เกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อโควิด ได้แก่ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ระบบหัวใจและหลอดเลือด ไตวายหรือตับอักเสบแบบเฉียบพลัน  ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อโควิด

3. ผลข้างเคียงจากการรักษาโควิด
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากการรักษาโควิดมีทั้งผลข้างเคียงจากการนอนรักษาที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานอย่างอาการจิตตก ซึมเศร้า แขนขาไม่มีแรง ในบางรายอาจส่งผลกระทบถึงวิธีการคิดและการพูด นอกจากนี้ยังผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโควิดที่มักเกิดขึ้นในระยะสั้นระหว่างรักษาจากยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือหลังผู้ป่วยกลับบ้านแล้วอย่างอาการแสบกระเพาะ กรดไหลย้อน

ผลข้างเคียงจากการรักษาโควิด


การดูแลตัวเองป้องกันภาวะลองโควิด
การดูแลตัวเองหลังติดเชื้อโควิดเพื่อป้องกันภาวะลองโควิด (Long COVID) มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน เริ่มจากการเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการรับเชื้อแต่เนิ่น ๆ โดยในกรณีที่มีโรคประจำตัวหรือน้ำหนักเกิน คุณอาจจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด รับประทานอาหารให้ได้สารอาหารที่ครบและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ดูแลรักษาสภาวะจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียดหรือวิตกกังวลจนเกินไป

หมั่นล้างมือบ่อย ๆ สวมใส่หน้ากากให้คลุมบริเวณปากและจมูกอย่างมิดชิดรวมทั้งรักษาระยะห่าง อยู่ให้ไกลจากผู้อื่นประมาณ 1.5-2 เมตร หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก และหากคุณได้รับเชื้อโควิด-19 ให้ติดต่อสถานพยาบาลใกล้เคียงให้ทราบเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยเร็ว


เป็นลองโควิดกินอะไร
อาการลองโควิดคือภาวะที่ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่ดีเท่ากับตอนก่อนป่วย ดังนั้นในช่วงที่พักฟื้นฟูร่างกายจากสภาวะลองโควิดควรกินหรือปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

เป็นลองโควิดกินอะไร

1. ทานอาหารที่ช่วยฟื้นฟูและบำรุง
การทานอาหารที่ดีมีประโยชน์เพื่อช่วยฟื้นร่างกายในสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นวิธีการบำรุงซ่อมแซมและเสริมสร้างเซลล์ต่าง ๆ ให้แข็งแรง โดยควรเน้นไปที่อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา และถั่วชนิดต่าง ๆ อาหารประเภทข้าวหรือแป้งไม่ขัดสีสามารถช่วยลดการอักเสบ และควรทานผักผลไม้เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

2. ออกกำลังกายที่ไม่หนัก
การออกกำลังกายถึงแม้จะมีผลดีต่อร่างกายแต่การออกกำลังกายที่หนักมากเกินไปอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากการติดเชื้อโควิด-19 เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้ในบางราย ผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิดหรืออยู่ในภาวะ Long COVID ควรออกกำลังกายเบา ๆ อย่างเหมาะสมอย่างการเคลื่อนไหวช้า ๆ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีประสิทธิภาพดังเดิมได้

3. ปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
หากคุณเป็นผู้ป่วยภาวะลองโควิด ในช่วงพักฟื้นรักษาตัวที่บ้านซึ่งต้องเน้นดูแลร่างกายอย่างการทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมแล้ว การปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเมื่อพบอาการผิดปกติทางร่างกายหรือสอบถามข้อมูลที่ไม่มั่นใจเกี่ยวกับภาวะทางร่างกายหรือจิตใจเป็นแนวทางที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้การรักษาลองโควิดนั้นสอดคล้องกับสภาวะร่างกายและเป็นไปอย่างเหมาะสม


ฉีดวัคซีนลดความเสี่ยงลองโควิดได้ไหม
การฉีดวัคซีนก่อนได้รับเชื้อโควิด-19 เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่จะก่อให้เกิดภาวะอาการลองโควิดในภายหลัง นอกจากนี้ยังมีรายงานที่น่าสนใจเกี่ยวกับการได้รับการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหา Long COVID ว่ามีอาการดีขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าวัคซีนช่วยไปกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันให้กลับมาทำงานได้ปกติ แต่ในส่วนนี้ก็ยังเป็นสาเหตุที่ไม่แน่ชัด

 ฉีดวัคซีนลดความเสี่ยงลองโควิดได้ไหม


ตรวจสุขภาพประจำปี ป้องกันลองโควิด
การตรวจสุขภาพประจำถือเป็นเรื่องที่สำคัญและควรทำเพื่อตรวจเช็คร่างกายแต่เนิ่น ๆ ซึ่งหากเกิดอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้นจะได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งการรักษาร่างกายตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกนั้นจะทำให้ร่างกายฟื้นฟูได้เร็วและมีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิมมากกว่า แนะนำให้คุณตรวจสุขภาพด้วยโปรแกรมตรวจภาวะลองโควิดตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อป้องกันและรักษาอาการ Long COVID ให้หายได้เร็วยิ่งขึ้น


ข้อสรุป
ลองโควิด (Long COVID) เป็นภาวะจิตใจและอาการทางร่างกายที่หลงเหลืออยู่หลังจากหายติดเชื้อซึ่งเกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด-19 ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่ดีเท่ากับตอนก่อนป่วยซึ่งอาจจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางรายอาจมีผลกระทบทางอ้อมต่อความกังวลและความเครียดสะสมที่ตามมา ดังนั้นการทำความเข้าใจอาการลองโควิดรวมถึงแนวทางปฏิบัติในการดูแลรักษาอาการอย่างถูกวิธีจะช่วยให้คุณรู้ทันความผิดปกติและดูแลร่างกายได้อย่างเหมาะสม